Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Willi Münzenberg

วิลลี่ มุนเซนเบิร์ก (Вилли Мюнценберг)

เจ้าของฉายา  The Red Millionaire , First great organizer of Communist fronts
มุนเซนเบิร์ก เกิดที่เมืองออร์เฟิร์ต แคว้นแซคโซนี เยอรมัน วันที่ 14 สิงหาคม 1889 เขาเกิดในครอบครัวที่มีฐานะยากจน พ่อของเขาเป็นพนักงานในร้านเหล้าเล็กๆ และเสียชีวิตระหว่างที่เมาเหล้าและทำความสะอาดปืนจนลั่นใส่ตัวเอง
มุนเซนเบิร์ก เข้าร่วมพรรคสังคมนิยมแห่งเยอรมัน (Social Democratic Party, SPD) ตั้งแต่อายุยังน้อย 
1914  เมื่อพรรค SPD แตกออกเป็นสองฝ่าย  เขาได้เลือกที่จะเข้าร่วมกับเสียงส่วนน้อย แต่ว่าเป็นพวกหัวรุนแรง ที่เรียกว่า Independent SPD  ซึ่งในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาเคลื่อนไหวกับฝ่ายนี้มาตลอด และได้มีโอกาสได้เดินทางไปพบกับเลนิน (Vladimir Lenin) ที่บ้านพักของเลนิน ในสวิสฯ บ่อยๆ 
1918 ร่วมก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมัน (Kommunistische Partei Deutschlands, KPD) และยังรับหน้าที่เป็นประธานของยุวคอมมิวนิสต์สากล (Yough Communist International, YCI) เป็นคนแรก
1921 เมื่อเกิดภาวะอดอยากในรัสเซีย มุนเซนเบิร์ก ได้ช่วยรณรงค์ระดมเงินและอาหาร ไปช่วยผู้ประสบภัย  โดยการตั้งกองทุนแรงงานเพื่อการบรรเทาทุกข์ ( Workers International Relief , WIR) 
1924 ได้รับเลือกตั้งให้เป็น ส.ส. จากพรรคคอมมิวนิสต์ เข้าไปทำงานในรัฐสภาเยอรมัน  (Reichstag) ในปีนี้เขายังได้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ The Workers Pictorial Newspaper (Arbeiter-Illustrierte-Zeitung ) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ที่สนับสนุนฝ่ายซ้าย และได้รับความนิยมอย่างมาก มียอดพิมพ์เกือบสองแสนฉบับ 
มุนเซนเบิร์ก ทำงานใกล้ชิดกับองค์กรโคมินเทิร์น (Comintern) และตำรวจลับของโซเวียต มีการสร้างองค์กรหลายร้อยแห่งขึ้นมาบังหน้า เช่น Friends of Soviet Russia, World League Against Imperialism (1927 ในบรัสเซล) , Anti Nazi League โดยอ้างว่าเพื่อสันติภาพ ต่อต้านจักวรรดินิยม ต่อต้านนาซี หรือเพื่อบรรเทาทุกข์ มุนเซนเบิร์กเรียกองค์กรเหล่านี้ว่าเป็นอินโนเซนต์คลับ ( Innocents Clubs) เพราะว่าคนส่วนใหญ่ที่เข้ามาทำงานต่างไม่รู้ว่ากำลังทำงานให้โซเวียต เพียงแค่คิดว่าตัวเองเป็นพวกหัวก้าวหน้า ที่ทำงานเพื่อมนุษยชน หรือต่อต้านนาซี แต่ว่าเป้าหมายจริงๆ เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนบอลเชวิค