Numquam prohibere somniantes 

Never stop dreaming

Stepan Razin

สเตปาาน เรซิน (Степан Тимофеевич Разин)

สเตปาน ทิโมเฟวิช เรซิน (Stepan Timofeevich Razin) หรือบางที่รู้จักกันในชื่อ สเตนก้า เรซิน (Stenka Razin) เป็นเกิดในครอบครัวชาวคอสแซค ที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำดอน (Don river) ตอนล่าง แม่ของเขานั้นอาจจะมีเชื้อสายจากพวกตุรกี เรซิน เป็นหนึ่งกบฏผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของรัสเซีย

เขาเร่ิมมาต่อต้านรัฐบาลรัสเซียเมื่ออายุได้ 37 ปี ในเดือนเมษายน 1667 หลังจากพี่ชายของเขาถูกประหารโดยทหารจากกองทัพรัสเซีย ในข้อหาขัดคำสั่ง ทำให้เรซิน รู้สึกว่าชาวคอสแซคไม่ได้รับความเมตตาและความเป็นทำจากรัฐบาล เขาจึงได้ลุกขึ้นต่อต้าน ในเดือนเมษายนนั้น เรซิน นำกำลังชาวดอนคอสแซค ประมาณ 1,000 คน ข้ามแม่น้ำโวลก้า โดยมีเป้าหมายที่จะไปตั้งถิ่นใหม่ในเยียส์ก (Yaisk หรือ Oral พื้นที่นี้อยู่ลุ่มน้ำยูราล (Ural river) ในคาซัคสถาน ขณะเดียวกันพวกเขาก็ออกปล้นสดมภ์ชาวบ้าน

ในขณะที่เรื่องนี้รู้ไปถึงรัฐบาลรัสเซีย และได้ขอให้เขาหยุดปฏิบัติการ แต่เรซินปฏิเสธ เขานำพรรคพวก มุงหน้าลงมาทางตอนใต้ของแม่น้ำโวลก้า เมื่อเรือของเรซินและพวกเดินทางใกล้ป้อมปราการขนาดใหญ่ของเมืองซาริตซิน (Tsaritsyn) ผู้ดูแลเมืองในขณะนั้นคือแอนเดรียน อันคอฟสกี (Andrei Unkovsky) เขาเลือกที่จะเจรจากับเรซิน แทนที่จะรบ เพราะเรซินขู่ว่าถ้าอันคอฟสกี ขัดขวางเขาจะยิงปืนใหญ่ใส่เมือง เรซินพบเรือสินค้าซึ่งเป็นของซาร์และสังฆราช ซึ่งขนสินค้ามีค่าและนักโทษการเมืองไปยังเมืองอัสตราคาน เขาบอกับเหล่านักโทษเหล่านั้นว่า “เขาจะไม่บังคับให้ต้องร่วมกับเขา แต่ใครก็ตามเขาไป จะได้เป็นชาวคอสแซคที่มีอิสระภาพ” เรซินออกเรือจากเมืองซาริตซิน ได้โดยไม่มีการปะทะเกิดขึ้น นั้นทำให้มีการลือกันว่า เป็นเพราะเรซินมีเวทมนต์ลึกลับและไม่อาจจะฆ่าให้ตายได้ เรือของพวกคอสแซคมุ่งหน้าไปทางใต้ของแม่น้ำโวลก้า และไปออกยังที่ทะเลแคสเปี้ยน ระหว่างทางสามารถเอาชนะการ์ดของรัฐตลอดเส้นทางได้หลายครั้ง

กรกฏาคม 1967 เรซินสามารถยึดโอรัล ได้สำเร็จตามเป้าหมาย โดยตอนแรกเขาปล้อมตัวเป็นนักแสวบุญของโบสถ์เพื่อขอเข้าไปในเมือง มเมื่อเข้าไปได้แล้ว เขาก็แอบเปิดประตูเมืองให้พวกคอสแซคบุกเข้ามายึด ในขณะที่ทหารของเมืองนี้กับไม่ค่อยอยากจะสู้ เพราะเห็นว่าเรซินและพวกเป็นชาวคอสแซคและดับต่ำ กลัวจะเสียเกียรติในการรบ

