Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Sergei Witti

เซอร์เกย์ วิตตี (Сургей Юльевич Витте)

นักการเมืองคนสำคัญคนหนึ่งของรัสเซีย ผู้ร่างคำประกาศคำปฏิวัติ เดือนตุลาคม 1905 (October Manifesto 1905) และกลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแรกของรัสเซีย
วิตตี้ เกิดในครอบครัวชาวต่างจังหวัดธรรมดา ในเมืองทิฟลิส หรือกรุงทบิลิซี เมืองหลวงของประเทศจอร์เจีย เขาเกิดในวันที่ 29 มิถุนายน 1849 พ่อของเขา จูเรียส วิตตี (Julius Witte) เป็นชาวเยอรมันบอลติคที่นับถือคริสต์นิกายลูเธอรัน ส่วนแม่ของเขา ยีแคทเธอริน่า ฟาเดว่า (Ekaterina Andreevna Fadeeva) มีเชื้อสายมาจากเจ้าชายโดโลรุกิ (Dolgojuruki prices) ซึ่งเป็นเจ้าชายที่พักตร์ดีต่อพระเจ้าซาร์ปีเตอร์

จูเรียส วิตตี เดิมที่อาศัยอยู่ในเขตพัสคอฟ (Pskov)  ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจักรวรรดิรัสเซียในตอนนั้น ภายหลังเขาเปลี่ยนศาสนาจากคริสต์นิกายลูเธอรันมาเป็นออโธดอก และทำงานเป็นเจ้าหน้าที่แผนกทรัพย์สินของรัฐบาล จัดว่ามีฐานะดี 

ยีแคทเธอริน่า นั้นเป็นลูกสาวขององค์มนตรีประจำคอเคซัส (Privy Coucilor of Caucacus) ชื่อแอนเดรย ฟาเดเยฟ (Andrei Mikhailovich Fadeyev) เขายังเป็นผู้ว่าการเมืองซาราตอฟ (Saratov)  ซึ่งย่าของแอนเดรย นั้นคือเจ้าหญิงเฮเรน โดลโกรุกิ 
เซอร์เกย์ วิตตี ตอนเด็กนั้นเขาอาศัยอยู่ในบ้านของตาและได้รับการศึกษาอย่างลูกของผู้ดี เริ่มเข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนทิฟลิส ( Tiflis gymnasium) แต่ว่าระหว่างนั้นเขาสนใจในดนตรี การขี่ม้า และฟันดาบ มากกว่าเรียนหนังสือ มีนิสัยที่ค่อนข้างเกเร ในที่สุดทำให้ถูกบังคับให้ย้ายโรงเรียนไปเรียนที่ยิมเนเซียม หมายเลข 1 ในชินสินัว (gymnasium I in Chisinau) ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ใกล้กับทิฟลิส

1866 วิตตี้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยโนโวรอสสิส์ก (Novorossiysk University) ในเมืองโอเดสสา (Odessa) ทางด้านคณิตศาสตร์และฟิสิกข์ และเขาเรียนจบในป 1870

1870 หลังจากจบการศึกษาได้เลือกที่จะทำงานกับเป็นเลขานุการให้กับผู้ว่าการเมืองโอเดสสา นาน 2 ปี ก่อนทีี่จะได้รับข้อเสนอจากเพื่อนของพ่อเขา คือ เคาต์อเล็กซี โบรินสกี (Aleksey Pavlovich Borinsky) รัฐมนตรีสื่อสาร ให้ไปทำงานในบริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านการรถไฟ ทำให้วิตตี้ย้ายไปยังบริษัทซึ่งกำลังสร้างรางรถไฟทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัสเซียในเวลานั้น ซึ่งรัสเซียกำลังมีการพัฒนารถไฟความเร็วสูงในยุคนั้นอยู่ วิตตี้ทำงานในหลายตำแหน่งภายใต้บริษัทตั้งแต่เป็นคนเก็บเงิน และการประสารงาน

1875 เกิดอุบัติเหตุในการก่อสร้างทางรถไฟใกล้กับเมืองโอเดสสา ทำให้คนงานเสียชีวิตไปหลายคน ทำให้วิตตี้และหัวหน้าชื่อชิฮาเชฟ (Chihachev) ถูกตั้งข้อหาและถูกจำคุกนาน 4 เดือน ก่อนจะกลับมาทำงานอีกครั้งหนึ่งโดยที่การสืบสวนยังดำเนินต่อไป และระหว่างสงคราม รัสเซีย-ตุรกี ในปี 1877-1878 ผลงานรางรถไฟของวิตตี้พิสูจน์ให้เห็นความสามารถในการลำเลียงทหารและยุทธปัจจัยที่ดีขึ้นอย่างมากของรัสเซีย นั้นทำให้ราชวงศ์ของพระเจ้าซาร์ โดยเฉพาะพี่ชายของซาร์อเล็กซานเดอร์ ที่ 1 แกรนด์ ดุก นิโคไล (Nikolai Nikolayevich) ทรงประทับใจ ไม่นานข้อหาของวิตตี้ก็ถูกยกเลิก วิตตี้เริ่มหันไปจับงานในการพัฒนาท่าเรือในโอเดสสา