และยังมีการนำเงินที่ได้รับบางส่วนไปใช้เพื่อก่อตั้ง ทรัสต์ Munzenberg Trust ซึ่งมีกิจการหนังสือพิมพ์ โรงพิมพ์ และโรงหนังเล็กๆ มากมายทั่วโลก จนมุนเซ็นเบิร์กถูกจัดเป็นมหาเศรษฐี และถูกตั้งฉายาว่าเป็น มหาเศรษฐีแดง (Red Millionaire) ส่วนหนึ่งเป็นเพราะไลฟ์สไตล์ และรสนิยมการใช้ชีวิตที่หรูหราของเขา  เขาเป็นเจ้าของสื่ออย่าง  Welt am Abend (World at night,  1922-1933) , Berlin am Morgen (Berlin at Morning) , Arbeiter-Illustrierte
สตูติโอหนัง Mezhrabpom-Rus ซึ่งร่วมทุนระหว่างรัสเซียและเยอรมัน ผลิตภาพยนต์ออกมากว่า 600 เรื่อง หนึ่งในนั้นคือเรื่อง Road to life (Путевка в Жизнь) ในปี 1931 ที่เป็นภาพยนต์เสียงในฟิล์มเรื่องแรกของโซเวียต , นอกจากนั้นเขายังเกี่ยวข้องกับสตูดิโอ Worner Bros. ในสหรัฐ
อ็อตโต คาต์ซ (Otto Katz) มือขวาของมุนเซนเบิร์ก เป็นคนLeft Book Club ในลอนดอน ซึ่งเป็นเครื่อข่ายที่สนับสนุนสตาลิน และโปรโมทลัทธิคอมมิวนิสต์ว่าเป็นรสนิยมที่ชั้นสูงที่ก่อตั้ง Hollywood Anti-Nazi League for the Defense of American Democracy ในฮอลลีวู๊ด ในปี 1936 ซึ่งสามารถขยายเครือข่ายการชวนเชื่อของโซเวียตเข้าไปในอุตสาหกรรมภาพยนต์สหรัฐ เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภาพยนต์ คนเขียนบทดังๆ หลายคน ไม่รู้ตัวว่ากำลังตกเป็นเครื่องมือของโซเวียตในการโฆษณาชวนเชื่อ จนเกิดในคดี Hollywood Ten ในปี 1947  
1933 เมื่อนาซีครองอำนาจในเยอรมัน พรรคคอมมิวนิสต์เยอรมัน ถูกแบน เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการวางเพลิงเผารัฐสภา (Reichstag fire, 27 กุมภาพันธ์ 1933) ซึ่งมุนเซนเบิร์ก ได้หนีออกไปอยู่ฝรังเศส และพยายามจะพิสูจน์ว่าเหตุการณ์ไฟไหม้รัฐสภาเป็นแผนของฝ่ายนาซี โดยที่เขาเขียนหนังสือออกมาสองเล่ม คือ The Brown Book of the Reichstag Fire และ Hitler Torrer
และต่อมาได้พิมพ์ The Second Brown Book ตามมาอีก ซึ่งข้อมูล หลักฐานในหนังสือ The Brown Book ได้รับการยอมรับมากอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง ถือว่าเป็นการโฆษณาชวนเชื่อที่ประสบความสำเร็จขององค์การโคมินเทิร์น จนกระทั้ง ปี 1960 นักหนังสือพิมพ์ Fritz Tobias ได้พิสูจน์ว่าหลักฐานที่หนังสืออ้างนั้น เป็นหลักฐานปลอมหลายจุด เช่น การอ้างว่ามีอุโมงค์ลับใต้ดิน สำหรับให้ฝ่ายนาซีเข้ามาวางเพลิงในรัฐสภาแล้วหลบหนึออกไปได้ ซึ่งความจริงอุโมงค์นั้นเป็นเพียงท่อระบายน้ำ
