Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Lefty

เลฟตี้  (เลฟช่า) (Левша หรือ Сказ о тульском косом Левше и о стальной блохе)

 เขียนโดยนิโคไล เลสกอฟ( Николая Лескова, Nikolai Leskov) ในปี 1881 ในแนวของนิยายปรัมปรา

ในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 ระหว่างที่ทรงเสด็จประพาสประเทศอังกฤษ ทรงเดินทางไปพร้อมด้วยคณะ และหนึ่งในนั้นเป็นชาวคอสแชค์กที่ชื่อว่า พลาตอฟ (Platov)  เมื่อไปถึงประเทศอังกฤษ คณะของพระองค์ก็ได้พบกับสิ่งประดิษฐ์หลายอย่างของอังกฤษที่นำมาแสดงถวาย

แต่พลาตอฟ เป็นคนที่หนึ่งที่เห็นว่่าของเหล่านี้ไม่ได้มีอะไรพิเศษ และช่างฝีมือของรัสเซียก็สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้อย่างเท่าเทียม หรือเหนือกว่าด้วยซ้ำไป 

จนกระทั้งมีคนนำเอาตุ๊กตาไขลานรูปหมัด มาแสดง …. นั้นทำให้คณะต่างประหลาดใจ

ต่อมา มีการพลัดแผ่นดิน, ซาร์ นิโคลัส ที่ 1 ครองราชย์  พระองค์ได้สั่งให้พลาตอฟ หาช่างชาวรัสเซีย ที่สามารถสร้างนาฬิกาที่เหนือกว่าเจ้าหมัดเหล็กของอังกฤษนั้นบ้าง 

พลาตอฟจึงออกเดินทางไปยังเมืองตุล่า (Tula) ซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรมหนัก ทันสมัยของรัสเซีย เพื่อหาช่างฝีมือที่จะประดิษฐ์นาฬิกานั้นขึ้น และก็ได้พบกับช่างทำปืน 3 คน ที่รับปากว่าจะทำ

ช่างปืนสามคน ขังตัวเองอยู่ในโรงงานอยู่นาน และไม่ยอมออกมา เพื่อนบ้านต่างก็พยายามที่จะให้พวกเขาออกมาข้างนอกบ้างแต่ไม่สำเร็จ จนกระทั้งเมื่อถึงเวลานัด พลาตอฟเดินทางมาเพื่อดูว่างานคืบหน้าไปถึงไหน แต่เมื่อช่างไม่ออกมา พลาตอฟ ก็สั่งให้ทหารคอสแซค์ก เปิดหลังคาโรงงาน และเอาตัวช่างทั้งสามคนออกมา ตอนที่เปิดหลังคาออกมานั้น ผู้คนที่อยู่โดยรอบต่างได้สูดดมแต่กลิ่นสาปกับกลิ่นจากโรงงานลอยคลุ้งออกมา

ช่างทำปืนยื่น หมัดเหล็กตัวเดิม ให้แก่พลาตอฟ  เมื่อเห็นดังนั้นพลาตอฟก็โมโหมากเพราะคิดว่าช่างปืนทั้งสามทำงานไม่สำเร็จ เขาจับตัวช่างปืนคนหนึ่ง คือ เลฟตี้ (ชายที่ตาซ้ายบอด) เพื่อให้อธิบายว่าเกิดอะไรขึ้น

ปรากฏว่า พลาตอฟ ประจักษ์ว่าเจ้าหมัดเล็ก นั้นเปลี่ยนไป … ช่างทำปืน ได้สร้างรองเท้าขนาดพอดี ใส่ให้เจ้าหมัดเหล็กด้วย แถมเลฟตี้ ยังเซ็นต์ชื่อไว้ที่รองเท้าด้วย มันเล็กมากขนาดต้องใช้กล้องไมโครสโคปดูถึงจะเห็น

ปรากฏว่าคนอังกฤษที่อยู่ในกลุ่มของพลาตอฟด้วยรู้สึกทึ่งในความสามารถของเลฟตี้ เขาจึงได้เสนอทุนให้เลฟตี้เดินทางไปอังกฤษ เพื่อเรียนวิชาที่จำเป็นเพิ่มเติม 

ต่อมาเมื่อเลฟตี้เรียนสำเร็จ ประกอบกับความรู้สึกคิดถึงบ้าน เขาก็เดินทางกลับรัสเซีย แม้ว่าทางการอังกฤษจะพยายามเหนี่ยวรั้ง และเสนองานดีๆ ให้อย่างไร เลฟตี้ก็ปฏิเสธ

เลฟตี้เดินทางมาขึ้นเรือเพื่อกลับรัสเซีย ตอนที่อยู่บนเรือนั้นเขาก็รู้จักกับนักเดินเรือชาวอังกฤษ ทั้งคู่ดื่มกันจนเมามาย เมื่อเรือมาถึงเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เห็นเลฟตี้เมาแอ๋อยู่ แถมไม่เจอเอกสารระบุตัวตนว่าเป็นใครมาจากไหน คิดว่าเป็นพวกขี้เมา เจ้าหน้าที่เลยจับตัวเลฟตี้ส่งไปสถานกักคนนิรนามเพื่อปล่อยให้ตาย ส่วนนายเรือชาวอังกฤษถูกประคบประงมอย่างดี

นักเดินเรืออังกฤษผู้นั้น ออกตามหาเลฟตี้เพื่อนของเขา โดยได้รับความช่วยเหลือจากพลาตอฟ ทั้งคู่ไปเจอเลฟตี้ตอนที่ใกล้จะสิ้นลม ก่อนตายเลฟตี้ได้ฝากข้อความผ่านพวกเขาไปยังพระเจ้าซาร์ด้วยว่า “ได้โปรดหยุดสั่งให้ทหารทำความสะอาดปืน เพราะเขาเห็นปืนในอังกฤษสกปรกและชุ่มด้วยน้ำมันกลับยิงได้แม่นยำ”  แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ที่ต้องนำข้อความไปทูลให้พระเจ้าซาร์รับทราบ เกิดไม่ได้นำข้อความไปบอกซาร์

เรื่องนี้จบ โดย เลสคอฟ คอมเม้นท์ว่า สงครามไครเมียคงจบโดยให้ผลอีกรูปแบบหนึ่ง ถ้าข้อความจากเลฟตี้ถูกนำไปรายงานต่อพระเจ้าซาร์ เลสคอฟยังเน้นความสำคัญของการสร้างสรรค์และการดูแลแรงงานฝีมือ การปรับปรุงอุตสาหกรรม

นิทานเรื่องนี้จึงได้ใจคนรัสเซีย เพราะมันสะท้อนค่านิยม ทั้งความสัมพันธ์ของรัสเซียกับตะวันตก การใช้ภาษาของนิทานเรื่องนี้มีเอกลักษณ์ ทั้งยังประชดประชันคนรัสเซียเองที่ไม่ค่อยดูแลคนที่เฉลียวฉลาดในประเทศ

ปี 1964 มีการสร้างภาพยนต์แอนนิเมชั่นเรื่อง Lefty นี้ โดยผู้กำกับ อิวาน อิวานอฟ (Ivan Ivanov Vano) ความยาว 42 นาที

Don`t copy text!