Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Mikhail Bakunin

มิคาอิล บากุนิน (Михаил Александрович Бакунин ,Mikhail Aleksandrovich Bakunin)
นักปราชญ์ผู้เป็นบิดา ผู้ปูแนวคิดอนาธิปไตย (Anarchism) ประวัติศาสตร์บอกว่าเขาเป็นคู่แข่งของคาร์ล มาร์ก
บากุนิน เกิดเมื่อ 30 พฤษภาคม 1814 แต่ว่าวันเกิดที่แน่นอนยังเป็นที่ถกเกียงกัน เขาเกิดในเมืองปรีมุคิโน่ (Premukhino) ในจังหวัดทีเวอร์ กูเบอร์เนีย (Tver Gubernia) เป็นลูกชายคนโตในครอบครัว บิดาของเขาเป็นอดีตนักการโทษ และเป็นเจ้าของที่ดิน พ่อของเขาอาศัยอยู่ในปารีสระหว่างที่เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส จบปริญญษเอกทางด้านปรัชญาในพาดัว (Padua) ชื่นชอบในผลงายของรุสโซ่ มารดาของเขามาจากตระกุล มาราฟยอฟ (Maravyov) ซึ่งญาติของนางหลายคนเกี่ยวข้องกับการลุกฮือในเดือนธันวาคม 1825 ของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
บากุนิน เติบโตในครอบครัวที่สวยงาม มีน้องสาวอีกสี่คน และพ่อที่เข้มงวดในวิถึชีวิตของลูกๆ  เข้าเรียนที่โรงเรียนการยิงปืนใหญ่ในเซนต์ ปีเตอร์เบิร์ก หลังจากเรียนจบก็เข้าทำงานเป็นเจ้าหน้าทหารรักษาความปลอดภัย แต่ว่านั้นทำให้พ่อของเขาโกรธและต้องการให้เขาย้ายไปทำงานในตำแหน่งอื่นในกองทัพ ตัวบากุนินเองไม่ค่อยชอบชีวิตของทหารนั้น เขาค่อนข้างกดดัน จนทำให้ไม่ชอบสังคม และหันไปหางานทางด้านหนังสือแทน หัวหน้าของเขาเห็นใจเขาแต่ว่าก็ไม่มีทางเลือกระหว่างภาระกิจของเขากับสภาพจิตใจ เขาบอกให้บากุนินเลือกระหว่างการเป็นทหารหรือว่าจะลาออกไป และบากุนินก็เลือกที่จะออกจากทหารในปี 1835ปี 1836 บากุนิน เดินทางไปมอสโคว์เพื่อเรียนทางด้านปรัญชา ตอนนั้นเองที่เขาถึงรู้สึกว่าชีวิตของเขามีความหมายมากขึ้น เขาชอบที่จะอยู่ตามกลางวงสนธนา ดังประเด็นต่างๆ ขึ้นมาสนทนา โดยเขาชอบไปอยู่ที่ Nicolay Stankevich ที่สำหรับการอภิปรายปรัญชาเยอรมันร่วมสมัยในยุคนั้น บากุนินไม่มีความรู้เรืองเยอรมันมากนั้น แต่เขาก็เริ่มสนใจในงานเขียนของนักคิดคนสำคัญของเยอรมันอย่าง Kant,Fichte, Hegel หรือ Johann Gottlieb  Fichte งานแรกๆ ของบุกานิน คือผลงานแปลซึ่งส่งไปลงตีพิมพ์ใน The Telescope ของ Vissarion Belinsky หลังจากนั้นบุกานินหันไปสนใจงานของ G.W.F. Hegel และแปล “Gymnassial Lectures” ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มันถูกแปลไปเป็นภาษารัสเซีย บุกานินยังได้เป็นประธานในโรงเรียนที่สอนเกี่ยวกับแนวคิดแบบเฮเกิ้ล (Hegelian School) ในมอสโคว์ด้วย เขามีแนวคิดที่ท้าทายขัดแย้งกับพวกหัวเสรีนิยมในยุคนั้นอย่าง Aleksandr Hertzen ซึ่งรายหลังสนใจในงานของ Charles Fourier, Saint-Simon และ Pierre-Joseph Proudhon