ระหว่างปี 1933-1940 เขาอาศัยอยู่ในกรุงปารีส และได้บาเร็ตต์ กรอส์ส (Babette Gross, Margarete Buber-Neumann) เป็นภรรยาตามกฏหมายของเขา แต่ว่าทั้งคู่อยู่ด้วยกันไม่นานก็แยกทางกัน ระหว่างนี้มูเซนเบิร์ก เกี่ยวข้องกับการจ้างสายลับอังกฤษ คิม ฟีบี้ (Kim Phiby) ให้ทำงานเป็นสายลับให้กับโซเวียตด้วย โดยผ่านองค์กรบังหน้า อย่าง World Society for the Relief of the Victims of German Fascism ซึ่งมีสำนักงานในปารีส
1934 ออกเดินทางไปทัวร์สหรัฐ พร้อมกรอส์สภรรยา และร่วมกับนักเคลื่อนไหวคอมมิวนิสต์คนอื่น , อมัวริน บีวิน (Ameurin Bevin) นักเคลื่อนไหวเพื่อแรงงานชาวเวลล์ (Welsh Labour) เพื่อโหมกระแสต่อต้านนาซี โดยที่พวกเขาจะไม่พูดถึงว่าตัวเองทำงานหรือสนับสนุนโซเวียต อย่างที่ กรอส พูดเอาไว้ว่า “เราจะไม่พูดถึงสตาลิน ไม่พูดถึงว่าเราเป็นคอมมิวนิสต์ ไม่บอกว่าเรารักประเทศเช่นนั้น ไม่เรียกร้องให้ผู้คนสนับสนุนโซเวียต ไม่ทำอะไรเลยในลักษณะนี้ / You do not endorse Stalin. You do not call yourself a Communist. You do not declare your love for the regime. You do not call on people to support the Soviets. Never. Under any circumstances”
1936 มุนเซนเบิร์ก สนับสนุในการจัดตั้งนและช่วยในการจัดหาอาวุธจากโซเวียต ให้กับกลุ่มทหารอาสา (International Brigades) ซึ่งเป็นกองกำลังอาสาสมัครมาจากหลายชาติ ในการต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการของนายพลฟรานซิสโก้ ฟรังโก้ 
เมื่อสตาลินเริ่มการกวาดล้างศัตรูทางการเมืองของเขา (Great Purge) ส่งผลกระทบต่อการทำงานขององค์การโคมินเทริน์  เจ้าหน้าที่ของโคมินเทิร์น 133 คนจาก 492 คน นั้นถูกสังหารในช่วงการกวาดล้างนี้  มุนเซนเบิร์กยังคงทำงานให้โซเวียตจนถึงช่วงนี้ แต่เริ่มหวาดระแวงมากขึ้น
1937  เขาได้รับจดหมายจากโซเวียต  เชิญให้กลับไปประชุมในมอสโคว์ แต่ดูเหมือนเขาจะมีลางสังหรณ์บางอย่าง ทำให้เขาปฏิเสธที่จะเดินทางไป
มุนเซนเบิร์ก เขียนจดหมายถึงจอร์จี ดิมิทรอฟ (Georgi Dimitrov) ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ในบัลกาเรีย ซึ่งจอร์จีเป็นผู้เชิญให้มุนเซนเบิร์กไปโซเวียตในนามของโคมินเทิร์น แต่มุนเซนเบิร์กตอบว่าถ้าเขาถูกทำร้ายเขาจะเปิดเผยความลับว่าเขาทำอะไรบ้างให้กับโคมินเทิร์น ทางการโซเวียตได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าเขาเป็นคนทรยศที่หันหลังให้กับลัทธิมาร์ซ-เลนิน และพยายามที่จะขับเขาออกจากกระบวนการเคลือนไหวที่เกี่ยวข้องกับคอมมิวนิสต์ และไม่นานพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมัน ก็ขับเขาออกจากการเป็นสมาชิก 
