Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Boris Pasternak

บอริส ปาสเตอรแน็ก (Борис Деонидович Пастернак)

นักเขียนรางวัลโนเบล เจ้าของผลงาน Doctor Zhivago
เขาเกิดในมอสโคว์ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 1890 (29 ก.พ. ตามปฏิทินปัจจุบัน) พ่อของเป็นครูสอนศิลปะในโรงเรียนศิลปะในมอสโคว์ ชื่อ ลีโอนิค (Leonid Pasternak) ส่วนแม่เป็นนักเปียโน โรซ่า คุฟแมน (Rosa Kaufman, 1868-1939) ไม่นานก่อนที่ปาสเตอร์แน็กจะเกิด พ่อและแม่ของเขาได้ย้ายจากเมืองโอเดสสา มาอยู่ในมอสโคว์ในปี 1889 และเปลี่ยนการนับถือศาสนาจากคริสต์ออโธด็อก ไปเป็นคริสต์แบบตอลสตอยาน (Tolstoyan) ภายในบ้านของครอบครัวนี้มักตกแต่งด้วยหนังสือ และภาพที่เกี่ยวข้องกับลีโอ ตอลสตอย พ่อและแม่ของเขาชอบเดินทางไปเยี่ยมเยียนตอลสตอยเป็นประจำ
ข้อมูลหนึ่งอ้างว่า เมื่อตอนที่ตอลสตอยเสียชีวิตในปี 1910 ที่สถานีรถไฟ Astapova ไม่ไกลจากบ้านของเขา ลีโอนิค นั้นได้รับโทรเลขแจ้งข่าว เขารีบพาลูกชายไปยังบ้านของตอลสตอย เพื่อวาดรูปตอลสตอยขณะนอนเสียชีวิตบนเตียงของเขา
1910 เขาเดินทางไปเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยมาร์เบิร์ก (University of Marburg) ในเยอรมัน โดยอาจารย์ที่สอนปาสเตอร์แน็คนั้นเป็นนักปรัชญา Neo-Kantianism อย่าง เฮอร์แมน โคเฮน และ นิโคไล ฮาร์ตแมนน
ปาสเตอร์แนคมีความรักกับ Ida Vysotskaya เธอเป็นลูกสาวของพ่อค้าใบชาที่ร่ำรวย พวกเขาพบรักกันตั้งแต่ตอนอยู่ชั้นมัธยมปลาย ปาสเตอร์แนคมีโอกาสที่จะบอกรักไอด้า ตอนที่พวกเขาพบกันในมาร์เบิร์กในปี 1912 
1914 ช่วงก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาเดินทางกลับรัสเซ๊ย แม้ว่าอาจารย์ของเขาจะพยายามดึงให้เขาเรียนต่อจนจบปริญญาเอกเสียก่อน ในปีนี้มีผลงานบทกวีที่ได้พิมพ์ครั้งแรก โดยที่ได้รับอิทธิพลจากงานของอเล็กซานเดอร์ บล็อค , เขายังขอไอด้าแต่งงานด้วย แต่ว่าครอบครัวของฝ่ายหญิงไม่ชอบที่ปาสเตอร์แน็คมีฐานะที่ยากจนกว่า ทั้งคู่ไม่ได้พบกันอีก ภายหลังทราบว่าไอด้าเสียชีวิตในฐานะที่ยากจนมาก
ช่วงสงครามนี้ปาสเตอร์แน็คทำงานที่โรงงานเคมีแห่งหนึ่งใกล้เมืองเปิร์ม (Perm) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เขาเริ่มเขียน Dr.Zhivago 
