Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Hanna Reitsch

ฮานน่า ไรต์ซ (Hanna Reitsch)
นักบินทดสอบเครื่องบินแห่งกองทัพนาซี ,  ผู้หญิง 1 ใน 2 ที่ได้รับเหรียญ Iron Cross  ชั้นที่ 1 และ Luftwaffe Diamond Clash
เกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 1912 ในไฮรช์เบิร์ก (Hirschberg, Silesia)ในครอบครัวที่มีฐานะปานกลาง พ่อของเธอเป็นจักษุแพทย์ ชื่อวิลลี (Willy Reitsch) ซึ่งอยากให้ลูกสาวเป็นหมอเหมือนกับตัวเขา แต่ว่าฮานน่าสนใจเกี่ยวกับการบินมาตั้งแต่ตอนเด็ก เล่ากันว่าเธอกระโดดหน้าต่างบ้านตัวเองลงมาตั้งแต่อายุ  4 ปี เพราะอยากจะบินได้ แต่เพราะพ่อต้องการให้เธอเรียนหมอ ตอนแรกเธอจึงคาดว่าอนาคตของตัวเองน่าจะเป็นแพทย์มิชชั่นนารี ที่เดินทางไปกับเครื่องบินเพื่อไปรักษาคนในต่างประเทศ โดยเฉพาะในอัฟริกา
ส่วนแม่ชื่อ อีมี (Emy ,  Helff-Hibler von Alpenheim) เธอนับถือศาสนาคริสต์โรมันแคทอริก แต่ว่าไรต์ซ นั้นนับถือนิกายโปเตสแตนต์
1932 หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมปลาย และมาเรียนแพทย์ในเบอร์ลิน ,  พ่อของเฮนน่าจึงได้เริ่มอนุญาตให้เธอฝึกเรียนการบินได้ โดยเธอเริ่มฝึกบินครั้งแรกกับเครื่องบินแบบกลิดเดอร์ ซึ่งเป็นเครื่องบินประเภทไม่มีเครื่องยนต์ (Glider ที่ Grunau School of Gliding ในแถบเทือกเขาไรเซนเกเบิร์ก (Riesengebirge )
1933 ลาออกจากโรงเรียนแพทย์ เพราะได้รับคำเชิญจากวูลฟ์ ไฮร์ต (Wolf  Hirth) ให้มาฝึกเป็นนักบินอย่างเต็มเวลา ที่ เมืองฮอนเบิร์ก (Hurnberg ใน Baden-Württemberg) ซึ่งเป็นโรงเรียนการบินที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่  และหลังจากเข้าเรียนระหว่างปี 1933-1934 ไรต์ซ ต้องเดินทางไปบราซิลและอาร์เจนติน่า เพื่อการฝึกบินในสภาพอากาศที่เลวร้าย
1936 ไรตซ์ ได้รู้จักกับ เอิร์นต์ อูเด็ท (Ernst Udet) หัวหน้าฝ่ายเทคนิคสังกัดกระทรวงการบิน ซึ่งเขาเป็นนักบินของเยอรมันที่มีสถิติดีที่สุดในเวลานั้นและผ่านสงครามโลกครั้งที่ 1 มาแล้ว
1937 ร่วมทำงานกับศูนย์วิจัย ลุฟวาฟเฟ่ (Luftwaffe) ศูนย์วิจัยแห่งนี้เพิ่งก่อตั้งในปี 1935 ตั้งอยู่ในสนามบินเรชลิน-ลาร์ซ (Rechlin-Lärz Airfield) โดยไรต์ซทำหน้าที่ทดลองขับเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่นใหม่อย่าง  Junkers Ju 87 Stuka และ Dornier Do 17
1938 กุมภาพันธ์ ไรต์ซ กลายเป็นผู้หญิงคนแรกที่ขับเครื่องเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งเครื่องที่เธอขับชื่อว่า Focke-Wulf Fw 61 โดยเป็นการทดลองขับในร่มในอาคารเบอร์ลินดอยต์สแลนด์ฮอล  (Berlin’s Deutschlandhalle)
1939 ช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 ไรต์ซ ยังคงทำงานเป็นนักบินทดสอบเครื่องบินรุ่นใหม่ ๆ
