ฟิเดล คาสโตร (Fidel Alejandro Castro Ruz)
เกิดเมื่อ 13 สิงหาคม 1926 เกิดในเมืองบิราน (Biran) ในจังหวัดโฮลเกียน (Holguin ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึี่งของประเทศคิวบา ปัจจุบันเป็นหนึ่งใน 5 ของ Oriente Provinces ) เป็นลูกคนที่ 3 ในพี่น้อง 7 คน รามอน(Ramon),ราอูล(Raul),แองเจลิต้า(Angelita),จัวนิต้า(Juanita),เอ็มม่า(Emma) ,เอกุสติน่า( Agustina)
พ่อของฟิเดล คาสโตร ชื่อ เอนเจ้ิล คาสโตร (Angel Castro Argiz) มีอาชีพทำไร่อ้อยอยู่ในกาลิเซีย (Galizia) ส่วนแม่ชื่อ ลิน่า รุช กอนซาเลซ (Lina Ruz Gonzalez) เป็นเกษตรกรอยู่ในจังหัด ปินา เดล ริโอ (Pinar del Rio) ตอนวัยเด็กเขาเรียนหนังสือที่โรงเรียนประจำเมืองบิราน จากนั้นเข้าเรียนที่โรงเรียนแคธอริก ลา ซาเล่ โดโลเรส (La Salle and Dolores , cathoric school) ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดซานดิเอโก้ เดอ คิวบา (Sandiago de cuba) ชั้นมัธยมเข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมโดโลเรส ( Colegio de Dolores)
มิถุนายน 1945 ฟิเดล คาสโตร เรียนจบปริญญาตรี ทางด้านศิลปะ จากวิทยาลัยเยซู (Jesus college of Belen) ในกรุงฮาวาน่า
27 กันยายน 1945 ได้สมัครเข้าเรียนปริญญาเอกด้านกฏหมายที่มหาวิทยาลัยฮาวาน่า (University of Havana)ระหว่างที่เรียนหนังสือเขาได้เข้าร่มกับองค์กรของนักศึกษาหลายแห่งเพื่อต่อต้านการปกครองของเสปน เช่น กลุ่มเรียกร้องอิสภาพของเปอร์โตริโก้ (The Committee for independence of Puerto Rico) , กลุ่มโดมินิกันเพื่อประชาธิปไตย (Dominican Committer for Democracy) ซึ่งเขาได้เป็นประธาน, และยังเป็นผู้ก่อตั้ง กลุ่ม 30 กันยายน (Committee September 30) ซึ่งกิจกรรมเกี่ยวกับการเมืองของคาสโตร มีนับไม่ถ้วนตั้งแต่เป็นนักศึกษาในปี 1947 เขาต่อสู้กับจอมเผด็จการ ราฟาเอล ทรูจิลโล (Rafael Leonidas Trujillo)
1948 เดินทางไปยังเวเนซุเอล่า ปานาม่า โคลัมเบียในฐานะหัวหน้านักศึกษา เพื่อร่มการประชุมสภานักศึกษาแห่งลาตินอเมริกา ซึ่งระหว่างที่อยู่ในกรุง โปโกต้า (Bogota) ของโคลัมเบีย ในเดือนเมษายน เขาถูกลอบสังหารโดยคำสั่งของผู้นำโคลัมเบียตอนนั้นคือ จอร์จี ไกตาน (Jorge Eliecer Gaitan) แต่ก็รอดมาได้
คาสโตรแต่งงานกับ มิร์ต้า บาลาร์ต (Mirta Diaz Balart) ในปี 1948 เธอเป็นเพื่อนนักเรียน มาจากครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวย เขาได้รับเงินจากพ่อตาให้ไปฮันนีมูลกันที่สหรัฐ ว่ากันว่าเขาเคยต้องการสมัครเรียนในมหาวิทยาลับโคลัมเบียในนิวยอร์ค แต่่ว่าก็ตัดสินใจกลับมาเรียนต่อให้จบที่ฮาวาน่า1949 ภาพทหารสหรัฐที่เมาแล้วฉี่ใส่อนุสาวรีย์โจเซ่ มาร์ติ (Jose Marti) ในเซ็นทรัลปาร์ค นิวยอร์ค ทำให้เกิดการประท้วงโดยนักศึกษาในคิวบา เพราะเป็นการหลบหลู่วีรบุรุษของคิวบาที่เรียกร้องเอกราชให้ประเทศ นักศึกษาคิวบาต่างร่วมตัวกันประท้วงที่หน้าสถานฑูตสหรัฐ ที่พลาซ่าเดอาร์มัส (Plaza de Armas) ซึ่งคาสโตรเป็นคนหนึ่งที่ร่วมการประท้วงนี้ด้วย