 ในปี 1840 บุกานินเดินทางออกจากรัสเซียเพื่อศึกษาปรัชญาแบบเยอรมันในกรุงเบอร์ลิน  ตัวเขาเองปรารถนาที่จะได้เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมอสโคว์ซึ่งเขาเองก็เข้าร่วมในการเลคเชอร์เป็นบางครั้ง ในห้องเลคเชอร์ตัวเขาเองชอบพูดถึงงานเขียนเรื่อง Rudin ของ Ivan Turgenev ซึ่งเขาเองเปรียบบุกานินเป็นตัวเอกในหนังสือเล่มนี้ [ ดมิทรี รูดิน ตัวเอกในหนังสือเป็นคนมีฐานะยากจนมาก แต่ว่ามีการศึกษาดี จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมอสโคว์ ก่อนที่จะเดินทางไปเยอรมัน]การสอนในโรงเรียนปรัญชาแบบเฮเกลเลียนนั้น เขาเรียกมันว่าเป็น “พีชคณิตของการปฏิรูป (Algebra of Revolution)” โรงเรียนเขาเหมือนโรงเรียนสอนคนนอกศาสนา ที่พยายามสร้างคนอย่าง David Friedrich Strauss, Ludwig Feuerbach
ปี 1842 บากุนิน ย้ายไปยังเมืองเดรสเดน เพื่อสมทบกับ อาโนล์ด รูจ (Arnold Ruge) ผู้นำกลุ่มเยาวชนเฮเกลเลียน (Youth Hegelians) ซึ่งเป็นกลุ่มหัวรุนแรงที่นิยมเฮเกล พวกนี้พยายามเผยแพร่แนวทางการใช้ความรุนแรงในการสนับสนุนการปฏิวัติ แทนการขัดขืน ต่อต้านแบบทั่วไปที่นิยมกันในช่วงนั้นตามแนวคิดแบบสังคมนิยมคำประกาศ แรกของ “Reaction in Germany-A Fragment by a Frechman”  ช่วยเปลี่ยนทัศนคิของคนจำนวนมากต่อการปฏิวัติ โดยโน้มน้าวให้เห็นว่า “ความรุนแรงในการปฏิวัตินั้นเป็นสิ่งที่ดูไม่ดีเพื่อแรกเริ่ม,แต่ว่าเมื่อมันประสบชัยชนะ,มันจะดูราวกับว่าเป็นปาฏิหารย์,จากนั้นมันจะกลายเป็นพลังบวก "ประโยคหนึ่งที่ บากุนินเขียนไว้"Let us put our trust in the eternal spirit which destroys and annihilates only because it is the unsearchable and eternally creative source of all life. The urge to destroy is also a creative urge," "จงเชื่อมั่นในจิตวิญญาณอมตะของพวกเรา จงเชื่อในการทำลายล้างและการสร้างความบรรลัยเท่านั้น เพราะมันเป็นจิตนาการที่หาไม่ได้อีกและจักคงอยู่นิจนิรันดร์ไปตลอดชีวิต การเรียกร้องการทำลายล้างเป็นการเรียกร้องที่สร้างสรรค์"ประโยคสุดท้ายนี้ The urge to destroy is also a creative urge กลายเป็นคำขวัญของแนวคิดอนาธิปไตย (Anarchism) แม้แต่ปิกัสโซ่ ก็ยังติดปากคำนี้