1917 หลังการปฏิวัติบอลเชวิค เขาไม่ได้อพยพออกจากรัสเซียเช่นคนอื่นๆ ในครอบครัว โดยยังคงอาศัยอยู่ในมอสโคว์ จนปี 1920 โดยไม่ได้พยายามที่จะหลบหนีออกนอกประเทศหรือไปยังเขตที่อยู่ภายใต้กองทัพขาวเลย ปาสเตอร์แน็ตมีโอกาสเห็นเลนินไกลๆ ในตอนที่มีการจัดประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่  9 เท่านั้น ซึ่งตัวเขาเองก็มีความชื่นชมในตัวเลนินอยู่บ้าง แต่ว่าเมื่อเกิดภาวะอดอยากอย่างหนักในสงครามกลางเมือง ปาสเตอร์แน็คเองต้องเอาหนังสือราคาแพงของเขาออกมาขายเพื่อแลกกับขนมปัง ในขณะที่เขายังคงเขียนหนังสือต่อไปแต่ว่าในเวลานั้นเป็นไปไม่ได้เลยที่จะพิมพ์หนังสือออกมาขาย วิธีการเดียวที่จะเผยแพร่ผลงานในเวลานั้นคือการเข้าไปยังร้านคาเฟ่แล้วก็แจกผลงานที่เขียนด้วยลายมือ ซึ่งปาสเตอร์แน็ก ได้นำผลงานเรื่อง My Sister Life เผยแพร่ ในปี 1918 ก่อนที่มันจะถูกพิมพ์จริงๆ ในปี 1921 ซึ่งเป็นผลงานกวีที่แหวกแนวในตอนนั้น และทำให้เขาเป็นที่รู้จักในฐานะนักเขียนรุ่นใหม่
ในช่วงที่สตาลินเรื่องอำนาจนั้น เขาพยายามเปลี่ยนแนวการเขียนของตัวเอง ให้เหมาะกับแนวคิดแบบสังคมนิยมมากขึ้น เพื่อให้สามารถผ่านกองเซ็นเซอร์ได้ แต่ว่าเมื่ออุดมการณ์แบบสังคมนิยมเข้มข้นมาก เขาก็หันไปทำงานแปลหนังสือของนักเขียนต่างชาติมากกว่า อย่างผลงานของเชคเปียร์ เกอเธย์  ที่เขาแปลก็ได้รับความนิยอย่างมาก
ช่วงปี 1930s เขาสนิทกับนักเขียนอย่าง Anna Akhmatova และ Osip Mandelstam ซึ่งแอนน่าพยายามเล่าเรื่องความโหดเหี้ยมในยุคของสตาลิน และบทกวี Stalin Epigram ของโอซิบให้ปาสเตอร์แน็กฟัง แต่ว่าเขาปฏิเสธเธอ ด้วยกลัวว่ากำแพงมีหู ประตูมีช่อง แล้วจะทำให้คนที่ด่าว่าสตาลินไม่ปลอดภัย แต่ที่สุด แอนน่า กับโอซิป ถูกจับในวันที่ 14 พฤษภาคม 1934 โดยตำรวจ NKVD โดยคำสั่งของเกนริค ยาโกดะ (Genrikh Yagoda)  ตอนนั้นปาสเตอร์แน็ก ได้พยายามจะช่วยเหลือเพื่อนทั้งสอง โดยได้ไปหาบุคาริน ซึ่งทำงานกับหนังสือพิมพ์อิซเวสเทีย ให้ช่วยยืนยันความบริสุทธ์ให้พวกเขา ซึ่งหลังจากพบบุคาลินแล้ว เมื่อปาสเตอร์แน็กกลับไปยังอพาร์ตเมนต์ของเขา เขาได้รับโทรศัพท์โทรมาที่ห้องพัก และเจ้าหน้าที่ที่ปลายสายได้บอกว่าสตาลินต้องการที่จะพูดกับเขา ซึ่งสตาลินได้ถามปาสเตอร์แน็กว่าในหมู่นักเขียนของพวกเขาได้พูดอะไรเกี่ยวกับสตาลินบ้าง แต่ว่าเขาปฏิเสธว่าไม่ได้พูดคุยอะไรที่เกี่ยวกับการเมือง
