Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Republic of Lakotah

http://www.republicoflakotah.com/2009/158-year-struggle-for-legal-justice/

1824 – มีการตั้ง Indian Service Department (BIA) ภายใต้กรมกิจการสงคราม (War Department)

1849 –  Indian Service Department (BIA) ถูกโอนไปยังกระทรวงมหาดไทย  (Department of the Interior)

1851 – สนธิสัญญาฟอร์ต ลาแรเมีย ( Fort Laramie) ระหว่างสหรัฐอเมริกาและอินเดียน รับรองให้มีการสร้างตั้งประเทศลาโกทาห์  (Thre Great Lakotah (Sioux) Nation )

1853-56 – สหรัฐอเมริกายึดเอาที่ดินกว่า 174 ล้านเอเคอร์ของชาวอินเดียนไป และละเมิดข้อตกลง1854 – คณะกรรมการกิจการอินเดียนของสหรัฐเรียกร้องให้ชาวอินเดียนหยุดความพยายามแยกตัว แต่ถูกปฏิเสธ

1862-63 – การลุกฮือขึ้นประท้วงของประชาชนอินเดียน ซานตี ซิออก (Santee Sioux uprising) ในรัฐมิเนโซต้า ภายใต้การนำของเชฟ ลิตเติ้ล คราว (Chief Little Crow) ผลปรากฏว่าชาวซานตี 38  คนถูกสหรัฐจับแขวนคอ ในวันที่ 26 ธันวาคม 1863 เป็นการตัดสินประหารชีวิตประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐ โดยการสังการของประธานาธิบดี ลินคอล์น (President Lincoln) โดยไม่เปิดโอการให้มีการสอบสวน เป็นการประหารชีวิตเพียง 2 วันหลังจากอับราฮัม ลินคอร์น เพิ่งลงนามในประกาศเลิกทาส

1864 – วันที่ 29 พฤศจิกายน พันเอก จอห์น ชิวิงตัน ( Colonel John M. Chivington) ของสหรัฐได้มีการสังหารหมู่ชชาวเชเยนนี (Cheyenne)  300 คน ในนี้มีทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก ซึ่งตั้งแคมป์กันอยู่ในเขตอุทยานแซน ครีก (Sand Creek) 

1866 – สภาครองเกรสของสหรัฐยึดเอาที่ดินของชาวอินเดียน โดยละเมิดสนธิสัญญาฟอร์ตลาแรเมีย เพื่อที่จะใช้สร้างทางรถไฟข้ามทวีป 

1866-68 – สหรัฐอเมริกาละเมิดสนธิสัญญาอย่างรุนแรงอีก คราวนี้มีการตัดเส้นทางสาย Bozeman  Trail เพื่อเปิดให้นักขุดทองเข้ามาหาทองคำในมอนทาน่าซึ่งเป็นเหมือนหัวใจของชาวลาโกทาห์ ไม่นานก็เกิดสงครามขึ้น ชาวอินเดียน เชเยนนี (Cheyenne) ลาโกทาห์ (Lakatah) และ อราปาโฮ (Arapaho) นำโดยเชฟ เรด คลูด (Chief Red Cloud) ได้ปะทะกับทหารสหรัฐอเมริกา ซึ่งสงครามในครั้งนั้นชาวอินเดียนเป็นฝ่ายชนะ สหรัฐอเมริกายอมจ่ายเงินค่าเสียหายและตกลงที่จะทำสัญญาในปี 1868 รับรองสนธิสัญญาฟอร์ตลาแรเมีย Fort Laramie  ฉบับปี 1868

1868 – สหรัฐอเมริการปฏิญาณว่า เขตอุทยาน เกรท ซิออก (Great Sioux Reservation) รวมทั้ง ภูเขาสีดำ (Black Hills) เป็นสมบัติโดยสมบูรณ์ของชนชาวอินเดียน “set apart for the absolute and undisturbed use and occupation of the Indians herein named.”สนธิสัญญาฟอร์ต ลาแรเมียนี้ยังได้มีข้อตกลงอีกหลายข้อ เช่น การจัดตั้งเขตอุทยานเกรท ซิออก และสหรัฐอเมริกายังยอมรับด้วยว่าจะไม่สามารถส่งใครที่ไม่ได้รับอนุญาติเข้ามาตั้งชุมชน หรือเดินทางผ่านเข้ามาในดินแดนนี้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากชาวอินเดียนสอง, สหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ชาวซิออกสามารถเลิกใช้ที่ดินในเขตอุทยานเพื่อการเพาะปลูกได้ โดยชาวซิออกจะกลายเป็นเพียงเกษตรกรธรรมดาเพื่อตอบแทน และสหรัฐจะจัดหาอุปกรณ์และอำนวยความสะดวกที่จำเป็นให้เป็นเวลาอย่างน้อยสีปีสาม, สหรัฐอเมริกาละเมิดโดยอ้างว่าสนธิสัญญา เมื่อ 17 กันยายน ปี 1851 อ้างว่าชาวชิออกยินยอมให้สหรัฐอเมริกาเข้ายึดดินแดนนอกพื้นที่เขตสงวนได้ โดยแค่ยอมให้พวกเขาสามารถล่าสัตว์ในเขตทางเหนือของ North Plate และเขตสาธารณฟอร์ก (Republican Fork) บริเวณแม่น้ำสโมกีฮิล (Smoky Hill River) และอ้างว่าชาวอินเดีย ได้ยินยอมที่จะยกเว้นปฏิบัติการต่อต้านใดๆ ต่อการสร้างทางรถไฟใดๆ ที่ไม่ผ่านเข้าเขตสงวน จะไม่ต่อต้านการตั้งถิ่นฐาน และการสร้างถนนในบริเวณตอนเหนือของแม่น้ำนอร์ทเพลต (North Platte River)สี่, ข้อ 12 ของสนธิสัญญาระบุว่า “จะไม่มีการทำสัญญายกดินแดนส่วนหนึ่งส่วนใดของเขตสงวนนี้ การทำสัญญาใดๆ จะต้องมีการเห็นชอบโดยการลงนามจากผู้อาวุโสชาวอินเดียน ¾ ”

1868 – คณะกรรมการสนธิสัญญาจากฝ่ายสหรัฐอเมริการะหว่างเดินทางกลับวอชิงตัน ดี.ซี. ได้มาหยุดที่ชิคาโก แล้วมีการแก้ไขข้อความในสนธิสัญญา โดยละเมิดและเอาดินแดนที่ปัจจุบันเป็นรัฐเนบราก้า (State of Nebraska) ไป

1869 – ทางรถไฟข้ามทวีปเสร็จเรียบร้อย ซึ่งกลายเป็นทางรถไฟที่ขนเขานักล่าสัตว์จำนวนมากเข้ามาล่าควายป่า 

1871 – สภาคอนเกรสให้การรับรองสนธิสัญญา 372 ฉบับ ที่ทำไว้กับชนอินเดียนตั้งแต่ปี 1778 แต่เลี่ยงที่จะบอกว่าเป็นการทำสนธิสัญญาระหว่างสองชาติที่มีอธิปไตยเท่าเทียมกัน นายพลเชริดาน (General Sheridan) ได้ออกคำสั่งห้ามชาวอินเดียนทางตะวันตกเดินทางออกจากเขตสงวนโดยไม่ได้รับอนุญาติ ขณะเดียวกันนักล่าสัตว์ผิวชาวจำนวนมากเข้ามาล่าควายป่าเพื่อการค้า1874 – สหรัฐอเมริกา ละเมิด สนธิสัญญา , พันเอก จอร์จ อาร์มสตรอง คัสเตอร์ (Lieutenant Colonel George Armstrong Custer) ได้นำทหารจำนวนกว่า 1,000 นาย และยังมีลูกทีมที่เป็นประชาชน บุกเขาหุบเขาแบล๊กฮิลล์ (Black Hills) ในปลายเดือนกรกฏาคม และตอนกลางเดือนสิงหาคม พวกเขาได้ยืนยันว่าที่ดินบริเวณนั้นมีการค้นพบสินแร่ทองคำ การค้นพบดังกล่าวกลายเป็นข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์ทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา ซึ่งสร้างผลกระทบ ให้เกิดการเรียกร้องให้มีการ “เปิด” พื้นที่หุบเขาสำหรับนักขุดทอง เขามาตั้งถิ่นฐาน แต่ว่าสนธิสัญญาฟอร์ทลาแรเมีย ได้ประกาศไว้ชัดเจนว่าหุบเขานั้นเป็นของชาวซิออกมีบทสัมภาษณ์ที่ตีพิมพืในหนังสือพิมพ์ Bismarck Tribune ฉบับ 2 กันยายน 1874  พันเอกคัสเตอร์ได้ยอมรับว่าเขามีหน้าที่ในการห้ามมิให้มีการบุกรุกพื้นที่สงวนตามภาระผูกพัน แต่เขาได้แนะนำไปยังสภาคองเกรสว่า “ควรใช้ปฏิบัติการทางทหารเพื่อกำจัดชาวอินเดียน"จากคำกล่าวในรายงานปี 1874  ของนายพลพิลิป เชอริดาน (Lieutenant General Philip H. Sheridan) ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหาร ในมิสสัวรี (Missouri division) ไปยังเลขาธิการสงคราม (Secretary of War) กล่าวว่า "ได้มีการสัญญากับซิออกเอาไว้ว่าหุบเขาแบล๊กฮิลเป็นของพวกเขา กองทัพแห่งสหรัฐอเมริกาได้มาอยู่ในฐานะที่ต้องใช้กำลังทหาร ในบางโอกาส เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้บุกรุกเข้าไปในพื้นที่ของชาวอินเดียน”

