Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Bloody Sunday

อาทิตย์เลือด (Кровавое воскресенье)
การปฏิวัติครั้งแรกของรัสเซีย 
ปฏิทินจูเลี่ยน (ปฏิทินกริกอรี่)

22 ธันวาคม 1904 (9 มกราคม 1905)  เกิดการประท้วงนัดหยุดงานในโรงงานปูติลอฟ  (Putilov Plant ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงงานคิลอฟ www.kzgroup.ru) ซึ่งเป็นโรงงานเครื่องจักรและชิ้นส่วนรถไฟ เป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดของเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก มีพนักงานราว 12,000 คน  ซึ่งช่วงนั้นรับคำสั่งซื้อจำนวนมากมากจากกองทัพรัสเซีย เพราะอยู่ระหว่างสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (Russo-Japanese war, 1904-1905) ตอนนั้นมีร่วมการนัดหยุดงานกว่า 8 แสนคน ทำให้ทั้งเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์กขาดกระแสไฟฟ้าใช้

บาทหลวงกาปอน (Father Gapon Apollonovich , Георгий Фаоллонович Гапон) ซึ่งเป็นผู้นำของสภาแรงงานประจำเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก (Assembly of Russian Factory Workers of St.Peterburg,  Собрание русских фабрично-заводских рабочих г. Санкт-Петербурга ) ได้เป็นแกนนำในการนำขบวนของแรงงาน ตั้งขบวนเดินทางไปยังพระราชวังฤดู หนาว (Winter Palace) ของพระเจ้าซาร์ เพื่อถวายฏีกา เรียกร้องให้มีการปรับปรุงสภาพการทำงาน และความเป็นอยู่ของคนงาน โดยที่บาทหลวงกาปอนเป็นคนเขียนฏีการ้องเรียน ซึ่งสะท้อนปัญหาในตอนนั้นว่าแรงงานได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม พวกเขาต้องการเงินเดือนที่เหมาะสม ลดจำนวนวันทำงานต่ออาทิตย์ และชั่วโมงการทำงานในหนึ่งวัน รวมทั้งเรียกร้องให้มีการยุติสงครามกับญี่ปุ่น และขอให้มีการตั้งสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
นายกรัฐมนตรีขณะนั้น คือ เซอร์เกย์ วิตตี (Sergei Witte) เรียกร้องไม่ให้มีการใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม ซึ่งในขณะนั้นมีการส่งทหารไปประจำการที่พระราชวังฤดูหนาวแล้ว และมีการตรวจค้นอาวุธและพยายามแยกผู้นิยมความรุนแรงออกจากกลุ่มผู้ประท้วง
(16) มกราคม 1905  บาทหลวงกาปอน เดินทางไปร่วมชุมนุมกับแรงงานขงโรงงานปูติลอฟ ซึ่งมีพนังงาน 12,000 คน
4 (17) มกราคม 1905 พนักงานอู่ต่อเรือ ฝรั่งเศส-รัสเซีย (Franco-Russia shipyard)  ร่วมการหยุดงานประท้วง
(18) มกราคม 1905 อู่ต่อเรือเนฟสกี (Nevsky Shipbulding)  เข้าร่วม จำนวนคนนัดหยุดงานทั้งหมดมีราว 26,000 คน , บาทหลวงกาปอน เดินทางไปที่นาร์ว่า เกต กล่าวปราศรัยต่อผู้ชุมนุมด้วยถ้อยคำรุนแรง โดยใช้สโลแกน “โค่นรัฐบาลกษัตริย์” (Down with the goverment bureaucrats. Долой чиновничье правительство!)