1950 เขาเรียนจบดอกเตอร์ด้านกฏหมาย
แนวความคิดเกี่ยวกับลัทธิมาร์กซิส เกิดขึ้นหลังจากที่เขาเรียนจบแล้ว เขาเริ่มมีความคิดแบบคนรักชาติและต่อต้านสหรัฐอเมริกา ซึ่งสนับสนุนจอมเผด็จการบาติสต้าในคิวบา
10 มีนาคม 1953 กลุ่ม the Party of the Cuban people ซึ่งคาสโตรเป็นสมาชิก ได้พยายามล้มรัฐบาลของบาติสต้า
26 กรกฏาคม 1953 คาสโตร และพี่น้องของเขา ราอูล และมาริโอ้ โจมตีค่ายทหารมอนคาด้า (Moncada barracks) เพื่อหวังโค่นบาติสต้า แต่ว่าฝ่ายคาสโตรเป็นฝ่ายต้องล่าถอย พวกเขาหนีไปยังหุบเขาเซียร์ร่า มาเอสต้า (Sierra Maestra) ทางตะวันออกของซานเดียโก้ (Santiago) แต่ไม่นานก็ถูกจับตัวได้
21 กันยายน- 16 ตุลาคม กลุ่มกบฏ 29 คนที่ถูกจับตัวมาถูกนำตัวมาฟังคำพิพากษา คาสโตรและราอูลถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 15 ปี ส่วนราอูลเป็นเวลา 13 ปี ซึ่งก่อนหน้านั้นคาสโตรซึ่งมีความรู้เรื่องกฏหมายได้เขียนบทความเพื่อปกป้องการกระทำของต้นเอง บทความของเขาถูกเรียกว่า History Will Absolve Me มันถูกลักลอบส่งออกจากเรือนจำโดยใส่กล่องไม้ขีดมาเผยแพร่ให้ประชาชนรับรู้ เนื้อหากล่าวถึงปัญหาของคิวบา ใน 6 กลุ่ม ทั้งปัญหาที่แดน การปฏิรูปอุตสาหกรรม การไร้ที่อยู่ การว่างงาน การศึกษา และสาธารณะสุข
La Historia me absolverá ( History Will Absolve Me) บางส่วนที่คาสโตรเขียน
…No weapons, no force can defeat a people who decide to fight for their rights. Past and present historical examples are countless.’s Very recent case of Bolivia, where miners with dynamite sticks, defeated and crushed the regular army regiments
ไม่มีอาวุธ หรือกองกำลังใจที่จะเอาชนะประชาชนที่ตัดสินใจลุกขึ้นสู้เพื่อสิทธิของเขา อดีตที่ผ่านมาและปัจจุบันแสดงให้เห็นว่ามันเป็นจริงมานับครั้งไม่ถ้วน ตัวอย่างเร็วๆ นี้ในโบลิเวีย ที่ชาวเหมืองใช้ระเบิดไดนาไมท์ เอาชนะกองกำลังทหารได้
… I warn you, I am just beginning! If there is in your hearts a vestige of love for your country, love for humanity, love for justice, listen carefully… I know that the regime will try to suppress the truth by all possible means; I know that there will be a conspiracy to bury me in oblivion. But my voice will not be stifled – it will rise from my breast even when I feel most alone, and my heart will give it all the fire that callous cowards deny it… Condemn me. It does not matter. History will absolve me.
