Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Semyon Lavochkin

เซเมียน ลาวอชกิ้น (Семён Алексеевич Лавочкин)

ผู้ก่อตั้งบริษัทสร้างเครื่องบิน ยี่ห้อ Lavochkin เครื่องบินรบซึ่งโซเวียตผลิตขึ้นจำนวนมากในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2
ลาวอชกิ้น เกิดในครอบครัวชาวยิว ในเมืองสโมเลนส์ก (Smolensk)  ในครอบครัวราชการครู เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 1900

1918 หลังจบการศึกษาพื้นฐานได้สมัครเข้าเป็นทหารในกองทัพแดง โดยอยู่ในหน่วยทหารราบ

1920 สมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งมอสโคว์ (Moscow State Techincal University) เขาจบการศึกษาในปี 1927

1927 หลังจากจบการศึกษาได้ทำงานที่สถาบันแอโรไดนามิค ( TsAGI ) ซึ่งก่อตั้งโดย แอนเดรีย โตปุเลฟ (Andrei Tupolev) ซึ่งตอนนั้นลาวอชกิ้นได้มีส่วนช่วยในการออกแบบเครื่องบิน ตู รุ่น TB-3 เครื่องบินท้ิงระเบิดขนาดยักษ์

1930s ช่วงต้นปี 30s เขาย้ายไปทำงานยัง Central Design Office โดยหันไปทำงานเกี่ยวกับเครื่องบินที่ต้องบินในเพดานบินสูง เพื่อการวิจัยชั้นบรรยากาศและการสร้างบอลลูน การออกแบบห้องนักบินแบบอัดแรงดัน1939 ได้รับตำแหน่งเป็นทางการว่าเป็นหัวหน้าผู้ออกแบบเครื่องบิน (Cheif Designer of Aircraft)

1941 ได้รับรางวัล Stalin Prize จากผลงานการสร้างเครื่องบิน LaGG-3

1943 ได้รับรางวัล Hero of Socialist Labor และรางวัล Stalin Prize อีกครั้งจากจากออกแบบเครื่องบิน La-5

1945 เดือนตุลาคม ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการของ โรงงานออกแบบเครื่องบิน OKB-301 ในเมืองคิมกิ (Khimki) ในเขตมอสโคว์ โรงงานแห่งนี้ตตั้งขึ้นมาตั้วแต่ปี 1937 ภายหลังเมืองลาว็อชกิ้นเสียชีวิต ได้เปลี่ยนเชื่อเป็น  OKB-Lavochkin   เพื่อเป็นเกียติแก่เขา

1946 ได้รับรางวัล Stalin Prize อันดับสอง จากผลงานสร้างเครื่องบิน La-7

1948 ลาวอชกิ้นเริ่ม  การวิจัยการสร้างเครื่องบินเจ็ต ปีนี้เขาได้รางวัล Stalin Prize ชั้นที่ 1 อีก จากการออกแบบเครื่องบินใหม่1954 ออกแบบจรวดมิสไซด์ข้ามทวีป Burya (Strom,Буря) La-350 เป็นโครงการสร้างขีปนาวุธรุ่นแรกๆ ของโลก เบอร์ย่า อยู่ก่ำกึ่งระหว่างขีปนาวุธข้ามทวีปและจรวดครูสซ์มิสไซด์ ลาวอชกิ้นเข้ามาทำงานในระยะที่สองของโครงการต่อจากโคโรเลฟ แต่ภายหลังโครงการเบอร์ย่านี้ถูกยกเลิกไป แต่ว่าช่วงที่มันถูกทดสอบ จรวดนี้สามารถบินได้ไกลกว่า 6000 กิโลเมตร ที่ความเร็ว 3 มัค

1958 ได้เป็นสมาชิกของ Academy of Sciences

1960 เซเมียน ลาวอซกิ้น เสียชีวิตในวันที่  9 มิถุนายน 1960 จากอาการหัวใจล้มเหลว ระหว่างอยู่ในคาซัคสถาน ร่างของเขาถูกนำมาฝังที่สุสาน Novodevichy Cemetery
รางวัลที่ เซเมียน ลาวอชกิ้นได้รับ

  • Hero of Socialist Labour (1943, 1956)
  • Stalin Prize (1941, 1943, 1946, 1948)
  • Order of Lenin (three times )
  • Order of the Red Banner
  • Order of Suvorov 1st and the 2nd rank
  • Medal for Combat Service
Don`t copy text!