Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Sofia Kovalevskaya

โซเฟีย โควาเลฟสกาย่า (Софья Васильевна Ковалевская)


โซเฟีย เกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม 1850 ในมอสโคว์ 
พ่อของเธอเป็นนายพล ยศพลโท ที่มีชื่อเสียง ชื่อ พล.โท. วาสิลี คอร์วิน-ครุกอฟสกี (Василии Васильевиче Корвин-Круковском, Vasily Vasilyevich Corwin-Krukovsky)

ส่วนแม่ชื่ออลิซาเบธ นามสกุลเดิม ชูเบิร์ต (Елизаветы Фёдоровны Шуберт,Elizebeth Feodorovna Schubert) โซเฟีย เป็นลูกคนที่สองในพี่น้องสามคน 

ตาของโซเฟีย เป็นนายทหารและยังเป็นนักวิทยาศาสตร์มีชื่อเสียง ชื่อฟีโอดอร์ ฟีโดโรวิช ชูเบิร์ต (Fyodor Fedorovich Schubert, Фёдор Фёдорович Шуберт) เขาเป็นสมาชิกของสมาคมภูมิศาสตร์หลวง (Imperial Geographical Society) และคณะกรรมการในวิทยาศาสตร์สมทุรศาสตร์ (Marine scientist committer)

ขณะเดียวกัน พ่อของฟีโอดอร์ ชูเบิร์ต ก็เป็นนักดาราศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงมากเช่นกัน เขาเกิดในเยอรมัน ชื่อ ฟีโอดอร์ อีวาโนวิช ชูเบิร์ต (Fyodor Ivanovich Schubert, Фёдор Иванович  Шуберт ) เขาสร้างทฤษฏีการเคลื่อนไหวของดวงจันทร์ ดาวอังคาร ดาวยูเรนัส และเคยร่วมกับลูกชายหาเส้นทางไปประเทศจีนแต่ไม่สำเร็จ เขียนหนังสือที่สำคัญอย่าง Popular Astronomy (Популярная астрономия) Pocket menology , Sea menology  และได้รับรางวัล the order of St. Vladimir ชั้นที่ 3,4 และ the Order of St. Anne’s ชั้นที่ 8

วัยเด็กของโซเฟีย เธอเติบโตมาในที่ดินของพ่อในหมู่บ้านโพลิบิโน่ เขตพัสคอฟ(Polibino,Pskov region) เธอเรียนหนังสือโดยมีคุณครูมาสอนที่บ้านจนกระทั้งอายุได้ 8 ปี  ครูที่สอนคณิตศาสตร์เธอคือ (A. N. Stannoliubski , А. Н. Страннолюбского.)
1866 โซเฟียเดินทางไปต่างประเทศครั้งแรก ก่อนที่จะย้ายมาอาศัยอยู่ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก

1868 โซเฟีย แต่งงานกับวลาดิมีร์ โอนูฟรีเยวิช โควาเลฟสกี (Vladimir  Kovalevsky, Владимира Онуфриевича Ковалевского) ในวันที่ 15 กันยายน หลังจากแต่งงานแล้วทั้งคู่เดินทางออกจากรัสเซีย ภายหลังสามีของเธฮเป็นอาจารย์สอนภูมิศาสตร์ในมหาวิทยาลัยมอสโคว์ และยังสอนกฏหมาย

1869 โซเฟีย เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเฮเดลเบิร์ก (University of Heidelberg) ในประเทศเยอรมัน ในขณะที่สามีของเธอสนใจเรียนการศึกษาวิชาเกี่ยวกับซากดิกดำบรรพ์ หลังจากเรียนได้สองปี โซเฟีย คิดที่จะย้ายไปเรียนกับศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์คาร์ล เวเออร์เตราส์ (Karl Weierstrass) ที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ทว่าในตอนนั้นมหาวิทยาลัยไม่เปิดให้สตรีเข้าเรียน แต่ว่าโซเฟียพยายามติดต่อกับ ศจ.เวเออร์สเตราส์ เพื่อให้เขามาเป็นอาจารย์ส่วนตัว แต่เขาปฏิเสธทว่ากลับให้แบบฝึกหัดเป็นโจทย์คติศาสตร์ชั้นสูงแก่เธอมา โดยคิดว่าจะทำให้เธอหมดความพยายามไปเอง แต่ว่าเพียงแค่อาทิตย์ถัดมาเธอก็นำคำตอบที่ถูกต้องกลับมาส่ง ซึ่งไม่ใช่แค่เป็นการหาคำตอบที่ถูกอย่างเดียว แต่ยังชัดเจน ลึกซึ้งและแสดงถึงอัจฉริยะของเธอ ทำให้ ศจ.เวเออร์สเตราส์ อนุญาตให้เธอเข้าฟังเลคเชอร์ในชั้นเรียน แต่ทว่ามหาวิทยาลัยไม่อนุญาต ศจ.เวเออร์สเตราส์ จีงพบปะกับโซเฟียเป็นครั้งคราว และมอบเลคเชอร์ให้เธอเป็นการตอบแทน

1871 โซเฟีย และสามีออกเดินทางไปยังปารีส

1874 โซเฟีย เขียนทฤษฏีคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ partial differential equations ออกมาบนกระดาษสามแผ่น รู้จักกันในชื่อ Cauchy-Kovalevsky theorem และยังเขียนสูตร การเคลื่อนที่ของวงแหวนดาวเสาร์