ตัวอย่าง กันยายน 1874 นายพลชิริดาน ได้มีคำสั่งไปยังนายพล อัลเฟรด เทอรี่ (Brigadier General Alfred H. Terry) ซึ่งเป็นผู้บัญญชกาหน่วยในดาโกต้า(Dakata) และ เซนต์พอล (Saint Paul)  ให้ป้องกันการบุกรุกเข้าไปในพื้นที่สงวนของซิออก แต่ที่จริงก็รู้กันดีคือนายพลเชริดานให้การสนับสนนุการเข้าไปตั้งถิ่นฐานของผู้รุกรานในหุบเขาแบล๊กฮิล เขาเรียกร้องให้สภาคองเกรสตัดสินใจ “ให้เปิดพื้นที่เพื่อการตั้งถิ่นฐาน โดยการฉีกสนธิสัญญาที่รับรองสิทธิของชาวอินเดียน” เชริดานออกคำสั่งซึ่งได้มีการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นว่า รัฐบาลท้องถิ่นได้มีการตัดสินใจแล้วให้มีการละเมิดสนธิสัญญาที่ประเทศได้ทำไว้กับชาวชิออกที่ให้สิทธิในพื้นที่แก่คนพวกนั้น จดหมายมีการลงวันที่ 9 พฤศจิการยน 1875 ส่งไปยังนายพลเทอรี่ นายพลเชริดานยังได้กล่าวว่าเขาได้พูดคุยกับท่านประธานแกรน (President Grant) เลขาธิการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสงคราม (Secretary of the interior, Secretary of War) และประธานแกรนได้ตัดสินใจว่าควรจะใช้ปฏิบัติการทางการทหารแต่มิใช่เพื่อการต่อต้านพวกนักขุดทองที่จะเข้าไปยังพื้นที่หุบเขาแบล๊กฮิลล์ “เขาคิดว่าการใช้กำลังใดๆ รังแต่จะทำให้นักขุดทองมีความกระหายกันมากขึ้นและปัญญาจะซับซ้อน”
เขาได้ออกคำสั่งให้มีการปฏิบัติเสริมทหารอย่าง “เงียบๆ”  และประธานได้มีความ “มั่นใจ” (จาดจดหมายจากชิริดานถึงเชอร์แมน) ให้กองทัพถอนตัวจากความรับผิดชอบตามสนธิสัญญาฟอร์ตลาเรเมีย ปล่อยให้มีคนหลั่งไหลเข้าไปในหุบเขาแบล๊กฮิล เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เขาคิดว่าหน้าที่อย่างเดียวของรัฐบาลก็คือ รับประกันความปลอดภัยของประชาชนชาวสหรัฐอเมริกาและรับรองว่าพวกเขามีสิทธิในการขุดทอง ผลก็คือ กระทรวงมหาดไทย ในปลายฤดูใบไม้ผลิ ปี 1875 ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อเจรจากับชาวซิออก คณะกรรมการนำโดย วิลเลียม อัลลิสัน (William B. Allison) แต่ผู้นำเผ่าาของฝ่ายซิออกได้ปฏิเสธที่จะขายที่ดิน ด้วยราคาที่ตำกว่า 70 ล้านเหรียญ คณะกรรมการได้มีการเสนอเช่าที่ดินด้วยราคา 400,000 เหรียญต่อปี หรือรวมแล้วไม่เกิน 6 ล้านเหรียญสำหรับหุบเขาแบล๊กฮิลล์ การเจรจาจึงล้มเหลว
ฤดูหนาว 1875-1876 – ชาวซิออกอยู่ระหว่างการออกล่าสัตว์ในดินแดนทางเหนือเหนือแม่น้ำนอร์ทเพลต (North Platte River) เขตสงวนของพวกเขาที่รับรองโดยสนธิสัญญษฟอร์ตลาแรเมีย ในวันที่ 6 ธันวาคม 1875 ได้มีคำขู่ โดยคณะกรรมการกิจการอินเดียน (Commissioner of Indian Affairs) ออกคำสั่งไปยังชาวอินเดียนดังกล่าวให้กลับไปยังที่ตั้งก่อนวันที่ 31 มกราคม 1876 ไปอย่างนั้นจะโดนปฏิบัติ อย่าง “โหดเหี้ยม"แต่ว่าอากาศที่หนาวจัดในปีนั้น ทำให้การปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการในการเดินทางกลับเป็นไปไม่ได้เลย จน 1 กุมภาพันธ์ ได้มีหนังสือไม่รับรองสิทธิการล่าสัตว์ในพื้นที่ไม่เฉพาะต่อชาวซิออก แต่รวมไปถึงชาวอินเดียนทุกคน ไปยังแผนกสงคราม
1876 – เกิดสงครามระหว่างชาวซิออก(Sioux) , เชเยนนี(Cheyenne) , อราปาโฮ (Arapaho) ปะทะกับ ซิตติ้งบูล (Sitting Bull (ชื่อคน)) , เครซี่ฮอร์ส(Crazy Horse (ชื่อคน) ) และในวันที่ 25 มิถุนายน กองทหารที่ 7 ของพันเอกคัสเตอร์ ได้มายังสมรภูมิที่ลิดเติ้ลบิ๊กฮอร์น (Little Bighorn) ซึ่งใกล้กลับหมู่บ้านลาโกทาห์ ชาวอินเดียนเป็นฝ่ายแพ้ และผู้ที่ยอมมอบตัวก็ต้องกลับเข้าไปยังเขตสงวน โดยต้องส่งมอบอาวุธและม้า ทำให้วิถีชีวิตพวกเขาต้องขึ้นอยู่กับการอนุเคราห์จากรัฐบาลสหรัฐ 
1876 – สหรัฐอเมริกา ละเมิดสนธิสัญญาอีก "จงมอบแผ่นดินมาหรือไม่ก็อยู่อย่างอดอยาก” สิงหาคม, สภาคองเกรสผ่านกฏหมาย ยกเลิกสิทธิในการล่าสัตว์และอ้างกรรมสิทธิเหนือหุบเขาแบล๊กฮิลล์ว่าเป็นของสหรัฐคณะกรรมการ นำโดยจอร์จ เมนีเพนนี (George Manypenny) เดินทางมายังประเทศของซิออกในเดือนกันยายน และได้มีการพบปะกับผู้นำชนเผ่าหลายกลุ่มหลายคน คณะกรรมการได้บอกกับชาวอินเดียนว่าสหรัฐอเมริกาไม่ได้มีหน้าที่ในการดูแลพวกเขาอีก พวกเขายังได้นำสนธิสัญญาฉบับใหม่มาด้วย โดยเนื้อหาระบุให้ชาวซิออกเสียกรรมสิทธิในหุบเขาแบล๊กฮิลล์และดินแดนอื่นทางตะวันตกจากเส้นเมริเดียน 103 (103 meridian) นอกจากนั้นยังหมดสิทธิในการล่าสัตว์ในดินแดนตอนเหนือ โดยการแลกกับการได้รับการคุ้มครองจากสหรัฐไม่ให้ชาวซิน๊อกสูญพันธ์เฮแกน (Hegan) นโยบายเขตสงวน น้อยเกินไปและยังช้าเกินไประหว่างความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียนและอเมริกันขาว ,ข้อสงวนที่ 157-169 (J. Smith & R. Kvasnicka, 1976) ได้มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับเขตสงวนของชิออก โดยศาสตร์จาน เฮแกน ว่า “แนวความคิดที่ว่ารัฐบาลสหรัฐจะต้องคอยหาอาหารส่งให้พวกอินเดียน แลกกับการที่พวกอินเดียนจะหยุดล่าสัตว์และสามารถทำการเกษตรได้นั้น นอกจากนั้นสนธิสัญญายังอนุญาติให้มีการล่าสัตว์ในพื้นที่สงวนโดยไม่ได้กำหนดขอบเขต นั้นเป็นสาเหตุให้มมีการปะทะกันระหว่างเหล่านักล่าเอง และกับคนผิวขาว ชาวอินเดียนยังกลายเป็นว่าต้องมาขึ้นอยู่กับรัฐบาลมากขี้น โดยที่พวกไม่สามารถจะทำการเกษตรกรรมได้ตามกำหนดเวลา และอาหารที่รัฐบาลจัดให้ก็จะไม่มีวันเพียงพอกับความต้องการ นอกจากนั้นยังเป็นอาหารคุณภาพที่แย่ … ”

