โตรฟิม เดนิโซวิช ไลเซนโก้ (Трофим Денисович Лысенко)
เจ้าของทฤษฏี Lysenkoism (Lysenko-Michurinism) ผู้ต่อต้านกฏของเมนเดล , วิทยาศาสตร์ลวงโลก (pseudoscience)
ไลเซนโก้ เกิดในครอบครัวเกษตรกรในยูเครน ในเมืองคาร์ลิฟก้า (Karlivka) เขตโปลตาว่า (Poltava Oblast) เขาเกิดเมื่อวันที่ 29 กันยายน 1988 (17 กันยายน ปฏิทินเก่า) พ่อของเขาชื่อว่าเดนิส(Denis, Денис Никанорович Лысенко) และแม่ชื่อ อ็อกซาน่า (Oksana, Оксана Фоминичн Лысенко) ในครอบครัวนี้มีลูกชายสองคนและลูกสาวสองคน
นักประวัติศาสตร์ชาวนอร์เวย์ Nils Roll-Hansen เขียนเอาไว้ว่าไลเซนโก้นั้นเริ่มเรียนหนังสือตอนที่เขาอายุ 13 ปีแล้ว จากโรงเรียนภายในเมืองที่เขาอาศัย หลังจากนั้นในปี
1913 เขาได้เข้าเรียนที่ School of Horticulture ทางตอนใต้ของโปลตาว่า
1917 เข้าเรียนที่ School of Gardening ในเมืองอูแมน (ปัจจุบันคือ Uman National University of Horticulture) ระหว่างที่ศึกษาอยู่นั้นเป็นช่วงเวลาของสงครามโลก ครั้งที่ 1 และสงครามกลางเมืองในรัสเซีย เมืองอูแมน ถูกผลัดเปลี่ยนไปอยู่ใต้อำนานออสเตรียฮังการี กองทัพแดง หรือกองทัพขาว หลายหน
1921 ย้ายไปยังเมืองเคียฟ
1922 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเกษตรแห่งเคียฟ ( Kiev Agricultural Institute) โดยระหว่างที่เรียนได้มีโอกาสไปฝึกงานที่ศูนย์วิจัยเมล็ดพันธ์(Belotserkovskaya Breeding Station) ในเมืองเบล่า เชิร์กว่า (Bela Cerkva) ห่างจากเคียฟไป 85 กิโลเมตร ต่อมาไลเซนโกได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัย ในหัวข้อ เทคนิคและวิธีการผสมมันฝรั่ง (Technic and Methods of Breeding Tomatoes) และ วิธีการปลูกเชื้อในหัวบีช (Inoculation of sugar beet)
1925 สำเร็จการศึกษา ในสาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร และถูกส่งไปทำงานในอาเซอร์ไบจาน ในศูนย์วิจัยเมล็ดพันธ์ในเมืองกันจ้า (Ganja) ผู้อำนวยการของศูนย์นี้คือ นิโคไล วาวิลอฟ (Nikolai Vavilov)ระหว่างนั้นในอาร์เซอไบจานมีปัญหาเรื่องการเกษตรไม่ได้ผล และปศุสัตว์มักจะอดตายในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ ไลเซนโก้ จึงได้พยายามปรับปรุงคุณภาพดิน โดยการปลูกพืชจำพวกถั่วมีฟัก (legume crops) เพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสด (green manuring) ในการปรับปรุงคุณภาพของดิน
1928
Vernalization(Яровизация) ไลเซนโก้ อ้างว่าเขาได้พัฒนาเทคนิคใหม่ในการเพาะปลูก ที่สามารถเพื่อผลผลิตได้ถึง 3-4 เท่าตัว โดยการนำเมล็ดพืชที่เปี๊ยก ไปบ่มไว้ในที่มีอุณหูภูมิต่ำ 5-10 องศา เพื่อให้เกิดราก ก่อนนำไปปลูกในแปลงที่มีอุณหภูมิต่ำ , หรือบางทีก็หว่านเมล็ดพืชลงไปในแปลงที่ปกคลุมด้วยหิมะ ช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิที่หิมะกำลังจะหมด เทคนิคนี้จริงๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่ รู้จักกันมาตั้งแต่ 1854 มีการศึกษามาก่อนหน้านี้แล้วหลายสิบปี และพืชหลายอย่าง เช่นผลไม้ ก็ต้องการอุณหภูมิที่ต่ำเพื่อที่จะออกดอก หรือติดผล
