Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Nikolai Bukharin

wikipedia.org

นิโคไล บุคาริน (Николай Иванович Бухарин)

นักเศรษฐศาสตร์, นักเขียน ที่มีความคิดแบบมาร์กซิส ผู้สนับสนุนสตาลินและตายเพราะสตาลิน

เขาเกิดในมอสโคว์ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 1888 (27 กันยายน ปฏิทินเดิม) เป็นลูกชายคนที่สองของครอบครัว พ่อของเขาเป็นครู มีชื่อว่า อิวาน กัฟริโลวิช บาคุริน (Ивана Гавриловича Бухарина, Ivan Gavrilovich , 1862-1940)  ส่วนแม่มีชื่อว่า เลียวบอฟ (Liubov Ivanovna Bukhalin)
เขาเข้าเรียนกหนังสือครั้งแรกที่โรงเรียนมัธยม หมายเลข 1 ในมอสโคว์
หลังจากเรียนไฮสคูลจบแล้ว เขาได้เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยมอสโคว์ ในคณะกฏหมาย ระหว่างที่เรียนในมหาวิทยาลัยนี้เขามีเพื่อนสนิทชื่อว่า อิลย่า อีห์เรนเบิร์ก (Ilya Ehrenburg) ซึ่งทั้งสองร่วมเคลี่อนไหวทางการเมืองด้วยกัน 
1906 สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรค RSDLP โดยอยุ่กับซีกที่เป็นบอลเชวิค 
1907 เขาจัดการประชุมกลุ่มเยาวชนแห่งชาติขึ้นมาในมอสโคว์ ซึ่งมันถูกถือเป็นจุดกำเนิดของ ยุวชนคอมมิวนิสค์ (Komsomol) 
1908 ได้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการพรรค RSDLP ประจำมอสโคว์ ซึ่งช่วงนี้ำเขาได้พบกับว่าที่ภรรยาของเขาในอนาคต
1911 เขาถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัย เนื่องจากกิจกรรมที่เขาทำ หลังจากนี้เข้าแต่งงานกับภรรยาซึ่งเป็นญาติของเขา นาเดซด้า มิคาอิลอฟน่า ลุฟกีน่า ( Надежда Михайловна Лукиной ,Nadexha Mikhailovna) นาเดซด้า เธอเป็นพี่สาวของนิโคลัส ลุฟกิ้น นักประวัติศาสตร์โซเวียตที่สำคัญคนหนี่ง  พวกเขาแต่งงานกันก่อนที่บุคารินจะถูกเนรเทศไปยังโอเนก้า(Onega) ในเขตอาร์คแองเจิ้ลส์ก (Arkhangelsk) แต่ว่าเขาก็สามารถหลบหนีออกมาได้ในเวลาไม่นาน บุคาริลเดินทางไปยังแฮนโอเวอร์ (Hanover) เยอรมนี 
1912 เดินทางไปยังเมืองคราโคว์ (Cracow) เพื่อพบกับเลนิน  ด้วยระหว่างที่หลบหนีอยู่นี้ บุคาริน ยังคงหมั่นศึกษาผลงานเขียนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง นักเขียนที่บุคาลินชื่นชม เช่น อเล็กานเดอร์ บ็อกดานอฟ (Aleksandr Bogdanov) จนกระทั้งตัวเขาเองมีหนังสือที่เขียนเองออกมาก 
1913 เดินทางไปยังเวียนนา และได้มีโอกาสพบกับสตาลิน เขาช่วยสตาาลินเขียนบทความเรื่อง Marxism and the National Question ตามที่เลนินขอร้อง
1916 ตุลาคม เขาก่อตั้งหนังสือแม็กกาซีน New World (Новый Мир) ร่วมกับอเล็กซานดร้า โคลลอนเทีย (Alexandra Kollontai) ซึ่งหนังสือพิมพ์อยู่ในนิวยอร์ค ก่อนที่ในปีต่อมา  มกราคม 1917 ทร็อตสกี เข้ามาร่วมทำงานด้วย ซึ่งทร็อต เล่าวันที่พบกันครั้งแรกว่า บุคาริน กอดเขาแบบ bear hug และลากเขาไปยังห้องสมุดประชาชนที่เปิดจนดึก แม้ว่าทร็อตสกีจะมีอาการเหนื่อยล้าจากการเดินทางก้ตาม
