Numquam prohibere somniantes 

Never stop dreaming

Nikolai Yezhov

Nikolai Yezhov (wikipedia.org)

นิโคไล เยซอฟ (Николай Иванович Ежов)

ผู้นำระดับสูงของตำรวจลับ NKVD ในยุคของสตาลิน ผู้นำ The Great Purge
ข้อมูลการเกิดที่แท้จริงของเขานัันยังเป็นเรื่องน่าสงสัย
ข้อมูลทางการบอกว่าเขาเกิด 8 เมษายน 1985 ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก  แต่ว่ามีแบบฟอร์มที่เขากรอกเอาไว้ในปี 1922,1924 อ้างว่าตัวเองมีเชื้อสายโปแลนด์ ลิธัวเนีย ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าเขาเกิดในเมืองมาริแจมโพล (Marijampole) ในลิธัวเนียปัจจุบัน ซึ่งติดกับโปแลนด์
นักประวัติศาสตร์บางท่าน ค้นคว้าเอาไว้ว่า พ่อของเยซอฟ , อิวาน เยซอฟ (Иван Ежов) เดิมเป็นคนในเขตตุล่า ก่อนที่จะเดินทางมาเป็นทหารเกณฑ์ในลิธัวเนีย หลังจากนั้นได้งานเป็นตำรวจ และแต่งงานกับหญิงท้องถิ่น ซึ่งทำให้เยซอฟเกิดมาในช่วงเวลานั้น จากนั้นบิดามารดาจึงได้ย้ายมายังมาริแจมโพล และพอปี 1906 พวกท่านได้ส่งเยซอฟ ไปเรียนหนังสือที่เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก
เยซอฟ จบการศึกษาในระดับประถมเท่านั้น หลังจากนั้นจากนั้นประมาณ 1911 ก็เร่ิมทำงานเป็นแรงงานในโรงงาน
1913 เดินทางออกจากเซนต์ปีเตอร์เบิรก์ และใช้เวลาบางช่วงอยู่ที่บ้านของพ่อ
1915  เดือนมิถุนายน สมัครเข้าเป็นทหารอาสาในกองทัพแดง โดยได้รับการฝึกที่หน่วยกำลังพลสำรอง ทหารบก ที่ 76 ในเมืองตุล่า (Tula) ก่อนที่จะถูกส่งไปรอบในแนวรบด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ในกองทหารหน่วยที่ 172 (172nd Infantry Regiment of Leeds) แต่ว่าพอเดือนสิงหาคมก็ได้รับบาดเจ็บและมีอาการป่วยด้วย จึงถูกส่งกลับมายังกองหลัง
1916 มิถุนายน ถูกปลดออกจากการรบเนื่องจากสภาพร่างกายไม่เหมาะสม เขาถูกส่งมาทำงานในโรงงานทำอาวุธปืน ในเมือง วิเตปส์ก (Vitebsk) โดยทำหน้าที่เป็นยาม และต่อมาได้ทำงานเป็นเสมียร
1917  5 พฤษภาคม เข้าเป็นสมาชิกของพรรคบอลเชวิค ในเมืองวิเตปส์ก เจ็ดเดือนก่อนที่จะมีการปฏิวัติตุลาคม แต่ว่าเขาไม่ได้มีส่วนร่วมกับการปฏิวัติในปีนี้เลย เพราะว่ามีอาการป่วยตั้งแต่ช่วงฤดูใบไม้ผลิ จนต้องเดินทางไปรักษาตัว โดยไปอาศัยอยู่กับพ่อแม่ ซึ่งตอนนั้นย้ายาอยู่ในเมืองทีเวอร์ (Tver)  ปีต่อมา 6 มกราคม 1918 เยซอฟ จึงได้กลับมาทำงานกับพรรคอีก
1919  แต่งงานกับ แอนโตเนีย ติโตว่า (Antonia Titova) ระหว่างเหตุการณ์สงครามกลางเมืองในรัสเซีย 1919-1921 เขาร่วมรบกับกองทัพแดง