1877 – กุมภาพันธ์ 28  สภาคองเกรส อ้างว่าได้ทำข้อตกลงกับ ¾ อินเดียนผู้ใหญ่ โดยให้ข้อตกลงในปี 1876 (1877 Act.) 19 Stat. 254 โดยเป็นไปตามสนธิสัญญาฟอร์ตลาเรเมีย และข้อตกลงที่ทำไว้กับคณะกรรมการชุดของ เมนีเพนนี กับผู้นำของซิออก ข้อกฏหมาข้อ 1877 นี้ รับรองให้ผู้บุกรุกเข้าไปยังหุบเขาแบล๊กฮิลล์ แต่ว่าตลอดปีนั้นชาวซิออกต่างก็ยังคงคิดว่าหุบเขาเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาติตนและมีหน้าที่ในการปกป้องรักษาและหุบเขาจะเป็นที่อยู่ของอินเดียนเท่านั้นและมันได้ถูกรับรองโดยคนขาวและรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา

1877 – เครซี่ฮอร์ส (Crezy Horse) ถูกคนขาวสังหารอย่างทารุณแม้ว่าพวกเขาจะยอมแพ้1881 – ซิตติ้งบูล (Sitting Bull) และผู้ติดตามอีก 187 คน มอบตัวกับเจ้าหน้าที่สหรัฐอเมริกา แห่งสำนักงาน ฟอร์ต บุฟอร์ด ในนอร์ดดาโกต้า (Fort Buford, North Dakota)

1885 – มีการล่าและต้อนควายป่าจำนวนมากในสหรัฐอเมริกา (ครั้งหนึ่งเคยมีจำนวนถึง 60 ล้านตัว) จนเกือบสูญพันธ์ แต่ทว่าประวัติศาสตร์สหรัฐไม่เคยใส่ลงในตำรา รัฐบาลให้เวลาอีก 60 ปี ถึงจะยอมรับว่านั้นเป็นเรื่องจริง และเป็นความผิดผลาดเหมือนการฆ่าล้างเผ่าพันธ์

1887– สภาคองเกรสผ่านกฏหมายจัดสรรที่ดิน (General Allotment Act (the Dawes Act)) ซึ่งเท่ากับเป็นการสิทธิสุดการรับรองพื้นที่เขตสงวน โดยจัดสรรที่ดิน 160 เอเคอร์ ให้กับชาวอินเดียน ในขณะที่พวกพวกเขาเคยเป็นเจ้าของแผ่นดินหลายล้านเอเคอร์ (ในตอนนี้ที่ดินจำนวนมากตกอยู่ในมือคนขาวแล้ว)1888- คองเกรส พยายามตรากฏหมาบอกว่าวิถีชีวิตของอินเดียน ดวงวิญญาณและพิธีกรรมเผ่าศพต่างๆ ผิดกฏหมาย

1890-1910 – จำนวนประชากรอินเดียนลดลงตำสุดเป็นประวัติการณ์ เหลือน้อยกว่า 250,000 คน โดยก่อนที่จะถูกรุกรานในปี 1492 มีอินเดียนกว่า 14 ล้านคน กระจ่ายอยู่ใน 48 รัฐของสหรัฐอเมริกา

1890 – ธันวาคม 15, 1890 ซิตติ้งบูล (Sitting bull) ถูกฆ่าตายในเขตสงวนแสตนดิ้งร๊อค (Standing Rock Reservation)  ในรัฐเซาท์ดาโกต้า (south Dakata) ทำให้เกิดความตึงเครียดในพื้นที่

1890 ธันวาคม 28 ทหารอเมริกาสังหารหมู่ชาวซิออก กว่า  300 ซึ่งเป็นเฉลยในส่งคราม ซึ่งรู้จักเหตุการณ์นี้ในชื่อ Wounded Knee ซึ่งหมายถึงคนที่เดินทางไปเพื่อพบกันที่องค์กร Red Cloud หลังจากปลดอาวุธชาวอินเดียนแล้ว ทหารสหรัฐได้ใช้ปืนขนาดเล็กและปืนกลหมุนรุ่นใหม่ 4 ตัวที่ยิงกระสุนขนาด 1.25 นิ้ว

ในตำราประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาได้สรุปไว้ตอนท้ายว่าได้มีการมอบเหรียญตราเกียรติยศกว่า 20 เหรียญ ชื่อว่า Congressional Medals of Honor for Valor แก่กองทหารหน่วยที่ 7 ด้วย (7th Calvary) ตราบจนปัจจุบันเป็นสถิการมอบเหรียญที่มีเกียรติสูงที่สุด ไม่นับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 

1891 การศึกษาของอินเดียน สภาคองเกรสได้อนุญาตให้คณะกรรมการกิจการอินเดียน “ใช้วิธีการตามสมควร” บังคับและตรวจสอบให้เด็กชาวอินเดียนต้องไปโรงเรียนซึ่งโรงเรียนเหล่านั้นออกแบบไว้สำหรับคนที่ไม่ใช่ชาวอินเดียน เด็กๆ ถูกพรากไปจากผู้ปกครองและถูกส่งไปอยู่ตามโรงเรียนประจำของพวกมิสชันน่ารีไม่ก็โรงเรียนรัฐบาล นี้เป็นมาตรการคล้ายการสังหารหมู่ทางความคิด พรากเด็กไปจากผู้ปกครอง โดยอ้างกฏหมาย 1978 “Indian child Welfare Act” กฏหมายสิทธิเด็กชาวอินเดียน
1891 – แก้กฏหมาย Dawes Act โดยมีการแก้จำนวนที่ดินที่จะจัดสรร และกำหนดเงือนไขสำหรับการเช่าที่ดิน
1891 – คองเกรสอนุญาตให้คนขาวสามารถเช่าที่ดินของอินเดียนที่ถูกจัดสรรได้
1893 – การศึกษาของอินเดียน สภาคองเกรสบังคับให้เด็กอินเดียนต้องไปโรงเรียนที่กำหนด และอนุญาตให้ BIA ลงโทษผู้ปกครองที่ไม่ยอมส่งเด็กๆ ไปโรงเรียน
1898 – กฏหมาย Curtis Act. คองเกรส ประกาศยกเลิกรัฐบาลของชนเผ่า (Tribal govenments) ที่ปฏิเสธไม่ร่วมในการจัดสรรที่ดินของชาวอินเดียนในแผ่นดินของพวกเขา และยังรวมถึงที่ดินของ เชอร์โรกี (Cherokee), ครีก (Creek), ชอคตาว (Choctaw), ชิกกาซาว (Chickasaw) และ เซมิโนล์ (Seminole)1898 – สหรัฐอเมริกามีการละเมิดกฏหมวอีก โดยกฏหมาย Curtis Act ได้ขยายการมอบที่ดินให้กับ “ห้าชนเผ่า” โดยยุบรัฐบาลของชนเผ่า และเรียกร้องให้มีการยกเลิกชาติของอินเดียนทั้งหลายเพื่อแลกกับการจัดสรรที่ดิน และมีการสร้างรัฐบาลใหม่ภายในดินแดนของคนอินเดียน1903 – Lone Wolf v. Hitchcock, 187 U.S. 553, 23 S.Ct. 216, 47 L.Ed. 299 (1903) คำตัดสินของศาลสูงสุด The Kiowas and Comanches ได้มีการสั่งให้เลขาธิการกระทรวงมหาดเลยหยุดการจัดสรรที่ดินโดยที่ไม่ได้มีการปรึกษากับชนพื้นเมือง ซึ่งนั้นเป็นการกระทำที่ละเมิดสนธิสัญญาปี 1867 Theaty of Medicine Lodge ศาลเห็นว่ามีหน้าที่ในการสร้างความสัมพันธ์และความเชื่อมั่นต่อชนพื้นเมืองภายใต้กรอบสนธิสัญญา ดังนั้น สภาคองเกรสโดยหน้าที่แล้ว ควรจะต้องไปยกเลิกสนธิสัญญาที่ทำไม้กับอินเดียนก่อน ไม่เช่นนั้นเท่ากับคองเกรสใช้อำนาจเหนือชนเผ่าโดยผละการ1906 – กฏหมาย Antiguities Act. ซึ่งออกโดยคองเกรีสประกาศว่า กระดูกของชาวอินเดียนแลวัตถุที่ถูกขุดพบให้เป็นสมบัติของสหรัฐอเมริกา กฏหมายนี้ช่วยปลดปล่อยนักโบราณคดีและนักล่าสมบัติที่เข้าไปขโมยสมบัติตามสุสานของอินเดียน