1917 หลังจากได้ทราบข่าวการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์แล้ว บุคาริลก็เดินทางกลับรัสเซีย โดยอ้อมผ่านญี่ปุ่นและเข้ารัสเซียจากตะวันออก และหลังจากปฏิวัตเดือนตุลาคม บุคาริน กลายเป็นแกนนำของกลุ่ม Left Communist  ซึ่งบุคาริน สนับสนุนการปฏิวัติของแรงงาน เขาต้องการให้สงครามดำเนินต่อไป และไม่เห็นด้วยกับเลนินที่จะทำสนธิสัญญา Brest-Litovsk treaty เพื่อถอนโซเวียตออกจากสงครามโลก
ซึ่งกลุ่ม Left Communist นี้ได้มีการประชุมกัน โดยเชิญบุคารินเข้าร่วม วางแผนที่จะจับตัวเลนิน มาคุมขังไว้ 24 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้มีการลงนามสนธิสัญญาได้ แต่ว่าบุคารินนั้น ปฏิเสธแนวคิดดังกล่าวทันที่ แต่ภายหลังเหตุการณ์นี้ก็ถูกสตาลินเอาไปเป็นข้ออ้างในการโจมตีเขา
1918 หลังจากมีการลงนามในสนธิสัญญาเบรสต์-ลิตอฟส์ก ไปแล้วในเดือนมีนาคม , บุคาริน เข้าทำงานเป็นหัวหน้าบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ปราฟด้า (Pravda)  และมีผลงานหนังสือเล่มกระทัดรัด ชื่อ Program Communist ออกมาในเดือนพฤษภาคม
1919 มีนาคม ได้กลายเป็นคณะกรรมการขององค์การโคมินเทิร์น (Comintern) และเป็นตัวเลือกที่จะได้รับสิทธิเป็นโพลติบุโรของพรรค
  25 กันยายน บุคาริน ได้รับบาดเจ็บ จากการถูกลอบวางระเบิดโดยพวกที่ต่อต้านบอลเชวิค การระเบิดบนถนนเลฟเทียฟ (The Explosion in Leontief Lane) ในวันนั้น มีผู้เสียชีวิต 12  คน และบาดเจ็บกว่า 55 คน
1921 บุคาริน หันไปสนับสนุนนโยบายผ่อนคลายการรวมอำนาจทางเศรษฐกิจของ เลนิน ที่เรียกว่า NEP (New Economic Policy) ซึ่งถูกมองว่าเป็นแนวคิดแบบทุนนิยม เพราะ NEP ให้สิทธิในที่ดินแก่บุคคลได้ นายทุนสามารถเป็นเจ้าของกิจการขนาดย่อม มีการเงินธนบัตรและเหรียญกลับมาใช้ และพวก Left Communists ก็มองบุคารินว่าหักหลัง แต่ว่ารัสเซียเองก็เผชิญกับสงครามกลางเมืองกว่า 7 ปีนับแต่สงครามโลก จนถึงสงครามกลางเมือง นั้นอาจจะเป็นเหตุผลของเลนิน และบุคารินในการนำทุนนิยมมาใช้
1924 หลังการเสียชีวิตของเลนิน บุคาริน ได้รับตำแหน่งในโพลิตบุโร อย่างเป็นทางการ โดยเขาเป็นฝ่ายที่สนับสนุนสตาลิน ในการแย่งอำนาจกับทร็อตสกี ซึ่งตอนนั้นบุคาริน และสตาลิน สนับสนุน NEP ต่อไป
บุคาริน เขียนหนังสือทฤษฏีเรื่อง Socialism in One Country ซึ่งสตาลินนำไปใช้ หนังสือของบุคารินอธิบายว่า สังคมนิยมจะเกิดได้ ก็ต่อเมื่อมีการพัฒนาจากประเทศเดียวเสียก่อน แม้ว่าประเทศนั้นจะด้อยพัฒนาอยู่ เช่น โซเวียต แต่ว่าเราจะเร่งพัฒนาโซเวียตให้เป็นทุนนิยมในเวลาอันสั้นรวดเร็วก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสังคมนิยม
ตอนนั้นบุคารินสร้างสโลแกนในการสนับสนุน NEP ว่า Enrich yourselves,accumulate, develop their economy (Обогащайтесь, накапливайте, развивайте своё хозяйство)
