Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Pyotr Stolypin

เปียเตอร์ สโตไลปิน (Пётр Фркадьвич Столыпин)

นายกรัฐมนตรีของรัสเซีย ระหว่างปี 1906-1911

เกิดในเมืองเดรสเดน เมืองหลวงของแคว้นแซคโซนี ประเทศเยอรมันในปัจจุบัน เขาเกิดเมื่อวันที่ 14 เมษายน 1862 (ปฏิทินเดิมวันที่ 2 เมษายน)  ครอบครัวและบรรพบุรุษของเขาล้วนเป็นชนชั้นสูงในสังคมของรัสเซีย ย้อนกลับไปได้หลายชั่วรุ่น บรรพบุรุษฝ่ายพ่อ เช่น กวีที่มีชื่อเสียง Mikhail Lermontov

พ่อเป็นนายพลในกองทัพปืนใหญ่ของรัสเซีย ชื่อ อาร์คาดี ( Arkady Dmitrievich Stolypin (1821–1899)) มีฐานะที่มั่งคั่งเป็นเจ้าของที่ดิน

ส่วนแม่ ชื่อ นาตาเลีย (Natalia Mikhailovna Gorchakova (1827-1889)) เป็นลูกของนายพล ตอนยังเล็กมาก ครอบครัวอาศัยอยู่ในฟาร์ม ในเมืองเสเรดนิโกโว่ (Serednikovo) ในเขตมอสโคว์ จนกระทั้งปี 

1869  ย้ายมาอยู่ในจังหวัดคอฟโน่ (Kovno province) ในลิธัวเนีย

1876 เมื่อเขาต้องเข้าโรงเรียน ครอบครัวจึงได้ย้ายไปยังเมืองหลวงวิลเนียส(Vilnious) ของลิธัวเนีย 1881 สโตไลปิน สมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ในภาควิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกข์

1884 เขาแต่งงานกับโอลก้า เนียดฮาร์ดท (Olga Borisovna Neidhardt) ทั้งคู่มีลูกด้วยกัน 5 คน

1885 หลังจากเรียนจบได้เข้าทำงานกับรัฐบาล ในกระทรวงการคลัง (Ministry of State Property)

1889 ได้รับเลือกให้เป็นผู้ว่าการเขตปกครองเมืองคอฟโน่ (Kovno governarate)  เขาได้รับยศเป็นจอมพล (Marshal) ตั้งแต่อายุเพียง 27 ปี คอฟโน่ นี้ปัจจุบันอยู่ในลิธัวเนีย

1902 เมื่ออายุได้ 40 ปี สโตไลปินได้รับเลือกให้เป็นผู้ว่าการเมืองกรอดโน่ (Grodno) ซึ่งถือเป็นผู้ว่าที่มีอายุน้อยที่สุดที่ได้รับตำแหน่งลักษณะเดียวกันนี้

1906 ซาร์นิโคลัส ที่ 2 แต่งตั้งให้สโตไลปินเป็นรัฐมนตรีมหาดไทย ก่อนที่จะได้กลายเป็นนายกรัฐมนตรีภายในเวลารวดเร็ว หลังจากซาร์ทรงประกาศยุบสภาดูม่า (ที่ 1) ในวันที่ 22 กรกฏาคม และได้ทรงแต่งตั้งสโตไลปินให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่แทน ช่วงเวลาที่สโตไลปินเป็นนายกรัฐมนตรี (จนถึงปี 1916) เขารับใช้พระเจ้าซาร์นิโคลัส ที่ 2 อย่างเต็มที่ในการต่อสู้กับพวกคอมมิวนิสต์ และคอมมิวนิตส์ที่เคลื่อนไหวรุ่นแรง จนกระทั้งการก่อการร้าย ซึ่งสโตไลปินจะใช้วิธีการลงโทษที่รุ่นแรง มีฝ่ายที่ต่อต้านที่ถูกนำตัวขึ้นรถไฟเพื่อไปยังค่ายกักกันการใช้แรงงานจำนวนกว่า 3,000 คน 12 สิงหาคม มีความพยายามลอบสังหารสโตไลปินอีกครั้ง แมนชั่นของเขาบนเกาะอโพเธคารี ( Apothecary island หรือ Aptekarsky Ostrov) ถูกวางระเบิด แรงระเบิดมกำลังทำลายล้างสูงมาก บ้านซึ่งเป็นอาคารสองชั้นพังถล่มในทันที และทำให้ญาติของเขาคนหนึ่งเสียชีิวิต และลูกของเขาหลายคนได้รับบาดเจ็บ แต่ว่าสโตไลปินตอนนั้นยังไม่ได้กลับมาที่บ้านจึงรอดชีวิต