(19) มกราคม 1905 กาปอน ได้เชิญนักเขียนหลายคนมา เพื่อร่างฏีกาที่จะนำไปถวายให้แก่ซาร์ แต่ว่าในคืนนั้นเอง เขาก็ปฏิเสธร่างที่คนอื่นร่างขึ้นมา แล้วก็เขียนฏีกาฉบับใหม่ด้วยตัวเอง โดยเรียกชื่อมันว่า  กีฏาของแรงงานและประชาชนแห่งเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก 9 มกราคม 1905 (The Petition of the Workers and Residents of St. Petersburg,  9 January 1905 , Петиция рабочих и жителей Санкт-Петербурга 9 января 1905 года) ซึ่งร่างของกาปอน ได้ถูกพิจารณาเป็นเวลา 2 วัน และมีการแก้ไขเล็กน้อย ก่อนที่จะได้รับการรับรองโดยสภาแรงงานแห่งเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก โดยข้อเรียกร้องสำคัญที่สุด คือการขอให้มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ รัฐสภา และการเลือกตั้งอย่างเท่าเทียมกัน
ในวันนี้ พระเจ้าซาร์นิโคลัส เสด็จ ในพิธี Epiphany ริมแม่น้ำเนว่า (Neva RIver) ซึ่งเป็นประเพณี เพื่อระลึกถึงการรับศึลของพระเยซู (Baptism of Jesus) ปรากฏว่าในงานพิธีดังกล่าว ได้มีกระสุนปืนตกถูกยิงเข้าใส่เต็นท์ที่พระเจ้าซาร์ประทับอยู่ และมีนายทหารได้รับบาดเจ็บหลายคน ทำให้มีข่าวลือกระจายไปทั่วเมืองว่าเป็นการพยายามลอบสังหารพระเจ้าซาร์  จนซาร์นิโคลัส ต้องย้ายที่ประทับจากพระราชวังฤดูหนาว ไปยัง เขตซาร์โกเย่ เซโล่ (Tsarskoe Selo) ห่างจากใจกลางเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ไป 24 กิโลเมตร
8 (21) มกราคม 1905 ในตอนบ่าย รัฐมนตรีมหาดไทย เจ้าชายปีเตอร์ สเวียโตโปลก์-มีร์สกี (Peter Sviatopolk-Mirsky) ได้ร่วมประชุมกับ 
รมต.ยุติธรรม นิโคไล (Николай Валерианович  Муравьёв, Nicholas Valerianovich Muravev)
รมต.คลัง วลาดิมีร์ โกกอฟซอฟ (Владимир Николаевич Коковцов, Vladimir Kokovtsov)
รอง. รมต. มหาดไทย ปีเตอร์ ดูโนโว่ (Пётр Николаевич Дурново, Peter Durnovo)
รอง รมต. มหาดไทย คอนสแตนติน รูดเซวสกี ( Константин Николаевич Рыдзевский , Konstantin Rydzewsky)
ผู้ช่วย รมต. คลัง วาสิลี ทิมีร์ยาเซฟ  (Василий Иванович Тимирязев, Vasily Timiryazev)
ผู้ว่าการเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก อิวาน ฟูลลอน (Иван Александрович Фуллон, Ivan Fullon) ซึ่งตัวของฟูลลอน เองนั้นให้การสนับสนุน บาทหลวงกูปอน และสภาแรงงานแห่งเซนต์ ฯ เขาถูกไล่ออกหลังจากเหตุการณ์ปะทะ
ผู้อำนวยการสำนักงานตำรวจ อเล็กซี โลปุคิน (Алексей Александрович Лопухин,Alexey Lopukhin)
