Numquam prohibere somniantes 

Never stop dreaming

Alexander II Liberator

อเล็กซานเดอร์ นิโคไลเยวิช (Александр II Николаевич )
             The Liberator (Освободитель)
พระองค์เป็นพระโอรส องค์โตของพระเจ้าซาร์ นิโคลัส ที่ 1 (Nicholas I) กับพระมารดาคือ อเล็กซานดร้า ฟีโอโดรอฟน่า (Aleandra Feodorovna, Charlotte of Prussia) 
อเล็กซานเดอร์ ที่ 2 ประสูติเมื่อวันพุธที่  29 เมษายน 1818 (17 เมษายน ปฏิทินเดิม) ภายในวิหารชูดอฟ ( Chudov monastery) ในพระราชวังเครมลิน ในมอสโคว์ 
เมื่อทรงพระเยาว์ทรงได้รับการศึกษาจากอาจารย์ที่มาสอนให้ถึงภายในวัง โดยได้ทรงเรียนภาษารัสเซียจาก วลาดิมีร์ ซูคอฟสกี (Vladimir A. Zhukovsky)
1834 23 เมษายน ได้รับการสถาปนาเป็นมงกุฏราชกุมาร  , หลังจากนั้นได้เริ่มทำงานในสภาซึเนต (Governing Senate) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดในการบริหารและทำหน้าศาลสูงสุด 
1836 ได้รับยศพลเอกในกองทัพรัสเซีย 
1837 ทรงออกเดินทางท่องเที่ยวเป็นเวลาสามเดือน  โดยทรงเสด็จไปในหลายเมืองของยุโรป และได้เสร็จยังแถบคอเคซัส และไซบีเรียตะวันตก อเล็กซานเดอร์ เป็นซาร์พระองค์แรกของรัสเซีย ที่เคยเดินทางไปเยือนแถบไซบีเรีย
1841 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกของสภาสูง (State Council)
อภิเษกกับเจ้าหญิงแมรี่ (Pricess Marie of Hesse) ต่อมาทั้งคู่มีโอรสและธิดาด้วยกันรวมแปดคน เป็นโอรส 6 คน และพระธิดา 2 คน 
1855 หลังการสวรรคตของซาร์นิโคลัส  ที่ 1 , ขณะนั้นอเล็กซานเดอร์ มีพระชนพรรษาได้ 36 ปี   , ซึ่งการขึ้นของราชย์ของพระองค์ต้องเผชิญกับปัญหาสงครามไครเมีย (Crimean War, 1853-1856) ซึ่งเกิดขึ้นมาตั้งแต่ซาร์นิโคลัส  พระราชบิดา ซึ่งรัสเซีย ต้องทำสงครามกับพันธมิตรระหว่างอังกฤษ ฝรั่งเศส ออกโตมาน และการแพ้ในการรบที่เซวาสโตโพล (Sevastopol) บังคับให้รัสเซียต้องพยายามเจรจาสันติภาพ 
1856 30 มีนาคม (18 มีนาคม) รัสเซียลงนามในสนธิสัญญากรุงปารีส (Treaty of Paris) เพื่อยุติสงคราม แต่มีผลกระทบทำให้รัสเซียสูญเสียดินแดนในบัลค่าน (Balkans) และเรือรบของรัสเซียถูกห้ามไม่ให้เข้าไปยังทะเลดำ
หลังจากนั้นช่วงฤดูใบไม้ผลินี้ได้เสด็จไปยังฟินแลนด์ โปแลนด์ เยอรมัน ซึ่งในเบอร์ลิน อเล็กซานเดอร์ได้มีโอกาสพบกับกษัตริย์เฟรดริช  ที่ 4 แห่งปรัสเซีย (Friedrich Wilhelm IV , of Prussia) ซึ่งเป็นปิตุลา (ลุง, พี่ชายของอเล็กซานดร้า) ของพระองค์ ซึ่งทั้งสองประเทศได้ทำข้อตกลงลับๆ เพื่อช่วยให้รัสเซียพ้นจากการถูกโดดเดี่ยวจากประเทศอื่นในยุโรป
