Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Bogdan Khmelnitsky

ซีโนวี บอก์ดาน มิคาโลวิช คเมลนิตสกี (Зиновий Богдан Михайлович Хмельницкий , Zynovi Bogdan Mykhailovych Khmelnytsky)

เขาเกิดในหมู่บ้านสุโบตีฟ (Subotiv) ในเขตชูไฮริน (Chuhyryn district) ตอนกลางของยูเครนปัจจุบัน 
ข้อมูลเวลาเกิดและเวลาเสียชีวิตของเขาไม่ปรากฏชัด แต่นักประวัติศาสตร์บางท่านคาดกันว่าเป็นวันนักบุญธีโอดอร์ คือวันที่ 27 ธันวาคม 1595 เพราะว่าหลังจากทำพิธีแบ๊บติสแล้ว บอก์ดาน ใช้ชื่อกลางว่า ธีโอดอร์ (ภาษายูเครน ธีโอดอร์ แปลว่า บอก์ดาน)
พ่อของเขาชื่อมิคาอิล (Mikhail, Mykhailo)  ทำงานรับใช้เจ้าชาย สตานิสลาฟ โซเคียฟสกี ( Crown Hetman Stanislaw Zolkievski) ส่วนแม่เป็นชาวคอสแซค ซึ่งคาดว่าเธอชื่อ เอกาเฟีย (Agafia,  Агафьей )
1617 เขาจบการศึกษา โดยเรียนทางด้านประวัติศาสตร์ ภาษาลาติน และภาษาโปแลนด์ จากวิทยาลัยเจซูส (Jesuit college) คาดว่าโรงเรียนจะอยู่ในเขตจาโรสลาฟ (Jaroslaw, โปแลนด์) หรือไม่ก็ใน ลวีฟ (Lviv, ยูเครน)  โดยเขตทั้งสองในยุคนั้น อยู่ใต้การปกครองของเครือจักรภพโปแลนด์-ลิธัวเนีย (Commonweath of Poland-Lithuanian, 1569-1795  ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของสองประเทศ คือ ( The Crown of the Polish Kingdom  และ Grand Duchy of Lithuania ) ซึ่งกินบริเวณอาณาบริเวณโปแลนด์ ยูเครน ลิธัวเนีย และรัสเซียบางส่วนในปัจจุบัน
หลังสำเร็จการศึกษาแล้วบอก์ดาน เข้าทำงานกับกองทัพชาวคอสแซค
1619 บอก์ดามและพ่อของเข้าเข้าร่วมรบในสงครามและหว่างเครือจักรภพโปแลนด์-ลิธัวเนีย กับ อาณาออตโตมาน (Ottoman Empire) โดยบริเวณที่เขาไปรบนั้นอยู่ในมอลดาเวีย (Moldavia)
1920 17 กันยายน , มิคาอิล พ่อของบอก์ดาน ถูกสังหารระหว่างการทำสงคราม ในสมรภูมิเคโคร่า (battle of Cecora) ในขณะที่ตัวของบอก์ดาน เองก็ถูกจับตัวได้โดยทหารชาวเติร์ก  และเขาถูกนำตัวไปขังไว้ในกรุงคอนสแตนติโนเปิ้ล นานกว่า 2 ปี โดยเป็นเชลยของ นายพลเรือ กาปุดาน ปาชา (Kapudan Pasha) , แต่ก็มีข้อมูลบางแห่งที่บอกว่าเมื่อเขาถูกจับโดยทหารเรือของอาณาจักรออตโตมานแล้ว แล้วถูกบังคับให้ทำงานเป็นคนพายเรือรบ (เรือรบแบบโบราณที่ต้องใช้คนพาย) ซึ่งระหว่างนี้ทำให้เขาเรียนรู้ที่จะพูดภาษาตุรกีไปด้วย
ไม่ทราบแน่ชัดว่าบอก์ดาน สามารถหนีออกจากคอนสแตนติโนเปิ้ล กลับมายังยูเครนได้อย่างไร แต่ก็เป็นไปได้ที่เชลยที่ถูกจับระหว่างสงครามทั้งหมดถูกไถ่ตัวกลับมาโดยเอกอัครข้าราชฑูต เคอร์ซิสตอฟ ซบารัสกี (Krzysztof Zbaraski) ของเครือจักรภพ ฯ เวลานั้น ที่ประจำอยู่ในคอนสแตนติโนเปิ้ล ซึ่งในปี 1622 เขาใช้เงิน 30,000 เธเลอร์ (thaler) เพื่อไถ่ตัวเชลย
