โปรแกรม Childhood2030 เป็นโครงการที่เรียกว่าเป็น นวัฒกรรมใหม่ในการพัฒนาบุคลากรของประเทศรัสเซีย นอกจากนั้นยังเป็น “ไม้แข็ง” ที่ใช้ในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของรัสเซีย โครงการนี้ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ เพื่ยงแต่เมื่อมีการเปิดตัวออกมา ก็เจอคอมเม้นต์อย่างหนักจากสังคม ซึ่งหากโครงการนี้ถูกผลักดันให้กลายเป็นกฏหมายได้จริง ๆ ก็น่าสนใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับรัสเซียในอนาคต กับ เยาวชนในอีก 30 ปีจากนี้ โครงการ Детство-2030 (Chilhood-2030) เป็นโครงการที่อยู่บนพื้นฐานการวิจัยด้านสังคม-เศรษฐกิจ (socio-economic) ภายใต้คำสั่งประธานาธิบดี พัฒนามากจากโครงการ My Gernation (www.moe-polelenie.ru) เพื่ออนาคต-ของประเทศในระยะกลาง ซึ่งคนส่วนใหญ่ยอมรับโดยปริยายว่าอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่่นอน แต่ความเป็นจริงแล้วปัจจัยสำคัญที่กำหนดอนาคตคือการวางรากฐานในปัจจุบัน ซึ่งทำให้โครงการนี้สนใจในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดย “เยาวชน” เป็นกลุ่มเป้าหมาย
มาตราการของโครงการนี้ หลายประเด็นกลายถูกวิภาคพิจารย์ อย่างหนัก โดยเฉพาะประเด็นที่ทำลายสถาบันครอบครัวของรัสเซีย แม่หลายคนถึงกับบอกว่า ถ้ารู้ว่าจะมีมาตรการอย่างนี้ เธอคงไม่ได้กำเนิดลูก
– ผู้ปกครองจะต้องเข้าโปรแกรมการพัฒนาขีดความสามารถแข่งขัน (ความสามารถในการพัฒนาบุตร) หากว่าผู้ปกครองอยู่ในเกณฑ์ซึ่งต่ำกว่าที่กำหนดไว้ ผู้ปกครองจะสูญเสียสิทธิในการดูแล “ลูก” และเด็กจะต้องไปอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐ
– โครงการนี้ถูกวิจารณ์ว่าเป็นการกำจัดผู้ปกครองที่ไร้ความสามารถ(стерилизация некомпетентных родителей) ในขณะเดียวกันก็สร้างเด็กที่กลายเป็นเหมือนหุ่นยนต์ เพราะว่าเด็กจะต้องปรับตัวให้ได้กับผู้ดูแลใหม่ ไม่ว่าจะถูกส่งไปที่ไหน เด็กๆจะต้องสามารถปรับปรุงพฤติกรรมให้เข้ากับสังคมแวดล้อมให้ได้ โดยไม่อาจหลีกเลี่ยง
– เป็นเหมือนโครงการที่สร้างศูนย์อำนาจจากจิต(Phychological Centers) เวลาเด็กมีปัญหาจะไม่ปรึกษาพ่อแม่แต่จะเอาปัญหาไปบอกกับศูนย์แห่งนี้ แต่ในอนาคตเรียกศูนย์นี้กว่าเป็น ศูนย์การศึกษาร่วม “educational community” เพื่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันแทน
-ทำให้เกิดเด็กหุ่นยนต์ (чипизация) ซึ่งเด็กที่มีความสามารถ จะถูกนำมาพัฒนายีนส์หรือฝังชิป เพื่อเพิ่มขึดความสามารถ และเข้าสู่ระบบการบริหารโดยศูนย์ความคุม ทำให้รัฐประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตามดูแล และเพืื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
Foresight เทคโนโลยี
เบื้องหลังโปรเจค เยาวชน2030 ก็คือเทคโนโลยีที่ได้ประเมินอนาคต สำหรับปัจจัย วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, เศรษฐกิจ, และสังคม เพื่อใช้ในการตัดสินใจทิศทางของประเทศ ผู้ริเร่ิมโครงการคิดว่าเป็นเทคโนโลยี ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่จะสร้างผลประโยชน์แก่สังคมและเศรษฐกิจ สิ่งที่ Foresight ให้ออกมา ก็คือ แผนโครงการ (road maps) ที่จำเป็นสำหรับอนาคตที่ยิ่งใหญ่ สำหรับโปรแกรม Foresight ของรัสเซียให้ผลการทำนายในอีก 25-30 ปีข้างหน้า โดยมีการวางยุทธศาสตร์ ในการพัฒนาเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน และการพัฒนาสังคม ผู้คิดค้นอ้างว่า ForeSight ต่างจากการ คาดการณ์ (Prediction) ตรงที่ Foresight สร้างอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ในขณะที่การคาดการณ์อนาคตมักใช้ปัจจัยบางตัว และไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ นอกจากนั้นยังไม่สามารถให้แนวทางที่จะนำไปสู่เป้าหมาย และการคาดการณ์เองอยู่บนพื้นฐานของปัจจัยที่มีเงื่อนไขจำเพาะ
จุดเริ่มต้น ของการมองอนาคต เทคนิคอย่างหนึ่งของการศึกษาอนาคตที่ได้รับความนิยมอันหนึ่งเรียกว่า การสำรวจเดลฟี่ (Delphi Survey) ถูกพัฒนาโดยบริษัท Rand Corporaton สำหรับกองทัพสหรัฐ ในการพัฒนาเทคโนโลยีทางการทหาร ระหว่างปี 50s โดย Delphi Survey เหมือนกับแบบฟอร์มการ ถาม-ตอบ แต่มีความซีเรียสเข้มข้น และสำรหับ Foresight Technologies แล้ว ผู้ที่จะตอบคำถามเหล่านี้ ก็ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางนั้น อาจไม่จำเป็นต้องเป็นศาสตราจารย์เพี่ยงแต่ต้องมีความรู้ลึกซึ้งเฉพาะด้าน Delphi Survey ได้รับความนิยมมากสำหรับวงการวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี อุตสาหกรรมเพราะมีต้นทุนที่ต่ำถึงปานกลาง ส่วนใหญ่สามารถทำได้แบบออนไลน์ เพียงแต่ต้องให้เวลาในการทำแบบสอบถาม เพราะผู้เชี่ยวชาญเหล่านันมักมีภาระกิจประจำ
องค์กรอื่นๆ ที่พัฒนา Foresight Technologies
- องค์การสหประชาติ เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม (UNDIO.org,United Nation Industrial Development Organization) ทำหน้าที่ในการให้ความรู้ จัดอบรม เรื่อง FT ให้กับประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการศึกษาของ เวียดนาม และมาเลเซีย
- Department for Business Innovation and Skill (www.bis.gov.uk) ทำการศึกษา FT เพื่อให้การแนะนำกับรัฐบาลอังกฤษ
External Links