1942 ไรต์ช เกือบจะเสียชีวิต จากการทดลองบังคับเครื่อง Me-163B มีเป็นเครื่องบินแบบจรวดขับดับ (Rocker-Powered fighter aircraft) ซึ่งตอนที่ไรต์ซขับเครื่องขึ้นก็ปรากฏว่าวิทยุไม่ทำงาน และเมื่องเธอพยายามจะนำเครื่องลง ก็ปรากฏว่าเครื่องแตกออกและก็ตกลงไปในทุ่งใกล้กับรันเวย์ ตอนนั้นไรต์ซได้รับบาดเจ็บสาหัส ขากรรไกและซี่โครงเธอหัก
ซึ่ง 4 วันหลังจากอุบัติเหตุ ไรต์ซ ได้รับเหรียญ Gold Medal for Military Flyiyng , special diamond-encrusted เป็นการสดุดีวีรกรรมของเธอในการทดสอบเครื่องบิน
ไรต์ซเข้ารับการผ่าตัดและรักษาตัวในโรงพยาบาลนานกว่า 5 เดือน ก่อนที่เธอจะกลับมาลองขับเครื่องกลิเดอร์อีกครั้ง แต่กว่าที่เธอจะหายดีและได้รับการรับรองว่าเป็นปกติแล้วก็กินเวลากว่า 10 เดือน ซึ่งเธอก็อยากจะกลับไปทดสอบเครื่อง Me-163 ตามเดิม แต่ผู้อำนวยการของโครงการเวลานั้นปฏิเสธไม่ให้เธอขึ้นบินอีก ทำให้เธอถอนตัวจะโปรเจ็คนี้
ไรต์ซ ได้รับคำเชิญจากนายพลโรเบิร์ต กราม  (Robert Ritter von Greim)  ที่ชวนเธอไปหาเขาบริเวณแนวรบฝ่ายหน้าที่ปะทะกับรัสเซีย เพื่อจะได้สร้างขวัญกำลังใจให้กับทหาร ซึ่งไรต์ซก็ตกลง และทำให้เธอมีโอกาสเห็นโฉมหน้าจริงๆ ของสงคราม
1943 มีส่วนช่วยในการทดสอบเครื่องบินแบบพุ่งชนข้าศึกหลายรุ่น ภายใต้การควบคุมของพลโทอ๊อตโต้ สกอร์เซนี ( SS-Obersturmbannführer Otto Skorzeny) ซึ่งควบคุมหน่วยฝูงบินเลฟนิดาส (Leonidas Squadron) ซึ่งเป็นหน่วยที่ตั้งขึ้นใหม่เพื่อบังคับเครื่องบินวี 1 (V-1 flying bomb) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วนักบินจะต้องสละชีวิตตัวเองพุ่งชนกองทัพข้าศึก หรืออาจจะกระโดดร่มหนีก่อนที่จะชน แต่ว่าหน่วยเลฟนิดาส นี้ไม่เคยถูกใช้ในการรบจริงในสงครามโลก
ไรต์ซ ได้รับเหรียญ Iron Cross  จากฮิตเลอร์ ในช่วงปลายปี ในงานเลี้ยงที่จัดขึั้นที่เมืองเบอร์เดตสกาเดน (Berchtesgaden)
หลังจากนั้นเธอได้มีโอกาสดูโครงการเครื่องบินเจ็ต V-1 ซึ่งเหมือนตอปิโดร่อนที่ใช้นักบินขับเครื่องพุ่งเข้าชนเรือข้าศึก แต่ว่าไรต์ซังไม่มีโอกาสได้ทดลองขับเครื่องรุ่นนี้ 
เธอกลับไปร่วมทดสอบโครงการ Me-163 ต่อ และได้มีโอกาสร่วมโครงการ Me-262, Me-328B ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน 
1945 ช่วงปลายของสงครามโลก ไรต์ซ ทำหน้าที่ขับเครื่องบินลำเลียงทหารที่ได้รับบาดเจ็บสาหัส และในวันที่ 25 เมษายน เธอกับนายพล กรามได้ขับเครื่องบินจากมิวนิคเพื่อไปหาฮิตเลอร์ในเบอร์ลิน ระหว่างที่บินนายพลกราม ถูกกระสุนปืนจากเครื่องต่อต้านอากาศยานของรัสเซียจนได้รับบาดเจ็บที่เท้า แต่พวกเขายังสามารถเอาตัวรอดไปจนถึงเบอร์ลิน พวกเขาทั้งสองคนไปอยู่ในบังเกอร์เดียวกับฮิตเลอร์เป็นเวลาสองวัน และนายพล กรามได้รับแต่งตั้งให้เป็น จอมพล เพื่อบัญชากองทัพอากาศเยอรมัน (Luftwaff) แทนเฮอร์แมนน์ จอริ่ง (Herman Goering) ที่ทรยศ 