7 กันยายน (26 สิงหาคม) , มีการจัดพิธีบรมราชาภิเษก แก่อเล็กซานเดอร์  ในวิหารอัสสัมชัน (Assumption Cathedral) ในพระราชวังเครมลิน โดยที่บาทหลวงฟิลาเรต (Filaret , Metropolitan of Moscow and Kolomna) เป็นผู้ที่สวมมงกุฏกษัตริย์ให้ ในขณะที่อเล็กซานเดอร์ นั่งอยู่บนบัลลังค์งาช้างของซาร์อีวาน ที่ 3
1857 ทรงตั้งคณะกรรมลับเพื่อศึกษาปัญหาเกษตรกร (secret Committee on Peasant Affairs, секретный Комитет по крестьянским делам) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานภาคการเกษตร โดยให้มีการตั้งองค์การบริหารในแต่ละท้องถิ่น และมีคณะกรรมการที่เป็นชาวนา เพื่อให้พวกเขาช่วยกันเสนอแผนในการยกเลิกการใช้ทาส 
1858 คณะกรรมการลับถูกเปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการเพื่อการ (Main committer on the device of the rural population, Главный комитет по устройству сельского населения)
1861  3 มีนาคม (19 กุมภาพันธ์) อเล็กซานเดอร์ ที่  2 ลงพระปรมาภิไท ในกฏหมายประกาศเลิกทาส (Menifesto of abolishing serfdom) และกฏหมาย (situation of the peasants emerging from serfdom) ในเวลานั้นรัสเซียเป็นประเทศสุดในท้ายยุโรปที่ทำการเลิกทาส กฏหมายดังกล่าวมีความยาวกว่า 400 หน้า ซึ่งรัสเซียมีทาสในเวลานั้นกว่า 22 ล้านคน ที่ได้รับความเป็นไท กฏหมายสองฉบับนี้กำหนดให้กรรมสิทธิในที่ดินเป็นของเจ้าของทาส โดยที่อดีตทาสเหล่านั้นต้องทำงานเป็นค่าตอบแทนแก่เจ้าของที่ดินแทนถ้าจะอยู่ในที่ดินนั้น หรือขอเช่าที่ดินจากเจ้าของที่ดิน  แต่ว่ากฏหมายนี้ได้รับการตอบรับในด้านลบจากทาสในยุคนั้นเพราะว่าความต้องการของพวกที่ อยากได้ทั้งอิสระภาพและที่ดิน พวกเขาเห็นว่าถ้าไม่ได้ที่ดินด้วย พวกเขาก็ต้องทำงานในที่ดินของเจ้าของที่ดินต่อไปซึ่งสถานะก็ไม่ต่างอะไรจากเดิม และกฏหมายนี้ยังส่งผลให้เจ้าของที่ดินเดิมปรับราคาที่ดินปรับตัวสูงขึ้นมาก ทำให้ทาสที่ได้รับอิสระภาพไม่สามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้
1863 22 มกราคม เกิดการประท้วงในโปแลนด์ (January Uprising) เริ่มจากการที่วัยรุ่นชาวโปแลนด์ไม่ต้องการที่จะถูกเกณฑ์ทหารเพื่อเป็นทหารในกองทัพรัสเซีย ซึ่งต่อมาเจ้าหน้าที่ระดับสูงของโปแลนด์ได้เข้าร่วมด้วย จนกลายเป็นสงครามแบบกองโจร และรัสเซียต้องส่งกำลังเข้าปราบปรามซึ่งกินเวลานานกว่า 18 เดือน มีผู้ก่อจราจลถูกประหาร 128 คน และอีกหลายหมื่นคนถูกสั่งให้ย้ายไปอยู่ในพื่นที่อื่น  ชาวโปลหลายพันนายถูกจับส่งไปยังไซบีเรีย แต่ก็ทำให้รัสเซียต้องลดความเข้มงวดในการครอบงำโปแลนด์ลง