ปี 1843 เขาเดินทางจากปารีสไปยังสวิสเซอร์แลนด์ เขาใช้เวลาในการพักผ่อนบ้าง แต่ก็ยังร่วมเคลื่อนไหวการกลุ่มที่นิยมสังคมนำยม และยังร่วมเคลื่อนไหวกับนักปฏิวัติในเยอรมันอย่าง Wilhelm Weitlingปี 1844 เขาเดินทางไปปารีส เพื่อสบทบกับพวกสังคมนิยมในเยอรมันและฝรั่งเศส ซึ่งในนั้นมี Pierre-Joseph Proudhon และ Karl Marx ซึ่งเขาได้รับคำแนะนำให้พยายามรวมเอากลุ่มคนที่เรียกร้องเสรีนิยมและพวกทาสที่เคลื่อนไหวมาสร้างให้เกิดการปฏิวัติของสังคมนิยม บุกานินไม่ค่อยชอบมาร์กนัก แต่เขาสนับสุน Proudhon ซึ่งไม่กี่ปีต่อมา บุกานินก็ใช้ชีวิตเพื่อสนับสนุนกลุ่มสังคมนิยมประชาธิปไตย ที่ยึดแนวคิดอนาธิปไตย หลังจากรู้จักกับมาร์ก และรูด บุกานินก็ยังได้รู้จักกับ George Sand, Deutsch-Franzosische Jahrbucherตอนนั้นรัฐบาลรัสเซียเริ่มรับรู้ถึงหายนะ หากปล่อยให้บุกานินเดินทางไปไหนมาไหนได้อิสระ เขาอาจจะปลุกพวกหัวรุนแรงในประเทศขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ได้ รัฐบาลรัสเซียจึงออกคำสั่งให้เขากลับประเทศ แต่ว่าบุกานินปฏิเสธการกลับรัสเซียในปี 1844 รัฐบาลรัสเซียยึดทรัพย์สินของเขาทั้งหมด และตำแหน่งทางวิชาการ นอกจากนั้นยังตัดสินให้เขาต้องไปรับโทษในไซบีเรีย ตั้งรางวัลนำจับเขาเป็นเงินหนึ่งหมื่นรูเบิ้ล และยังปล่อยข่าวเพื่อดิสเครดิตว่าเขาเป็นสายลับรัสเซียที่ถูกจ้างให้ก่อปฏิวัติในประเทศต่างๆแทนที่บุกานินจะยอมแพ้ เขาประกาศ เรียกร้องชาวรัสเซียและโปแลนด์ ให้ร่วมกันสร้างสมาพันธ์การปฏิวัติแพนสลาฟวิค (Pan-Slavonic revolution confederation) ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 1847 ณ. กรุงปารีส ซึ่งวันนั้นมีการเฉลิมฉลองรำลึกการก่อจราจลในโปแลนด์ในปี 1830  
เกิดการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ (February Revolution) ในปี 1848 ในปารีส เป็นประสบการครั้งแรกของบุกานินในการต่อสู้บนท้องถนนและสิ่งที่เรียกว่าสงครามชนชั้น ไม่กี่วันต่อมาเขาก็เดินทางไปเยอรมันและโปแลนด์โดยหวังว่าจะให้เกิดการเดินขบวนเช่นเดียวกัน  เขาอยู่ในกรุงปราก(เชคโกฯ) ในเดือนมิถุนายน เข้าร่วมประชุมสภาแห่งสลาฟ เพื่อต้องการตั้งองค์การเพื่อการปฏิวัติและลุกฮือเช่นเดียวกัน  แต่ว่าความพยายามต้องจบเมื่อกำลังทหารออสเตรียทิ้งระเบิดถล่มเมือง และในเยอรมัน เพื่อกลุ่ม Anhail-Kothen ยอมแพ้และถ่อยร่นไป บากุนินได้ออกแถลงการณ์ "ข้อเรียกร้องต่อชาวสลาฟ An appeal to the Slavs” ประณามชนชั้นนายทุนว่าสร้างกองกำลังขึ้นมาเพื่อประทะกับขบวนการปฏิวัติของพวกตน เขาเรียกร้องให้มีการทำลายอาณาจักรแอบเบิร์ก (Habsburg Empire) และสร้างยุโรปกลางให้เป็นสหพันธ์ที่ประชาชนสลาฟจะสามารถอยู่ได้อย่างเสรี เขาเรียกร้องไปยังชาวนา เกษตรกร โดยเฉพาะชาวนาชาวรัสเซียที่มักร่วมในการก่อความรุนแรง