หลังจากบอก์ดานกลับมาโซโบตีฟ, ยูเครน แล้วเขาก็สมัครเข้าเป็นทหารบก ในกองทหารเมืองชูไฮริน (Chyhyryn regiment)
ตั้งแต่ปี 1925 เป็นต้นไป บอก์ดานเข้าร่วมกับชาวซาโปโรซินคอสแซค (Zaporozhin Cossacks~ คอสแซคเผ่าหนึ่งในยูเครน) ทำการรบในสงครามทางทะเล โจมตีเรือของฝ่ายออตโตมานหลายครั้ง จนเขาได้เลือนยศเป็น โซตนิก (Sotnyk, เทียบเท่า Commmander , นาวาโท) 
ระหว่างนี้ แม่ของเขาแต่งงานใหม่อีกครั้งกับเศรษฐีชาวเบลารุส ชื่อ วาสิล สเตเวตสกี (Vasyl Stavetsky) หลังแต่งงานเธอย้ายไปอยู่กับสามี และปล่อยให้บอก์ดาน อยู่ที่สุโบตีฟเพียงลำพัง
บอก์ดาน ต่อมาเขาได้แต่งงานกับ ฮานน่า ซอมเคียฟน่า (Hanna Somkivna) เป็นลูกสาวของชาวคอสแซคที่มีฐานะดีคนหนึ่งในเมืองสุโบตีฟ  , ต่อมา ฮานน่า ให้กำเนินลูกแก่เขาถึง 5  คน เป็นผู้หญิงสาม ชื่อ สเตปานิด้า (Stepanida) โอลีน่า (Olena) คาเตรีน่า (Kateryna) ลูกชายคนแรก ทูมิช (Tymish, b. 1632) และลูกชายอีกคน ยูรีฟ (Yuriy, b.1640)
1937 ด้วยความสามารถในการเจรจา ทำให้บอก์ดานเข้าร่วมคณะฑูต ที่เดินทางไปยังกรุงวอร์ซอร์ ในฐานะตัวแทนของชาวคอสแซค เพื่อเข้าเฝ้ากษัตริย์ วลาดิสลาฟ ที่  4 (Wladyslaw IV) แห่งเครือจักรภพ ป-ล ฯ และได้รับแต่งต้ังให้เข้าทำงานในกองทัพของเครือจักรภพ ฯ  โดยอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของจอมพล สตานิสลาฟ โคเนียคโปลสกี (hetman Stanislaw Koniecpolski)
1644 หน่วยทหารของบอก์ดานสามารถมีชัยชนะครั้งสำคัญเหนือกองทหารของฝ่ายตาตาร์ (Tatars) ซึ่งในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนี้เอกสารทางประวัติศาสตร์บางชิ้น บอกว่าบอก์ดานเข้ารร่วมพบปะกับคณะฑูตจากฝรั่งเศสที่กรุงวอร์ซอ เพื่อเจรจาถึงความเป็นไปได้ในการส่งทหารเครือจักรภพ ป-ล.ฯเข้าร่วมรบร่วมกับฝรั่งเศส ซึ่งทางเครือจักรภพ ป-ล ฯ ได้ส่งทหารราวสองพันนายไปยังฝรั่งเศสในเดือนตุลาคม  ซึ่งเอกสารบางฉบับก็ยังบอกว่าบอก์ดานได้เดินทางไปฝรั่งเศสในเมษายน 1965 เพื่อเจรจรในรายละเอียดเพิ่มเติม แต่นักประวัติศาสตร์ยังมีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องนี้
1646 จอมพล สตานิสลาฟ โคเนียคโปลสกี เสียชีวิตในเดือนมีนาคม ผู้ที่รับตำแหน่งต่อจากเขา คือ  อเล็กซานเดอร์ (Aleksander Koniecpolski)   ซึ่งเป็นบุตรชาย ซึ่งไม่นานก็เกิดความขัดแย้งระหว่างอเล็กซานเดอร์ กับบอก์ดาน เพราะว่าอเล็กซานเดอร์ได้วาดแผนที่ที่ดินที่เขาครอบครองขึ้นใหม่ และอ้างกรรมสิทธิในที่ดินของบอก์ดาน  ทำให้บอก์ดานเขียนจดหมายร้องเรียนหลายฉบับไปยังผู้แทนของฝ่ายโปแลนด์แต่ว่าไม่ได้รับความช่วยเหลือ จนในที่สุดอเล็กซานเดอร์ก็ยึดเอาที่ดินของบอก์ดานไปได้สำเร็จ
