จบไปแล้วสำหรับการประชุมกลุ่มประเทศ อุตสาหกรรม 20 ชาติ ที่โซล เกาหลีใต้
ข้อเสนอที่ G20 ปฏิเสธ
- สหรัฐอเมริกา เสนอให้มีการควบคุมบัญชีดุลสะพัด (ดุลการค้า) ของแต่ละประเทศให้ เกินดุล/ขาดดุล ไม่เกิน 4% ของ จีดีพี ซึ่งจีนเกินดุลการค้าปีละประมาณ 4.7% และสหรัฐขาดดุลการค้าปีละประมาณ 3.3% ข้อเสนอของสหรัฐเหมือนกับเป็นการบังคับให้เกิดการควบคุมการนำเข้าส่งออกสินค้าทางอ้อม ซึ่งประเทศ อย่าง เยอรมัน ญี่ปุ่น ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีการเกินดุลการค้าสูง ปฏิเสธ, รัสเซีย ก็ปฏิเสธแนวคิดนี้ เช่นกัน แนวคิดของสหรัฐเหมือนเป็นการจำกัดโควต้าสินค้าในระดับมหภาค แทนที่จะจำกัดโควต้าในสินค้าอ่อนไหวอย่างที่เคยเป็น
ข้อเสนอที่ G20 รับรอง
- อนุมัติให้ IMF โอน โควต้า 6% ใน SDRs ให้กับประเทศกำลังพัฒนา
IMF จะมีการจัดสรร SDRs รอบใหม่หลังปี 2014 โดยจะเพิ่มปริมาณ SDRs เท่าตัวจาก 238.4 ไปเป็น 476.8 พันล้าน SDRs
SDR Special Drawing Right เป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเช่นเดียวกับดอลล่าห์ และทองคำ แต่ไม่ได้อยู่ได้รูปแบบธนบัตร กษาปณ์ เป็นเหมือนตัวเลขในบัญชี ถูกออกแบบมาตั้งแต่ปี 1969 โดย IMF จากข้อตกลง Bretton Woods ซึ่งเข้ามาช่วยดอลล่าห์และทองคำที่มีปริมาณไม่เพียงพอต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่ง Bretton Woods เองสนับสนุนระบบแลกเปลี่ยนแบบคงที่ แต่ไม่กี่ปีหลังจากนั้น ปี 1973 Bretton Woods ก็ล้มลง และโลกก็กลายเป็นระบบแลกเปลี่ยนลอยตัว แต่ SDR ยังคงอยู่ IMF เรียก SDR ว่าเป็น Freely Usable CurrenciesSDR ถูกถือครองและใช้เป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ โดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศ การจัดสรร SDR ให้สมาชิกถูกกำหนดโดย โตวต้า (IMF quotas) มูลค่าของ SDR เอง ก็ขึ้นอยู่กับมูลค่าของเงินตราที่ใช้ในการคำนวณ SDR ระบบการคำนวณ SDRs ที่ IMF เคยยกเป็นข้อเสนอเมื่อ 5 ปีก่อน ดอลล่า 44% + ยูโร 34% + เยน 11% + ปอนด์ 11%แต่รัสเซีย จีน และอีกหลายประเทศเศรษฐกิจใหญ่เกิดใหม่เคยเรียกร้องให้มีการนำเงินสกุลของตนเองเข้าไปคำนวณ SDRs ด้วย
อัตราเริ่มแรกของ SDR เมื่อตอนเริ่มใช้ มีมูลค่าเท่ากับ 0.888671 กรัมทองคำ (Fine gold) ซึ่งขณะนั้นเทียบได้กับ 1 เหรียญดอลล่าห์สหรัฐการเปลี่ยนแปลงระบบ SDR ใน IMF จะต้องได้รับเสียงสนับสนุน 70 % การจัดสรร SDRครั้งแรก 1970-1972 มูลค่า 9.3 พันล้าน SDRครั้งที่สอง 1979-1981 มูลค่า 12.1 พันล้าน SDRครั้งที่สาม 2009 มูลค่า 161.2 พันล้าน SDR ปี 2009 (ครั้งที่สี่) มีการจัดสรรกรณีพิเศษ 21.5 พันล้านเนื่องจากมีหลายประเทศสมาชิก IMF ไม่เคยได้ถือครอง SDRรวมแล้วมี SDRs ในโลก 204 พันล้าน SDRs ซึ่งเทียบเท่ากับเงินสกุลดอลล่าห์ $ 308 พันล้าน (อัตราแลกเปลี่ยน 31 สิงหาคม 2010) *ปริมาณ SDRs ตามที่อ้างตรงกับเอกสารบางแผ่นบนหน้า IMF แต่เอกสารหน้า บอกมีปริมาณ 238.4 พันล้าน SDRsสัดส่วนการจัดสรร SDR เป็นไปตามโควต้า
การซื้อขาย SDR ประเทศสมาชิกของ IMF มีพันธะในการที่จะต้องซื้อ SDR ในโควต้าที่ได้รับ SDR ไม่สามารถถูกซื้อขายโดยบุคคลหรือสถาบันเอกชน IMF ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการซื้อขาย SDR ระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งอาจมีองค์กรที่ตั้งในกรอบของ IMF ทำหน้าที่เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยน เช่น ธนาคารเพื่อการชำระเงิน (International Settlement Bank)
สูตรการคำนวณการจัดสรรโควต้าที่ IMF ใช้ปัจจุบันคือการถ่วงน้ำหนัก GDP (50% )+ Openness (30%) +Economic Variability (15%) + Reserves (5%)ซึ่งจำนวนโควต้า SDRs ที่สมาชิกมีอยู่ ถูกนำไปใช้เเทียบป็นคะแนนเสียงโหวตในการบริหาร IMF ด้วย
สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีโควต้าใน SDR มากที่สุด คือ 37,149.3 ล้าน SDRs (คิดเป็นสัดส่วน 17.09% ของ SDRs ทั้งหมด)เทียบเท่ากับ 107,635 คะแนนโหวต (16.74%)
ญี่ปุ่น มี 13,312.8 ล้าน SDRs (6.12%) เสียงโหวต 133,388 เสียง (6.01%)
จีน มี 8,090.1 ล้าน SDRs (3.72%) เสียงโหวต 81,151 เสียง (3.65%)
ประเทศไทย 1,081.9 ล้าน SDRs (0.50%) มีเสียงโหวต 11,069 (0.5%) ผู้ทำหน้าที่ออกเสียงของประเทศไทยคือ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ประสาร ไตรรัตวรกูล (Prasarn Trairatvorakul) หรือตัวแทนคือ อัตชนา ไวความดี (Atchaana Waiquamdee)
http://www.reuters.com/article/idUSN1119264120101111?pageNumber=3http://www.imf.org/external/np/exr/facts/sdr.htmhttp://www.imf.org/external/np/sec/memdir/members.htm