เขาอ้างในอุดมคติแห่งความเท่าเทียมกัน ความเสมอภาคและเสรีภาพ เขากล่าวโทษว่ามันมีความอยุติธรรมในสังคม ทำให้เขาต้องใช้ความรุนแรงเข้าแก้ปัญหา เพื่อต่อสู้ ข้อเรียกร้องต่อชาวสลาฟ กล่ายเป็นอีกส่วนหนึ่งในแนวคิดแบบอนาธิปไตยของเขา เขาประกาศว่า การปฏิวัติของสังคมนิยม จะต้องมีความสำคัญเหนือการเมืองทั้งปวง และเหนืออื่นใดคือการปฏิวัติสังคมนิยม พวกเราจะต้องทำให้สภาะสังคมของพวกเราบริสุทธิ์ ต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงนี้ให้เสร็จสิ้น  เปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่างและพวกมันที่ฉ้อฉล จิตสำนึกและเจตจำนงค์ของพวกเรา

บุกานินร่วมถึงนักประพันธ์มีชื่ออย่าง Richarc Wagner ร่วมกันก่อจราจลในเดือนพฤษภาคม 1849 แต่ว่าพอ 9 พฤษคม พวกที่ก่อจราจลก็พ่ายแพ้ บุกานิน , แว๊กเนอร์, อิวเบอร์ ต่างพยายามหลบหนึ่งไปยังเมืองเชมนิตซ์ (Chemnitz) แต่ว่าบุกานินถูกจับตัวได้ ในขณะที่แว๊กเนอร์หนึไปหลบในบ้านน้องสาว และหนีไปได้ บุกานินถูกขังในเมืองเซมนิตซ์และถูกตัดสินให้ประหารชีวิตในพฤษภาคม 1850 แต่ว่าได้รับการลดโทษให้จำคุกตลอดชีวิตแทน ต่อมารัฐบาลออสเตรียได้ขอให้มีการส่งตัวบุกานินมายังออสเตรีย บุกานินถูกนำไปขังยังกรุงปราก ถูกจองจำเป็นครั้งแรก ในคุกออลมุตซ์ (The Olmutz) ที่นี้เขาถูกตัดสินให้ประหารชีวิตอีกครั้ง แต่ก็ได้รับการลดหย่อนให้เป็นจำคุกตลอดชีวิต ในคุกแห่งนี้เขาถูกทารุณ และทรมาน เขาถูกตรวนด้วยโซ่ที่มือและเท้า ติดไว้ที่กำแพง ต่อมาในปี 1850 เขาถูกเนรเทศไปยังรัสเซีย
พฤษภาคม 1851 บุกานินถูกขังอยู่ในคุกของค่ยทหารปีเตอร์และปอล (Peter and Paul Fortress) ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก และด้วยคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ ทำให้เขาเขียนจดหมายสารภาพบาปด้วยลายมือ ซึ่งมีการค้นพบจดหมายนี้กุมภาพันธ์ 1917 ช่วงการปฏิวัติรัสเซียครั้งแรก และถูกนำเผยแพร่ในปี 1921 
แต่ว่าอย่างไร จดหมายของเขาไม่ได้ทำให้้เขาถูกปล่อยตัว เขายังถูกจำคุกต่อไปที่ค่ายปีเตอร์และปอลนี้อีกสามปี ก่อนที่จะย้ายไปยังค่ายสชิลเซลเบิร์ก (Schilsselburg Fortress) อีก 3 ปี ช่วงนี้สุขภาพของเขาเริ่งแย่ลงอย่างรวดเร็ว เขาป่วยเป็นโรคเลือดออกตามไรฟัน ทำให้ฟันของเขาหลุดออก 1857 เขาถูกปล่อยตัวและเนรเทศไปยังไซบีเรีย 5 ตุลาคม  1858 เเขาแต่งงานกับ แอนโตเนีย กเวียตกอฟสกี (Antonia Kwaitkowsky) เป็นลูกสาวของพ่อค้าชาวโปแลนด์ที่ย้ายมายังเมืองเออกุต์ส 1861 , ในขณะเดียวกันผูบริหารไซบีเรียตะวันออกก็เป็นญาตฝ่ายแม่ของบุกานิน ทำให้เขาได้รับอนุญาตให้เดินทางในไซบีเรียได้ โดยอ้างว่าเพื่อทำธุรกิจ เขาปลอมตัวเป็นนักธุรกิจอเมริการก่อนจะขึ้นเรือ วิคเกอรี่ (Vickery) ที่กำลังจะไปญี่ปุ่น จากนั้นก็แล่นต่อไปยังซานฟานซิสโก จากนั้นเขาก็เดินทางข้ามมายังนิวยอร์ค และ 22 ธันวาคม 1861   เขาก็ปรากฏตัวในลอนดอน