1926 บุคาลิน ร่วมกับสตาลิน ในการขับไล่ ซิโนเวียฟ, คาเมเนฟ ออกจากพรรค
หลังจากนี้จึงกลายเป็นช่วงที่บุคารินเรื่องอำนาจ เขากลายเป็นหัวหน้าของกลุ่ม Right Opposition ตามนิยามของทร็อตสกี  ภายในพรรคร่วมกับ Alexei Rykov นายกรัฐมนตรีของโซเวียตในตอนนั้น และ Mikhail Tomsky หัวหน้ากลุ่มสหภาพแรงงานการค้า กลุ่ม Right Opposition หมายถึงผู้ที่สนับสนุน NEP 
ในปีนี้บุคารินได้รับตำแหน่งประธานของโคมินเทิร์น
1928 หลังจากเขี่ยทร็อตสกีพ้นจากอำนาจไปแล้ว สตาลินหันมาทะเลาะกับกลุ่ม Right Opposition ที่เคยให้การสนับสนุนเขา  สตาลิน ยกเลิกนโยบาย NEP หลังจากประเทศประสบปัญหาการขาดแคลนสินค้าเกษตร เขาบีบบังคับให้มีการทำนารวมอย่างจริงจัง และเร่งผลผลิตด้้านอุตสาหกรรมให้มากขึ้นในเวลาเดียวกัน ในขณะที่บุคาริน เขาเองไม่อยากเห็นการบีบบังคับมากนัก และยังต้องการเปิดโอกาสให้ชาวนาสามารถร่ำรวยได้ เขายังกลัวอีกว่าการไปบีบบังคับให้มีการทำงานจะยิ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพลดลง
บุคาริน เขียนบทความ Note of an Ecomonist ลงในหนังสือพิมพ์ปราฟด้า 30 กันยายน ซึ่งโจมตีนโยบายของสตาลิน
1929 เมษายน เขาหลุดออกจากตำแหน่งในองค์การโคมินเทิร์น และบรรณาธิการของปราฟด้า
  17 พฤศจิกายน ถูกปลดออกจากโพลิตบุโร ซึ่งไม่นาน บุคาลินได้เขียนจดหมายถึงสตาลิน ยอมรับว่าตัวเองได้ทำผิดผลพลาดไปและขอให้เขากรุณาให้อภัย
1929-1932  12 มกราคม ได้รับเลือกเป็นสมาชิกของสภาบันวิทยาศาสตร์แห่งโซเวียต (Academy of Sciences) ในสาขาเศรษฐกิจและสังคม และได้เป็นสมาชิกของสภาเศรษฐกิจ (Supreme Economic Council)
1932 เป็นคณะกรรมการในกระทรวงอุตสาหกรรมหนัก  (People’s Commissar of Heavy Industry)
1931-1936 เขาทำหนังสือแม็กกาซีน Sorena (Социалистическая реконструкция и наука,СоРеНа) ออกมา มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และสังคมวิทยา ซึ่งได้รับความนิยมมาก
1934 ทำงานในกองบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์อิซเวสเทีย (Izvestia) ซึ่งหนังสือพิมพ์ได้รับความสนใจมาก ทั้งยังปรากฏภาพวาดการ์ตูนฝีมือบุคาริน ที่วาดผู้นำคนต่างๆ ภายในพรรค
1936 ก่อนที่จะเกิด Great Purge เพื่อกวาดล้างศัตรูของสตาลิน ไม่นาน  กุมภาพันธ์ บุคารินถูกส่งตัวไปยังเยอรมัน เพื่อติดต่อขอซื้อสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับ คาร์ล มาร์ก และ แองเกิ้ล ที่อยู่ในครอบครองพรรค SPD เพราะตอนนั้นประเทศเยอรมันกำลังอยู่ใต้อิทธิพลของนาซี ซึ่งโซเวียตเกรงว่ามรดกที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดคอมมิวนิสต์จะถูกทำลาย