1906 – กฏหมาย Burke Act. กฏหมายนี้ช่วยแก้กฏหมาย Dawes Act ที่ให้อำนาจเลขานุการกิจการสงครามมีอำนาจในการยกเลิกการจัดสรรที่ดิน ก่อนกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ใน Dawes Act. ซึ่งเท่ากับว่ารัฐบาลเปลี่ยนจุดยืนในการมอบสิทธิพลเมืองให้กับประชาชนที่ได้รับการจัดสรรที่ดิน

1908 – การละเมิดสนธิสัญญา , ศาลสูงสุดรับรองอำนาจของรัฐบาลสหพันธ์ (Federal Government)ในการสร้างแหล่งกักน้ำสำรอง สำหรับชาวอินเดียนใช้

1910 – การละเมิดสนธิสัญญา , รัฐบาลสหพันธ์ไม่อนุญาตให้ชาวอินเดียนประกอบพิธีซันแดนส์ (Sun Dance) ตามวัฒนธรรมเพราะเห็นว่าเป็นการ ทรมารตัวเอง

1923 – ชาวลาโกทาห์ หลังจากความพยายามในการวิ่งล็อบบี้อยู่หลายปี ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จในการร้องต่อสภาคองเกรส ให้มีการตั้งคณะกรรมการชุดพิเศษ ขึ้นมาเพื่อสอบสวนการกระทำผิดของเจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาต่อคนพื้นเมื่อ “ไม่ว่าจะเป็นสนธิสัญญา, ข้อตกลง, หรือว่ากฏหมายของสภาคองเกรสเอง , หรือว่าการใช้เงินหรือที่ดินของชนพื้นเมือง โดยผิดกฏหมาย”  ในปี 1923 นี้ ซิออกได้ยืนข้อร้องเรียนต่อศาลกล่าวหารัฐบาลว่ายึดเอาหุบเขาแบล๊กฮิลล์ไปโดยไม่มีการจ่ายเงินชดเชย แต่ว่าการร้องนี้ตกไปในปี 1942 และได้มีการอุทรณ์ใหม่ไปยังศาลอินเดียน (The Indian Court of Claims) ในปี 1946 และส่งไปยังศาลสูงถึง 3 ครั้ง และได้รรับการตัดสินในปี 1980 ซึ่งนับว่าเป็นการร้องเรียนเรียกร้องค่าเสียหาายที่ยาวนานกว่า 58 ปี แต่ศาลไม่ได้ตัดสินคืนดินแดนให้แต่ว่าจ่ายค่าเสียหาย
1924 – กฏหมายความเป็นพลเมืองอินเดียน The Indian Citizenship Act. หรือรู้จักกันในชื่อ The Snyder Act ถูกเสนอโดย ส.ส. โฮมเมอร์ พี. ซไนเดอร์ (Homer P. Snyder) แห่งรัฐนิวยอร์ค โดยให้สถานะพลเมืองสหรัฐอเมริกาโดยสมบูรณ์แก่ชาวอเมริกันพื้นเมือง ที่เรียกกันว่า “อินเดียน” กฏหมายได้รับการลงนามรับรองโดย ประธานาธิบไดี คาลวิน คูลิดก์ (President Calvin Coolidege) ในวันที่ 2 มิถุนายน อย่างไรก็ตามจนปัจจุบันไม่ใช่ชาวอินเดียนทุกคนที่ได้รับสถานะพลเมือง

1927 – สภาแห่งอินเดียน (Grand Council of American Indians)

คนขาว, ผู้ซึ่งพยายามเปลี่ยนพวกเราให้เป็นไปอย่างที่พวกเขาต้องการ, คนพวกนั้นต้องการให้พวกเราเป็นเหมือนอย่างพวกเขา , เปลี่ยนชาวอินเดียนให้เป็นเหมือนพวกเขาโดยให้พวกเราทำลายวิถีชีวิตและรูปแบบวัฒนธรรมของพวกเรา คนเหล่านั้นเชื่อว่าวิถีชีวิตแบบพวกเขาเป็นอุดมคติของความสุข จริงๆ แล้วมันเป็นแต่วัตถุนิยมและความโลภ ซึ่งมันแตกต่างอย่างมากกับวิถึของพวกเรา พวกเราต้องการเสรีภาพจากคนขาวมากกว่าที่จะถูกควบรวม เราไม่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของในสังคมพวกเขา พวกเราต้องการเสรีภาพในการเลี้ยงดูเด็กๆ ของพวกเรา ด้วยศาสนา และวิถีทางของตัวเอง ต้องการออกล่า และมีชีวิตอย่างสันติ เราไม่ต้องการอำนาจ เราไม่ต้องการผู้แทนในคองเกรส หรือนายธนาคาร … พวกเราต้องการเป็นอย่างที่พวกเราเป็น พวกเราต้องการรักษามรดกวัฒนธรรมของเรา เพราะว่าพวกเราเป็นเจ้าของแผ่นดินนี้ พวกเเราเป็นพลเมืองของแผ่นดินนี้ คนขาวพูดว่า , มีเสรีภาพและความยุติธรรมสำหรับทุกคน , พวกเรามี “เสรีภาพและความยุติธรรม” และ ทำไมหล่ะพวกเราถึงถูกกำจัด พวกเราไม่มีวันลืม
The white people, who are trying to make us over into their image, they want us to be what they call “assimilated,” bringing the Indians into the mainstream and destroying our own way of life and our own cultural patterns. They believe we should be contented like those whose concept of happiness is materialistic and greedy, which is very different from our way.We want freedom from the white man rather than to be integrated. We don’t want any part of the establishment, we want to be free to raise our children in our religion, in our ways, to be able to hunt and fish and live in peace. We don’t want power, we don’t want to be congressmen, or bankers….we want to be ourselves. We want to have our heritage, because we are the owners of this land and because we belong here.
The white man says, there is freedom and justice for all. We have had ‘freedom and justice,’ and that is why we have been almost exterminated. We shall not forget this.