แต่ว่าในเวลานั้นโซเวียตซึ่งสตาลินพยายามเปลี่ยนไปใช้ระบบนารวม เผชิญกับวิกฤตด้านอาหาร ผลผลิตตกต่ำมากจากการปฏิวัติ และชาวนาไม่พอใจนโยบายดังกล่าว ประกอบปูมหลังของไลเซนโก้ เป็นลูกชาวนา สื่อของโซเวียตจึงโหมประโคมเทคนิคของไลเซนโก้ ว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์ เพื่อให้ชาวนาเกิดแรงบันดาลใจในการเพาะปลูก แต่ว่าไม่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมากอย่างที่ไลเซนโก้ อ้าง แต่ไลเซนโก้ บอกว่าผลผลิตเฉลี่ยโดยรวมของประเทศเพิ่มขึ้นถึง 15% จากการให้ชาวนากรอกแบบสอบถาม ที่สำคัญมันยังไม่ได้ทดสอบอย่างเพียงพอ กับพืชหลากชนิดที่เพาะปลูก และระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการใช้เทคนิคนี้ ทำให้ผลออกมาไม่น่าประทับใจ
นักวิทยาศาสตร์บางคนที่ไม่เห็นด้วยกับไลเซนโก้ ปีเตอร์ คอนสแตนตินอฟ ( Peter Knstantinov) ได้รวบรวบข้อมูลจาก 54 แปลง และพืช 35 ชนิด บอกว่า เมื่อสามารถผลิตข้าวสาลีด้วยวิธีดังกล่าง ได้ผลผลิต 960 กิโลกรัมต่อเฮคเตอร์ จาก 956 กิโลกรัมด้วยวิธีปกติ ซึ่งไม่มีนัยยะสำคัญอะไร นอกจากนั้นนักวิทยาศาสตร์หลายท่านยังเห็นว่ากระบวนการบ่มเมล็ดพืชก่อนปลูกนั้น เสี่ยงที่จะทำความเสียหายให้กับเมล็ดพืชด้วย
ไลเซนโก้ เริ่มปรากฏเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์ปราพด้า ตั้งแต่ช่วงปี 1927 ถึง 1964 โดยที่เขาได้รับการยกย่องจากสตาลิน และไลเซนโก้ เรียกเทคนิคนี้ของเขาว่าเป็ฯการปฏิวัติอุตสาหกรรมเกษตร ไม่มีเครื่องมีอใดที่เหมาะกับเขียนข่าวลงหนังสือพิมพ์ได้ดีเท่านี้อีกแล้ว
1929 เขาได้รับคำเชิญจากคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งยูเครน (People’s Commissariat of Ukraine) ให้ไปทำงานกับสถาบัน Breeding and Genetics Institute ที่ตั้งขึ้นมาใหม่ โดยไลเซนโก้ ได้เป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับ Vernalization, สถาบันแห่งนี้ได้กลายเป็นสถาบันศึกษาการชยายพันธ์และยีนต์แห่งโซเวียต VSGI ( All-Union Breeding and Genetics Institute, Всесоюзного селекционно-генетического института (ВСГИ) )
1932 เขาทำหนังสือแม็กกาซีน The Bulletin of Vernalization (Бюллетень яровизации) เพื่อโปรโมททฤษฏีและผลงานของเขา
1933 เขาทดลองปลูกมันฝรั่งในฤดูร้อน (Summer Plating of Potatoes) , Minting Cotton (Чеканка хлопчатника)
การเด็ดยอดของพืช เพื่อให้หยุดการโต บอกว่าช่วยให้เกิดการแตกดอกได้เร็วขึ้น
1934 ได้เป็นสมาชิกของ Academy of Sciences,Ukraine , และได้รับตำแหน่งประธานของ VSGI
Michurinist (Agro)Biography (мичуринская биология)