ฤดูใบไม้ผลิ 1668 เรซินพากำลังส่วนใหญ่ล่องไปตามแม่น้ำเยียก (Yaik river คือแม่น้ำยูราลในอีกชื่อเรียก) ทำให้รัฐบาลส่งกำลังทหารมายึดเมืองเยียส์ก คืนไปได้) หลังจากฝ่ายแพ้ เรซินหลบหนีลงไปทางใต้ของทะเลแคสเปี้ยน และสามารถยึดเมืองบากู (Baku , อาเซอร์ไบจัน) เอาไว้ได้อย่างง่ายได้ แต่ว่าเรซินและพวกต้องเสียกำลังคนเป็นจำนวนมากในการรบที่เมืองราสห์ต (Rasht) กับชาวเปอร์เซีย พวกเขาเสียคนไปกว่า 400 นาย เรซิน มุ่งหน้าไปยังอิสฟาฮาน (Isfahan) เขาเจรจากับชีห์ผู้ครองเมืองเพื่อขออาศัยอยู่ในเปอร์เซีย โดยแลกกับการสวามิภักดิ์ แต่ว่ายังไม่ทันที่การเจรจาจะรู้ผล พวกคอสแซคก็เดินทาทงจากไปก่อน เรซิน แล่นเรือไปยังเมืองฟาราห์บัด (Farahbad) เมืองซึ่งอยู่ทางใต้ของทะเลแคสเปี้ยนในอิหร่าน โดยปลอมตัวเป็นพ่อค้าเพื่อเข้าไปหลบอาศัย อยู่เป็นเวลา 2 วัน ก่อนที่จะเดินทางจากไป ช่วงฤดูหนาวเรซินและพวกคอสแซค เกือบจะต้องตายเพราะความหนาวในคาบสมุทรเมียนคาเรห์ (Mian Kaleh penisula)

ฤดูใบไม้ผลิ 1669 พวกเขาสร้างที่พรรคอยู่บนเกาะสัวน่า (Suina isle) มีกองทัพเรือของเปอร์เซียถูกส่งมาเพื่อขับไล่เขา ทว่าชาวคอสแซคสามารถทำลายเรือของเปอร์เซียลงได้

สิงหาคม 1669 เรซิน ปรากฏตัวขึ้นในเมืงอัสตราคาน อีกครั้ง โดยเขายอมรับการอภัยโทษจากซาร์ อเล็กซี มิคาอิโลวิช (Tsar Aleskey Mikhailovich) 1670 เรซิน ก่อกบฏขึ้นอีกครั้ง เขานำกำลังกบฏเข้ายึดเมืองเชอร์กาสส์ก (Cherkassk) และ ซาริตซิน จากรัฐบาล หลังจากนั้นได้นำกำลังกว่า 7,000 คน ลองเรือจากแม่น้ำโวลก้า ไปยังเมือง เชอร์นี ยาร์ (Cherny Yar) ซึ่งเป็นหัวเมืองสำคัญของรัฐบาล ตั้งอยู่ระหว่างเมืองซาริตซินและอัสตราคาน เรซินสามารถยึดเมืองเซอร์นี ยาร์อย่างง่ายได้ ในเดือนมิถุนายน เพราะว่าชาวเมืองเองก็เลือกที่จะอยู่ข้างเรซิน และลุกฮือต่อต้านผู้ปกครองเมือง

24 มิถุนา เขามุ่งหน้าไปยังอัสตราคาน มันเป็นเมืองที่ร่ำรวย เป็นหน้าต่างสู่ตะวันออกของรัสเซียตั้งอยู่ริมแม่น้ำโวลก้า ชายฝั่งทะเลแคสเปี้ยน การรบเป็นไปอย่างเข้มข้น เพราะเมืองสร้างด้วยป้อมหินที่แข็งแกร่ง และปืนใหญ่โดยรอบกำแพงเมือง แต่ว่าเรซินสามารถเข้ายึดเมืองได้โดยอาศักพวกชาวเมืองบางส่วนที่เป็นสายให้ เปิดประตูเมืองให้เขาเข้าไป

เรซิน สถาปนาเมืองอัสตาคาน ให้เป็นเมืองหลวง ของสาธารณะรัฐคอสแซค (Cossack rupublic)