1907 ความสัมพันธ์ระหว่างสโตไลปิน และสภาดูม่า (ที่ 2) เป็นไปอย่างตรึงเครียดเพราะสมาชิกส่วนใหญ่มีแนวคิดแบบซ้ายรุนแรง แม้ว่าจะมีรัฐธรรมนูญแล้วคนพวกนี้ก็ไม่ยอมหยุดแนวคิดการปฏิรูปที่รุนแรง รวดเร็ว  รัฐบาลของของสโตไลปิน ค้นพบว่าสมาชิกสภาดูม่าหลายคนสมรู้ร่วมคิดในการก่อการร้าย และมีเป้าหมายลอบปลงพระชนพระเจ้าซาร์ และแกรนด์ดุกนิโคไล นิโคเลวิช (Grand Duke Nikolai Nikolaevich) รัฐบาลสามารถจับตัวผู้ก่อการร้ายหลายคนได้ในเดือนกุมภาพันธ์ และพบว่ามีส่วนเกี่ยวกันกับสมาชิกพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตย (พรรค RSDLP ที่ภายหลังแตกเป็น บอลเชวิค และเมนเชวิค) ทำให้รัฐบาลยืนคำขาดให้สภาดูม่าถอนเอกสิทธิ์คุ้มครองของ ส.ส. ในสภา แต่เมื่อสภาไม่ทำตาม สโตไลปิน ได้ประกาศยุบสภาดูม่า (ลำดับที่ 2) ในวันที่ 7 พฤษภาคม หลังจากนั้นมีการออกติกาการเลือกตั้งใหม่ และสภาใหม่ส่วนใหญ่มาจากพรรค Otto ที่สนับสนุนสโตไลปินและซาร์ สมัยของเขามีการปฏิรูปประเทศที่สำคัญ การปฏิรูปที่ดิน  (agrarian reform) เป็นผลงานที่ถูกจำได้มากที่สุด คือการปล่อยให้ชาวนามีอิสระ ถือครองที่ดินได้ และยอมให้มีการเลิกทาสโดยทาสสามารถไถ่ถอนตัวเองจากนายจ้าง มีธนาคารเพื่อชาวนาเพื่อช่วยให้กู้ยืมเงินในการซื้อที่ดินและไถ่ถอนตัวทาสเอง นอกจากนั้นยังมีการขยายการใช้ประโยชน์ที่ดินเข้าไปในพื้นที่ไซเบียเรียและตะวันออกไกลมากขึ้น ในเวลานั้นมีการย้ายถิ่นฐานของแรงงานเกษตรกว่า 3 ล้านคน ทำให้ผลิตผลของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยรวมแล้วประชาชนจดจำเขาได้ในฐานะนายกรัฐมนตรีที่ฉลาด มีวาทะศิลป์ และไม่เกรงกลัวต่อการก่อการร้ายแม้ว่าจะมีความพยายามลอบสังหารเขาอยู่หลายหนโดยฝ่ายคอมมิวนิสต์ สโตไลปินเคยบอกว่า “ถ้าลองได้เวลาที่มีสันติภาพสัก 20 ปี คุณจะจำรัสเซียไม่ได้อีกเลย (Give Us twenty years of peace, and you will not recognize Russia)

1911 กันยายน ระหว่างเดินทางไปยังเคียฟ เขาได้รับคำเตือนว่าการมีความพยายามในการลอบสังหาร แต่ว่าเขาไม่กลัวและยังคงกำหนดการเดิม คืนวันที่ 14 กันยายน สโตไลปิน ต้องเข้าชมโอเปร่าที่เคียฟโอเปร่าเฮาส์ ซึ่งพระเจ้าซาร์และองค์หญิงเสด็จด้วย ในคืนนั้นสโตไลปินถูกยิงถึงสองนัด ที่แขนแลหน้าอก โดย ดมิทรี บ็อกรอฟ (Dmitri Bogrov) ซึ่งเป็นผู้นิยมคอมมิวนิสต์หัวรุนแรง ทำงานให้กับองค์กรที่ชื่อ Okhrana

ตอนนั้นสโตไลปิน มีท่าทีสงบนิ่ง เยือกเย็น เขาลุกขึ้นยืน แล้วก็ถอดถุงมืออก และปลดกระดุมเสื้อนอกออก เผยให้เห็นรอยกระสุนและเลือดที่ไหลชุ่ม จากนั้นก็นั้งลง แล้วก็พูดว่า "ข้ามีความสุขที่จะได้ตายเพื่อซาร์” ในขณะนั้นซาร์นิโคลัส ยังคงอยู่ในที่นั่งของพระองค์ ทรงทำเครื่องหมายกางเขนและภาวนาให้กับสโตไลปิน สโตไลปินถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล ในขณะที่พระเจ้าซาร์ได้เข้าไปเยี่ยมเขาในตอนเช้า ซาร์นิโคลัส นั่งลงข้างเตียง และตรัสว่า “อภัยให้ข้าด้วย”

สโตไลปิน เสียชีวิตในอีก 4 วันถัดมา ในวันที่ 18 กันยายน (ปฏิทินเดิม เป็นวันที่ 5 กันยายน )เวลาประมาณ 4 ทุ่ม ว่ากันว่าเขาสั่งเสียว่าต้องการที่จะให้ประกอบพิธีศพของเขาในที่ที่เขาถูกสังหาร แต่ว่าร่างของสโตไลปิน ถูกนำไปประกอบพิธีที่ วิหารหลวงนิกายออโอด็อกซ์ เคียฟ เปเชริส์ก ลาฟล่า (Kiev-Pechersk Lavra) ใกล้กับโบสถ์รีแฟคโตรี (Refactory Chruch) ในยูเครน 

หลังจากนั้นบอลเชวิคก็ปฏิวัติรัสเซียในอีก 6 ปีต่อมา แต่รัฐบาลรัสเซียปัจจุบันยังเห็นความสำคัญของการปฏิรูปการเกษตรกรรมในประเทศและไอเดียของสโตไลปินก็จะถูกนำมาประยุกต์ใช้ใหม่ และปี 2012 จะมีการเฉลิมฉลอง 150 ปี วันเกิดของเปียเตอร์ สโตไลปิน

Don`t copy text!