Life is filled with unanswered questions, but it is the courage to seek those answers that continues to give meaning to life. You can spend your life wallowing in despair, wondering why you were the one who was led towards the road strewn with pain, or you can be grateful that you are strong enough to survive it.

ชีวิตนั้นเต็มไปด้วยคำถามมากมายที่ไร้คำตอบ, มันต้องใช้ความกล้าในการค้นหาคำตอบที่ให้ความหมายของการมีชีวิต คุณอาจจะใช้ชีวิตติดกับความผิดหวัง และสงสัยว่าทำไมมีเพียงแต่คุณที่ต้องเดินไปบนถนนที่เต็มไปด้วยความเจ็บปวดเพียงลำพัง หรือคุณอาจจะรู้สึกขอบคุณตัวเองที่เข้มแขึงและยืนหยัดอยู่ได้

J.D. Stroube, Caged by Damnation

Prodrazvyorstka

Prodrazvyorstka (Продразвёрстка)

รัฐบาลโซเวียต(СНК , Council of People’s Commissars)ประกาศใช้กฏหมาย Продразвёрстка ในวันที่ 11 มกราคม 1919 ส่วนหนึ่งของ War Communism โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งกำลังบำรุง ทั้งด้านอาวุธและอาหารให้แก่กองทัพแดง เพื่อเอาชนะในสงครามกลางเมืองของประเทศ โดยไม่สนใจว่าจะมีความสูญเสียแค่ไหน กฏหมายนี้ บังคับให้ชาวนาขายพลผลิตส่วนที่เกิดความจำเป็นในชีวิตให้กับรัฐบาลในราคาที่ต่ำมาก กฏหมายนี้ทำให้ชาวนาที่ยากจน ปล้นชาวนาที่มีฐานะ เพื่อบังคับเอาผลผลิตส่วนเกิดโดยอ้างกฏหมาย

     ปีก่อนหน้านี้กฏหมายนี้ถูกประกาศใช้อยู่แล้วในบางภูมิภาค เช่น ในตุลา (Tula), กาลุก้า (Kaluga), วแยตก้า (Vyatka), วิตเบิร์ก ( Vitebsk) ตั้งแต่มีรัฐบาลเฉพาะกาลในปี 1917 เริ่มแรกของกฏหมายนี้ บังคับเอาเฉพาะข้าวและอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์ (Fodder) แต่ตั้งแต่ 1919 ได้เริ่มบังคับเอามันฝรั่งและเนื้อสัตว์ด้วย และปี 1920 ก็บังคับเอาผลผลิตจากเกษตรกรรมเกือบทุกอย่าง เฉพาะในปี 1918 มีชาวนาผู้เสียชีวิตเพราะการปล้นผลผลิตกว่า 20,000 คน หลังจากกฏหมายนี้ออกมาทำให้ผลผลิตทางการเกษตรของโซเวียตลดลง เพราะชาวนาไม่ต้องการผลิตข้าวจำนวนมากอีกต่อไปเพราะจะถูกนำไปขายให้รัฐบาลในราคาที่ถูกจนไร้ค่า เพราะเกิดภาวะเงินเฟ้อมหาศาลในเวลานั้น การประกาศกฏหมายในวันที่ 11 มกราคม นี้ เป็นการบังคับใช้กฏหมายทั่วโซเวียตรัสเซีย ปี 1918-19 สามารถเก็บผลผลิตได้ 107.9 ตัน , ปี 1919-20 เก็บได้ 212.5 ล้านตัน และ 1920-21 เก็บได้ 367 ล้านตัน

     กฏหมายบ่อนทำลายการเกษตรของโซเวียตอย่างมาก François Furet นักประวัติศาสตร์คอมมิวนิสต์ ชาวฝรั่งเศส ประมาณว่ามีคนเสียชีวิตเพราะขาดอาหารในโซเวียต กว่า 5 ล้านคน จนหลังสงครามกลางเมืองแล้ว เลนิน ได้ประกาศใช้นโยบายแบบทุนนิยม NEP (New Economic Policy) ในเดือนมีนาคม 1921 แทน และนำระบบภาษี Tax in Kind เก็บภาษีจากปริมาณการผลิตมาใช้แทน

Don`t copy text!