1937 จากคำบอกเล่าของปาสเตอร์แน็ก ในช่วง Great Purge สมาชิกของสหภาพนักเขียน (Union of Soviet Writers) ได้ถูกบังคับให้ลงชื่อเพื่อสนับสนุนให้มีการลงโทษประหารแก่คนที่ถูกจับ แต่ว่าปาสเตอร์แน็กบอกว่าเขาปฏิเสธที่จะรวมลงชื่อ ซึ่งนั้นทำให้หัวหน้าของสหภาพวลาดิมีร์ สตาฟสกี (Vladimir Stavski) ถูกบังคับว่าถ้าเขาไม่สามารถทำให้ปาสเตอร์แน็กลงชื่อได้ เขาจะโดนทำโทษแทน สตาฟสกี จึงเดินทางมาหาปาสเตอร์แหน่งและทำร้ายร่างกายเขา  ในขณะเดียวกับ ภรรยาของปาสเตอร์แน็ก Zinaida Pasternak ก็ร้องห่มร้องไห้ในขณะท่กำลังตั้งครรภ์ลูกของพวกเขา ต่อว่าสามีว่ากำลังทำให้ครอบครัวตกอยู่ในอันตราย แต่ว่าเขายังคงยืนกรานปฏิเสธ และรอให้มีเจ้าหน้าที่มาจับตัวเขาไปในคืนนั้น ซึ่งพวกเขาได้รู้ต่อมาว่ามีเจ้าหน้าที่แอบอยู่ในสวนของพวกเขาอยู่แล้ว และได้ยินเรื่องที่พวกเขาคุยกัน
ไม่นานปาสเตอร์แน็กได้ร้องอุทรณ์ไปยังสตาลินโดนตรง ซึ่งหลังจากนั้นเขาก็กังวลว่าตัวเองจะถูกจับและลงโทษเช่นกัน แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่มีรายชื่อของเขาในบรรดาผู้ที่จะถูกประหาร ซึ่งเหตุผลที่สตาลินไม่ได้สั่งลงโทษเขาได้อธิบายไว้ในประวัติของสตาลินที่ Simon Montefiore เขียนว่า เป็นเพราะเขาไม่เคยพูดโจมตีสตาลินอย่างเปิดเผยเหมือนคนอื่น
1941–  ในสงครามโลกครั้งที่ 2  เมื่อมอสโคว์ถูกเยอรมันทิ้งระเบิด ตอนนั้นเขาได้เข้าทำงานเป็นอาสาสมัครคอยดับไฟ โดยเขาขึ้นไปนั่งอยู่บนหลังคาของอาคารนักเขียนบนถนน Lavrushinski st. เพื่อคอยมองว่าตรงไหนที่ระเบิดตกใส่
1943 เขาได้รับอนุญาตให้เดินทางไปยังแนวหน้าในสงคราม ซึ่งเขาชอบที่จะพาตัวเองไปยังสถานที่ที่อันตราย แต่ก็สามารถรับมือกับความเครียดได้อย่างดี ด้วยการอ่านบทกว่ที่เขาแต่งขึ้นให้ทหารฟัง แต่ว่าหลังจากสงครามโลกในปี 1945 เขาต้องผิดหวังและเผชิญกับความหดหู่ เมื่อผู้ที่กลับมาจากสงครามไม่เพียงแต่ทหารและชาวรัสเซ๊ย แต่ยังมีเชลยชาวต่างชาติ ชาวยิว และชาวรัสเซียเอง มากมายที่ถูกส่งไปยังค่ายใช้แรงงานอย่างหนัก ด้วยข้อหาต่างๆ กัน ทั้งทรยศชาติ เป็นสายลับให้นาซี หรืออื่นๆ เขาถึงกับกล่าวภายหลังว่าเป็นโชคร้ายที่สตาลินไม่สิ้นสุดไปพร้อมกับฮิตเลอร์
1946 เขาแต่งงานกับ โอลก้า อิวินสกาย่า (Olga Ivinskaya)  ในเดือนตุลาคม เธอเป็นนักเขียนให้กับหนังสือแม็กกาซีน Novy Mir ซึ่งรักของทั้งคู่หวานชื่นมาก โอลก้าคล้ายๆ กับคนรักคนแรกของปาสเตอร์แน็ก เขาเขียนบทกลอนให้เธอเยอะมาก และก็โทรกลับบ้านเกือบทุกๆ วัน
โอลก้า นั้นมีเป็นหญิงหม่าย ที่มีลูกสาวคนหนึ่งติดมาด้วย พ่อและแม่ของเธอเป็นแนวร่วมของกองทัพขาว ต่างก็ถูกตัดสินจำคุกและให้ใช้แรงงานในค่ายกักกัน 
1948 เขาบอกให้ภรรยาของเขาลาออกจากงานที่่ Novy Mir(Новый Мир) ซึ่งทำให้ทั้งคู่มีความขัดแย้งกัน แต่ที่สุดแล้วปาเตอร์แน็ก แนะนำให้เธอทำงานแปลบทกวีแทน และพวกเขาใช้อพาร์เมนต์ของเธอบนถนน Potapov เป็นร้านของเรา  (Our Shop)
