ปิแอร์ โจเซฟ ปรัวดอน
อนาร์ไคสต์ (Anarchist) คนแรก
ปรัวดอน เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 1809 ในเมืองเบซานโคน (Besancon) ทางตะวันออกของฝรั่งเศส พ่อของเขาเป็นคนปรุเบียร์และช่างทำถังหมัก ชื่อ คลูด์ ฟรานเซียส ปรัวดอน (Claude Francios Proudhon) และแม่ชื่อว่า แคทเธอรีน (Catherine Simonin) พวกเขามีลูกด้วยกันห้าคน แต่ว่าเสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็กไปสองคน ปรัวดอนจึงเป็นลูกชายคนโตที่สุด และมีน้องชายอีกสองคน
วัยเด็กของเขาไม่ได้เข้าเรียนหนังสือในโรงเรียน แต่ว่าได้รับการสอนจากแม่ เขาเริ่มอ่านหนังสือได้ตั้งแต่อายุ 3 ขวบ
1820 เข้าเรียนหนังสือที่วิทยาลัยในเบซานโคน แต่ว่าการเรียนค่อนข้างลำบากเพราะว่าครอบครัวมีฐานะที่ยากจน แม้ว่าจะได้รับทุนการศึกษาปีละ 120 ฟรังค์
1827 เริ่มทำงานในสำนักพิมพ์ The house of Bellevaux ก่อนที่ปีต่อมาเขาจะบ้ายไปยังสำนักพิมพ์แห่งหนึ่งในเบซานโคน ซึ่งครอบครัวของเพื่อนของเขา ที่ชื่อ Antoine Gauthier เป็นเจ้าของ โดยผลงานเขียนของปรัวดอน ในตอนนี้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องทฤษฏีเกี่ยวกับศาสนาคริสต์และโบสถ์ (Ecclesiastical) ซึ่งพยายามอธิบายเรื่องที่มาของโบสถ์และบทบาทของโบสถ์ต่อสังคม
1829 เขาได้รับอิทธิพลจากผลงานเขียนของชาร์ล ฟูเรียร์ (Charles Fourier) เรื่อง The New Indestrial and Coopperative Wolrd (Le Nouveau Monde Industriel et Sociétaire) ทำให้เขาเปลี่ยนความสนใจจากเรื่องราวของศาสนามาให้ความสนใจกับสังคมวิทยา ทั้งคู่ได้พบกันเพราะว่าฟูเรียร์เอาผลงานเขียนของเขามาที่สำนักพิมพ์เพื่อให้พิมพ์เป็นหนังสือให้ และปรัวดอนในเวลานั้นก็รับผิดชอบดูแลการพิมพ์ให้ ทำให้ทั้งคู่ได้มีโอกาสพูดคุยกัน
Fallout
1830 เขาออกเดินทางไปหลายเมืองในฝรั่งเศส เพื่อหางานทำโดยตั้งการงานในสำนักพิมพ์หรือไม่ก็เป็นครู ตอนนี้เขามีฐานะที่ยากลำบาก แต่ว่ายังได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากฟอลลอท ที่ยื่นเงื่อนไขให้เขาเดินทางมาปารีส เพื่อเรียนปรัญชา ซึ่งปรัวดอนตอบรับข้อเสนอ โดยที่เขาเดินเท้าจากบ้านในเบซานโคนมายังปารีส
1838 ประสบความล้มเหลวในการลงทุนธุรกิจการพิมพ์
1840 เขาพิมพ์ผลงานของตัวเองเรื่อง What is Property? (Qu’est-ce que la propriété) โดยหนังสือมีเนื้อหาโจมที่ความไม่เท่าเทียมและความอยุติธรรมในสังคม เขาประกาศว่า ทรัพย์สินคือขโมย (property is theft) ปรัวดอนเห็นว่าที่ดินควรจะถูกครอบครองได้เฉพาะส่วนที่ถูกใช้ และที่ดินที่ไม่ได้ใช้ไม่ควรจะเป็นทรัพย์สินของใคร ยิ่งคนร่ำรวยมีเสรีภาพในการครอบครองที่ดินมากเท่าไหร่ พวกเขาก็จะกีดกันไม่ให้คนยากจนมีเสรีภาพในการครอบครองที่ดิน สังคมที่ต้องการเสรีภาพจึงไม่ควรให้สิทธิใครครอบครองที่ดิน
หนังสือเล่มนี้เขาอธิบายความหมายของอนาธิปไตย (Anarchy) เอาไว้ว่า “ไร้ศึกผู้ปกครอง,แห่งรัฐ (The Absence of a master, of a sovereign)”
1842 ถูกจับเพราะมีความเห็นทางการเมืองแบบหัวรุนแรง แต่ว่าต่อมาศาลได้สั่งให้ปล่อยตัว
1843 เข้าร่วมกับสมาคมลับๆ ของแรงงาน ชื่อกลุ่มว่า ลีออน (Lyons Mutaulists) ซึ่งช่วงนี้ปรัวดอนจึงได้พัฒนาทฤษฏี Mutualism ขึ้นมา ซึ่งปรัวดอนอธิบายว่า ราคาของสินค้าที่แท้จริง นั้นขึ้นกับจำนวน(ชั่วโมง) แรงงานที่ใช้ในการผลิตสินค้านั้น , ปรัวดอนบอกว่าแรงงานทุกคนควรถูกมองว่ามีประสิทธิภาพในการผลิตที่เท่าเทียมกัน ดังนั้นแรงงานทุกคนควรได้รับค่าจ้างในอัตราเดียวกัน