1922 เริ่มทำงานที่เกี่ยวข้องกับตำรวจ โดยทำงานอยู่ในคณะกรรมการหลายชุด โดยส่วนใหญ่เป็นคณะกรรมการประจำภูมิภาคต่างๆ ของพรรคคอมมิวนิสต์ เช่น เป็นเลขาธิการพรรคประจำเขตมาริ (1922-1923) , เลขาธิการพรรคประจำเขตเซมิพาลาตินส์ก (1923-1924), หัวหน้าคณะกรรมการพรรคประจำภูมิภาคเคอร์กิซ (1924-1925), ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประจำภูมิภาคคาซัคสถาน (1925-1926)
1927  ถูกย้ายไปแผนกบัญชีและการกระจายสินค้าของพรรค
1929-1930  ทำงานในตำแหน่งรองคณะกรรมการด้านการเกษตร (People’s Commissar for Agriculture) ในปีนี้เขาหย่ากับภรรยา และแต่งงานใหม่กับ เยฟกีเนีย (Yevgenia Feigenberg)
1934  ได้รับเลือกให้เป็นคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ เขารับผิดชอบในแผนกที่เกี่ยวกับด้านอุตสาหกรรม
1935 ทำงานในตำแหน่งเลขาของคณะกรรมการกลาง และตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 1935- มีนาคม 1939 เขาได้รับตำแหน่งประธานของคณะทำงานกลางเพื่อการควบคุมบริหาร (Chairman  of the Central Commission for Party Control) 
ปีนี้เขาเขียนบทความสนับสนุนแนวความคิดในการกวาดล้างฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง และเชิดชูสตาลิน เขาเห็นว่าฝ่ายตรงข้ามไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตามนั้น ล้วนแต่เป็นอันตรายต่อประเทศคอมมิวนิสต์ในอุดมคติ และโซเวียตไม่อาจจะสมบูรณ์ได้หากยังมีคนเหล่านี้อยู่ และเขาต้องการให้รัฐดำเนินการกวาดล้าง State Terrorism เพื่อกำจัดคนเหล่านั้นที่เขามองว่าเป็นศัตรูของประชาชน ซึ่งความเห็นของเขากลายมาเป็นพื้นฐานของการกวาดล้างในยุคสตาลิน
1936 ในวันที่  26 กันยายน เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการกระทรวงมหาไทย (People’s commissar for Internal Affairs, NKVD ) แทนที่ เกนริค ยาโกด้า (Genrich Yakoda) ซึ่งควบคุมองค์กรนี้มายาวนาน   , และยังได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการกลางพรรคอีกครั้ง 
  งานสำคัญอย่างแรกของเยซอฟ คือ การเก็บกวาดภายในพรรค ระหว่างเดือนตุลาคม 1936- 15 สิงหาคม 1938 มีคนกว่า  2273 คนที่ถูกจับในข้อหาการต่อต้านการปฏิวัติ
  นอกจากนี้ เกนริค ยาโกด้า ยังถูกจับในข้อหา พยายามสอบสังหายเคซอฟ และสตาลิน โดยใส่ปรอทลงในแก้วกาแฟของทั้งคู่ และเป็นสายลับให้กับเยอรมันด้วย เขาถูกจับขังและทรมาน จนเมื่อมีการพิพากษาในปี 1938 (Moscow trial show) เขาได้สารภาพว่ากระทำผิด เขาถูกนำตัวไปสังหารในวันที่  15 มีนาคม โดยการยิงเป้า  ในสภาพที่ถูกบังคับให้แก้ผ้าภายใต้ความหนาวก่อนสังหาร