1930’s – รูปแบบการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ , หนังสือของ จอห์น โทแลนด์ (John Toland) สำนักพิมพ์ดับเบิ้ลเดย์ (Doubleday & Company) ,นิวยอร์ค, 1976 “แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างค่ายกักกันของฮิตเลอร์ และการฆ่าล้างเผ่าพันธ์นั้น แท้จริงแล้วเป็นของอเมริกันอยู่มาก , หลังจากได้ศึกษาประวัติศาสตร์อังกฤษและอเมริกาแล้ว  เขาประทับใจกับค่ายนักโทษ โบเออร์ (Boer prisoners) ในแอฟริกาใต้ ซึ่งสร้างสำหรับอินเดียนจากฝั่งตะวันตก ซึ่งมันกระตุ้นความรู้สึกภายในของเขาให้ต้องสวดมนต์เมื่อนึกถึงการฆ่าล้างโดยอเมริกา โดยการจับคนผิวแดงที่ไม่มีทางสู้ ” หน้า 702 “ He admired the camps for Boer prisoners in South Africa and for the Indians in the wild West; and often praised to his inner circle the efficiency of America’s extermination-by starvation and uneven combat-of the red savages who could not be tamed by captivity.” Pg 7021934 – การละเมิดสนธิสัญญา , กฏหมายการจัดระเบียบชาวอินเดียน U.S. Indian Reorganization Act มีการแก้ไขระเบียบการจัดสรรที่ดิน , การจัดตั้งรัฐบาลปกครองตนเองของชนเผ่า , การถือกรรมสิทธิในที่ิดิน และการให้เงินกู้

1943 –  ศาลสูงสหรัฐอเมริกา ปฏิเสธคำสั่งของศาลร้องเรียน (Indian Court of Claims) โดยปฏิเสธการอ้างกรรมสิทธิในหุบเขาแบล๊กฮิลล์ของซิออก โดยอ้างข้อ 1920 แห่งพระราชบัญญัติ 1946 – ศาลร้องทุกข์แห่งอินเดียน ซึ่งตั้งขึ้นโดยสหรัฐอเมริกาเอง ได้มีตั้งเวทีสำหรับรับฟังข้อร้องเรียนทั้งหมดจากชนเผ่าอินเดียนที่เกิดขึ้นก่อนหน้าที่ทั้งหมด

1950 – ที่ปรึกษาของซิออกได้มีการยืนเรื่อง การเรียกร้องกรรมสิทธิเหนือหุบเขาแบล๊กฮิลกลับเข้าไปยังคณะกรรมการศาลร้องทุกข์อีกครั้ง คณะกรรมการเห็นว่าซิออกไม่สามารถพิสูจน์ข้อร้องของตนได้ ซิออกจึงได้เรียกร้องให้ศาลมีการเปลี่ยนคณะกรรมการชุดดังกล่างเนื่องจากเห็นว่าการตัดสินของคณะกรรมการลำเอียงและไม่มีการใช้ข้อมูลที่เพียงพอ ซึ่งศาลได้สั่งให้คณะกรรมการไปพิจารณาว่าควรจะมีการรื้อคดีขึ้นมาใหม่หรือไม่ หากมีหลักฐานเพิ่มมากขึ้น

1954 – คณะกรรมการยกคำร้องที่ 74 (Docket 74) เกียวกับการอ้างกรรมสิทธิในหุบเขาแบล๊กฮิลล์1958 – คณะกรรมการมีความเห็นให้ฟื้นคดีขึ้นมาใหม่ และประกาศว่าจะพิจารณาคำตัดสินก่อนหน้านี้ใหม่ และซิออกได้ยืนคำร้องใหม่ อ้างกฏหมายที่  1877 ซึ่งการยึดเอาหุบเขาแบล๊กฮิลล์ไปแล้วสัญญาว่าจะจ่ายค่าชดเชย นั้นยังไม่ได้มีการจ่ายแต่อย่างได้

1960 – คณะกรรมการได้อนุญาตให้ซิออกแก้ไขคำร้องที่ 74 ใหม่ และได้มีการแยกออกเป็นสองหมวดคือ Docket 74-A และ Docket 74-BDocket 74-A เกี่ยวข้องกับิอ้างกรรมสิทธิในทรัพย์สินในดินแดนด้านนอกจากตะวันตกของรัฐเซาท์ดาโกต้า ซึ่งในมุมของสหรัฐอเมริกา ดินแดนส่วนนั้นซิออกยินยอมมอบให้ ตามหัวข้อ 2 ของสนธิสัญญาฟอร์ตลาแรเมีย ปี 1868 , 

74-A จึงร้องเรียนดังนี้

1. อ้างกรรมสิทธในดินแดนของซิออก จำนวน 34 ล้านเอเคอร์ จากด้านตะวันตกของแม่น้ำมิสสัวรี (Missouri River) (ด้านนอกฝั่งตะวันตกของรัฐเซาท์ดาโกต้า) ซึ่งอยู่ในเขตของรัฐ มอนทาน่า , ไวโอมิ่ง , นอร์ทดาโกต้า และรัฐ เนบราสก้า

2. ด้วยความเป็นชนพื้นเมืองเดิม ขออ้างกรรมสิทธิในดินแดน 14 ล้านเอเคอร์ของชาวซิออก นับจากฝั่งตะวันออกขอแม่น้ำมิสสัวรี ซึ่งอยู่ในเขตรัฐ มอนทานา ,ไวโอมิ่ง, นอร์ทดาโกต้า และ เนบราสก้า`

74-B มีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับทรัพสินของซิออกที่ถูกคองเกรสยึดไป โดยกฏหมาย 1877 

1.  เรียกร้องกรรมสิทธิในดินแดน 7.3 ล้านเอเคอร์ ในเขตสงวน The Great Sioux Reservation (หุบเขาแบล๊กฮิลล์) ซึ่งถูกกฏหมาย 1877 หัวข้อ 1 ยึดเอาไป

2. อ้างสิทธิในการล่าสัตว์ ซึ่งถูกกฏหมาย 1877 หัวข้อ 1 ยึดเอาไป

3. เรียกร้องขอคืนทองคำที่ถูกนักขุดทองรุกราน โดยการอำนาจความสะดวกโดยรัฐบาลสหรัฐ ก่อนปี 1877

4. เรียกร้องสิทธิ 3 ประการที่ถูกหัวข้อ 2 ของกฏหมาย 1877 ลิดรอน1962- หลังจากซิออกสามารถรื้อฟื้นคดี ในคำร้อง 74 นี้ได้แล้วในปี 1960 พวกเขาพยายามแก้คำร้องอีก 3 หน โดยอ้างอิงสนธิสัญญาปี 1868 แต่ว่า ICC ปฏิเสธการร้องแก้ไขทั้ง 3 ครั้ง ในวันที่ 11 พฤษภาคม 1960, 28 กุมภาพันธ์ 1962 , และ 29 ตุลาคม 1968

1964 – ในแอฟริกาใต้ มีการเลียนแบบสหรัฐ โดยมีการออกกฏหมายแก้ไขเพิ่มเติม The Bantu Laws Amendment Act ในปี 1964 โดยให้อำนาจรัฐในการไล่คนผิวสีของจากพื้นที่เกษตรกรรมของคนขาว ในปี 1870s รัฐบาลที่นั้นมีการยกเลิกสิทธิความเป็นพลเมืองของคนผิวสีหลายพันคน หลังจากประเทศได้รับเอกรา 1965 – คณะกรรมการเรียกร้องสิทธิของอินเดียนนั้น ได้สรุปว่า สนธิสัญญา 1851 ได้รับรอง "ประเทศซิออก หรือว่า ประเทศดาห์โกทาห์ (Sioux or Dahcotah Nation)” โดยมีพื้นที่ประมาณ 60 ล้านเอเคอร์นับจากฝั่งตะวันออกของแม่น้ำมิสสัวรีซึ่งปัจจุบันอยู่ในรัฐนอรฺ์ทดาโกต้า รัฐเซาท์ดาโกต้า รัฐเนบราสก้า รัฐไวโอมิ่ง และรัฐมอนทานา
1969 – คณะกรรมการข้อร้องเรียนกอินเดียน ได้อนุญาตให้มีการเพิ่มข้อร้องเรียนเข้าไปใน Docket 74 โดยมีการเพิ่มข้อร้องเรียนจากยานกอน ซิออก Yankon Sioux (Docket 332-C) โดยได้อ้างกรรมสิทธิในฐานะชนพื้นเมืองเหนือดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำมิสสัวรี่  ซึ่งข้อร้องเรียนของยานกอน ซิออก ยังเป็นครั้งแรกที่มีการเพิ่มข้อเรียกร้องเหนือดินแดนฝั่งตะวันตกและดินแดนตอนเหนือของแม่น้ำมิสสัวรี โดยอยู่บนพื้นฐานของสนธิสัญญาฟอร์ตลาแรเมีย ฉบับปี 1851