ปี 1862 เขากลับเข้าร่วมกับอเล็กซานเดอร์ เฮิร์ทเซน (Alexander Hertzen) ซึ่งรู้จักกันมาตั้งแต่ปี 1847 ในปารีส ตอนนี้เขาเป็นเจ้าของนิตยสารที่นิยมในหมู่รัสเซียอพยพและนักปฏิวัติ ชื่อ Kolokol (ระฆัง)  บากุนินพยายามที่จะต่อสู้ให้เกิดการปฏิวัติขนาดใหญ่โดยชาวนารัสเซีย และรัสเซียอพยพอีกครั้ง แต่ว่าการอาศัยอยู่กับเฮิร์ทเซนเป็นเวลากว่า 14 เดือนในลอนดอน ก็ทำให้เฮิิร์ทเซนรับไม่ไหวกับภาระค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนบากุนินในกิจกรรมหลายอย่างเหมือนกันปี 1863 สถานะการณ์การเมืองในโปแลนด์ระเบิดออก บากุนินและอาสาสมัครชาวโปแลนด์พยายามจะเข้าไปช่วยโดยไปทางเรือจากทะเลบอลติก แต่ว่าตัวเขาเองไปได้แค่สวีเดน การจราจลในโปแลนด์ล้มเหลวไปเสียก่อน ซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับบากุนินอย่างมาก เขาต้องการให้เกิดอนาธิปไตยไปทั่ว1864 เขาไปอยู่ในอิตาลี ซึ่งเขาใช้ชิวิตในประเทศนี้นานถึง 4 ปี ที่นี่่เขาเริ่มที่จะเรียบเรียงแนวคิดแบบอนาธิปไตยให้เป็นระบบมากขึ้น จากประสบประการณ์ และความฝันที่เขาต้องการ เพื่อให้ทั้งศัตรูและผู้ติดตามของเขาเข้าใจความคิดได้ง่ายขึ้น
1866 บากุนินก่อตั้งกลุ่มภารดรภาพสากลขึ้นมาในเมืองเนเปิ้ล เป็นองค์กรลับซึ่งภายหลังเรียกว่าเป็น International Alliance of Social Democracyซึ่งเป็นกลุ่มที่แน่นอนว่าต้องยอมรับความคิดเขา -ปฏิเสธการมีอยู่ของรํัฐ และองค์การศาสนา สนับสนุนให้ประชาชนปกครองชุมชนตัวเอกและแต่ละชุมชนอยู่ร่วมกันในรูปของสหพันธ์ การดูแลแรงงานาบนพื้นฐานสิทธิมนุษย์ชน และการใชัความรุนแรงเพื่อแก้ปัญหา เป็นวัฒนธรรมการปฏิวัติที่วิเศษและโรแมนติก เขาเน้นว่าการปฏิวัติสังคมไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยสันติิวิธี ขณะเดียวกันเขาก็สร้างปรากฏตัวต่อสาธารณชนในภาพของสมาพันธ์สันติภาพและเสรีภาพ (League for Peace and Freedom) ซึ่งองค์กรนี้มีอายุอยู่สั้นๆ เป็นเหมือนหน้ากากเพื่อเคลื่อนไหว ในขณะที่บากุนินยังเป็นผู้นำในกลุ่มฝ่ายซ้าย