1937 มกราคม ในการพิจารณาคดีผ่านโทรทัศน์ ครั้งที่ 2  (2nd Moscow Trail show) มีการตัดสินประหารชีวิตแกนนำเก่าแก่ของพรรค อย่าง Karl Radex, Yuri Piatakov, Grigory Sokolnikov และคนอื่นอีกรวม 13 คนที่ถูกประหารด้วยการยิงเป้า อีก 3 คนถูกส่งไปค่ายแรงงาน
2 กรกฏาคม เยซอฟ ได้รับรางวัล Order of Lenin จากผลงานการเป็นผู้นำ NKVD ซึ่งทำงานตามที่รัฐบาลมอบหมายได้เป็นอย่างดี ระหว่างปีนี้ถึงปี 1938 มีผู้คนกว่า 1.3 ล้านคนถูกจับ และกว่าครึ่งลงโทษด้วยการยิงเป้า ที่เหลือถูกสงไปใช้แรงงานภายในค่ายแรงงาน และอีกกว่า 1.4 แสนคนเสียชีวิตในค่ายกักกันในเวลาต่อมา 
  12 ตุลาคม ได้เป็นหนึ่งในผู้มีสิทธิได้รับเลือกเป็นโพลิตบุโร
 20 ธันวาคม มีการจัดงานกาล่า ขนาดใหญ่ให้แก่ NKVD ที่โรงละครบอลชอย มีภายของสตาลินและเยซอฟ แขวนอยู่หน้างาน ซึ่งอนาสตาส มิโกยาน (Anastas Mikoyan) ลุกขึ้นกล่าวเชิดชูเยซอฟ ว่าเรียนรู้การทำงานกับสตาลินได้อย่างดีเยี่ยม และศึกษาจากสตาลินโดยตรง ก่อนที่ผู้คนภายในฮอลล์จะพากันลุกขึ้นปรบมือเพื่อเป็นเกียติแก่เยซอฟ
1938  มีนาคม มีการพิจารณาคดีโชว์ผ่านสื่ออีกครั้ง (thrid Trial Show) คราวนี้ มีการตัดสินประหารแกนนำคนสำคัญของพรรคอีก 21 คน เช่น Genrikh Yakoda, Chirstian Rakovsky , Nikolai Bukharin ซึ่งกล่าวกันว่าเยซอฟ เก็บกระสุนที่ใช้สังหารนักโทษเหล่านี้ไว้บนโต๊ะที่เขานั่งทำงานอยู่
เขาได้รับแต่งตั้งให้ดูแลกระทรวงคมนาคมทางน้ำ  (People’s Commissar for Water Transport) ในวันที่ 6 เมษายน เหมือนเป็นสัญญาณบอกว่าเขากำลังจะหลุดจากตำแหน่งสำคัญๆ ที่นั่งอยู่ ซึ่ง
   สิงหาคม เบเรีย ถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเขาใน NKVD  ซึ่งเยคอฟ เองก็รู้แล้วว่าเบเรียกำลังกลายเป็นคู่แข่งของเขา เยคอฟ ดื่มเหล้าอย่างหนักในช่วงนี้
  14 พฤศจิกายน หัวหน้าของ NKVD ประจำยูเครน ชื่อยูเพนสกี (A.I. Uspensky) ได้หลบหนีหายไป หลังจากเขาได้รับคำเตือนจากเยซอฟ ว่ากำลังตกอยู่ในอันตราย ซึ่งสตาลินสงสัยว่าเยซอฟ อาจจะเกี่ยวข้อง และได้เรียกตัวเบเรียแทนที่จะเป็นเยซอฟ ไปรับคำสั่งให้จับตัวยูเพนสกี ให้ได้  
  19 พฤศจิกายน ภรรยาของเยซอฟ เยฟกีเนีย (Evgenia) ฆ่าตัวตาย โดยกินยานอนหลับปริมาณมาก ก่อนหน้านี้ในเดือนกันยายน เยซอฟ สามีของเธอบอกเธอว่าต้องการจะหย่า และเธอได้เขียนจดหมายเล่าว่าผิดหวังให้กับสตาลินฟัง แต่ไม่เคยได้รับจดหมายตอบ เยฟกีเนียนั้นมีชู้รักหลายคน และคนรอบๆ ตัวเธอต่อมาก็ถูกจับ
