เซอร์กีย์ ปาฟโลวิช โคโรเลฟ (Сергей Павлович Королев , Sergei Pavlovich Korolev)
เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม 1907 ในเมือง Zhytomyr ปัจจุบันอยู่ในยูเครน ในครอบครัวของครู พ่อแม่ของเขาสอนเกี่ยวกับวรรณกรรมของรัสเซีย บิดา ปาเวล ยากอฟเลวิช โคโรยอฟ (Pavel Yakovlevich Korolyov , 1877-1929) เกิดในเบลารุส และมารดาเกิดที่ยูเครน มาเรีย มอสกาเลนโก (Maria Nikolaevna Moskalenko)
เมื่อโคโรเลฟ อายุได้ประมาณสามขวบ ผู้ปกครองของเขาก็หย่าขาดจากกัน แม่ของเขาส่งโคโรเลฟ ให้ไปอยู่ในการอุปการะของตากับยาย ยายมีชื่อว่าแมรี่ ส่วนตาชื่อ นิโคไล 1917 เริ่มเข้าโรงเรียนประถมในเมืองโอเดสสา (Odessa) ซึ่งแม่่ของเขามาเรีย ได้แต่งงานใหม่กับพ่อเลี้ยง ชื่อจอร์จี บาลานิน (Georgy Mikhailovich Balanin) พ่อเลี้ยงของเขาสอนเกี่ยวกับวิศวกรรมให้เขา ทำให้โคโรเลฟมีความสนใจด้านการบินมาตั้งแต่ในวัยเด็ก ซึ่งทำให้เขาเลือกที่จะเรียนในสาขาวิชาวิศวกรรมการบิน ขญะที่ยังเป็นวัยรุ่นเขาก็มีประสบการในการออกแบบเครื่องร่อนและเครื่องบินแล้ว
1924 โคโรเลฟเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ที่สถาบันโพลีเทคนิค แห่งเคียฟ (Kiev Polytechnic Institue) ในสาขาการบิน เขาเป็นนักเรียนที่ยอดเยี่ยม แต่ว่าอยู่ที่นี่ได้แค่สองปี ฤดูใบไม้ผลิปี 1926 ก็ขอย้ายไปเรียนต่อที่มอสโคว์ในสถาบันบัวมานา (Баумана, Baumanaหรือ Московское высшее техническое училище (МВТУ), Moscow Higher Technical School) ระหว่างอยู่มหาวิทยาลัยเอาออกแบบเครื่องร่อนและเครื่องบินเอาไว้หลายแบบ เช่น เครื่องบินแบบเบา SC-4 (CK-4 ) ซึ่งมันทำลายสถิติการบินได้ระยะทางไกลที่สุดในตอนนั้น นอกนั้นเขายังมีความพยายามในการสร้างเครื่องบินที่สามารถบินไปได้ถึงชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ ซึ่งทำให้ตอนนั้นมีการเริ่มวิจัยในการทำเครื่องยนต์เจ็ต มีการตั้งกลุ่ม GIRD (Group study of Jet propulsion) เพื่อศึกษาการสร้างเครื่องยนต์ขับดัน โดยการริเริ่มของ ทีซานเดอร์ (F. Tsander)
เมษายน 1932 ,GIRD กลายเป็นห้องวิจัยอย่างเป็นทางการของโซเวียตเพื่อการสร้างเครื่องยนต์สำหรับจรวด และในที่สุดสามารถสร้างเครื่องยนต์สำหรับขีปนาวุธข้ามทวีป โดยใช้เชื้อเพลิงเหลวได้สำเร็จของประเทศเป็นครั้งแรก คือ GIRD-09 และ GIRD-10
17 สิงหาคม 1933 การทดสอบเครื่องยนต์ของ GIRD ประสบความสำเร็จ 1933 ปีนี้อีกเช่นกันที่ได้มีการก่อตั้งห้องทดลองก๊าซไดนามิค ในเลนินกราด เป็นสาขาหนึ่งของ GIRD ซึ่งผู้ก่อตั้ง I.T. Kleimenova ได้แต่งตั้งให้โคโลเลฟ เป็นรองประธาน แต่ทว่ามีความเห็ฯที่ไม่ลงรอยระหว่างทั้งคู่ในเวลาต่อมาทำให้โคโรเลฟถูกปลดออกจากตำแหน่ง
1936 โคโรเลฟ เริ่มหันไปศึกษาจรวจมิสไซด์แบบร่อน (cruise) เครื่องต่อต้านจรวจ และจรวดแบบระยะไกลด้วยเชื้อเพลิงเหลว สำหรับเตรื่องบิน แต่ว่าการทดสอบจรวดครุยส์และจรวดต่อต้านอากาศยานในตอนนั้นประสบความล้มเหลว