ช่วงฤดูร้อนในปี 1646 บอก์ดาน จึงได้ร้องต่อศาลแห่งโปแลนด์ โดยที่กษัตริย์ วลาดิสลาฟ ที่ 4 ทรงรับเรื่องร้องทุกข์ของเขาไว้ แต่พระองค์ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้ เพราะทรงไม่อาจแทรกแซงอำนาจของผู้ปกครองท้องถิ่นได้เต็มที่
1647 เมษายน ผู้ว่าการเมืองชูไฮริน ,แดเนียล คซาฟรินสกี (Starosta  Daniel Czeplinski) ลูกน้องของอเล็กซานเดอร์  ก็ใช้กำลังยึดที่ดินของบอก์ดานไป ซึ่งทำให้ลูกชายของบอก์ดานยูรีฟ ได้รับบาดเจ็บสาหัสด้วย ,  บอก์ดานต้องย้ายไปอาศัยในบ้านของญาติที่เมืองชูไฮริน  ในขณะที่บอก์ดานเองวางแผนที่จะแก้แค้นคซาฟรินสกี ด้วยความช่วยเหลือของชาวคอสแซคที่ภักดีต่อเขา
พฤษภาคม บอก์ดาน พยายามอุทรณ์ไปยังกษัตริย์อีก แต่ดูเหมือนพระองค์ไม่อยากจะมีปัญหากับผู้นำท้องถิ่น 
เวลาใกล้ไม่นานหลังจากที่บ้านของเขาถูกยึดไป ฮานน่า ภรรยาของบอก์ดานก็เสียชีวิต บอก์ดานแต่งงานใหม่กับ โมโทรน่า (Motrona)
บอก์ดานเริ่มรุ้สึกว่าเขาไม่ได้รับความเป็นธรรมภายใต้การปกครองของกษัตริย์โปลแลนด์  และเริ่มรู้ว่าไม่ใช่เขาแค่คนเดียวแต่ชาวคอสแซคหลายคนก็ถูกปฏิบัติคล้ายกัน ภายในเขตชูไฮริน และซิช (Sich ศูนย์กลางของคอสแซคในยูเครน) ทำให้บอก์ดานออกเดินทางไปพบปะกับหัวหน้าทหารคอสแซคหน่วยอื่นๆ ทั่วพื้นที่ยูเครน 
1648 มกราคม ชาวราด้าคอสแซค ( Rada Cossack) ได้เลือกให้บอก์ดานดำรงตำแหน่งผู้นำกองทัพ (hetman) ของพวกเขา หลังจากนั้นได้มีการส่งจดหมายถึงผู้นำคอสแซคกลุ่มต่างๆ รวมตั้งชาวนาที่นับถือนิกายออร์โธดอก ในการต่อต้านโปลแลนด์
ช่วงปลายปี เขาอยู่ตอนใต้ของยูเครน ริมฝั่งแม่น้ำดนิเปอร์ (Dnieper river) พร้อมด้วยทหารหน่วยเล็กๆ ราว 500 คน , 7 ธันวาคม เขาใช้กำลังทหารของเขาและด้วยความช่วยเหลือของซาโปโรซินคอสแซค ได้ทำการปลดอาวุธทหารโปแลนด์ที่อยู่ในเมืองซิช , และชาวซาโปโรซินคอสแซค ก็เริ่มปรับปรุงใช้เกาะคอร์ติสเซีย (Khortytsia) ที่อยู่ในแม่น้ำดนิเปอร์ เป็นฐานในการสะสมอาวุธและระเบิด 
ฝ่ายโปแลนด์และราด้าคอสแซคใต้การนำของบอก์ดานเริ่มเจรจากัน โดยชาวคอสแซคเรียกร้องให้ถอนทหารเครือจักรภพ ป-ลฯ ออกจาพื้นที่ยูเครน แต่ตอนนั้นฝ่ายโปแลนด์ได้ส่งกองทัพมุ่งหน้ามายังเมืองซิชแล้ว โดยนายพลสเตฟาน โปตอคกิ (Stefan Potocki) เป็นผู้นำ