28 เมษายน ไรต์ซและจอมพลกราม ได้รับคำสั่งจากฮิตเลอร์ให้ขับเครื่องบินออกจากกรุงเบอร์ลิน ไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่เบอร์ลินจะถูกกองทัพแดงตีแตก
9 พฤษภาคม ไรต์ซ ถูกจับโดยทหารอเมริกาในช่วงบ่ายของวันนี้ที่เธอพาจอมพลกราม ไปโรงพยาบบาลที่คิตซบุเฮล (Kitzbühel) ตอนนั้นเธอเป็นเป้าหมายหนึ่งที่เป็นที่ต้องการตัวเพราะข่าวลือที่ว่าเธอพาฮิตเลอร์หนีไป แต่ว่าไรต์ซถูกจับขังคุกนาน 15 เดือน ก่อนที่จะได้รับการปล่อยตัวโดยไม่ได้ถูกตั้งข้อหาว่าเป็นอาชญากรสงคราม แต่ระหว่างอยู่ในคุกไรต์ซทราบข่าวว่าพ่อแม่ของเธอ รวมทั้งโรเบิร์ต กราม ฆ่าตัวตาย  ในวันที่  24 พฤษภาคม เพราะไม่่ต้องการถูกจับเป็นเชลย จอมพลกราม พูดประโยคสุดท้ายก่อนที่จะกินโปแตสเซียมไซยาไนด์เพื่อฆ่าตัวตายว่า I am the head of the Luftwaffe, but I have no Luftwaffe “ข้าเป็นผู้นำของกองทัพอากาศ แต่ว่าไม่มีกองทัพอากาศอีกแล้ว”
หลังสงครามโลก นักบินส่วนใหญ่ของเยอรมันถูกสั่งห้ามไม่ให้ขับเครื่องบินอีก นอกจากเครื่องที่กริดเดอร์ที่ไม่มีเครื่องยนต์ ซึ่งไรต์ซ มีโอกาสได้เข้าแข่งขั้นกลิดเดอร์ ในปี 1952 ที่สเปน จนได้อันดับ 3 แต่ว่าในปี 1954 การแข่งขันจัดขึ้นที่อังกฤษ เธอก็ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าร่วม 
1954 เข้าทำงานเป็นนักบินทดสอบเครื่องบินอีก ที่สถาบันทดสอบการบินแห่งชาติ (German Experimantal Institue for Aviation) ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นใหม่
1955 Sky My Kingdom ผลงานเขียนของไรต์ซ เกี่ยวกับชีวประวัติของเธอ
1959 เธอมีโอกาสขับเครื่องกลิดเดอร์ ไปอินเดีย และกลายมาเป็นเพื่อนอับอินธิรา คานธี 
1961 เดินทางไปสหรัฐตามคำเชิญของประธานาธิบดีเคนเนดี ซึ่งเธอได้มีโอกาสพบกับ ดร. เบราน์ ( Wernher von Braun) เพื่อนสนิทของเธอตั้งแต่วัยเด็กของเธอ ซึ่งเบราน์  นักออกแบบจรวดให้กับนาซีเยอรมัน ซึ่งกลายมาเป็นนักออกแบบจรวดให้กับองค์การนาซ่า ผู้สร้างจรวด Saturn V ซึ่งนำอพอลโลไปลงดวงจันทร์
1962 เปิดโรงเรียนสอนขับเครื่องกลิดเดอร์ ในกาน่า

1979 เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย 24 สิงหาคม 1979 ในเมืองแฟรงเฟริ์ต, ตลอดชีวิตของไรต์ซไม่เคยแต่งงาน เธอทำสถิติที่เกี่ยวข้องกับการบินกว่า 40 รายการ  เธอภูมิใจกับหน้าที่ที่เธอทำในสงคราม แต่เธอบอกว่าเธอเป็นแค่คนที่รักชาติเยอรมัน  ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคนาซีหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับนาซี

Don`t copy text!