1846 พิมพ์ The Systems of Economic Contradiction, or The Philosophy of Poverty? ซึ่งหนังสือเล่มนี้เป็นแรงบันดาลใจให้กับ คาร์ล มาร์ซ (Karl Marx) ในการเขียน The Poverty of Philosophy ออกมาในปีถัดมา ซึ่งมาร์ซกับปรัวดอน นั้นมีความเห็นที่ขัดแย้งกัน
ในช่วงนี้เขาเริ่มทำธุรกิจการพิมพ์เล็กๆ อยู่ในเบซานโคน แต่ว่าก็ไม่ประสบความสำเร็จ
1847 ย้ายมาอยุ่ในปารีส ช่วงเวลานี้ได้เข้าร่วมกับฟรีเมสัน (Freemason)
1848 กุมภาพันธ์ ,เกิดการปฏิวัติในฝรั่งเศส (Frech Revolution 1848) ในเดือนในตอนนี้เขามีชื่อเสียงมากในฐานะนักคิด และมีผลงานเขียนลงในหนังสือพิมพ์ต่างๆ ถึง 4 ฉบับ ได้แก่ Le Representant du Peuple , Le Peuple, La Voix du People, Le Peuple de 1850
, หลังจากนั้นเดินเมษายน ปรัวดอนได้ลงสมัครเพื่อที่จะเข้าเป็นคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (constituent assmbly) แต่ว่าเขาไม่ได้รับเลือก
มิถุนายน ได้รับเลือกให้ทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยของ National Workshops ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ว่างงาน โดยให้เงินแก่คนเหล่านั้น แม้ว่าจะเป็นจำนวนไม่มาก แต่ไม่นานองค์กรนี้ก็ถูกยกเลิก และเกิดการประท้วงของใหญ่อีกครั้ง (June Days Uprising)
1849 พิมพ์ผลงานเรื่อง Confession of a Revolutionary
เขาเป็นคนแรกที่ประกาศตัวเองว่าเป็นอนาร์ไคสต์ ว่า “ใครก็ตามที่คิดจะปกครองกู, มันผู้นั้นเห็นแก่ตัวและเป็นทรราชย์, และกูขอประกาศว่ามันเป็นศัตรู (Whoeve lays his hand on me to govern me is a usuper and tyrant, and i declare him my enemy”
1851 General Idea of the Revolution in the 19th Century เขาเรียกร้องสังคมที่ปัจจากผู้มีอำนาจในการปกครองอย่างสิ้นเชิง
1854 ป่วยด้วยการติดเชื้ออหิวาต์ (chelera) แต่ว่าสามารถรอดชีวิตมาได้ แต่ก็ทำให้สุขภาพของเขาไม่แข็งแรงดังเดิม
1858 Justice in the Revolution and in the Church
1863 Principle of Federation หนังสือเล่มนี้เขาเสริมว่าความเป็นชาติ และชาตินิยมนั้นรังแต่จะนำสู่สงคราม เขาสนับสนุนให้รวมประเทศในยุโรปเป็นสหพันธ์ เขาอ้างว่าเป็นสิ่งเดียวที่จะรับรองเสรีภาพให้กับทุกคน โดยที่ไม่ต้องมีทหาร ไม่ต้องมีพระ
1864 มีการก่อตั้ง International Working Men’s Association ซึ่งปรัวดอน และผู้สนับสนุนของเขา มีความคิดที่ขัดแย้งกับ มาร์ซ และบาคุนิน (Mikhail Bakunin)
1865 19 มกราคม เสียชีวิตในปารีส อายุ 56 ปี และถูกฝังที่สุสาน Montparnasse
- What is Property? (Qu’est-ce que la propriété) , 1840
- Warning to Proprietors (), 1842
- The Systems of Economic Contradiction, or The Philosophy of Poverty? (Système des contradictions économiques ou Philosophie de la misère ) , 1846
- Solution of the Social Problem (), 1849
- General Idea of the Revolution in the 19th Century (Idée générale de la révolution au XIXe siècle), 1851
- The Manual of the Stock Exchange Speculator (Le manuel du spéculateur à la bourse ), 1853
- Justice in the Revolution and in the Church (De la justice dans la révolution et dans l’Eglise ) , 1858
- War and Peace (La Guerre et la Paix ), 1861
- Principle of Federation (Du principe Fédératif), 1863
- Of the Political Capacity of the Working Class (De la capacité politique des classes ouvrières), 1865
- Theory of Propety (Théorie de la propriété), 1866
- Theory of the Constitutionalist Movement (Théorie du mouvement constitutionnel ), 1870
- The Principle of Art (Du principe de l’art ), 1875
- Correspondences , 1875