คอร์ลูกิ้น ชอยบัลซาน (Хорлоогийн Чойбалсан)
ชอยบัลซาน เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1895 ในแอชิต เบย์ซิน (Achit Beysiyn) เขาเป็นลูกชายคนเล็กในพี่น้องสี่คน โดยแม่ของเขาชื่อคอร์ลู่ (Khorloo) เธอมีลูกโดยที่ไม่ได้แต่งงาน
เมื่ออายุ 13 ปี ได้เข้าเรียนในโรงเรียนพุทธลามะ ซาน เบย์ซิน คูรี (San Beysiyn Khüree) เพื่อฝึกเป็นพระ แต่ว่าหลังอยู๋ในโรงเรียนได้ห้าปีเขาก็หนีออกมา และเดินทางไปยังเมืองคูรี
1912 มาทำงานรับจ้างอยู่ในเมืองอูร์ก้า (Urga~ Ulan Bator)
1914 เข้าเรียนที่วิทยาลัยครูเออร์กุตส์ก (Irkutsk Pedagogical Institute) ในรัสเซีย โดยได้รับทุนจากรัฐบาล
1917 รัฐบาลมองโกลเรียกตัวเขาให้เดินทางกลับประเทศเมื่อเกิดการปฏิวัติในรัสเซีย ซึ่งเมื่อกลับมาได้เคลื่อนไหวเพื่ออิสระภาพของมองโกล อยู่ในเมืองอูร์ก้า
1919 เข้ากับกลุ่มใต้ดินชื่อ Consular Hill ซึ่งมีชาวมองโกลบางส่วนร่วมเคลื่อนไหวต่อต้านจีน ซึ่งขณะนั้นมองโกลมีฐานะเป็นรัฐปกครองตนเอง ช่วงที่ประเทศจีนมีความวุ่นวายจากเหตุการณ์ปฏิวัติซินไห่ (Xinhai Revolution) ในจีน ในปี 1911 ผู้นำของมองโกลชื่อบ็อก์ด ข่าน (Bogh Khan) ได้ประกาศให้มองโกลเป็นเอกราช แต่ภายหลังรัฐบาลมองโกลถูกคุกคามจากเหตุการณ์ปฏิวัติในรัสเซีย และกองทัพขาวได้ส่งทหารเข้ามา มองโกลจึงเจรจากับจีนเพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งจีนพยายามให้มองโกลเลิกล้มการปกครองตัวเอง บ็อก็ด ข่าน ถูกจีนกักบริเวณอยู่แต่ภายในวัง ชาวมองโกลบางส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับการสูญเสียอธิปไตยก็ไปขอความช่วยเหลือจากรัสเซีย
กลุ่ม Consular Hill มีสมาชิกสำคัญในกลุ่มคือ Dogsomyn Bodoo, Dambyn Chagdarjav โดยที่ชอยบัลซานทำหน้าที่แปลเอกสารที่เกี่ยวกับรัสเซียและคอยติดต่อผ่านสถานฑูต
1920 มีการก่อตั้งพรรค ประชาชนมองโกล (Mongolian People’s Party, MPP) โดยสมาชิกของกลุ่ม Consular Hill เดิม หลังจากนั้นชอยบัลซานเดินทางไปรัสเซ๊ยเพื่อขอความช่วยเหลือ และถูกส่งไปเรียนรู้ด้านการฝึกทหารอยู่ในเออร์กุตส์ก ก่อนจะกลับมองโกลช่วงปลายปี และมีการตั้งหน่วยทหารกองโจรขึ้นมาสู้รบกับทหารของกองทัพขาวของรัสเซียที่นำโดยโรมัน อันเจิร์น-สเติร์นเบิร์ก (Roman von Ungern-Sternberg) ซึ่งยึดครองมองโกเลียอยู่ในขณะนั้น
1921 1-3 มีนาคม, มีการประชุมใหญ่ของพรรค MPP ครั้งแรกในทรอตสโกลาฟส์ก (Troitskosavsk) ในรัสเซียแต่ติดกับมองโกเลีย ในที่ประชุมได้แต่งตั้งแดมดิน สุคบาตาร์ (Damdin Sükhbaatar) เป็นผู้นำกองกำลังกอบกู้เอกราช ในขณะที่ชอยบัลซานได้ตำแหน่งรองผู้นำ
มีนาคม-กรกฏาคม , ปฏิวัติมองโกล (Outer Mongolian Revolution) , 6 กรกฏาคม สามารถเดินสวนสนามเข้าไปยังเมืองคุรีมาได้สำเร็จโดยไร้การต่อต้านซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดการปฏิวัติ
หลังจากไล่จีนออกไปได้สำเร็จ MPP ได้คืนตำแหน่งกษัตริย์ให้กับบ็อก์ด ข่าน แต่ว่าให้อำนาจอย่างจำกัด แต่ว่าไม่นานบ๊อก์ด ข่าน มาเสียชีวิตไปในปีเดียวกัน MPP จึงได้ประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนมองโกล (Mongolian People’s Republic)
1923 เดินทางมาเรียนที่สถาบันการทหารในมอสโคว์
1924 กลับมามองโกเลียหลังการเสียชีวิตของสุคบาตาร์ และหลังจากนี้ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่งในรัฐบาล
หัวหน้ากองทัพปฏิวัติ ( 1924 – 1929 ) และ ( 1937 – 1952 )
ประธานสภาเปซิเดียมของเมืองลิตเติ้ลฮูราล(Little Hural) ( 1929 – 1930, )
รัฐมนตรีต่างประเทศ ( 1930 )
รัฐมนตรีเกษตรและปศุสัตว์ ( 1931 – 1935 )
รัฐมนตรีมหาดไทย (1936 -1939 )
รองนายกรัฐมนตรี ( 1935 – 1939 )
นายกรัฐมนตรี ( 1939 – 1952 )
1931 หลังสตาลินขึ้นมามีอำนาจในโซเวียต มองโกลได้รับเอานโยบายเศรษฐกิจแบบส่วนรับคำสั่งจากส่วนกลางมา เขาในฐานะรัฐมนตรีเกษตรได้มีการบังคับยึดเอาที่ดินของเอกชนและบังคับให้มีการทำเกษตรแบบแปลงรวม ซึ่งมีการบริหารจัดการที่ไม่ดี และเป็นผลให้ประชาชน 20-25 ล้านคนเสียชีวิต
1936 ได้รับยศจอมพล และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทย , แต่ในปีนี้เขาขัดแย้งกับสตาลินเมื่อสตาลินต้องการให้เขากวาดล้างพระสงฆ์ในประเทศ แต่เขาปฏิเสธ
1939 กองทัพผสมของมองโกลและรัสเซียรบกับกองทัพญี่ปุ่น ที่อยู่บริเวณลุ่มน้ำฮาลกิน โกล (Halkin-Gol river, Khalkhin Goal)
1945 Manchuria Operation, Kwantung Army โดยชอยบัลซานเป็นผู้บัญชาการทหารหน่วย ISAR
ช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 ชอยบัลซานให้การสนับสนุนโซเวียตในการรบกับนาซี
1952 26 มกราคม, เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ร่างของเขาถูกเก็บที่สุสาน maosoleum of Sukhabaatar and Choibalsan
2005 ร่างถูกนำมาประกอบพิธีเผ่า และเก็บไว้ที่สุสานแห่งชาติในอูรันบาเตอร์