1648 16 พฤษภาคม กองทัพของทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากันที่เมือง โชฟติ โวดี (Zhovti Vody) โดยฝ่ายคอสแซคที่ได้รับการสนับสนุนจากทหารตาตาร์ของ ตุกาย เบย์ (Tugay Bey) ที่อยู่ในไครเมีย เป็นฝ่ายที่มีชัยชนะ เหนือกองทัพเครือจักรภพ ป-ล ฯ
26 พฤษภาคม การรบที่คอร์ซัน (Battle of Korson) อยู่บริเวณตอนกลางของยูเครน ฝ่ายคอสแซคเป็นฝ่ายมีชัยชนะอีก ทำให้ชาวคอสแซคจำนวนมาก และข่านแห่งไครเมียหันมาสนับสนุนการลุกฮือของบอก์ดาน (Khmelsitsky Uprising)
ธันวาคม ในวันคริสมาสต์ ทหารของบอก์ดาน สามารถยึดเมืองเคียฟ (Kiev) ซึ่งเป็นกลายปลดปล่อยดินแดนยูเครนและเริ่มต้นการสร้างชาติขึ้นใหม่ โดยที่บอก์ดานมีอำนาจสูงสุด แต่ว่าระหว่างนี้ทางโปแลนด์ก็ยังไม่ได้หยุดโจมตีและเริ่มมีชัยในหลายเหตุการณ์
1649 17 สิงหาคม มีการทำสนธิสัญญา ซโบริฟ (Zboriv Treaty) หลังฝ่ายทหารโปแลนด์นำโดยกษัตริย์ จอห์น ที่ 2 (John II Casimir of Poland) และฝ่ายคอสแซคของบอก์ดานปะทะกัน โดยไม่เป็นผลที่กับฝ่ายคอสแซคเท่าไหร่ เมื่อมีการบังคับให้ควบคุมจำนวนทหารที่ 40,000 คน
1651 18 มิถุนายน สมรภูมิ เบเรสเตชโก้ (battle of Berestechko) ซึ่งเป็นการรบที่ใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 17  ฝ่ายคอสแซคเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ที่ทหารตายกว่า 30,000 นาย 
28 กันยายน  หลังการรบที่บิล่า เชิร์กว่า (Battle of Bila Tsekva) มีการทำสนธิสัญญาบิลา เซิร์กว่า (Bila Tserkva treaty) บังคับให้ลดจำนวนทหารคอสแซคเหลือ 20,000 คน แต่ว่าสนธิสัญญานี้เมื่อกลับไปยังรัฐสภาของเครือจักรภพ ป-ลฯ แล้ว ไม่ได้รับการรับรอง เมื่อมีสมาชิก 1 คน  แต่ใช้สิทธิวีโต้ข้อตกลงดังกล่าว แต่ฝ่ายบอก์ดาน ก็ดำเนินตามข้อตกลงไปเพื่อสันติภาพในระยะสั้น ซึ่งไม่นานข้อตกลงก็ถูกละเมิดอยู่ดี และสนธิสัญญาก็ถูกละเมิดในปีต่อมา
ในคณะที่ในฝ่ายชาวตาร์ตาในไครเมีย ได้เลิกเป็นพันธมิตรกับฝ่ายยูเครนคอสแซค และห้ามทั้งโปแลนด์และยูเครนใช้ดินแดนของตน เพราะหวาดระแวงว่าพวกนี้จะมีกองทัพที่ใหญ่ขึ้นและเป็นภัยกับดินแดนของตนเอง  บอก์ดาน จึงเริ่มมองหาพันธมิตรใหม่ และได้รับความช่วยเหลือจากสุรต่านแห่งออตโตมาน โดยได้ส่งเรือรบมาให้ แต่ว่าการเป็นพันธมิตรกับออร์โตมานซึ่งต่างศาสนาก็ไม่ได้รับความนิยมในหมู่คอสแซค แต่มันไม่มีทางเลือก
1653  ซาร์อเล็กซี มิคาอิลโลวิช (Alexei Mikhailovich) แห่งรัสเซียเริ่มให้ความช่วยเหลือยูเครนคอสแซค เพราะกลัวอิทธิพลของออตโตมาน และยังเห็นว่ายูเครนนั้นนับถือออร์โธดอกซ์ด้วยกัน 