นิโคลัส เมเชติส (Николай Фёдорович Мешетич, Nicholas Meshetich) หัวหน้าทหารรักษาความปลอดภัย ประจำเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก 
 ในที่ประชุมได้สั่งให้มีการส่งเจ้าหน้าที่ไปคุ้มกันพระราชวังฤดูหนาว ซึ่งจากบันทึกความทรงจำเขียนโดย รมต.คลัง โกกอฟซอฟ  บอกว่าที่ประชุมได้ตัดสินใจให้มีการจับกุมตัว บาทหลวงกาปอน ด้วย โดยที่ รอง.รมต. รูดเซวสกี เป็นคนเซ็นต์หมายจับ
หลังจากนั้น รมต.มหาดไทย สเวียโตโปลก์-มีร์สกี , และผู้อำนวยการ สนง. ตำรวจ โลปุคิน ได้เดินทางไปพบซาร์นิโคลัส ที่ 2 ที่ซาร์สโกเย่ เซโร่ เพื่อรายงานสถานะการณ์ โดยแนะนำไม่ให้ทรงประกาศกฏอภัยการศึก  
แม้ว่าสถานะการณ์ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์กนั้น ทำให้อำนาจการควบคุมอยู่ในมือของกองทัพโดยสมบูรณ์แล้วก็ตาม โดยที่เจ้าชาย เซอร์เกย์ วาซิลชิคอฟ (Сергей Илларионович Васильчиков, Sergei Vasilchikov) ผู้บัญชาการของทหารหน่วยบัญชาการรักษาความมั่นคง ( гвардейский корпус, Guards Corps) และเจ้าชาย วลาดิมีร์ อเล็กซานโดรวิช ( Влади́мир Алекса́ндрович ,Vladimir Alexandrovich) ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารหน่วย Guards Corps ประจำเขตเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก
ซึ่งจากความเห็นของบาทหลวงกาปอน เองมองว่า คำสั่งให้สลายการชุมนุมนั้นมาจากเจ้าชาย วาซิลลิคอฟ 
ในคืนวันที่ 7-8  บาทหลวงกาปอน ร่วมประชุมกับตัวแทนพรรรคหลายพรรคที่สนับสนุนการปฏิวัติ แต่ว่ากาปอนเรียกร้องให้สมาชิกของพรรคเหล่านี้ยกเลิกที่จะใช้ผ้าแดงเป็นสัญลักษณ์ของผู้ชุมนุม และยกเลิกสโลแกน “โค่นรัฐบาลกษัตริย์”
ในตอนบ่าย รัฐมนตรีมหาดไทย สเวียโตโปลก์-มีร์สกี ได้เจรจากับผู้แทนของผู้ประท้วง จำนวน 10 คน ซึ่งประกอบไปด้วย แม็กซิม กอร์กี (Maxim Gorky), เปเชโคนอฟ (Alexei Peshekhonov, Алексей Пешехонов) ,แอนเนนสกี (Nicholas Annensky, Николай Анненский), เฮนเซ่ (Joseph Hesse, Иосиф  Гессен),  มิโคติน(Benedict Miakotin,Венедикт Мякотин) ,  เซเมฟสกี (Василий Семевский),  อาร์เซนเนียฟ (Konstantin Arseniev,Константин Арсеньев) , คีดริน (Evgeny Kedrin, Евгений Кедрин), คาเรเยฟ (Nikolai Kareyev, Николай Кареев), คูซีน (Dimeetri Kysin, Д. В. Кузин) แต่ว่าการเจรจาระหว่างสองฝ่ายล้มเหลว  ตัวแทนของผู้ประท้วงจึงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีวิตตี้ เข้ามาแทรกแซงหรือทำอะไรบางอย่าง แต่ว่าวิตตี้ปฏิเสธ บอกว่าไม่อยู่ในอำนาจของเขาแล้ว 
 