… ผมขอเตือนพวกคุณว่า นี้มันเพิ่งเป็นการเริ่มต้นของผม ถ้าในหัวใจของพวกคุณยังคงมีความรักต่อประเทศชาติ ต่อประชาชน ต่อความยุติธรรม โปรดรับรู้ไว้ว่า… ผมรู้ว่ามีคนที่พยายามที่จะปกปิดความจริงโดยใช้ทุกวิถีทาง ผมรู้ว่ามีคนต้องการที่จะทำให้ผมถูกลบเลือนหายไป แต่เสียงเรียกร้องของผมไม่มีวันหายไป-เสียงของผมจะดังออกมาจากในอกแม้ในยามที่ผมต้องเดียวดาย และหัวใจจะมอบเปลวไฟให้กับเสียงเรียกร้องที่มีต่อคนขลาดที่ปฏิเสธมัน … การตัดสินโทษผมมิได้มีความหมาย ประวัติศาสตร์จะปลดเปลี้องผม
คาสโตรถูกนำตัวไปยังที่เรือนจำใน เกาะปินอส (Isla de Pinos) และถูกขังเป็นเวลาสองปี ก่อนที่จะได้มีการอภัยโทษโดยบาติสต้าเพราะแรงกดดันทางการเมือง
7 กรกฏาคม 1955 คาสโตรเดินทางไปยังเม็กซิโก ซึ่งตอนนั้นราอูล และเพื่อนได้เดินทางร่วงหน้าไปรออยู่ก่อนแล้ว พวกเขาไปอาศัยอยู่ที่บ้านของผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ มาเรีย แอนโตเนีย (Maria Antonia Gonzalez Rodriguez) มาเรีย เล่าถึงตอนที่เห็นคาสโตรว่า “เขามาพร้อมกับกระเป๋าใบหนึ่ง ในนั้นมีแต่หนังสือยัดเอาไว้ แล้วแบบมันไว้โดยวงแขน มือเขายังถือหนังสืออยู่อีกส่วนหนึ่ง โดยไม่เห็นว่ามีสัมภาระอย่างอื่นเลย๐ พวกเขาร่วมกันก่อตั้งกลุ่ม 26 กรกฏาคม (26 July Movement) ซึ่งชื่อกลุ่มเพื่อระลึกถึงวันที่พวกเขาโจมตีค่ายมอนคาด้า สมาชิกวางแผนที่จะล้มบาติสต้าอีกครั้ง ในเม็กซิโก้ คาสโตรได้รู้จักกับ เช กูวาร่า (Che Guevara)
25 พฤศจิกายน 1956 คาสโตรใช้เพียงเรือลำเล็กๆ เดินทางกลับมายังคิวบา โดยมีเช กูวาร่า ร่วมทางมาด้วย โดยออกจากฝั่งที่เมืองทัคแพน เมืองเวราครูซ (Tuxpan ,Veracruz) และมาขึ้นฝั้งที่ลอส คายัวลอส (Los Cayoelos) ทางใต้ของประเทศ ในวันที่ 2 ธันวาคม แต่หลังจากขึ้นฝั่ง คณะปฏิวัติของคาสโตรก็ถูกกองกำลังทหารของรัฐบาลบาติสต้า เข้าโจมตี หลายคนถูกจับหรือสังหาร คนที่เหลือรอดอยู่หนึไปอยู่ในหุบเขาเซียร์ร่า
1957-1958 กลุ่มต่อต้านบาติสต้าของคาสโตร ทำสงครามแบบกองโจรต่อสู้กับทหารรัฐบาลเป็นปฏิบัติการณ์เล็กๆ หลายครั้ง โดยเริ่มโจมตีรัฐบาลครั้งแรกในวันที่ 17 มกราคม เข้าโจมตีค่ายทหารใน ลา พลาต้า (La Plata) โดยได้รับชัยชนะ กองทหารหน่วยแรกใต้การบังคับบัญชาของคาสโตร ชื่อหน่วย โจเซ่ มาร์ตี (Column One Jose Marti)
พฤษภาคม 1958 บาติสต้า เปิดฉากรบครั้งใหญ๋ต่อกองกำลังกบฏ เรียกว่าปฏิบัติการเวราโน่ (Operation Verano) กองกำลังของคาสโตรได้รับสมาชิกจากสหพันธ์นักศึกษามาเป็นแนวร่วม แม้ว่าจะมีกำลังที่น้อยกว่ามากแต่ฝ่ายของคาสโตรก็เป็นฝ่ายมีชัยชนะ ในการรบหลายจุด และเมื่อปฏิบัติการของบาติสต้าสิ้นสุดลง คาสโตรได้แบ่งกองกำลังของเขาเป็นสามกอง โดยให้ กูวาร่า , ไจมี เวก้า (Jaime Vega) , และ คามีโล เคียนฟอกอส (Camilo Cienfuegos) คอยนำกองกำลังบุกเข้าตอนกลางของคิวบา พวกกบฏยึดเมือง ปินาร์ เดล ริโอ(Pinar del Rio), และเซียร์ร่า เดล เอสแคมบรี (Sierra del Escambray) ไว้ได้