1654 17 มกราคม , ลงนามสนธิสัญญาเปเรยาสลาฟ (Pereyeslav treaty, Переяславская рада) ระหว่างรัสเซียและยูเครน โดยเจ้าชายวาสิลี บาตูร์ลิน (Vasilli Baturlin) เป็นผู้แทนฝ่ายรัสเซีย และบอก์ดานเป็นตัวแทนของฝ่ายคอสแซค สนธิสัญญายอมรับอำนาจเหนือยูเครนของรัสเซีย ซึ่งหลังสนธิสัญญาก็เกิดสงครามหลายครั้งตลอดช่วงฤดูใบไม้ผลิระหว่างคอสแซคยูเครนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซีย กับฝ่ายโปแลนด์ และตาตาร์ ซึ่งฝ่ายคอสแซค ซึ่งชาวคอสแซคสามารถขับไล่โปแลนด์ออกจากดินแดนส่วนใหญ่ได้สำเร็จ
สงครามมีความสับสนมากขึ้นเมือสวีเดน เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยปกติแล้วสวีเดนเป็นศัตรูกับทั้งรัสเซียและเครือจักรภพ ป-ล ฯ , ในคราวนี้สวีเดนต้องการดินแดนลิธัวเนีย จึงทำสงครามกับฝ่ายเครือจักรภพ ป-ล ฯ 
นอกจากนั้นยังมีผู้ปกครองดินแดนทรานซิลวาเนีย จอร์จ ราคอกซี่ ที่ 2 ( George II Rákóczi, Transylvania) ที่เข้าข้างกษัติรย์ ชาร์ล กุสตาฟ ที่ 10 (Charles X Gustav, Sweden) ของสวีเดน  และรวมกันโจมตีเครือจักรภพ ป-ล ฯ เกิดเป็นสงครามดีลูจ (The Deluge ,Second Northern War , 1655-1660) แต่ว่าสงครามครั้งนี้จบลงโดยชัยชนะของฝ่ายเครือจักรภพ ป-ล ฯ
1956 รัสเซียโจมตีสวีเดนในเดือนกรกฏาคม ช่วงที่สวีเดนกำลังยุ่งกับสงครามกับโปแลนด์ ทำให้บอก์ดานมีปัญหากระทบกระทั้งกับรัสเซียเพราะสวีเดนก็เป็นพันธมิตรกับยูเครน ทำให้ต้องมีการเจรจาระหว่ารัสเซียและยูเครนหลายครั้ง ซึ่งบอก์ดานบางทีก็ตำหนิรัสเซียและบอกว่ากษัตริย์สวีเดนดีและซื่อสัตย์กว่าเยอะ แต่ว่าสงครามที่รายล้อมยูเครนในเวลานั้นทั้งด้านโปแลนด์ และตาตาร์ในไครเมียที่เตรียมโจมตียูเครน ทำให้เขาเลี่ยงไม่ได้ที่จะอยู่กับรัสเซียแม้ว่าจะเย็นชาเข้าหากันบ้าง
1657 22 กรกฏาคม บอก์ดานมีอาการป่วยด้วยโรคเลือดออกใต้เยื่อหุ้นสมอง (Hemorrhage) และไม่กี่วันต่อมาก็เสียชีวิต ในเวลาตีห้าของเช้าวันที่  27 กรกฏาคม 1657
23 สิงหาคม มีพิธีศพของเขา และอัษฐิถูกนำกลับไปไว้ที่เมืองชูไฮริน ในหมู่บ้านสุโบตีฟ บ้านเกิดของเขา 
1664 สเตฟาน ซาร์เนียคกิ (Stefan Czarniecki) นายทหารที่มีอำนาจมากคนหนึ่งของโปแลนด์ ยึดเมืองสุโบตีฟ ได้สั่งให้นำอัษฐิของบอก์ดาน มาทำการสาปแช่งและทำลาย
บอก์ดาน ได้รับการยอมรับว่าเป็นฮีโร่ และบิดาแห่งยูเครน บทบาทของเขามีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจในยุโรปตะวันออก ในรัสเซียเขาก็ได้รับการนับถือว่าเป็นผู้นำยูเครนมารวมกับรัสเซีย
/* 
Crown หมายถึงที่เกี่ยวกับโปแลนด์
Hetman ตำแหน่งผู้นำกองทัพ รองจากพระมหากษัตริย์ 
Starosta ตำแหน่งผู้ว่าการหรือผู้ปกครองที่มีอำนาจสูงสุดในพื้นที่
*/
Don`t copy text!