9 (22) มกราคม 1905 ผู้ชุมนุมมีราว 140,000 คน ผู้ประท้วงแบ่งจุดที่ชุมนุมออกเป็นกว่า 11 จุด
Narva Gate
 มีผู้ชุมนุมราวห้าหมื่นคน โดยมีบาทหลวงกาบอฟ เป็นผู้นำเดินขบวน ซึ่งก่อนออกเดิน เขาพูดกับเหล่าผูุ้ชุมนุมว่า “ถ้ากษัตริย์ไม่ทำตามข้อเรียกร้องของเรา , นั้นแปลว่าเราไม่มีกษัตริย์ (If the King does not comply with our request, it means we have no king , Если царь не исполнит нашу просьбу, то значит у нас нет царя) แถวหน้าของขบวนนั้นถือสัญลักษณ์ทางศาสนา อย่างไม้กางเขน และรูปของซาร์ ผู้ชุมนุมเดินขบวนไปโดยร้องเพลง God Save thy People (Спаси, Господи, люди Твоя) และป้ายเขียนว่า "ทหาร, อย่ายิงประชาชน" 
  พวกเขาปะทะกับหน่วยทหารราบที่ 93 เวลาประมาณ 11.30 นาฬิกา อิวาน วาสสิเวฟ (Иван Васильевич Васильев, Ivan Vassiliev) ประธานสมัชชาแรงงานแห่งเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ถูกยิงเสียชีวิต ในขณะที่บาทหลวงกาบอฟ ไม่ได้รับบาดเจ็บใดๆ เลย เขาหนีออกจากที่เกิดเหตุไปพร้อมกับปีเตอร์ รูเตนเบิร์ก (Peter Rutenberg) ไปหลบในอพาร์ตเม้น ของแม็กซิม กอร์กี้ (Maxim Gorky) กาบอฟเรียกร้องให้ผู้ชุมนุมจับอาวุธขึ้นสู้ แต่ว่าหลังจากประชุมกันแล้ว พวกเขาก็ไม่สามารถสหาอาวุธได้  , ที่จุดนี้มีคนเสียชีวิตราว 40 คน
Troitsky Bridge
ผู้ชุมนุมสามพันถึงสองหมื่นคน เดินขบวนไปตามถนนนคาเมนนูสตรอฟสกี (Kamennoostrovsky Ave.) มุ่งหน้าสู่สะพานทรอยสกี  ซึ่งเมืองไปใกล้สะพานดังกล่าว ก็เผชิญหน้ากับหน่วยทหารม้า และทหารจากหน่วยปาฟลอฟสกี (Pavlovsky regiment)
Shlisselburgsky Tract
นำโดย เปตรอฟ (N.P. Petrov) ผู้ชุมนุมรวมตัวกันบนถนนโนโว่-โปรกอนน่าย่า (Novo-Progonnaya rd.) และเดินขบวนผ่านย่าชุมชนชลิสเซลเบิร์กสกี ซึ่งมีผู้ชุมนุมระหว่างสี่พันถึงหมื่นหกพันคน  พวกเขาพบกับหน่วยทหารคอสแซค จากหน่วยอต้ามาน (Ataman Regiment) ซึ่งมีประมาณ 200 คน บริเวณใกล้กับโบสถ์สกอฟย่าเชนโก (Skobyachensko church) เปตรอฟเข้าไปเจรจากับฝ่ายทหาร แต่ทหารสั่งให้พวกเขาสลายตัว แล้วใช้กระสุนปืนยิงเพื่อข่มขู่สามชุด และเริ่มกดดันให้ผู้ชุมนุมถอย ซึ่งบางส่วน ผู้ชุมนุมหนีโดยการกระโดดหนีลงไปในแม่น้ำที่เป็นน้ำแข็ง
Vasilevsky Island
ผู้ชุมนุมมี 6000 คน ร่วมกันร้องเพลง Our Father (Отче наш) เดินทางเรียบไปตามถนนริมฝั่งแม่น้ำเนว่า โดยมีผู้นำเป็นแรงงานหลายคน อย่าง เบลอฟ  (K. V. Belov ,К. В. Белов) คาเรลิน (A.E. Karelin , А. Е. Карелин)  คาเรนิน่า ( V.M. Karelina , В. М. Карелина) และคนอื่นๆ อีก