1938 ศูนย์ศึกษาจรวจสำหรับเครื่องบินของโคโรเลฟ เริ่มทดสอบจรวดที่ยิงจากอากาศสู่พื้นดิน และจรวจที่ใช้เชื้อเพลิงแบบแข็ง
27 มิถุนายน 1938 โคโรเลฟ ถูกเคจีบี จับตัวไปพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ลูกน้องของเขาอีกหลายคน ตอนนั้นสลาตินมีอาการวิตกจริต และสั่งให้มีการกวาดล้างผู้ต่อต้านทั้งหลาย แต่กลับกลายเป็นว่านักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของประเทศหลายคนกลายเป็นผู้ต้องหา “ต่อต้านการปฏิวัติ” ไปด้วย
25 กันยายน 1938 ศาลทหารสูงสุดของสหภาพโซเวียต ตัดสินลงโทษโคโรเลฟ โดยบังคับให้ใช้แรงงานในไซบีเรียตะวันออก มีรายงานว่าระหว่างการสอบสวนโคโรเลฟ ถูกทรมานให้รับสารภาพและทำร้ายจนกรามหัก
21 เมษายน 1939 โคโรเลฟ ถูกส่งตัวมาที่เมือง โคลีมา (Kolyma) โดยเข้าไปฝึกหัดการใช้แรงงานในเหมืองทองมาลแยก (Maldyak gold mine)
2 มีนาคม 1940 เขาถูกส่งตัวกลับมาจำคุกในมอสโคว์แทน ที่เรือนจำ CDB-29 แต่ว่าในฐานะนักโทษ เขายังมีโอกาสในการพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิด Pe-2 และ Tu-2 และยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาจรวดตอร์ปิโดจากอากาศ ซึ่งเป็นมิสไซด์ชนิดใหม่ ความสามารถของเขาเองที่ช่วยให้เขารอดชีวิตมาได้ในฐานะนักโทษ
ปี 1942 เขาถูกส่งตัวไปยังเรือนจำใหม่ CB-DB-16 ในโรงงานเครื่องบินคาซาน หมายเลข 16 (Kazan) ซึ่งกำลังมีการพัฒนาเครื่องยนต์จรวดกันอยู ต้นปี 1943 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าผู้ออกแบบและปรังปรุงประสิทธิภาพของเครื่องบิน Pe-2 ซึ่งเครื่องบินดังกล่าวถูกทดสอบในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน
กรกฏาคม 1944 โคโรเลฟถูกปล่อยตัวก่อนกำหนด แต่ว่าโคโรเลฟตัดสินใจที่จะทำงานต่อไปในโรงงานคาซานอีกปีหนึ่ง
ปี 1945 เขาและนักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งถูกส่งตัวไปยังโครงการวิจัยจรวด V-2 ของเยอรมัน
1946 โคโรเลฟ ได้เข้าทำงานที่แผนก NII-88 หมายเลข 3 ซึ่งตอนนั้นรัฐบาลได้ทำโครงการวิจัยจรวดที่เหมือนกับ V-2 อยู่ก่อนแล้ว แต่เมื่อโคโรเลฟเข้ามา เขาได้ตัดสินใจให้มีการพัฒนาจรวดชนิดใหม่ ที่สามารถยิงไกลได้ถึง 3000 กิโลเมตร และจรวดใหม่ R-1 ก็เริ่มทดสอบครั้งแรกในปี 1948 และประสบความสำเร็จอย่างงดงามในปี 1950
ช่วงปี 1954 มีการพัฒนาจรวด R-1 แตกแขนงออกไปหลายชนิด ทั้ง R-1A,R-1B,R-1D,R-1E จนกระทั้งสำเร็จมาเป็นจรวด R-5 จรวดที่ใช้ต่อต้านหัวรบนิวเคลียร์ และยังมีขีปนาวุธข้ามทวีปอย่าง R-7 และจรวดที่ยิงจากทะเลอย่าง R-11FM ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วย
1955 โคโรเลฟ และ M.Keldysh,K. Tikhonravov เสนอโครงการอวกาศไปยังรัฐบาล โดยต้องการที่จะส่งมนุษย์หรือดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ โดยอาศัยโครงการจรวด R-7 ที่พัฒนาอยู่