Kovalevsky theorem นั้นได้ถูกนำไปตีพิมพ์ลงในแม็กกาซีน Crelle’s Journal (Journal für die reine und angewandte Mathematik )

และการคำนวณเกี่ยวกับวงแหวนดาวเสาร์ของเธอถูกพิมพ์ลงในแม็กกาซีน Astronomischo Nachrichten ปี 1885 ฉบับที่ 111

Abe Integrals ถูกพิมพ์ลงในแม็กกาซีน  Acta Mathematica ในปี 1884

โซเฟีย เข้าเรียนที่มหาวิทยาลับกอนตินเก้น (University of Gottingen) และสำเร็จวุฒิดอกเตอร์ เธอกลายเป็นผู้หญิงคนแรกในยุโรปที่ได้วุฒินี้ เดือนกรกฏาคม เธอเดินทางกลับมายังเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ระหว่างอยู่ในรัสเซียเธอหันไปเขียนบทความ วรรณกรรม ลงในนิตยสารหลายฉบับ และห่างไกลจากผลงานทางคณิตศาสตร์เป็นเวลานาน

1878 ลูกสาวของเธอเกิดขึ้นมา ชื่อ โซเฟีย Sofia หรือ Fufa

1879 เข้าร่วมการประชุมสภาวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 6 ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก

1880 เดินทางไปยังมอสโคว์ แต่ต้องผิดหวังเมื่อมหาวิทยาลัยไม่ยอมให้เธอเข้าทดสอบเพื่อขอวุฒิปริญญาโท

1881 ได้เป็นสมาชิกของสมาคมคณิตศาสตร์แห่งมอสโคว์ (the Moscow Mathematical Society) เธอออกเดินทางโดยแยกจากสามีไปเบอร์ลิน และปารีส พยายามที่จะหาทางเรียนในระดับสูงขึ้นแต่ว่าไม่มีมหาวิทยาลัยไหนในขณะนั้นที่อนุญาตให้สตรีเรียน เธอกลับรัสเซียในปี 1883

1883 วลาดิมีร์ สามีของเธอฆ่าตัวตาย เนื่องจากปัญหาทางธุรกิจ การประชุมสภาวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 7 ปรากฏรายงานผลงานของเธอเรื่อง On the refraction of light in crystals

เดือนพฤศจิกายนโซเฟีย พาลูกสาววัยห้าขวบเดินทางไปยังเบอร์ลิน และไปอาศัยกับ ศจ.เวเออร์สเตราส์

1884 โซเฟีย เปลี่ยนชื่อของเธอเอง เป็น โซเนีย โควาเลฟสกี (Sonia Kovalevsky หรือ Sonya) 

1 กรกฏาคม เธอตอบรับคำเชิญของมหาวิทยาสัยสต็อกโฮม สวีเดน โซเฟียเข้าทำเป็นศาสตร์จารย์พิเศษสอนคณิตศาสตร์ โซเฟีย ยังได้ทำงานเป็นบรรณาธิการของนิตยสารคณิตสาร Acta Mathematica ที่ก่อตั้งโดย Gosta Mittag-Leffler ด้วย

1888 เธอได้รับรางวัล Prix Bordin จากสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส (French Academy of Science)

1889 Acta Mathematica ตีพิมพ์ผลงานของเธอที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งชื่อ Sur le probleme de la rotation d’un corps solide autour d’un point fixe ในฉบับเดือนกันยายน

1889 รับตำแหน่งศาสตร์จารย์แบบเต็มตัวจากมหาวิทยาลัยสต็อกโฮม และยังได้รับมีตำแหน่งในสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งรัสเซียด้วย (Russian Academy of Science) แม้ว่าเธอจะไม่เคยได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์จากประเทศบ้านเกิดเลย

1890 โซเฟีย เขียนหนังสือนิยาย Nihilist Girl และ A Russian Childhood ซึ่งอยู่บนพื้นฐานชีวิตในวัยเด็กของเธอ

1891 โซเฟีย เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่และอาการปอดบวม(นิวมอเนีย) ในวันที่ 29 มกรคา 1891 ในกรุงสต็อกโฮม และร่างของเธอถูกประกอบพิธีในสุสานนอร์รา (The Northern Cemetery) ในกรุงสต๊อกโฮม 

  • The Memoirs of George Elliot,Russian Though ,1886, ฉบับที่ 6[Воспоминания о Джорж Эллиот,Русская Мысль,1886 года, № 6]
  • Memories of Childhood, Herald of Europe,1890, ฉบับที่ 7-8[Воспоминания детства,Вестник Европы,1890,№ 7—8]
  • For Three days in peasant University in Sweden,Northern Herald,1890, ฉบับที่ 12[Три дня в крестьянском университете в Швеции,Северный Вестник,1890, № 12]
  • บทละครเรื่อง Vae victis
  • และวรรณกรรม The Struggle of Happiness (Борьба за счастье) เขียนเป็นภาษาสวีเดน ร่วมกับ A.K. Leffler ซึ่งในหนังสือยังมีบางส่วนเกี่ยวกับอัตชีวประวัติของเธอ
Don`t copy text!