1969 – อเมริกันอินเดียน ได้เข้ายึดครองเกาะ อัลคาคราซ (Alcatraz island) ในอ่าวซานฟานซิสโก เพื่อเรียกร้องความสนใจต่อชะตากรรมของชาวอินเดียน การยึดครองนี้ดำเนินไปจนสิ้นสุดในปี 1971

1969 – สนธิสัญญา เวียนนา (Vienna Convention) ได้รับการรับรอง

1970 – ประธานาธิบดี นิกสัน (Nixon) ของสหรัฐ ได้ส่งข้อความพิเศษถึงชาวอินเดียน นิกสันได้กล่าวในที่ประชุมสภาคอเกรส ประกาศว่านโยบายในอดีต นโยบายในการกำจัดให้สิ้นซากนั้นควรจะหยุดติลงเสียที และเรียกร้องให้เข้าสู่ยุคใหม่ ของการตัดสินใจด้วยตัวเองของประชาชนอินเดียน

1972 – อินเดียนกว่า 500 คนจากทั่วสหรัฐเดินทางไปยังวอชิงตัน ดี.ซี. โดยต้องการไปเข้าพบกับเจ้าหน้าที่ของ BIA และต้องการให้รัฐบาลมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนการกระทำของ BIA ที่ละเมิดต่อสนธิสัญญา แต่ว่าเจ้าหน้าที่ของ BIA ไม่ยินยอมให้มีการพบกับเจรจากัน ชาวอินเดียนจึงประท้วงด้วยการยึดอาคารของ BIA เป็นเวลากว่าอาทิตย์ จนกระทั้ง BIA ยอมตามข้อเรียกร้องกว่า 20 ข้อ รวมถึงมีการจัดหาเงินค่าเดินทางให้ผู้ประท้วงกลับบ้านด้วย แต่ว่าไม่นาน เอฟบีไอ ก้จัดให้ AIM (American Indian Movement) เป็นองค์กรหัวรุนแรง และหมายหัวผู้นำของ AIM
1972 – คนขาวได้รุมทำร้าย นายเรย์มอน เยลโล่ ธันเดอร์ ( Raymond Yellow Thunder) จนเสียชีวิตในเมืองกอร์ดอน รัฐเนบาสก้า แต่ว่าเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกลับบอกว่าเขาตายเพราะฆ่าตัวตาย ทำให้ชาวซิออก 1,000 คนจากเขตสงวน ไพน์ ริดก์ (Pine Ridge Reservation) เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่มีการผ่าชันสูตรศพ และให้ตั้งข้อหาฆาตรกรรมแก่ผู้ทำร้าย สุดท้ายฆาตกร 2 คนถูกจับได้

1973 – สมาชิกของ AIM จำนวน 200 คนพร้อมด้วยอาวุธได้เข้ายึดพื้นที่ที่เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ Wounded Knew Massacre ในเขตสงวยไพน์ริดก์ ในรัฐเซาท์ดาโกต้าเป็นเวลา 71 วัน1974 – ในรัฐมินเนโซตา (Minnesota) ได้มีการสอบสวนคดีการบุกยึด Wouned Knew  โดยปี 1975 ผู้นำของ AIM ชื่อ เดนนิส แบงก์ (Dennis Banks) และ รัสเสลล์ มีน (Russell Means) ถูกตั้งข้อหาก่อความวุ่นวายและบุกรุก ในปี 1978 แบงก์ เสียชีวิตและถูกนำไปฝังในแคลิฟอร์เนีย

1974 – เสียง 4 ต่อ 1 ของคณะกรรมการทำให้ได้ข้อสรุปเบี้องต้น คณะกรรมการเห็นว่าคำตัดสินของศาลข้อร้องเรียน ในปี 1942 นั้นไม่ได้ห้ามการที่ชาวซิออกจะใช้สิทธิตามบทบัญญัติข้อที่ 5 แก้ไขเพิ่มเติม ในการเรียกร้องความเสียหาย , คณะกรรมการเห็นว่าศาลข้อร้องเรียนนั้นไม่มีขอบเขตอำนาจในการตัดสินและศาลยังไม่ได้ตัดสินข้อการอ้างกรรมสิทธิเหนือหุบเขาแบล๊กฮิลล์, คณะกรรมการเห็นว่าสภาคองเกระในปี 1877 ไม่ได้จ่ายเงินที่เต็มมูลค่าของการไล่ชาวซิออกออกจากพื้นที่เขตสงวน ซึ่งรัฐบาลได้สัญญาเพียงว่าจะให้การดูแลชาวซิออกเพื่อแลกกับหุบเขาแบล๊กฮิลล์ แต่ว่าก็มีเหตุปัจจัยให้เกิดข้อจำกัดตามเงื่อนไขเวลา ซึ่งเหตุปัจจัยเหล่านั้น คณะกรรมการเห็นว่าผลของกฏหมาย 1877 นั้นไม่มีความสอดครองกับทรัพย์สินที่เอาไป นอกจากนั้นยังไม่มีการบันทึกเอาไว้เลยว่ารัฐบาลได้มีความพยายามในการประเมินราคาอย่างเป็นธรรมสำหรับหุบเขาแบล๊กฮิลล์ คณะกรรมการเห็นว่าคองเกรสออกกฏหมายโดยลุแก่อำนาจ เมื่อมีการผ่านกฏหมาย 1877 ออกมา โดยไม่ได้มีความไว้วางใจในชาวชิออก และรัฐบาลควรจะจ่ายค่าเสียหายแก่ชาวซิออกในการเอาหุบเขาแบล๊กฮิลล์ของพวกเขาไป
1974 – อินเดียนเรียกร้องค่าเสียหายจากการออกกฏหมาย 1877 ซึ่งยึดเอาหุบเขาของพวกเขาไป ที่สุดแล้วศาล ICC ได้ตัดสินชดเชยตามข้อเรียกร้องเรียน 74 โดยจ่ายค่าเสียหาย 17.3 ล้านเหรียญ สำหรับดินแดน 7.3 ล้านเอเคอร์ของหุบเขาแบล๊กฮิลล์ซึ่งสหรัฐยึดเอาไว้ บอกกับดอกเบี้ยอีก 5% นับตั้งแต่ปีที่ยึดแผ่นดินคนอื่นมา และ ICC ได้ตัดสินค่าชดเชยสำหรับทองคำที่ถูกขโมยออกมาจากแผ่นดินโดยนักขุดทองตั้งแต่ก่อนปี 1877 ซึ่งรวมกันในได้จ่ายตามคำร้องข้อ 74-B แล้วเป็นเงิน 105 ล้านเหรียญ
1975 – เกิดการยิงปะทะกันในเขตสงวนไพน์ ไรดก์ ระหว่างสมาชิกของ AIM กับเจ้าหน้าที่เอฟบีไอ ทำให้เจ้าหน้าที่เอฟบีไอสองคนเสียชีวิต ลีโอนาร์ด เปลเทียร์ (Leonard Peltier) ถูกจับตัวดำเนินคดี แต่ว่าคดีของเขายังเป็นที่ถกเถียง1975 – การอุทรณ์ , ศาลข้อร้องเรียน ,  ได้ยกคำร้องของคณะกรรมการร้องเรียนของอินเดียนในปี 1974 โดยให้เหตุผลเรื่อง res judicata (ได้พิจารณาตัดสินไปแล้ว) ในคดีเรื่องของหุบเขาในปี 1942 ส่วนข้อร้องเรียน 74 นั้นเห็นว่าไม่มีอำนาจตัดสิน
1975 – เสียงส่วนใหญ๋ของศาลเห็นว่าผลกระทบต่อคำถามที่ถูกส่งมายังศาลนั้นได้ถูกจำกัดในการตัดสินใจว่าควรหรือไม่ในการให้ชาวอินเดียนในผลประโยชน์จากคำตัดสิน ซึ่งต่อมารัฐบาลได้ล้มเหลวที่จะอุทรณ์ต่อคณะกรรมการในเรื่องที่ตัดสินว่ารัฐบาลยึดเอาหุบเขาแบล๊กฮิลล์มาอย่างไม่เป้นธรรมและไร้เกียรติ โดยไม่ได้มีการตกลงกับชาวซิออกเกียวกับค่าเสียหาย ไม่ได้มีการตอบแทนใดๆ และศาลเห็นว่าซิออกควรได้ค่าเสียหาย 17.5 ล้านเหรียญสำหรับดินแดนที่เสียไปและสำหรับทองคำที่ถูกขุดก่อนปี 1877