1879 วิตตี้ได้รับงานใหม่ในการเป็นหัวหน้าแผนกการก่อสร้างถนนสาย ใต้-ตะวันตก ของเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ทำให้เขาต้องย้ายบ้านมายังเมืองนี้ และได้รู้จักและ วิตตี้ก็แต่งงานกับ เอ็น.เอ สปริโดโนว่า( N.A. Spiridonova(Ivanenko), Н. А. Спиридоновой ( Иваненко))

1880 เขาย้ายมายังเมืองเคียฟ ในยูเครน

1881 ซาร์ อเล็กซานเดอร์ ที่ 2 ถูกสังหาร ในวันที่ 1 มีนาคม 1881 วิตตี้แสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการจากไปของซาร์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเสรี (The Liberal) ตอนนั้นเขาได้เข้าเป็นสมาชิกของหน่วย Holy Drygina ซึ่งก่อตั้งมาเพื่อล่าสังหารผู้ก่อการร้าย แต่ว่าภาระกิจไม่ประสบความสำเร็จ

1883 เขียนหนังสือเรื่อง Principles of railway tariffs for cargo transportation(Принципы железнодорожных тарифов по перевозке грузов ) มันเล่าถึงบทบาทของรถไฟต่อสังคมและบทบาทของระบบกษัตริย์ต่อการพัฒนารัสเซีย

1886 ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าของสมาคมการรถไฟสายใต้-ตะวันตก ในเคียฟ (Society of South-Western Railways) ระหว่างนี้เองเขาได้มีโอกาสพบกับซาร์ อเล็กซานเดอร์ ที่ 3

1888 ใกล้กับหมู่บ้านเล็กๆ ชื่อบอร์กิ (Borki) รถไฟของพระเจ้าซาร์ ตกราง ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายคน ในเดือนตุลาคม เป็นเหตุการณ์ที่เรียกว่า Borki train diaster อุบัตเหตุ นี้เนื่องมาจากหัวรถจักรของพระเจ้าซษร์ใช้เครื่องยนต์รุ่นใหม่กำลังสูงสองตัว ซึ่งวิตตี้ได้กล่าวเตือนพระเจ้าซาร์แล้วว่ารางรถไฟไม่สามารถรองรับได้ แต่คนใกล้ชิดของพระเจ้าซาร์ซึ่งทะเลาะกับวิตตี้ ยังคงสนับสนุนให้ทรงนั่งโดยรถไฟดังกล่าว

1889 10 มีนาคม วิตตี้ได้รับความดีความชอบจากเหตุการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เขาถูกแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้ากรมกิจการรถไฟ ซึ่งตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งสังกัดกระทรวงการคลัง วิตตี้ พิมพ์หนังสือเรื่องใหม่ National Saving and Friedrich List ( Национальная экономия и Фридрих Лист ) ซึ่งพูดถึงความจำเป็นในการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศรัสเซียให้เข้มแข็ง เพื่อป้องกันการแข่งขันกับต่างประเทศ

1890 ภรรยาของเขาเสียชีวิต

1891 มีการประกาศใช้อัตราภาษีศุลกากรของรัสเซียแบบใหม่ ภายใต้ความร่วมมือพัฒนาระบบระหว่างวิตตี้และ เมนเดเลฟ (D. Mendeleev) ซึ่งเป็นภาษีที่ค่อนข้างกีดกันทางการค้า เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายใน

1892 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสื่อสาร ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงสิงหาคม แต่งงานกับ มาติลด้า อิวานนอฟน่า (Matilda Ivanovna(Isaakovna) Lisanevich) เธอมีแต่งานมีสามีอยู่แล้ว เธอเป็นยิว และยังมีลูกติดอีกด้วย การแต่งงานเป็นไปอย่างอื้อฉาว เพราะวิตตี้สานสัมพันธ์กับเธอก่อนที่เธอจะหย่าเสียอีกและว่ากันว่าวิตตี้จ่ายเงินตอบแทนเป็นค่าเสียหายแก่สามีเก่านางจำนวนหนึ่งเพื่อการหย่านี้  ภรรยาของวิตตี้ไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับ แต่ว่าพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 ทรงประทับใจในความรักที่จริงจังของวิตตี้ และไม่ได้ทำให้ความสัมพันธ์กับพระองค์เปลี่ยนไป

สิงหาคม วิตตี้กลายเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งนี้ยาวนานถึง 11 ปี ระหว่างดำรงตำแหน่งนี้ เขาเร่งให้มีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายทราน-ไซบีเรีย การปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้เกิดแรงงานสำหรับอุตสาหกรรมมาขึ้น