  สิงหาคม ขณะที่มีการสอบสวน The First trail ซึ่ง ซิโนเวียฟ (Grigory Zinoviev) , เลฟ คาเมเนฟ (Lev Kamenev) และคนอื่น 16  คน ถูกพิจารณาคดี ในข้อหาตั้งองค์กรก่อการร้ายขึ้นมา ซึ่งพัวพันคดีการสังหารเซอร์เกย์ คีรอฟ  (Sergei Kirov) ในปี 1934 ด้วยนั้น ทั้งหมดถูกตัดสินว่ามีความผิดและถูกยิงในวันที่ 25 สิงหาคม , หลังทราบข่าวคาเมเนฟ ถูกประหารแล้ว 1 กันยายน  บุคารินซึ่งเดินทางไปพักผ่อนอยู่ ได้เขียนจดหมายถึงเพื่อนของเขาในทำนองว่าคาเมเนฟ สมควรถูกลงโทษแล้ว (อาจเป็นเพราะคาดว่าสตาลินจะได้อ่านจดหมายนี้ด้วย) ต่อมา 10 กันยายน ได้มีข่าวว่าอัยการยกเลิกข้อหาของบุคารินแล้ว
1937 มกราคม ระหว่าง 2nd Moscow Trail  บุคาริน ถูกตั้งข้อหาพยายามล้มล้างโซเวียต อีกครั้ง
  27 กุมภาพันธ์ บุคาริน และราเด็ก (Karl Radex) ถูกขับออกจากพรรคและถูกจับ
  บุคาริน พยายามยึนยันในความบริสุทธิ์ของตัวเองโดยาการเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงพรรคคอมมิวนิสต์และสตาลิน โดยยืนยันความบริสุทธิ์ของตัวเอง , ระหว่างอยู่ในเรือนจำนี้ เขาได้เขียน How It All Began
1938 2-13 มีนาคม มีการพิจารณาคดี Trial of the Twenty One ผู้ต้องหาทั้ง 21 คน ซึ่งถูกตั้งข้อว่าว่าเป็นคนทรยศ พยายามสังหารเลนิน สตาลิน ในปี 1918 และยังวางยาพิษ แม็กซิม กอร์กี (Maxim Gorky) ซึ่่งวันที่ 13 มีนาคม บุคาริน ถูกศาลสูง ตัดสินว่ามีความผิด
บุคาริน ถูกยิงเป้า ในหมู่บ้านคอมมูนาร์ก้า ( Kommunarka) ในมอสโคว์ ในวันที่ 15 มีนาคม 
ภรรยาคนแรกของบุคาริน  นาเดซด้า ถูกจับ วันที่ 1 พฤษภาคม  1938 ก่อนจะถูกยิงวันที่  9 มีนาคม 1940
ภรรยนคนที่สองของบุคาริน แอสเธอร์ เกอร์วิช (Эсфири Гурвич, Esther Gurvich) ทั้งคู่แต่งงานกันในปี 1921 แต่แยกกันในปี 1929 พวกเขามีลูกสาวด้วยกัน 1 คน ชื่อสเว็ตลาน่า ในปี 1924 สองแม่ลูกถูกจับสงไปยังค่ายแรงงาน
ภรรยาคนที่สาม มีชื่อว่า แอนน่า ลาลิน่า (Anna Larina) เป็นลูกสาวบุญธรรมของยูริ ลาริน (Yuri Larin)  แกนนำสำคัญในการปฏิวัติบอลเชวิคคนหนึ่ง พวกเขามีความสัมพันธ์กันตั้งแต่ 1934  แอนน่าถูกจับตัวส่งไปค่ายแรงงานเช่นกัน ซึ่งเธอมีชีวิตรอดมาจนถึงตอนสมัยกอร์บาเชฟ ปี 1988 มีการคืนความเป็นธรรมให้แก่บุคารินและคนที่ถูกสตาลินกวาดล้าง พวกเขาเกือบทุกคนได้ถูกใส่ชื่อกลับเข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์อีก
ผลงาน ของบุคาริน
  • 1914 The political economy of rentier (Политическая экономия рантье)
  • 1915 World Economy and Imperialism (Мировое хозяйство и империализм)
  • 1918 The program communists (Bolsheviks) (  Программа коммунистов (большевиков)  )
  • 1919 (Co-authored with E. Preobrazhensky ) ABC of Communism: a popular explanation of the program of the Russian Communist Party (Bolshevik) 
  • (в соавторстве с Е. Преображенским) Азбука коммунизма: популярное объяснение программы Российской коммунистической партии (большевиков)
  • 1920 Economics of Transition (Экономика переходного периода)