เมื่อพวกเขาเดินมาถึงหน้าสถาบันศิลปะ (Academy of Fine Arts) ก็เจอกับกองทหารม้าและทหารราบ โดยทหารตอนแรกพยายามใช้ดาบและม้าเดินหน้า พร้อมกับเป่าแตร เพื่อกดดันให้ผู้ชุมนุมถอยหลัง แต่ต่อมาก็ใช้ปืนไรเฟิ้ล จนผู้ชุมนุมต้องหนีไปยังถนนใกล้เคียง
ในขณะที่ผู้นำของพรรคการเมืองแนวสังคมนิยมหลายคนมารวมตัวกันกับผู้ชุมนุม และเรียกร้องให้มีการสร้างแนวป้องกันทหาร และจับอาวุธขึ้นสู้ แต่ว่าสิ่งกีดขวางที่พวกเขาทำขึ้นถูกทำลายได้โดยทหาร
Alexander Garden
จตุรัสตรงข้ามกับพระราชวังฤดูหนาว ผู้ชุมนุมมารวมกันตอนเที่ยง แต่ว่ามีจำนวนไม่มากเพราะด่านทหารที่สกัดคนส่วนใหญ่ไว้ พอราวบ่ายสองผู้ชุมนุมเริ่มพยายามดันขบวนของทหาร จนทหารเตือนให้พวกเขาสลายตัว ถึงสามครั้ง มิเช่นนั้นพวกเขาจะยิง แล้วทหารก็ยิง จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 30 คน และไม่นานผู้ชุมนุมก็หายไปหมดจากจตุรัส
Nevsky Prospect
ถนนเนฟสกี ซึ่งเป็นถนนสายหลังของเมือง ผู้ชุมนุมที่แตกกระจายจากจุดอื่นมาร่วมตัวเป็นกลุ่มใหญ่ที่จุดนี้และเดินหน้าไปยังพระราชวังฤดูหนาวอีกครั้ง แต่ว่าตอนสี่โมงเย็น กำลังทหารจากหน่วยเซเมนอฟ (Semenov regiment) ก้เข้ามาสลายผู้ชุมนุม
ข้อมูลทางราชการในวันที่  10 มกราคม 1905 บอกว่ามีผู้เสียชีวิต 96 คน และบาดเจ็บ 333 คน ซึ่งรวมเจ้าหน้าที่ด้วย แต่ต่อมาได้มีการพิสูจน์ใหม่ เป็น เสียชีวิต 130 คน และบาดเจ็บ 299 คน 
แต่หนังสือพิมพ์ของพวกคอมมิวนิสต์มักอ้างตัวเลขที่ีสูงมาก เช่น ในบทความของเลนิน วันที่ 18 (31) มกราคม 1905 ในหนังสือพิมพ์ Forward (Вперед) อ้างว่า มีผู้เสียชีวิต 4600 คน
บันทึกของซาร์นิโคลัส ที่ 2 ในวันนี้ 9(22) มกราคม เขียนเอาไว้ว่า
มันเป็นวันที่ยากลำบากของเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก  สถานะการณ์ยุ่งยากมากเมื่อประชาชนต้องการมุ่งหน้ามายังพระราชวังฤดูหนาว กองทัพดูเหมือนจะใช้ปืนในหลายจุดของเมือง จนมีคนตายและบาดเจ็บจำนวนมาก , พระเจ้า ! เจ็บปวดและยากลำบาก
หลังเหตุการณ์สามวัน  9 ใน 10 คนที่เคยเป็นตัวแทนผู้ประท้วง ยกเว้น อาร์เซเนียฟ ถูกจับตัวได้ และนำไปขังไว้ที่ค่ายทหารปีเตอร์แอนพอล (Peter and Paul Fortress) ในข้อหากบฏ แต่ว่าไม่นานทั้งหมดถูกปล่อยตัว
11 (24)  มกราคม 1905  ดมิทรี ทรีปอฟ (Dmitri Trepov,Дмитрий Фёдорович Трепов) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าการเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์กแทน