ธันวาคม 1958 เช กูวาร่าและ คามิโล เคียนฟอกอส บุกเข้าโจมตีเมืองซานตร้า คลาร่า (Santra Clara) และสามารถยึดเมืองได้ในวันที่ 31 ธันวาคม หลังจากเมืองถูกตีแตก บาติสต้า หลบหนีโดยเครื่องบินไปยังสาธารณรัฐโดมินิกัน ในช่วงเข้าวันใหม่
1 มกราคม 1959 กองกำลังกลุ่มกบฏ ตั้งแถวเดินขบวน เข้าไปยังเมืองหลวงซาตรา คลาร่า (เมืองหลวงของจังหวัด)
8 มกราคม 1959 กำลังของคาสโตร ยึดฮาวาน่าไว้ได้ คาสโตรรักษาการตำแหน่งผู้บังคับบัญชาสูงสุด และเริ่มตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นมาศาสตราจารย์ Jose Miro Cardona ได้เป็นนายกรัฐมนตรี และตั้งรัฐบาล โดย มานูเอล อุุรุสเตีย เลโอ (Manuel Urrutia Lleo) เป็นประธานาธิบดี แต่ว่าเมื่อคาสโตรไม่เห็นด้วยกับแนวทางของคาร์โดน่า และมานูเอล เลโอ ที่จะเร่งให้จัดการเลือกตั้งทั้งที่บ้านเมืองยังไม่เรียบร้อย คาสโตรบอกว่า "ปฏิรูปก่อน , เลือกตั้งไว้ที่หลัง” คาสโตรก็สาบานตนเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ นี้เป็นจุดสิ้นสุดการต่อสู้กับเผด็จการ และจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติคิวบา
เหตุการณ์สำคัญในชีวิตคาสโตร ครั้งต่อมาคือ การบุกคิวบาของสหรัฐอเมริกา
เมษายน 1961 เหตุการณ์ Bay of Pigs สหรัฐอเมริกา หลังจากเคนนาดีเพิ่งเข้ารับตำแหน่งได้เพียงสองเดือน เขาก็ส่งกองกำลังนำโดยซีไอเอ บุกคิวบา เพื่อปกป้องธุรกิจของสหรัฐที่กำลังถูกแปรรูปให้เป็นของรัฐ โดยเฉพาะโรงกลั่นน้ำมันของนักธุรกิจสหรัฐ แต่่ว่าซีไอเอ ก็แพ้กลับมาในเวลาสามวัน
15 เมษายน สหรัฐอเมริกาส่งเครื่องบิน B-26 จำนวน 8 ลำมาทิ้งระเบิดกองทัพอากาศของคิวบา
16 เมษายน 1961 คาสโตรเองไม่เคยบอกว่าตัวเองเป็นคอมมิวนิสต์ ในการจัดพิธีศพให้กับผู้เสียชีวิตจากการถูกสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิด เขาบอกว่า
Comrades, workers and peasants, our revolution is socialist and democratic revolution of the poor, which is done by the poor and pro-poor.
สหาย , แรงงานและชาวนา การปฏิรูปของพวกเราเป็นทั้งสังคมนิยมและประชาธิปไตยเพื่อคนยากไร้ โดยคนจนและผู้สนับสนุนคนจน
17 เมษายน ในรุ่งเช้า เหตุการณ์ Bay of Pig เริ่มขึ้น ซีไอเอนำกำลัง 1500 คน เรียกว่าหน่วย Brigade 2506 บางส่วนเป็นชาวคิวบาที่ถูกจ้างและส่งไปฝึกในนิคารากัว เพื่อที่สหรัฐจะได้เลี่ยงการถูกประณามว่าฝ่าฝืนกฏบัตรสหประชาชาติที่เข้าไปล้มรัฐบาลต่างชาติ โดยจะได้อ้างว่าเป็นการทะเลาะกันเองของคนคิวบา , 3 วันต่อมา ซีไอเอ ก็แพ้กลับไป