  • 1921 Theory of historical materialism (Теория исторического материализма )
  • 1924 Attack of the (collection of articles) (Атака (сб. статей) )
  • 1924 For I , Bolshevik (Ибо я — большевик!!) หนังสือ For I (Bolshevik) ถูกพิมพ์ในประเทศอังกฤษ โดยนักเขียนชื่ออิลย่า  (Илья Британ ,Ilya Britan)  ในปี 1924 โดยมีบางส่วนเป็นเนื้อหาในจดหมายซึ่งอ้างว่าได้รับจากแกนนำของบอลเชวิค ซึ่งในจดหมายไม่ได้ลงชื่อ แต่ลือกันว่าจะเป็นบุคาริน
  • 1925 The accumulation of capital and imperialism (Накопление капитала и империализм )
  • 1921 Syndicalism and communism / / Pravda (Синдикализм и коммунизм // Правда)
  • 1924 About world revolution and our country, culture and other things (Reply to Academician Pavlov)
  • (О мировой революции, нашей стране, культуре и прочем (Ответ академику И.Павлову))
  • 1925 Statement XIV Moscow gubpartkonferentsii / / Pravda (Заявление XIV Московской губпартконференции // Правда.) 
  • 1926 The struggle for new people. The role of staff during the transition period (from the report in Leningrad, February 5, 1923) / / Bukharin N. The struggle for human resources.
  • (Борьба за новых людей. Роль кадров в переходный период (из доклада в Ленинграде 5 февраля 1923 г.) // Бухарин Н. Борьба за кадры
  • 1927 Evil note. (Злые заметки
  • 1928 Notes of an Economist / / Pravda (Заметки экономиста // Правда)
  • 1935 Darwinism and Marxism. An introductory article to the book “The Origin of Species” Charles Darwin
  • (Дарвинизм и марксизм. Вводная статья к книге «Происхождение видов» Чарльза Дарвина)
  • Etudes. (Этюды)
  • Selected Works.  (Избранные труды)  ISBN 5-250-00634-5
  • Selected Works.  (Избранные труды) ISBN 5-02-025779-6
  • Problems of the theory and practice of socialism. (Проблемы теории и практики социализма. )ISBN 5-250-01026-1
  • Academician Nikolai Bukharin. Methodology and planning of science and technology.  (академик Н. И. Бухарин. Методология и планирование науки и техники)
  • The road to socialism. (Путь к социализму)
  • Revolution and Culture. Fund them. (Революция и культура. Фонд им.)
  • Prisoner of the Lubyanka. Prison Manuscripts of Nikolai Bukharin. (Узник Лубянки. Тюремные рукописи Николая Бухарина. )
  • Statement of the problems of historical materialism (К постановке проблем исторического материализма)
  • Time. A novel. (Времена)
  • How it All Began : The Prison Novel

Don`t copy text!