ไลเซนโก้ เองมีความรู้เกี่ยวกับพันธุกรรม(ยีนต์) น้อยมาก แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาสำหรับการโฆษณาชวนเชื่อของโซเวียตในเวลานั้น นักการเมืองหวังเพียงว่าทำอย่างไรก็ได้ให้ชาวนากลับไปปลูกพืช แล้วผลผลิตก็จะเพิ่มขึ้นเอง ไลเซนโก้ จึงโปรโมทเทคนิคและทฤษฏีการปลูกพืชที่เขาเรียกว่า Michurin’s Biography โดยที่ชื่อ มิชูริน นั้นเป็นของนักพืชศาสตร์ อิวาน มิชูริน (Ivan Michurin) ที่ศึกษาด้านพืชพันธุศาสตร์ ของโซเวียต ในช่วงเวลานั้นยังไม่มีการค้นพบ DNA , ซึ่งมิชูริน ได้ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของสภาพแวดล้อมต่อพันธุกรรม ซึ่งเขาตั้งสมมติฐานว่าพันธุกรรมสามารถเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอก
แต่ไลเซนโก้ นั้นโปรโมท Michurin’s Biograhy ที่เขาแต่งขึ้นมาเอง โดยที่ อิวาน มิชูริน ไม่ได้รับทราบด้วย เพราะเขามักใช้เวลาส่วนใหญ่ศึกษาพืชที่เขาปลูกในสวน
ไลเซนโก้ พูดถึงวิธี Yarovization ที่บอกว่าเมล็ดพืชที่เกิดจาก วิธี Vernalization นั้นจะสืบทอดคุณสมบัติจากต้นแม่พันธ์ไปด้วย ซึ่งไม่ต้องนำกลับมาบ่มในอุณหภูมิต่ำอีก
หนังสือพิมพ์ในโซเวียต ได้ช่วยกันชวนเชื่อ ด้วยประโยคของ อิวาน มิชูริน เพียงบางส่วน ที่พูดว่า “เราไม่สามารถรอความเมตตาจากธรรมชาติได้ , อยากได้ผล เราต้องลงมือ (Мы не можем ждать милостей от природы. Взять их у нее , наша задача , We cannot wait for favors from Nature. To take them from it ! that is our task)
1935 30 ธันวาคม ได้เป็นสมาชิกเต็มตัวของ Academy of Agricultural Sciences (VASKhNIL), และได้รางวัล Order of Lenin
1936 เขาเริ่มีปัญหากับนักวิทยาศาสตร์ของโซเวียตที่ศึกษาเรื่องยีนต์ ไลเซนโก้ ปฏิเสธการมีอยู่ของ ยีนต์ และทฤษฏีของเมนเดล โดยมองว่ามันขัดกับ Michurin’s Biograhy และกล่าวหานักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องยีนต์ว่าเป็นวิทยาศาสตร์แบบนาซี หรือของพวกนายทุน ( Fascist Science, bourgeous science) กลายเป็นว่าการค้นคว้าเกี่ยวกับยีนต์ของโซเวียตถูกแบนไปตลอดช่วงเวลาที่ไรเซนโก้มีอำนาจ , ว่ากันว่าไลเซนโก้ ไม่เคยอ่านต้นฉบับของ The Origin of Species เลย
1938 เป็นประธานของ VASKhNIL จนถึงปี 1956
1939 ได้เป็นสมาชิกของ Academy of Sciences , USSR
ในปีนี้ลูเซนโก้ ได้แนะนำเทคนิคในการปลูกพืชใหม่ ตั้งแต่การกำจัดวัชพืช เตรียมดิน และการปลูก ข้อมูลทางการบอกว่าผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นจาก 2-3 ตัน ต่อเฮกเตอร์ เป็นถึง 15 ตัน
1940 เป็นผู้อำนวยการของสถาบันพันธุศาสตร์ (Institute of Genetics)
1941 ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 นี้ เขาและนักวิทยาศาสตร์ในยูเครนส่วนใหญ่อพยพไปอยู่ในเมืองโอมส์ก (Omsk) แต่ยังคงทำงานด้านพัฒนาเครื่องมือการเกษตรและการเพิ่มผลผลิตมันสัมปะหลัง
ไลเซนโก้ แนะนำเทคนิคการปลูกมันฝรั่งโดยใช้ส่วนปลายของหัวมัน (Potato tuber) เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธ์(True Potato Seed)และประหยัดเชื้อเพลิง (การปลูกโดยใช้ส่วนหัวของมันเป็นวิธีที่ใช้ในการปลูกมันฝรั่งในปัจจุบันเป็นส่วนใหญ่)