1962 วิกฤตมิสไซด์ (Cuban Missile Crisis) ในสมัยเคนนาดี อีกเช่นกัน เหตุการณ์นี้เริ่มต้นจากการที่สหรัฐอเมริกา เอาขีปนาวุธไปติดตั้งในตุรกี ซึ่งติดกับโซเวียต ทำให้โซเวียตตอบโต้ ด้วยการเอาจรวด R-12 มาติดตั้งในคิวบา เป็นการตอบโต้ ประกอบกับคิวบากลัวว่าสหรัฐอเมริกาจะบุกประเทศตนอีกครั้งหนึ่งหลังจากล้มเหลวในปีที่แล้ว สหรัฐอเมริกา สามารถถ่ายภาพจรวด R-12 ในคิวบาได้ โดยเครื่องบินสอดแนมแบบ U-2 และประกาศข่มขู่ให้โซเวียตถอนอาวุธออกไปในวันที่ 22 ตุลาคม 1962 หลังจากเหตุการณ์ตึงเครียดอยู่อาทิตย์หนึ่ง ก็จบลงบนโต๊ะเจรจา ครุสซอฟและเคนนาดี ต่างก็ถอนจรวดออกไป สหรัฐอเมริกายอมเอามิสไซด์ออกจากตุรกีและอิตาลี ส่วนโซเวียตก็เอาอาวุธออกจากคิวบา สหรัฐแก้การเสียหน้าด้วยการคว่ำบาตรคิวบาสินค้าอย่างน้ำตาลจากคิวบาแทน ซีไอเอพยายามลอบสังหารคาสโตรแทน จนกลายเป็นตำรา 638 วีถีสังหารคาสโตร (638 Ways to Kill Castro)ที่ซึ่งล้มเหลว ทั้งการวางยาพิษ หรือลอบยิง
ความมุ่งมั่น 638 การลอบสังหารคาสโตร เป็นผลงานของหลายประธานาธิบดีอเมริกาดังนี้ สมัยไอเซนเฮาว์ 38 ครั้ง ,เคนนาดี 42 ครั้ง , จอห์นสัน 72 ครั้ง , นิกสัน 184 ครั้ง, จิมมี่ คาร์เตอร์ 64 ครั้ง , เรแกน 197 ครั้ง , บุช (F. Bush, คนพ่อ) 16 ครั้ง และสมัยคลินตัน 21 ครั้ง (บวกกันได้ 634) เหตุการณ์ที่สำคัญเช่น
- (1961) หัวหน้าซีไอเออย่างโรเบิร์ต มาฮู (Robert Maheu) รับเงินสินบนจากนักธุรกิจใหญ่ในลาสเวกัส ชื่อจอห์นนี่ โรเซลลิ (Johnny Roselli) ซึ่งเคยเป็นเจ้าของกิจการหลายอย่างในคิวบาและกำลังถูกแปรรูป เขาพบกันอย่างลับๆ ในไมอามี จอห์น โรเซลลิ จ่ายเงินสินบนให้มาฮู 150,000 เหรียญ
- (22 พฤศจิกายน 1963) ซีไอเอพยายามใช้ปากกวางยาพิษระหว่างที่คาสโตรพบกับทูตสหรัฐที่ส่งมาโดยเคนนาดี เพื่อปรับความสัมพันธ์
- (1963) นักกฏหมายอเมริกัน โดโนแวน (Donovan) มอบชุดประดาน้ำให้คาสโตร โดยซีไอเอใส่เชื้อโรค (Tubercle Bacillus) ลงในถังอากาศ แต่ว่าโดโนแวนเองเสียชีวิตเพราะไม่รู้ และเห็นว่าอุปกรณ์อันนั้นไม่มีราคาเหมาะสมและหาอันใหม่ที่แพงกว่าให้คาสโคร
- (1960) ซีไอเอส่งซิการ์ที่ระเบิดได้ให้กับคาสโตรเป็นของขวัญ และว่าเจ้าหน้าที่ตรวจพบก่อน
- (1960) ซีไอเอใช้อดีตคนรักของคาสโตรMarita Lorenz มาวางยาพิษ โดยเธอซ๋อนยาพิษเอาไว้ในหลอดไอศกรีม แต่ถูกจับได้และยอมรับสภารภาพ คาสโตรมอบปืนให้เธอเพื่อยิงตัวเองเป็นการลงโทษ แต่ฝ่ายหญิงไม่กล้า และร้องขอการอภััย
- (1971) ระหว่างเยือนชิลี สหรัฐส่งมือปืนมาลอบสังหาร แต่ว่าก่อนที่จะลงมือ หนึ่งในทีมงานถูกรถชน ทำให้แผนการถูกยกเลิก
- (2000) ใช้ระเบิดขนาด 90 กิโลกรัมหวังสังหารระหว่างเดินทางเยือนปานามา แต่ว่าระเบิดไม่ทำงาน
คาสโตร บอกว่า ถ้ามีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก โดยจำนวนครั้งที่รอดตายจากการถูกลอบสังหาร เขาคงได้เหรียญทอง
1965 กลุ่ม 26 กรกฏาคม เปลี่ยนเป็นพรรคการเมืองเพื่อการปฏิวัติคิวบา United Party of Socialist Revolution of Cuba
1 ตุลาคม 1965 พรรค United Party เปลี่ยนเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งคิวบา Communist Party of Cuba คาสโตรได้รับการรับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค อันดับหนึ่งในวันที่ 3 ตุลาคม 1965