   25 พฤศจิกายน  เบเรีย ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าของ NKVD อย่างเป็นทางการ
1939 29 มกราคม เป็นการเข้าประชุมในฐานะสมาชิกโพลิตบุโร ครั้งสุดท้ายของเยซอฟ
  3 มีนาคม เขาถูกปลดออกจากทุกตำแหน่งในคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ เหลือเพียงตำแหน่งในกระทรวงคมนาคมทางน้ำเท่านั้น
  10 เมษายน ถูกจับ และนำตัวไปยังไว้ในเรือนจำพิเศษซุคานอฟก้า (Sukhanovka prison) เขาถูกตั้งหลายข้อหาทั้ง การยักยอกเงินรัฐ, เป็นสายลับเยอรมัน, ถูกกล่าวหาว่า พยายามที่จะก่อการปฏิวัติ ร่วมกับ Frinovsky ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 1938 ระหว่างที่มีการสวนสนามในจตุรัสแดง , นอกจากนี้ยังถูกกล่าวหาว่าเป็นพวก Sodomy (รักร่วมเพศ, ชอบทั้งชายทั้งหญิง, ซึ่งในสำนวนบอกว่าเยซอฟ ยอมรับข้อนี้)
  พฤษภาคม เขาสารภาพว่า ภรรยาของเขา เยฟกีเนีย และชู้ของเธอ ไอแซค บาเบล (Isaak Babel) ซึ่งเป็นนักเขียนชื่อดังระดับโลก เป็นสายลับ ซึ่งนั้นทำให้บาเบลเอง ก็ถูกจับและถูกลงโทษตายด้วยเช่นกัน …. ( ภรรยาคนแรกของเยซอฟ , น้องสาว และแม่ รอดจากการลงโทษ )
1940 2 กุมภาพันธ์ เยซอฟ ถูกผู้พิพากษา วาสิลิ อัลริค (Vasili Ulrikh) สอบสวนภายในห้องทำงานของเบเรีย ตอนนั้นเยซอฟ เริ่มมีอาการสติไม่ดีจากการถูกทรมาน แต่ยังคงพูดกับผู้พิพากษาแบบติดๆ ขัดๆ ว่าเขาจงรักภักดีต่อสตาลิน โดยที่เบเรียพยายามแนะนำให้เขาสารภาพระหว่างการสอบสวนโชว์ที่จะมีขึ้น ว่าเขาได้พยายามที่จะสังหารสตาลิน แต่เยซอฟ ตอบว่า “ดีกว่าหากจะจากโลกนี้ไปอย่างมีเกียรติ” , “ขอตายโดยที่ชื่อของสตาลินยังอยู่ที่ริมฝีปาก” เยซอฟ พยายามขอร้องเบเรียให้ช่วยพูดกับสตาลิน เขาปฏิเสธข้อหาทุกข้อหาที่บอกว่าเขาต่อต้านพรรค เขายืนยันในความจงรักภักดีต่อสตาลิน และเห็นว่าการทำอาชญากรรมหรือการสังหารคนมากมายไปเพราะคนเหล่านั้นเป็นศัตรูของพรรค
  3 กุมภาพันธ์ เขาถูกตัดสินโดยศาลสูงให้ลงโทษประหารชีวิต เมื่อการตัดสินสิ้นสุด เขาล้มลงจนเจ้าหน้าที่ต้องหิ้วตัวออกมา
  4 กุมภาพันธ์ ตอนที่เยซอฟ ถูกนำตัวไปประหาร เขาถูกสังให้แก้ผ้า คล้ายกับที่เขาเคยทำกับยาโกด้า ตอนนั้นเขากึ่งจะเสียสติ ร้องไห้ จนควบคุมตัวเองไม่ได้ ผู้ที่สังหารเขาคือผู้บัญคัญบัญชาของลุบยานก้า (KGB), พล.ตร.เอก วาสิลี บล็อกคิน (NKVD Major-General, Vasilli Blokhin)  สถานที่สังหารเข้าน่าจะเป็นภายในบริเวณสำนักงานแห่งหนึ่งของ NKVD บนถนนวาร์โซโนเฟสกี (Varsonofevskii) ในมอสโคว์ และร่างถูกฝังที่สุสานตอนสกอย (Donskoi cemetary)
Don`t copy text!