Numquam prohibere somniantes 

Never stop dreaming

Jeremy Bentham

เจเรมี เบนธัม (Jeremy Bentham)
ผู้วางรากฐานปรัชญา Utilitarianism

เบนธัมเกิดในลอนดอน เมื่อวันที่ 15 มกราคม 1748 (O.S.) ในครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวย พ่อของเขาเป็นนักกฏหมาย เบนธัมมีความฉลาดมาตั้งแต่เล็ก เขาชอบหยิบหนังสือประวัติศาสตร์ของพ่อมาอ่านเป็นเวลานาน และเริ่มเรียนภาษาลาตินตั้งแต่อายุสามขวบ 
เริ่มเข้าเรียนหนังสือที่เวสต์มินสเตอร์ (Westminster School)
1760 เมื่ออายุ 12 ปี เข้าเรียนที่ควีนคอลเลจ, ออกซ์ฟอร์ด (The Queen’s college, Oxford) ทางด้านกฏหมาย
1763 จบปริญญาตรี และเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนกฏหมาย ลินคอล์นอินน์ (Lincoln’s Inn) แต่ว่าไม่นานก็ลาออก เพื่อหันมาทุ่มเทให้กับงานเขียนหนังสือ โดยได้รับการสนับสนุนจากบิดา   งานเขียนของเบนธัมส่วนใหญ่เป็นการวิจารณ์กฏหมายที่มีอยู่ในเวลานั้น เขาเรียกร้องสิทธิและการปฏิรูปสังคมในหลายด้าน 
1768 The First Principles of Government and the Nature of Political, Civil and Religious Liberty
it is the greatest happiness of the greatest number that is the measure of right and wrong
ความสุขที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคนจำนวนมากที่สุดคือเครื่องมือวัดความถูกและความผิด (การกระทำที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่จำนวนมากที่สุด คือสิ่งที่ดี)
1786 เดินทางไปคริเชฟ (Krichev) รัสเซียโดยไปอยู่กับซามูเอล (Samuel Benthhan) ญาติของเขา ซึ่งเป็นวิศวกรที่ไปทำงานให้รัสเซีย ช่วงเวลานี้เบนธัมเสนอแนวคิดในการสร้างเรือนจำแบบใหม่ ที่เขาเรียกว่า Ponopticon ซึ่งเป็นอาคารทรงกลม และผู้คุมอยู่ตรงหอคอยตรงกลาง ซึ่งช่วยให้ผู้คุมจำนวนน้อยสามารถสังเกตุการณ์นักโทษจำนวนมาได้
1789 An Introduction to the Principles of Morals and Legislation งานเขียนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานเอกของเขา มันถูกเขียนเมื่อต้นปี 80s แต่เพิ่งถูกพิมพ์ในปีนี้ 
Nature has placed mankind under the governance of two sovereign masters, pain and pleasure. It is for them alone to point out what we ought to do… By the principle of utility is meant that principle which approves or disapproves of every action whatsoever according to the tendency it appears to have to augment or diminish the happiness of the party whose interest is in question: or, what is the same thing in other words to promote or to oppose that happiness. I say of every action whatsoever, and therefore not only of every action of a private individual, but of every measure of government
ธรรมชาติสร้างมนุษย์ขึ้นมาเพื่อให้ถูกปกครองโดยเจ้านายสองคน คือ ความเจ็บปวดและความสุข แต่มนุษย์จะเป็นผู้เลือกว่าเขาต้องการสิ่งใด..​โดยหลักการของประโยชน์สุขแล้วย่อมหมายความว่า การจะยอมรับหรือปฏิเสธการกระทำใดๆ นั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณความสุขที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงของคนที่เกี่ยวข้อง 
 เบนธัมยังได้เสนอวิธีคำนวณอัตราความสุขที่เกิดจากการกระทำ โดยเขาเรียกมันว่า hedonic calculus เพราะเขาเชื่อว่าความถูกหรือผิดในสามัญสำนึกนั้นควรถูกวัดด้วยปริมาณของความสุขหรือทุกข์ที่เกิดจากการกระทำนั้น
1824 ร่วมกับเจมส์ มิลล์ (James Mill) ก่อตั้งหนังสือ Westminster Review 
1832 6 มิถุนายน, เสียชีวิต ภายในบ้านพักที่ลอนดอน  ร่างของเขาถูกมอบให้กับแพทย์ชื่อจอร์จ ฟอร์ไดซ์ (George Fordyce) ตามความตัองการของเจเรมี
8 มิถุนายน ได้มีการจัดพิธีไว้อาลัยให้แก่เบนธัมในหมู่เพื่อนที่ใกล้ชิดอย่างลับๆ ในโรงเรียนแพทย์ เว็บบ์ สตรีท (Webb Street School of Anatomy, Londo) ซึ่งในนั้นมีแพทย์ชื่อโธมัส สมิธ (Thomas Southwood Smith) เพื่อนสนิทได้นำกล่าวคำไว้อาลัย วันนี้ร่างของแบนธัมยังถูกแยกเอากระดูก เส้นผม ออกมาสร้างเป็นหุ่น ที่เรียก Auto-icon ตามความประสงค์ของเบนธัม  โดยหุ่นส่วนเสื้อผ้าและนั่งบนเก้าอี่ที่เบนธัมเคยใช้จริง และถูกใส่ไว้ในตู้ไม้ แต่ส่วนศรีษะของหุ่นนั้นเป็นขึ้ผึ้งที่ปักด้วยเส้นผมจริง กระโหลกศรีษะจริงถูกตั้งแสดงไว้ในกล่องคู่กับหุ่น 
Auto-icon ปัจจุบันถูกเก็บรักษาไว้ที่มหาวิทยาลัย UCL ในลอนดอน  (http://www.ucl.ac.uk/Bentham-Project/who/autoicon/Virtual_Auto_Icon)
Don`t copy text!