Life is filled with unanswered questions, but it is the courage to seek those answers that continues to give meaning to life. You can spend your life wallowing in despair, wondering why you were the one who was led towards the road strewn with pain, or you can be grateful that you are strong enough to survive it.

ชีวิตนั้นเต็มไปด้วยคำถามมากมายที่ไร้คำตอบ, มันต้องใช้ความกล้าในการค้นหาคำตอบที่ให้ความหมายของการมีชีวิต คุณอาจจะใช้ชีวิตติดกับความผิดหวัง และสงสัยว่าทำไมมีเพียงแต่คุณที่ต้องเดินไปบนถนนที่เต็มไปด้วยความเจ็บปวดเพียงลำพัง หรือคุณอาจจะรู้สึกขอบคุณตัวเองที่เข้มแขึงและยืนหยัดอยู่ได้

J.D. Stroube, Caged by Damnation

Marinus van der Lubbe

มารินัส แวน เดอ ลูบบ์ (Marinus van der Lubbe)

คอมมิวนิสต์ ผู้เผาไรซ์สแตก (Reichstag)
มารินัส เกิดเมื่อวันที่  10 มกราคม 1909 ในเมืองไรเดน (Leiden) ในจังหวัดเซาท์ฮอนแลนด์ ประเทศเนเธอแลนด์ เขาเหมือนจะมีความผิดปกติด้านจิตใจมาตั้งแต่ยังเล็ก เป็นคนที่เรียนหนังสือไม่เก่ง แต่คลั่งไคล้หลงไหลการเล่นไฟ พ่อแม่ของเขาหย่าร้างกันหลังมารินัสเกิดไม่ได้ไม่นาน และเขาเสียแม่ไปตอนอายุ 12 ปี ทำให้เขาเติบโตมาในครอบครัวของพี่สาว 
พออายุได้ราว 20 ปี ได้เริ่มทำงานเป็นช่างก่อสร้าง โดยถูกเรียกเล่นๆ ว่า Dempser ตามชื่อของนักมวย Jack Dempsey ด้วยเพราะเขามีบุคลิกที่เข้มแข็ง ระหว่างที่ทำงานอยู่นี้เองทำให้เขาได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับเครื่อข่ายเคลื่อนไหวของกรรมาชีพ 
1925 เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนเธอแลนด์ (Dutch communist Party) และยังได้เข้าร่วมกับสันนิตบาตยุวชนแห่งดัชต์ (General Dutch Youth Leage) ซึ่งทำงานสัมพันธ์กันกับพรรคคอมมิวนิต์
1926 ประสบอุบัติเหตุระหว่างทำงานก่อสร้าง เมื่อเศษหินกระเด็นเข้าตา ทำใ้หเขาต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลกว่าห้าเดือน จนต้องตกงานและยังชีพอยู่ได้ด้วยเงินประกันสังคม เพียงอาทิตย์ละ 7.44 กริลเดอร์ 
1927 เขาทะเลาะกับพี่สาว ทำให้ตัดสินใจออกจากบ้านและเดินทางไปยังเมืองไรเดน เข้าทำงานในโรงงานเทียลมานน์ (Tielmann factory) ซึ่งที่เมืองนี้มารินัส ได้เริ่มเรียนภาษาเยอรมัน และก่อตั้ง Lenin house ซึ่งเขาใช้เป็นที่นัดพบปะทางการเมือง , ระหว่างนี้เกิดการประท้วงของแรงงานหลายหนโดยที่มารินัส มักอ้างความรับผิดชอบแทนเพื่อนคนอื่นๆ เสมอ
ช่วงเวลานี้เขายังเดินทางท่องเที่ยวไปทั่วยุโรป และพยายามจะขอเข้าไปอาศัยในโซเวียตแต่ว่าถูกปฏิเสธ
1930 ถูกจับขังคุกเป็นเวลาสองเดือน ข้อหาทำลายกระจกอาคาร
1931 ออกจากพรรคคอมมิวนิสต์ เพราะว่าปัญหาความขัดแย้งกับสมาชิกพรรคที่เป็นผู้แทนในรัฐสภา ที่ไม่ชอบการเคลื่อนไหวที่รุนแรงของมารินัส
ทำให้เขาไปอยู่กับกลุ่ม International Communist Group แทน
1933 เขาหลบหนีเข้าไปเยอรมันและไปเคลื่อนไหวกับคอมมิวนิสต์ที่นั้นอย่างลับๆ โดยทางการบันทึกว่าเขาเกี่ยวข้องกับการลอบวางเพลิงหลายครั้ง เขาพยายามต่อต้านการมีอำนาจของพรรคนาซี 
27 กุมภาพันธ์ เมื่ออาคารรัฐสภาของเยอรมันถูกเผา มารินัสถูกจับตัวได้ในที่เกิดเหตุทันที เขายอมรับว่าเป็นผู้วางเพลิงรัฐสภา แต่ปฏิเสธว่าไม่มีสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เกี่ยวข้อง เขาทำไปด้วยความตั้งใจของตนเอง
แต่อย่างไรก็ตามเหตุการณ์นี้ทำให้แกนนำของพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมันหลายคนถูกจับตัวด้วย
23 ธันวาคม ศาลสูงสุดของเยอรมันตัดสินลงโทษประหารชีวิตเขา
1934 10 มกราคม ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยติน  เพียงสามวันก่อนอายุครบ 25 ปี  เขาถูกนำไปฝังที่สุสานในเมืองลิปซิก (South cemetary, Leipzig)
1967 34 ปี ต่อมา ศาลของกรุงเบอร์ลิน (Berlin District Court) ได้มีการตัดสินคดีใหม่ และแก้คำสั่งประหารชีวิต เป็นการลงโทษจำคุกเป็นเวลา 8 ปี แต่ว่ามีการอุทรณ์คดีนี้ต่อมาอีกหลายปี
1980  ศาลของเยอรมันตะวันตก ยกเลิกคำตัดสินในยุคนาซีทั้งหมด แต่ก็ถูกอัยการของรัฐประท้วง
2008 ศาลสหพันธ์ของเยอรมัน (Federal Court of Justice of Germany) ยกเลิกคำสั่งประหารชีวิต โดยอาศัยกฏหมาย Nazi Injustic Judgments Repeal Act ในปี 1998 ที่เห็นว่าการตัดสินในยุคของนาซี เป็นเพราะแรงจูงใจทางการเมือง
Don`t copy text!