1976 คณะกรรมการเรียกร้องค่าเสียหายของอินเดียนได้ตัดสินใจในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1869 ค่าเสียหายที่เหมาะสมสำหรับดินแดน 34 ล้านเอเคอร์ และสำหรับดินแดนดังเดิมอีก 14 ล้านเอเคอร์ คือ $45,685,000.00 โดยได้แบ่งเป็น

มิสสัวรีตะวันออก มิสสัวรีตะวันตก

* การเกษตร  $ 11,135,000  $ 3,790,000
* ค่าทอง $ 9,760,000   $ 21,000,000
* รวม  $ 20,896,000  $ 24,790,000

1977 – คณะกรรมของของวุฒิสภาในกิจการอินเดียน (Senate Committee on Indian Affairs (SCIA)) ได้ถูกตั้งขึ้นอีกครั้ง เคยมีการตั้งคณะกรรมการนี้ในต้นศตวรรษที่ 19 แต่ยกเลิกไปในปี 1946 โดยเข้ามาทำหน้าที่ศึกษาเรื่องราวปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับอินเดียนและฮาวายเอี้ยน และเสนอมาตรการที่เหมาะสมต่อสภา โดยมีการศึกษากว้างขวางในหลายเรื่อง ทั้งการศึกษา เศรษฐกิจ ความเชื่อมั่นระหว่างกัน การบริหารจัดการที่ดิน สาธารณสุข รวมถึงข้อร้องเรียนที่เป็นปฏิษักกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา

1977 – รายงานของคณะกรรมการศึกษานโนบายอเมริกันอินเดียน (American Indian Policy Review Commission) คณะกรรมการนี้ตั้งในปี 1975 ได้สรุปให้มีการยกเลิกนโยบายที่จะกลืนวัฒนธรรมทิ้งไป และให้เพิ่มความช่วยเหลือทางการเงินแก่ชนพื้นเมือง และรับรองสถานะของชนพื้นเมืองที่ถาวร รวมถึงให้สิทธิในการปกครองตนเอง

1978 – คณะกรรมการเรียกร้องค่าเสียหายของอินเดียน ได้มีการตัดสินใจขั้นสุดท้่าย1978 – กฏหมายสิทธิเด็กชาวอินเดียน (Indian Child Welfare Act.) ซึ่เป็นกฏหมายต่อเยาวชนอินเดียนที่อาจจะเปลี่ยนให้พวกเขาจากชาวอินเดียนให้กลายเป็นคนที่ไม่ใช่อินเดียน แต่ช่วยทำให้ผู้นำชนพื้นเมืองได้พึงระหวังในการดูแลเด็กๆ มากขึ้น และได้มีการต่อสู้คดีความกันในศาล เกี่ยวกับกฏหมายซึ่งบังคับให้เด็กอินเดียนต้องไปโรงเรียนตามหลักสูตรที่รัฐกำหนด

1798 – กฏหมายเสรีภาพทางศาสนาของอินเดียน (American Indian Religious Freedom Act.) สภาคองเกรสได้สัญญาว่าจะปกป้องและรักษาสิทธิเสรีภาพของอินเดียนในความเชื่อทางศาสนา การแสดงออก ตามขนบธรรมเนียมมประเพณี แต่ว่า อินเดียน เห็นว่าไม่มีการจำกัดคนอื่นในการเข้าไปยังพื้นที่ทางศาสนา หรือการครอบรองวัตถุศักดิ์สิทธิของชาวอินเดียนอย่างเพียงพอ รวมถึงไม่ได้มีหน่วยงานใดในการรับผิดชอบดูแลอย่างชัดเจน

1978 – ศาลสูงสหรัฐพิจารณาว่าควรหรือไม่ที่จะมีการลงโทษผู้ที่ทำการหลบหลู่ชนพื้นเมือง ศาลเห็นว่าชนพื้นเมืองมีอธิปไตยของตนเอง แต่ว่าเป็นอธิปไตยภายใต้ความเห็นของคองเกรสIndian nations were sovereign, but such sovereignty was limited and subject to Congressional whim.

1978 – คองเกรสผ่านกฏหมายพิเศษ อนุญาติให้ศาลร้องเรียน (Court of Claims) สามารถตรวจทานคำตัดสินของคณะกรรมการข้อร้องเรียนของอินเดียนในปี 1974 ได้

1979 – ศาลร้องเรียนรับฟังคำร้องกรณีเรียนร้องสิทธิในหุบเขาแบล๊กฮิลล์ และยืนตามคำตัดสินของคณะกรรมการข้อร้องเรียนของอินเดียนในปี 1974

1980 – ศาลสูงสุดของสหรัฐพิพากษาให้สหรัฐจ่ายเงินชดเชยเป็นมูลค่า 102 ล้านเหรียญสำหรับค่าดินแดนในเขาแบล๊กฮิลล์ (เป็นเงินต้น 17.1 ล้านเหรียญและออกเบีี้ย 85$ ล้านเหรียญตั้งแต่ปี 1877-1980) และค่าเสียหายจากทองคำที่ถูกขโมยขุดเอาไปอีก 3 ล้านเหรียญ และศาลยังเห็นว่าการอ้างว่าได้ “ซื้อ” หุบเขาแบล็กฮิลล์มานั้นไม่เป็นไปตามกฏหมาย แต่ศาลปฏิเสธที่จะคืนที่ดินให้กับชาวลาโกต้าและบอกให้พวกเขายอมรับค่าเสียหายแทนคณะกรรมการตั้งข้อสังเกตุว่า “สหรัฐอเมริกาใช้กำลังในการปลดอาวุธชาวซิออก และปฏิเสธสิทธิในการล่าสัตว์ตามประเพณีและยังบังคับให้ขายหุบเขาแบล๊กฮิลล์ ซึ่งขัดต่อสนธิสัญญา 1868 ซึ่งทำให้จำนวนประชากรอินเดียนลดลงอย่ามาก สหรัฐอเมริกาจึงไม่สมควรจะอยุ่ในฐานะที่จะบอกว่าได้รับมอบดินแดนอย่างถูกต้องและแค่จ่ายค่าเสียหาย สหรัฐอเมริกาได้ทำผิดอย่างน้อยสองข้อ หนึ่ง,สหรัฐขโมยเอาวิถีชีวิตการดำรงชีวิตของซิออก สอง,สหรัฐขโมยดินแดนของซิออก สิ่งที่อเมริกายืนให้ตอบแทนนั้นไม่เหมาะสมและไม่อาจปกปิดความผิดของสหรัฐอเมริกาได้

1980 – วุฒิสมาชิก แบรดลีย์ บิล (Senator Bradley Bill) ได้เสนอญัตติในการคืนที่ดิน 1.3 ล้านเอเคอร์ จากจำนวนตามข้อเรียกร้อง 7.5 ล้านเอเคอร์ให้กับชาวอินเดียน น่าเสียดายว่าภายหลังเขาเสียชีวิตไปเสียก่อน ตอนนั้นเรื่องที่ดินได้กลายเป็นประเด็นทางการเมืองในการเลือกตั้งในเซาท์ดาโกก้า นักการเมืองหลายคนเห็นว่าในเมื่ออินเดียนได้รับเงินชดเชยก็ไม่มีสิทธิืในการเรียกร้องที่ดิน แต่สำหรับอินเดียนกลับมองว่าพูดอย่างนี้เหมือนกับพูดว่า "เอานี้เงินสำหรับซื้อบ้านของคุณไม่ว่าคุณจะขายหรือไม่ , บัดนี้เงินเป็นของคุณและบ้านเป็นของฉัน”

1982 – คองเกรสยกเลิกศาลร้องเรียนของอินเดียน (Indian Court of Claims)