1894 วิตตี้สามารถลงนามในสนธิสัญญาทางการค้า (Commercial Treaty) กับอาณาจักรเยอรมัน (Emprie of Germany)  ปีนี้เขาได้รับรางวัลพลเมืองกิตติมาศักดิ์แห่งคาซาน (Honorary Citizen of Kazan) จากผลงานการก่อสร้างทางรถไฟสายคาซาน-เรียซาน (Kazan-Ryazan railway) ปีนี้ พระเจ้าซาร์นิโคลัส ที่ 2 ซาร์ องค์สุดท้ายได้รับราชบังลังค์ต่อม

1895 มีการก่อตั้งบริษัทของรัฐบาลขึ้นมา เพื่อดำเนินกิจการและผูกขาดธุรกิจแอลกอฮอลภายในประเทศ ซึ่งกลายเป็นแหล่งรายได้มหาศาลให้กับรัฐบาลรัสเซ๊ย

1896 สามารถทำสนธิสัญญา Li-Lobanov Treaty กับรัฐบาลชิง แห่งประเทศจีน ซึ่งสนธิสัญญาดังกล่าวเปิดทางให้รัสเซียก่อสร้างเส้นทางผ่านแมนจูเรียทางตะวันออกของประเทศจีนได้ ซึ่งทำให้รัสเซียสามารถเดินทางไปยังวลาดิวอสต๊อคได้สะดวกมากขึ้น เขาได้รับตำแหน่งเลขานุการแห่งรัฐ (Secretary of State)

1897 วิตตี้ นำระบบเงินรูเบิ้ลอ้างอิงกับมาตรฐานทองคำ มาใช้ เป็นการปฏิรูประบบการเงินของรัสเซียครั้งสำคัญ ระบบนี้ทำให้การเงินของประเทศมีเสถียรภาพอย่างยาวนาน ก่อนจะเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 1 , เงินทุนมากมายจากต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามาในรัสเซีย

1898 ตุลาคม เขาเรียกร้องไปยังซาร์ ให้มีการปฏิรูประบบชาวนาในประเทศ โดยให้ยกเลิกนารวมและแจกจ่ายที่ดินให้แก่ชาวนา

1903 ซาร์นิโคลัส  ที่ 2 ย้ายวิตตี้ไปเป็นประธานสภาคณะรัฐมนตรี (chairman of Council of Ministers) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไม่มีอำนาจอะไร เพียงแต่ซาร์ ไม่พอใจที่วิตตี้มีอิทธิพลอย่างมาก เขาดำรงค์ตำแหน่งนี้ถึงปี 1906

1904 เกิดสงคราม รัสเซียญ๊่ปุ่น ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศ 

1905 พระเจ้าซาร์ ถูกกดดัน ให้ต้องทรงแต่งตั้งให้วิตตี้ไปเป็นทูต ในการเจรจากับญี่ปุ่น เพื่อเจรจาสันติภาพ แต่ว่าความพ่ายแพ้สงคราม ทำให้รัสเซียยอมมอบครึ่งหนึ่งตอนใต้ของเกาะซาคารินให้ญีุ่ปุ่น  นอกจากนั้นสงคราม ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการลุกฮือปฏิวัติ Russia Revolution 1905 จนกระทั้งพระเจ้าซาร์ต้องมอบรัฐธรรมนูญและจัดให้มีการเลือกตั้ง จากคำประกาศวันที่ 17 ตุลาคม (Manifesto of 17th October) ซึ่งวิตตี้เป็นคนร่างแถลงการณ์ดังกล่าว ซึ่งบางคนก็แย้งว่าอันนี้ไม่ใช่รัฐธรรมนูญ แต่ว่ามันก็จำกัดอำนาจของกษัตริย์เป็นครั้งแรก

1906 การเลือกตั้งสภาดูม่า (State Duma) ฝ่ายซ้ายได้รับเลือกเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้วิตตี้ ถูกบังคับให้ต้องลาออกจากตำแหน่งประธานสภาคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 22 สิงหาคม 1906 และแม้ว่าเขาจะยงคงมีตำแหน่งเป็นสมาชิกของสภาอยู่ แต่ก็ไม่ได้รับอำนาจใดๆ ในรัฐบาลอีก

วิตตี้ มีบทบาทในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ในการเจรจาสันติภาพกับเยอรมัน แต่ว่าตอนนั้นเขาก็เริ่มมีอาการป่วยแล้ว จนกระทั้งตัวเขาเองเสียชีวิต ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 1915 ขณะอายุ 64 ปี ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ร่างของเขาถูกประกอบพิธีในวันที่ 2 มีนาคม ในสุสานหลวงอเล็กซานเดอร์ เนฟสกี (Alexander Nevsky Monastery)

Don`t copy text!