14 (27) มกราคม 1905 The Holy Synod ออกแถลงการณ์ประณามการนองเลือดที่เกิดขึ้น
19 (1 กุมภาพันธ์) มกราคม 1905  ซาร์นิโคลัส  ซึ่งอยู่ที่ซาร์สโกเย่ เซโล่ ได้ตอนรับคณะผู้แทนจากฝ่ายของแรงงาน จำนวน 34 คน ซึ่งเป็นความริเริ่มของ ทรีปอฟ , ซาร์นิโคลัสและพระราชินี ได้มอบเงินจำนวน 50,000 รูเบิ้ล เพื่อช่วยเหลือครอบครัวของคนที่เสียชีวิตและบาดเจ็บ และพระองค์ไม่ได้ปรากฏตัวให้สาธารณะชนเห็นอีกเลยจนถึงปี 1913  ในงานฉลอง 300 ปีของราชวงศ์โรมานอฟ
 ช่วงปลายเดือนมกราคม บาทหลวงกาบอฟ และปีเตอร์ รูเต็นเบิร์ก ก็เดินทางหนีออกจากรัสเซีย , กาบอฟ นั้นไปยังสวิสเซอร์แลนด์ เขาได้เขียนบทความส่งไปยังหนังสือพิมพ์ทั่วยุโรป นอกจากนั้นยังได้รับคำเชิญจากพรรค RSDLP ให้เข้าเป็นสมาชิกกิตติมาศักดิ์ แต่ว่าเขาตัดสินใจไม่ร่วม แต่ตัวเขาคงเขียนบทความเรียกร้องให้มีการโค่นล้มสถาบันกษัตริย์ของรัสเซีย เรียกร้องให้พรรคแนวสังคมนิยมร่วมกันจับอาวุธขึ้นสู้
บันทึกของอเล็กซานเดอร์ เกราซิมอฟ (Alexander Gerasimov,Александр Васильевич Герасимов)  หัวหน้าตำรวจประจำเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก เขียนเอาไว้ว่า เขาเคยถามบาทหลวงกาปอฟ ว่าจริงหรือไม่ที่มีแผนที่จะปลงพระชนษ์พระเจ้าซาร์ด้วยในวันที่ 9 มกราคม … ซึ่งบาทหลวงกาปอฟ บอกว่าจริง แต่ปฏิเสธว่าเป็นแผนที่รูเต็นเบิร์ก คิดไม่ใช่ตัวเขา
หลังเหตุการณ์ Bloody Sunday ยิ่งส่งผลให้การนัดหยุดงานขยายวงกว้างออกไปอีก  พรรคสังคมนิยมในโปแลนด์ (Polish Socialish Party) และ พรรคสังคมประชาธิปไตยโปแลนด์ลิธัวเนีย (SDKPiL) ได้เรียกร้องให้มีการนัดหยุดงานในวันที่ 28 มกราคม ในลักษณะเดียวกันกับรัสเซีย  ซึ่งการประท้วงโดยคนงานกว่า 400,000 คน ซึ่งกินเวลากว่า 4 อาทิตย์กว่าสถานการณ์จะจบลงด้วยการนองเลือดเช่นเดียวกับในรัสเซีย ในขณะที่ในรัสเซีย เกิดการประท้วงในหลายเมืองของประเทศ ทั้งในกลุ่มรัฐบอลติก และจอร์เจีย 
17 (30)ตุลาคม 1905 นายกรัฐมนตรี เซอร์เกย์ วิตตี (Sergey Witte) ประกาศแถลงการณ์ตุลาคม (The October Manifesto, Манифест об усовершенствовании государственного порядка) ที่วิตตี้เป็นคนเขียนขึ้น และได้รับการรับรองโดยซาร์ นิโคลัส … ประกาศดังกล่าวสัญญาที่จะให้เสรีภาพแก่ประชาชนในด้านต่างๆ, การจัดตั้งรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเท่าเทียม ประกาศฉบับนี้ถูกเรียกว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของรัสเซีย
Don`t copy text!