1983 – เดนนิส แบงค์ (Dennis Banks) ผู้นำกลุ่มเคลื่อนไหวอินเดียน (AIM) ถูกสอบสวนในเหตุการณ์ Wouded Knee เขาหลบหนีไปอยู่ในเขตนิวยอร์ก ก่อนที่จะมอบตัวในปี 1984 และถูกตัดสินจำคุก 3 ปี

1985 – วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 1985 ศาลข้อร้องเรียน (The Claims Court) ด่วนตัดสินคดีตามคำร้อง 74-A โดยสรุปตัวเลขที่ $39,749,000 แต่ว่าชนพื้นเมืองอินเดียนในเขตสงวน อย่างน้อย 4 ชนเผ่าปฏิเสธที่จะรับค่าเสียหายใดๆ หากว่าไม่ได้รับการคืนดินแดนด้วย ในขณะที่ศาลตัดสินแต่เพียงเรื่องเงิน

1990 – สมาชิกคองเกรส แมทธิว มาร์ติเนซ (Matthew Martinez) จากแคลิฟอร์เนีย เป็นอีกคนหนึ่งที่สนับสนุนร่างกฏหมาย “ฺBradley Bill” แต่ว่าได้แก้ไขให้องค์กร Gray Eagle Society เข้าไปดูแล

1994 – ประธานาธิบดี คลินตัน เชิญผู้นำชนพื้นเมืองรวม 547 คน จากทั้งชนพื้นเมืองอินเดียน และชนพื้นเมืองอลาสก้าไปยังธรรมเนียบขาว เป็นงานเลี้ยงที่ไม่เคยมีมาก่อนที่ผู้นำชนพื้นเมืองและประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาพบกัน

1996 – สมาชิกคองเกรส บิล บาร์เรต์ต (Bill Barrett) จากเนบราสก้า เสนอกฏหมาย HR3595 ยังสภาผู้แทนราษฏร์ กฏหมายนี้เสนอให้ชำระเงินตาม คำร้อง 74-A แก่ให้แก่ชาวซานตี ซิออก ในรัฐเนบราสก้า

1998 – คำร้อง 74-A ประชาชนซิออกจำนวนมากปฏิบัติเงินชดเชยจำนวน $40,245,807.02 และเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาคืนดินแดนแก่ชิออกจำนวน 48 ล้านเอเคอร์คำร้อง 74-B , เกิดกลุ่มต่อต้านชาวอินเดียนในรัฐเซาท์ดาโกต้า (เช่นกลุ่ม Open Hills Association นำโดย วุฒิสภมาชิก ทอม ดัสชเล (Tom Daschle)) ที่ไม่สนับสนุนการคืนดินแดน

กระทรวงมหาดไทยของสหรัฐ แผนกการเงิน (U.S. Department of Interior’s division of Trust Fund Servieces) สรุปเงินชดเชยตามคำร้อง ทั้ง 
 
1. Docket 74-A……………. $67,073,267.88

2. Docket 74-B (Docket 148-78)……….. $473,161,163.29

รวม…………………………. $540,234,431.17

.. เวลากว่าสามทศวรรษแห่งโศกนาฏกรรม จากปี 1860 ถึง 1890 อินเดียนต่างก็เจ็บปวดจากการพ่ายแพ้ในความเป็นมนุษย์ที่บังคับให้พวกเขาต้องเดินไปตามหนทางของคนขาวเพื่อความเป็นอารยะ ,ในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติ มีผู้ถูกรุกรานอยู่ไม่มากที่ได้รับการชดเชยจากการปกป้องวิถีชีวิต การลุกขึ้นสู้เพื่อบอกว่าความก้าวหน้าเป็นสิ่งล้าสมัย มหากาพย์การต่อสู้ที่เหมือนเครื่องหมายอันเกรียงไกร ดังอนุสรณ์ของเหล่าผู้กล้า อินเดียนกับคนขาว ผู้รุกขึ้นสู้และต้องตายไปเพื่อปกป้องวิถีแห่งความกล้า

The Indians suffered the humiliating defeats that forced them to walk the white man’s road toward civilization. Few conquered people in the history of mankind have paid so dearly for their defense of a way of life that the march of progress had outmoded … In three tragic decades, between 1860 and 1890, the Indians suffered the humiliating defeats that forced them to walk the white man’s road toward civilization. Few conquered people in the history of mankind have paid so dearly for their defense of a way of life that the march of progress had outmoded. This epic struggle left its landmarks behind, as monuments to the brave men, Indian and white, who fought and died that their manner of living might endure.

2000 – เควิน โกเวอร์ (Kevin Gover) หัวหน้ากิจการอินเดียน (Bureau of Indian Affairs) ถูกตั้งข้อหาอาชญากร ,

ข้อความจากเว็บไซด์กระทรวงมหาดไทย (http://www.doi.gov/bia/as-ia/175gover.htm)

นับตั้งแต่มีการก่อตั้งในปี 1824 องค์กรนี้เป็นเหมือนเครื่องมือของสหรัฐอเมริการในการต่อต้านชาติอินเดียน เพื่อขยายดินแดนไปทางตะวันตก องค์กรนี้เป็นเครื่องมือในการฆ่าล้่างเผ่าพันธ์ต่อคนพื้นเมือง สงครามไม่เพียงแต่นำมาซึ่งโศกนาฏกรรม แต่ยังเป็นพาหนะนำโรคร้ายไปยังควายป่าไบสัน เอาแอลกอฮอล์มาเผยแพร่ทำรายจิตใจและร่างกาย ฆ่าเด็กและสตรีเยียงคนขี้ขลาดก่อโศกนาฏกรรมในขนาดที่ไม่อาจเพิกเฉยในการต่อต้านวิถึชีวิต แลทำลายเศรษฐกิจของชนพื้นเมือง BIA ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับอินเดียน ห้ามอินเดียนพูดอินเดียน ห้ามพวกเขาประกอบพิธีทางศาสนา ทำลายการปกครองตามวัฒนธรรมของพวกเขา ทำให้อินเดียนต้องละอายในสิ่งที่พวกเขาเกิดมาเป็น และสิ่งที่ร้ายแรงที่สุด BIA ยอมรับว่าได้พยายามส่งเด็กๆ ไปยังโรงเรียนประจำ สร้างความละอาย กลัวเกรง และความโกรธแค้นไปยังคนรุ่นต่อๆ ไป และยังยอมรับว่าได้แพร่กระจายแอลกอฮอ, ยาเสพติด และความรุนแรงทางพฤติกรรม จนระบาดไปยังหมู่ชาติอินเดียน , BIA ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง และขอโทษอย่างเป็นทางการอย่างประชาชนอินเดียนสำหรับประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น….

Immediately upon its establishment in 1824, the Office of Indian Affairs was an instrument by which the United States enforced its ambition against the Indian nations. As the nation expanded West, the agency participated in the ethnic cleansing that befell the western tribes. War begets tragedy, but the deliberate spread of disease, the decimation of the bison herds, the use of alcohol to destroy mind and body, and the cowardly killing of women and children made for tragedy on a scale so ghastly that it cannot be dismissed as merely the inevitable consequence of the clash of competing ways of life. After the devastation of tribal economies, the BIA set out to destroy all things Indian by forbidding the speaking of Indian languages, prohibiting traditional religious activities, outlawing traditional government, and making Indians ashamed of who they were. Worst of all, the BIA committed these acts against the children entrusted to its boarding schools. The trauma of shame, fear, and anger has passed from one generation to the next, and manifests itself in the rampant alcoholism, drug abuse, and domestic violence that plague Indian country. The BIA expresses its profound sorrow for these wrongs, extends this formal apology to Indian people for its historical conduct, and makes promises for its future conduct. 

2007 –ลาโกท่าห์ ประกาศถอนตัวแต่ฝ่ายเดียวจากสนธิสัญญาฟอร์ตลาเรเมีย ฉบับปี 1851 และ ฉบับปี 1868 อ้างอิงข้อปฏิบัติตามสนธิสัญญาเวียนนาปี 1969 ซึ่สหรัฐอเมริกาได้ลงนามไว้ , ประกาศตัวเป็นเอกราชจากสหรัฐอเมริกา

Don`t copy text!