1869 กลุ่ม IASD ถูกยกเลิกไป เมื่อบากุนินและผู้ติดตามได้เข้าร่วมกับองค์การเพื่อผู้ใช้แรงงานสากล [ International Workingmen’s Association] หรือรู้จักกันในชื่อ the First International ซึ่งเป็นสหภาพการของกลุ่มการค้าและผู้นิยมความรุนแรง ซึ่งตอนนั้นมีสาขากระจายทั่วไปในยุโรป มีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนระบบทุนนิยมให้การเป็นเครือรัฐสังคมนิยม หรือประเทศต่างๆ เป็นสหพันธ์ ซึ่งองค์กรนี้สนับสนุนแนวคิดของมาร์ก บากุนินเองได้พยายามแปล the capital  ของมาร์กเป็นภาษารัสเซียในช่วงนี้ แต่ว่างานถูกทิ้งค้างไว้ ตัวบากุนินเองไม่เชื่อ และท้าท้ายความคิดของมาร์ก เขาไม่เห็นด้วยกับการมีนักการเมืองที่เป็นตัวแทนอำนาจ ในขณะที่มาร์กเห็นว่าสังคมนิยมเกิดจากการเข้าไปยึดอำนาจจากรัฐ แต่บากุนินเห็นว่าต้องทำลายรัฐลง แล้วค่อยสร้างใหม่โดยให้แรงงานอยู่ร่วมกันแบบเสรีในสหพันธ์ บากุนินไม่ศรัทธาระบบรัฐสภา เขาบอกว่าหามีระบบออกเสียงเท่ากับว่ามันต่อต้านแนวคิดการปฏิวัติเอง เขาเชื่อมันในการปกครองตัวเองแม้จะในคนจำนวนมาก คนเหล่านั้นมาอยู่กันเป็นกลุ่มๆ ภายใต้สถานที่หนึ่งทำให้เกิดรัฐ แล้วจะเกิดเป็นสหพันธ์ที่มีแต่เสรีภาพโดยการปกครองตนเอง โดยจะได้เพลิดเพลินกับการอยู่ด้วยกันโดยมีระยะห่าง นั้นจะด้วยรับประกันเสรีภาพส่วนบุคคลที่แท้จริงได้ เขาคิดว่าแนวคิดแบบมาร์กรังแต่จะทำให้เกิดสังคมที่มีการกดขี่ในรูปแบบใหม่ 1870 บากุนิน พยายามก่อการจราจลในลีออง (Lyons) ฝรั่งเศส แต่ก็ล้มเหลวอีก พวกเขาแพ้ และเขาก็ต้องหลบหนีหมายจัง1871 บากุนิน เขียนหนังสือเรื่อง L’Empire Knouto-Germanique et la Révolution Socialeการประชุมที่เฮก The Hague Congress ในปี 1872 องค์กรแห่งเดียวไม่อาจจะมีสองผู้นำที่แข่งขันกันเองได้  ที่ประชุมได้ขับไล่บากุนินและผู้ติดตามของเขาอีก 30 คนจากองค์กร1873 บากุนิน เขียนหนังสือชื่อ State of Anarchism ซึ่งสะท้อนให้เห็นความขัดแย้งระหว่างเขาและมาร์ก เขาเห็นด้วยกับมาร์กในหลายเรื่องแต่ก็ปฏิเสธระบบศูนย์กลาง ซึ่งนั้นทำให้กลุ่มนิยมอนาธิปไตย ต่อต้านแนวคิดของคอมมิวนิสต์
เวลาสั้นๆในบั้นปลายชีวิต บากุนินเดินทางไปมาระหว่างอิตาลีและสวิสฯ เขาใช้เวลาในการวางแผน การสร้างองค์กรปฏิวัติไม่จบไม่สิ้น เขาสนับสนุนเซอร์กี เนชาเยฟ (Sergey Nechaev) คนรุ่นใหม่ที่นิยมความรุนแรง ในการสร้างพรรค Nihillist party ขึ้นในรัสเซีย สุขภาพของเขาย่ำแย่ลงอย่างรวดเร็วและชีวิตของเขาก็ขึ้นอยู่กับเงินช่วยเหลือที่เพื่อนจากสวิสหรืออิตาลีส่งมาให้ แต่ว่าไม่เคยหยุดที่จะวางแผนก่อการใหญ่1874 เขาร่วมกับเพื่อนที่อยู่ในโบร๊อกน่า (Bologna) ในการวางแผนปลุกระดม แต่ว่าไม่นานเขาก็ถอนตัวและเดินทางกลับสวิสฯวันที่ 1 กรกฏาคม 1876  (19 มิถุนายน) มิคาอิล บากุนิน เสียชีวิต ในกรุงเบิร์น สวิสเซอร์แลน

Don`t copy text!