1942 เป็นหนึ่งในคณะกรรมการชุดพิเศษเพื่อสอบสวนเหตุทารุณกรรมที่ทำโดยพวกนาซี (Extraordinary State Commission on atrocities of Nazis)
1943 พิมพ์หนังสือ Agrobiology: Work On Genetics, Breeding and Seed Production (Агробиология: работы по вопросам генетики, селекции и семеноводства)
1946 ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิก Supreme Soviet , Odessa
ช่วงปี 1934-1940 นักวิทยาศาสตร์ด้านพันธุศาสตร์โซเวียตหลายคนถูกจับ เพราะไม่เห็นด้วยกับลูเซนโก อย่าง นิโคไล วาวิลอฟ (Nikolai Vavilov) ถูกขังจนเสียชีวิตภายในคุก
1948 7 สิงหาคม สถาบันเกษตรเลนิน (V.I. Lenin Academy of Agraicultural Sciences) ประกาว่าทฤษฏี Lysenkoism นั้นเป็นทฤษฏีเดียวที่ถูกต้อง (The Only Correct Theory)
หลังการเสียชีวิตของสตาลิน ในปี 1953 ในสมัยครุสเซฟ ลูเซนโก้ ยังคงอยู่ในเก้าอี้ได้อยู่ แต่ว่านักวิทยาศาสตร์ที่เห็นว่าผลงานของเขานั้นส่วนใหญ่เป็นเรื่องหลอกหลวง ได้ออกมาเปิดตัวต่อต้านกันมากขึ้น
1955 วันที่ 10 ตุลาคม , นักวิทยาศาสตร์ 297 คน ได้ส่งจดหมาย Letter of Three hundreds (Письмо Трёхсот) ไปยังสภาเปรสซิเดียม โดยเนื้อหาจดหมายตำหนิลูเซนโก้ , เล่าถึงความเสียหาย และล้าหลังของวงการวิทยาศาสตร์ด้านพันธุศาสตร์ และชีวโมลิกุล ตั้งแต่ที่ลูเซนโก้เรื่องอำนาจ การที่เขาใช้อิทธิพลทางการเมืองจำกัดนักวิทยาศาสตร์ฝ่ายตรงข้าม นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ยังปฏิเสธสถิติที่ไลเซนโก้ ใช้แสดงว่าเป็นตัวเลขที่มีแรงจูงใจทางการเมือง และไม่ได้เป็นวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง
จดหมายได้เรียกร้องให้ลูเซนโก้ ลาออกจากสถาบันวิทยาศาสตร์เกษตรแห่งชาติ, และสถาบันนักวิทยาศาสตร์ , ซึ่งผลทำให้ ลูเซนโก้ ลาออกจากตำแหน่งประธานสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตร ทว่า
1961 ครุสเซฟ แต่งตั้งให้ลูเซนโก้ กลับเข้ามาเป็นประธานสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตร อีกครั้ง แต่ว่าอยู่ในตำแหน่งได้เพียงปีเดียว
1965 หลังครุสเซฟ ถูกปลดจากตำแหน่ง, ลูเซนโก้ ก็ถูกปลดจากสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตร, สถาบันพันธุศาสตร์ และสภาบันนักวิทยาศาสตร์
1966 ลูเซนโก้ เหลือเพียงงานในห้องทดลอง ในมอสโคว์ ที่เลนินฮิลล์ (Lenin Hills) ซึ่งเขาทำงานที่นี่จนกระทั้งเสียชีวิต
1976 เสียชีวิต 20 พฤศจิกายน 1976
หลายประเทศคอมมิวนิสต์ ได้นำเอา Lysenkoism ไปใช้ อย่างในเชคโกสโลวาเกีย, จีน มีการใช้วิธีนี้ตั้งแต่ 1948-1956 แม้ว่าหลังลูเซนโก้ หมดวาสนาในโซเวียตไปแล้ว ในประเทศจีนยังมีการใช้วิธีของเขาต่ออีกหลายปี
Stalin Prize (1941,1943,1949)
Hero of Socialist Labour (1945)
Order of Lenin (1945)
Hammer and Sickle Gold Medal (1945)
ผลงานเขียนของไลเซนโก้
- Теоретические основы яровизации (Basic Technicals for Vernalization, 1935)
- Селекция и теория стадийного развития растения (1935)
- Иаровизация сильськогосподарських рослин (1936)