ตอนที่ภรรยาของเขาทำงานแปล และบทกวีแทนนี้เองทำให้เขามีเวลาในการกลับไปทำงานเขียนเรื่อง  Dr.Zhivago ต่อ
1949 โอลก้า ถูกจับในข้อหาต่อต้านโซเวียต และข้อหาเป็นสายลับ ในวันที่ 6 ตุลาคม ซึ่งตอนที่โอลก้าอยู่ในคุกนั้นเธอได้ตั้งครรภ์แล้ว เธอถูกส่งไปอยู่ในเรือนจำในพอตม่า (Potma) และต้องไปทำงานเป็นเกษตรกรในค่ายแรงงานมอร์โดเวียน (Mordovian camp) 
1953 ปีเดียวกันกับที่สตาลินเสียชีวิต และครุสซอฟได้ริเริ่มนโยบายละลายภาพของสตาลิน ทำให้โอลก้า ได้รับการปล่อยตัวในเดือนเมษายน
1957 เป็นปีที่เขาเขียน Dr.Zhivago เสร็จ เขาส่งต้นฉบับของหนังสือให้กับ Novy Mir แต่ว่า ถูกปฏิเสธไม่ให้พิมพ์ เพราะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลาสุดท้ายของราชวงศ์ในรัสเซีย ถูกมองว่าเนื้อหาไม่สอดคล้องกับระบบสังคมนิยม ต่อต้านคอมมิวนิสต์  และยังมีบางส่วนที่ตำหนิสตาลิน นั้นทำให้ปาสเตอร์แน็ก ลักลอบส่ง ดร.ชิวาโก้ ออกมานอกสหภาพโซเวียต ในปีเดียวกัน โดยส่งไปที่สำนักพิมพ์ในอิตาลี ชื่อ Giangiacomo Feltrinelli เจ้าของเป็นมหาเศรษฐีหลายพันล้านชื่อเดียวกันกับสำนักพิมพ์ เขาประกาศทันที่ว่าจะพิมพ์ ดร.ชิวาโก้ แม้ว่าจะได้รับคำคัดค้านจากเจ้าหน้าที่ของโซเวียต แต่นั้นก็ทำให้ เฟลติเนลลิ ถูกไล่ออกจากการเป็นสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี
1958 23 ตุลาคม 1958 เขาได้รับเลือกเป็นผู้ชนะรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม ซึ่งปาสเตอร์แนกได้ส่งโทรเลขหาคณะกรรมการรางวัลโนเบล ในวันที่ 25 ตุลาคม และบอกว่ามีความรู้สึกยินดี และภาคภูมิใจมาก แต่วันเดียวกับสถาบันนักเขียนในโซเวียต ก็มีการเรียกร้องให้มีการล่าชื่อนักศึกษาเพื่อขอให้มีการขับไล่ปาสเตอร์แนกออกจากสหภาพโซเวียต
1960 เขาเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอด ภายในบ้านพักของเขาที่เปเรเดลกิโน่(Peredelkino) มอสโคว์ ในวันที่ 3 พฤษภาคม 1960 ประโยคสุดท้ายที่เขาพูดตอนเสียชีวิต คือ บอกว่า “ตาของผมเริ่มมองไม่เห็น เหมือนมีหมอกมาจับที่ดวงตา หนทางสู่ความตายมันเป็นเช่นนี้ ใช่หรือป่าว? พรุ้งนี้อย่างลืมเปิดหน้าต่างนะ” มีเพียงหนังสือพิมพ์ Literary Gazette รายงานข่าวการเสียชีวิตของเขา แค่ช่องเล็กๆ ในวันที่ 2 มิถุนายน เท่านั้น
Rupture (1921) 
The Secoud Birth (1932)
Early Trains (1943)
Fa Leszek (I’ll Be a Tree)

 
 

Don`t copy text!