ภรรยาของมุนเซนเบิร์ก ถูกจับระหว่างที่เธอพักอยู่ในโรงแรม Hotel Lux ในมอสโคว์  และขังไว้ที่ค่ายในการากานด้า (Karaganda) ก่อนที่ภายหลังโซเวียตจะส่งตัวให้กับเยอรมันในปี 1940 และถูกส่งเข้าค่ายกักกันในช่วงสงครามโลก แต่ว่าเธอมีชีวิตรอดมาได้ และภายหลังได้ทำงานต่อต้านโซเวียตและสตาลิน โดยเขียนหนังสือออกมาหลายเล่ม
1938 เขาไปอยู่ในปารีส และเป็นผู้นำกลุ่มต่อต้านฟาสซิสต์ และต่อต้านสตาลินด้วย เขาทำหนังสือแม็กกาซีน Die Zukunft (The Future) ขึ้นมา โดยเป็นบรรณาธิการร่วมกับอาร์เธอร์ โคสต์เลอร์ ( Arthur Koestler) สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมันคนหนึ่งที่ต้องลาออกเพราะต่อต้านสตาลิน เช่นกัน อาร์เธอ เป็นนักข่าวเชื้อสายอังกฤษ-ฮังการี คนเขียนนิยายเรื่อง Darkness at Noon
1940 มิถุนายน เขาหลบหนีออกจากปารีส ก่อนที่กองัพนาซีจะบุกมายึดเมืองไว้ แต่ว่าเขาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจของรัฐบาลฝรั่งเศส นายกฝรั่งเศสขณะนั้นคือ เอ็ดดูอาร์ด ดาลาแดร์ (Édouard Daladier) มูเซนเบิร์กถูกนำไปขังที่ค่ายทหาร Camp Militaire de Chambaran เป็นค่ายชั่วคราวที่สร้างขึ้นในป่าแชมบารัน ซึ่งในค่ายแห่งนี้มุนเซนเบิร์กได้พบกับชายคนหนึ่ง ที่นักประวัติศาสตร์ไม่ทราบชื่อ ช่วยพามุนเซนเบิร์ก และเพื่อนผู้ติดตามของเขาอีกจำนวนหนึ่ง หลบหนึลงไปทางใต้ มุ่งไปทางสวิสฯ แต่ว่าไม่กี่วันต่อก็ มุนเซนเบิร์กก็หายตัวไป 
17 ตุลาคม เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส พบศพที่เน่าแล้วของมุนเซนเบิร์ก ใต้ต้นโอ๊ค ในหมู่บ้านบอส เดอ คัวเน็ต (Bois de Cuanet) หนังสือพิมพ์เวลานั้นรายงานว่าเขาตายโดยถูกรัดด้วยเชือกที่คอ (Knotted cord) เหมือนปมที่เกิดจากเครื่องการ์โรต (garrote) แต่ว่าในเวลานั้นเจ้าหน้าที่สืบสวนสรุปว่าเป็นการฆ่าตัวตาย แม้ว่าเพื่อนที่เคยอยู่ในที่คุมขังก่อนเขาหนีออกมาจะบอกว่าเขามีสภาพจิตใจดีมากก่อนเสียชีวิต
 ทำให้คนส่วนใหญ่เชื่อว่าเขาถูกฆ่าตาย โดยมีหลายทฤษฏี ทั้งบอกว่า สายลับ NKVD ของสตาลินน่าจะเป็นคนสังหาร หรืออีกทฤษฏีหนึ่ง ซึ่งอ้างจดหมายที่ นายพลคาร์ล เคลียนจัน (Karl Kleinjun) เขียนไปหาอริค มิลเก่ (Erick Mielke) รัฐมนตรีความมั่นคงของเยอรมันในเวลานั้น ลงวันที่ 10 มิถุนายน 1969 ว่าได้มีการพิสูจน์ว่าเจ้าหน้าที่เกสตาโป รหัส V49 สามารถแปลกปลอมเข้าไปในกลุ่มของมุนเซนเบิร์กได้ในปี 1939 แต่ว่าเจ้าหน้าที่ที่ใช้รหัส V49 นี้ยังไม่มีใครรู้ว่าคือใคร
Don`t copy text!