คาสโตรเอง ก็เอาคืนสหรัฐอเมริกา ด้วยการสนับสนุนอาวุธหรือส่งกำลังทหารเข้าไปช่วยกลุ่มมาร์กซิสในหลายประเทศ ในปี 1975 ส่งทหารไปในแองโกล่า, 1977 ส่งทหารไปเอธิโอเปีย, 1979 ช่วยเหลือซาดินิสตาส์ที่ต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการนิคารากัวที่สหรัฐสนับสนุน
1998 คาสโตรได้รางวัลเชิดชูเกียรติระหว่างเดินทางเยือนต่างประเทศหลายรางวัล เช่น
- โมฮัมมา กัดดาฟี แห่งลิเบีย มอบรางัล Libyan Human Right Prize
- เนลสัน แมนเดลล่า แห่งอัฟริกาใต้ มอบรางวัล the Order of Good Hope ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของประเทศให้กับคาสโตร
- เกาหลีเหนือมอบ the Golden Medal (Hammer and Sickle) และ the First Class Order of the National Flag
คาสโตรไม่ได้มีแต่ด้านของการต่อสู้ เขาส่งยาและเวชภัณฑ์ ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในบอสวาน่า ให้เงินทุนแก่ประเทศในแคริเบีบน ยกเว้นสหรัฐแล้ว คาสโตรมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกประเทศในทวีปอเมริกา แม้แต่แคนนาดี ประธานาธิบดีทรูดอร์ ของแคนนาดา ก็เป็นเพื่อนสนิทของคาสโตร
31 กรกฏาคม 2006 คาสโตรถ่ายโอนอำนาจการบริหารประเทศให้กับรองประธานาธิบดี คือ น้องชาย ราอูล คาสโตร เนื่องจากปัญหาสุขภาพ
19 เมษายน 2011 คาสโตร ออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์คิวบา และราอูล คาสโตรได้รับตำแหน่งแทน
ชีวิตส่วนตัว คาสโตรมีลูกหลายคน ภรรยาคนแรก Mirta Diaz-Balart ทั้งคู่แต่งงานกันเมื่อ 11 ตุลาคม 1948 มีลูกชายชื่อ ฟิเดลลิโต้ (Fidel Angal, Fidelita)
ภรรยาคนที่สอง ดาเลีย (Daila Soto del Valle) มีลูกชาย 5 คน คือ แอนโตนิโอ(Antonio),อเลแจนโดร(Alegandro),อเลกซิส(Alexis),อเล็กซานดร้า(Alexandar), แองเจิ้ล (Andel Casto del Valle) ภรรยาคนที่สาม มีร์ต้า (Mirta) มีลูกชื่อ นาตาเลีย (Natalia Revuelta Clews)
กับ ออรันโต้ (Orlando Fernandez) มีลูกชื่อ อลิน่า (Alina Fernandez-Revuelta) เธอหนีไปอยู่ในสหรัฐและตำหนิพ่อของเธอในเรื่องการเมือง
และมีลูกชายอีกคนกับภรรยาไม่ทราบชื่อ ลูกชายชื่อจอร์จ ( Jorge Angel Castro)
คิวบาของคาสโตรภายใต้การนำของน้องชายราอูล เริ่มปฏิรูปประเทศให้เป็นแบบตลาดมากขึ้น มาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยพยายามลดขนาดภาครัฐลงและให้ประชาชนเป็นเจ้าของกิจการได้
คาสโตรไม่แม้จะวางมือจากการบริหาร แต่เขาคงมีอิทธิพลและไม่อาจจะหายไปจากเวทีการเมืองระหว่างประเทศได้ ยังคงเขียนบทความสะท้อนแนวคิดในคอลัมน์ Reflexions of Castro ลง Cubadebate ลงในเว็บไซด์อยู่สม่ำเสมอ
เขาเขียนความเห็นเรื่องการสังหารบิน ลาเดน ของสหรัฐ ว่าเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจ โดยเฉพาะการสังหารมีขึ้นตอนที่บิน ลาเดน ไม่ได้มีอาวุธ ไม่ได้ต่อสู้ และสังหารเขาต่อภรรยาและลูกของเขา ต่อหน้าเด็ก สตรีและคนในครอบครัว และยังศพของบิน ลาเดน ไปทิ้งทะเลอีก