- Теоретичские осиовьи иаровизации (1936)
- Переделка природы растений (1937)
- Яровизация сельскохозяйственных растений: с инструкцией по яровизации пшеницы, ячменя, овса (1937)
- Летние посадки картофеля: инструктивные указания для степных, засушливых районов СССР (1938)
- Избранные труды: со вступительной статьей академика Т.Д. Лысенко (1939)
- Принципы и методы работы (1939)
- Статьи по селекции и генетике: сборник (1939)
- Энгельс и некоторые вопросы дарвинизма (Engles and some question of Darwinism, 1941)
- О путях управления растительными организмами (1941)
- Сочинения (1941)
- Увеличить продовольственные ресурсы советского государства (1942)
- Работы в дни великой отечественной войны: Статьи и речи (Work in the Great Patriotic War, Articles and Speeches, 1943)
- Об агрономическом учении В.Р. Вильямса (About Agronomy teaching V.R. Williams, 1943)
- Ближайшие задачи советской сельскохозяйственной науки (1943)
- О наследственности и еë изменчивости (1944)
- О положении в биологической науке (On the situation in biological science, 1948)
- Сочинения в четырех томах (1948)
- Естественный отбор и внутривидовая конкуренция (1949)
- Агробиологиâ: работы по вопросам генетики, селекции и семеноводства (1949)
- Новые достижения в управлении природой растений: Доклад, прочитанный 6 июля 1940 г. на Всесоюзном совещании руководителей кафедр марксизма-ленинизма (1949)
- Организм и среда (1949)
- Влияние термического фактора на продолжительность фаз развития растения: опыт со злаками и хлопчатником (1949)
- Итоги работы Всесоюзной академии сельсхохозяйственных наук имени В.И. Ленина и задачи сельскохозяйственной науки (1949)
- Культура озимых в степи Сибири (1949)
- Тхе Ситуатион ин Биологикал Сциенце: Процеедингс оф тхе Сессион. Вербатым Репорт (1949)
- 70 лет со дня рождения Иосифа Виссарионовича Сталина (1949)
- Об агрономическом ычении В. Р. Вильямса (1950)
- Посев полезащитных лесных полос гнездовым способом (1950)
- К новым успехам в осуществлении сталинского плана преобразования природы (1950)
- Новое в науке о биологическом виде (1952)
- Стадийное развитие растений (1952)
- Агробиология: работы по вопросам генетики, селекции и семеновоства (1952)
- Почвенное питание растений–коренной вопрос науки земледелия (1957)
- О биологическом виде и видообразовании (1957)
- Избранные сочинения (Selected Work, 1958)
- За материализм в биологии (1958)
- О культуре социалистического земледелия (1961)
- Питание растений и удобрение полей (1961)