สามอาทิตย์หลังจากยึดเมืองไว้ได้ ยังคงมีอุดมการณ์ที่จะต่อต้านรัฐบาลมอสโคว์ และต้องการที่จะยึดตลอดแม่น้ำโวลก้าให้เป็นของสาธารณะรัสคอสแชค เรซิน สามารถยึดเมืองซาราทอฟ (Saratov) ซามาร่า (Samara) เอาไว้ได้ นอกจากนั้นในเวลา 2 เดือนยังสามารถยึดเอาเมืองสำคัญอย่าง นิชนี นอฟโกรอด (Nizhny Novgorod),คาซาน (Kazan), ซิมเบิร์ก (Simbirsk) , ตามบอฟ(Tambov) โดยทุกครั้งพวกเขาได้รับความช่วยเหลือจากคนในเมือง ซึ่งพวกคอสแซคสัญญาว่าจะตอบแทนพวกเขาอย่างงาม

กันยายน การรบที่เมืองซิมเบิร์ก (Simbirsk) ชาวคอสแซคพยายามที่จะบุกเมืองที่อยู่ถึงสี่ครั้งแต่ว่าไม่ประสบความสำเร็จ ตุลาคม บริเวณริมชายฝั่งของแม่น้ำสวิยาก้า (Sviyaga river) พวกคอสแซคถูกกองทัพของยูริ บาร์ยาตินสกี (Yuri Baryatinsky) เขาโจมที่ค่ายของพวกเขา โดยได้กำลังทหารจากซิมเบิร์ก นำโดย อิวาน มิโลสลาฟสกี (Ivan Miloskavsky) เข้ามาช่วย จนพวกคอสแซคต้องพ่ายแพ้ และเสียชีวิตจำนวนมาก แต่เรซินหลบหนีไปได้ มันกลายเป็นการพ่ายแพ้ครั้งแรกของเรซิน

เขานำกำลังที่เหลืออยู่นิดหน่อยมุ่งหน้าไปยังเมืองดอน เพื่อที่จะฟื้นฟูกองทหารของเขาใหม่

ต้นปี 1671 มกราคม กองทัพของพระเจ้าซาร์ นำโดยเจ้าชายยูริ โดลโกโรกอฟ (Yury Dolgorukov) ได้พยายามเข้าปราบปรามกบฏ กลุ่มผู้อาวุโสของคอสแชค ซึ่งกลัวว่าจะสูญเสียอิสรภาพ ได้ยอมจำนนต่อพระเจ้าซาร์ นอกจากนั้นชาวเมืองที่เคยช่วยเหลือเรซิน ต่างก็ปิดประตูเมืองไม่ให้เขาเข้าไปอีก กอร์นิโล ยาคอฟเลฟ (Kornilo Yakovlev) นำทหารจับเรซิน เอาไว้ได้ในเดือนพฤษภาคม เรซินและน้องชายของเขาชื่อฟรอล (Frol) ถูกส่งตัวเข้าไปยังคุกเหล็กในมอสโคว์

6 กรกฏาคม 1671 สเตปาน เรซิน ถูกประหารชีวิตที่บริเวณจตุรัสแดง ซึ่งเล่ากันว่าเนื้อของเขาถูกสับออกให้สุนัขกิน ศรีษะถูกตัดไปเผา ในขณะที่ฟรอล น้องชายนั้นถูกขังอยู่ในคุกอีก 5 ปี ก่อนจะถูกตัดหัว แม่และลุงของเรซินเองก็ถูกประหาร

พฤศจิกายน 1671 เมืองอัสตราคาน ฐานที่มั่นสุดท้่ายของกบฏก็ถูกยึดคืนมาได้ โดยกบฏและคนทรยศจำนวนมากถูกลงโทษ ที่หนีไปได้ก็จะถูกตามล่า เฉพาะที่อาร์ซามัส เมืองเดียว มีคนถูกประหารกว่าหมื่นคน

สเตปาน เรซิน อยู่ในความทรงจำของรัสเซีย ในฐานะผู้นำซึ่งอิสระภาพของคอสแซค เป็นฮีโร่ผู้กล้าของคนพื้นเมือง เป็นขวัญใจคนยากจน เป็นโรบินฮูดแบบรัสเซีย และเป็นสัญลักษณ์การปลดปล่อยอิสระภาพ หากมีผู้ปกครองที่กดขี่

Don`t copy text!