ปี 1956 มีการสร้างระบบหัวรบทางยุทธศาสตร์ ซึ่งกลายเป็นมาตรฐานในระบบป้องกันประเทศของโซเวียตในเวลานั้น , ปีนี้ NII-88 ถูกเปลี่ยนเป็นองค์กรที่อิสระขึ้นและเปลี่ยนชื่อเป็น OKB-1 ในเดือนสิงหาคม
1957 ขีปนาวุธข้ามทวีป R-7 ของโซเวียตสำเร็จเป็นครั้งแรกภายใต้การนำของโคโรเลฟ โดยสามารถติดตั้งในทะเลหรือบนบรรทุกโดยรถยนต์เคลื่อนที่บนบกไปได้ เป็นจรวดแบบสองท่อน
4 ตุลาคม 1957 ดาวเทียมสปุตนิก ถูกส่งขึ้นโครจรรอบโลก เป็นดาวเทียมดวงแรกของมนุษยชาติ
เขาเป็นเพียงดาวดวงเล็กๆ ที่สร้างขึ้นโดยฝีมือมนุษย์ แต่เสียงสัญญาณของเขาดังกึกก้องไปทั่วทุกทวีป ทั่วทุกประเทศ และกลายเป็นฝันหวานของมนุษยชาติ , โคโรเลฟ กล่าว
{ Он был мал, этот самый первый искусственный спутник нашей старой планеты, но его звонкие позывные разнеслись по всем материкам и среди всех народов как воплощение дерзновенной мечты человечества }
หลังจากนั้นโีครงการอวกาศก็พัฒนาไปอย่างมาก โดยการแข่งขันระหว่างโซเวียตและสหรัฐอเมริกา ชื่อของโคโรเรฟ ถูกประทับเกียรติยศด้วย “Firsts” เสมอ ไม่ว่าจะเป็น สัตว์ตัวแรกในอวการ แผนที่ดวงจันทร์ครั้งแรก มนุษย์คนแรก และการเดินในอวกาศครั้งแรก แต่ตอนนั้น นอกจากชื่อของกาการินแล้ว ชื่อ เซอร์เกีย์ โคโรเลฟ ไม่ได้ถูกเอยถึงเลย แม้แต่คณะกรรมการโนเบล ก็ส่งจดหมายมาถาม นิกิต้า ครุสเชฟ ผู้นำโซเวียตตอนนั้นว่าใครเป็นผู้ส่งดาวเทียมสปุตนิก แต่ครุสเซฟ ตอบว่า “ประชาชนชาวโซเวียต” ชื่อของเขาถูกซ่อนไว้จากมวลชน แต่เอยถึงแค่ในนามลึกลับ “Chief Designer” หัวหน้าผู้ออกแบบเท่านั้น กว่าที่จะมีการเปิดเผยชื่อเขาให้รับรู้กันก็เมื่อเขาเสียชีวิตไปแล้ว
ปี 1959 OKB-1 ออกแบบยานไร้นับบินไปโคจรรอบดวงจันทร์ เพื่อถ่ายภาพแผนที่ส่งกลับมายังโลก ยานลูน่า-2 ถ่ายภาพดวงจันทร์ส่งกลับมาได้
1961 ส่งยาน Venera-1 ไปสำรวจดาวศุกร์เป็นครั้งแรก
1961 ยูริ กาการิน เดินทางไปกับยานวอสต็อค (Vostok) เป็นมนุษย์อวกาศคนแรก
1963 วาเรนติน่า เทเรสโคว่า (Valentina Tereshkova) เป็นนักอวกาศหญิงคนแรก เดินทางไปกับยาน Vostok-6
1964 สามารถส่งดาวเทียมสองดวงจากการยิงจรวดครั้งเดียวได้เป็นครั้งแรก โดยส่งดาวเทียม Elektron-1,2 ไปพร้อมกัน
1965 อเล็กซี ลีโอนอฟ (Alexei Leonov) เป็นมนุษย์คนแรกที่เดินในอวกาศ
1966 ยาน Venera-3 ซึ่งปล่อยไปในปีก่อนสามารถลงบนดาวศุกร์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก , และยาน Luna-9 สามารถลงบนดวงจันทร์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก, ยาน Luna-10 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่โคจรรอบดวงจันทร์
ก่อนเสียชีวิตลง โคโรเลฟ กำลังพัฒนาจรวด N-1 สำหรับส่งนักบินอวกาศไปลงบนดวงจันทร์ และพัฒนาโครงการสถานีอวกาศ และจรวด Soyuz แต่ว่าเขาเสียชีวิตในปี 1966 ด้วยอาการหัวใจวาย หลังวันเกิดอายุ 59 ปี 2 วันเขาเสียชีวิตลง 14 มกราคม 1966
โครงการอวกาศของโซเวียตหยุดนิ่งลงและอีก 3 ปีต่อมาสหรัฐอเมริกา ก็ประทับรอยเท้าลงบนดวงจันทร์ได้สำเร็จ