1864 การปฏิรูปเซมสต์โว่ (Zemstvo Reform) , 1 มกราคม อเล็กซานเดอร์ ตรากฏหมายการปฏิรูปที่สำคัยอีกฉบับหนึ่งในรัชสมัยของพระองค์ คือการให้อำนาจแก่ท้องถิ่นในการมีรัฐบาลของตัวเอง เซมสต์โว่ (Zemstvo~ Local government) โดยที่ประชาชนเป็นผู้ออกเสียงเลือกผู้แทนของตัวเอง มาทำหน้าที่ในการเก็บภาษีและบริหาร แต่น้ำหนักของเสียงโหวตยังแบ่งเป็นของกลุ่มชนชั้นต่างๆ ที่ยังไม่เท่ากัน 
1866 พระองค์พบกับ เจ้าหญิงแคทเธอรีน (Princess Catherine Dolgurokuva) ซึ่งมีอายุเพียง 18 ปี ทั้งคู่มีความสัมพันธ์กันนานหลายปีก่อนที่จะได้แต่งงานกัน
4 เมษายน , ขณะที่อเล็กซานเดอร์ อยู่ในสวนซัมเมอร์การ์เดน  (Summer Garden) ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ได้มีผู้ร้ายชื่อ ดมิทรี การาโกซอฟ (Dmitry Karakozoa) ใช้อาวุธปืนยิงพระองค์ แต่ว่ากระสุนนัดแรกพลาดไป และอเล็กซานเดอร์ได้พยายามหนี และการาโกซอฟ ไล่ตามยิง แต่ว่ามีชาวนาชื่อโอซิฟ (Osip Komissarov) ได้เข้ามาช่วยปัดมือที่กำลังเหนี่ยวไกของการาโกซอฟ ทำให้อเล็กซานเดอร์รอดชีวิตมาได้
1867 อเล็กซานเดอร์ ขายดินแดนอลาสก้า ให้กับสหรัฐอเมริกา ด้วยเงินเพียง 7 ล้านเหรียญ หลังจากคิดว่าคงไม่สามารถปกป้องดินแดนดังกล่าวจากอังกฤษและแคนนาดาได้
25 พฤษภาคม , อเล็กซานเดอร์เสด็จงาน World Expo ในกรุงปารีส แอนตัน เบเรซอฟสกี (Anton Berezovsky) ชาวโปแลนด์  ใช้อาวุธปืนยิงพระองค์แต่กระสุนพลาดไปถูกม้า 
1876 บัลกาเรีย (Bulgaria) ลุกฮือขึ้นขับไล่ชาวเติร์ก ทำให้รัสเซียต้องประกาสสงครามกับอ๊อตโตมานในปีต่อมาเพื่อช่วยเหลือบัลกาเรีย ซึ่งรัสเซียก็ต้องสูญเสียทหารไปกว่า 200,000 นาย  แต่ผลของสงครามนี้ ทำให้บัลกาเรียซึ่งตกอยู่ในครอบครองของอ๊อตโตมานนานกว่า 500 ปี กลายเป็นประเทศขึ้นมาอีกครั้ง แต่อเล็กซานเดอร์ได้รับความชื่นชมในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งประเทศนี้
1879 14 เมษายน (2 เมษายน) , อเล็กซานเดอร์ โซลอฟยอฟ (Alexander Solovyov) พยายามที่จะปลงพระชนม์ซาร์อเล็กซานเดอร์ ระหว่างที่พระองค์เสด็จออกมาจากพระราชวังฤดูหนาวในช่วงเช้า ซึ่งเป็นกิจวัตรประจำวัน , โซลอฟยอฟให้กระสุนถึงสี่นัดยิงไปที่ซาร์อเล็กซานเดอร์แต่ว่ากระสุนพลาดเป้าหมด และเมื่อทหารพยายามจับตัวเขา เขาก็ได้กินไซยาไนด์เพื่อพยายามฆ่าตัวตาย แต่ว่าแพทย์รักษาชีวิตเขาเอาไว้ได้ ต่อมาหลังการสอบสวน โซลอฟยอฟ จึงถูกประหารชีวิตในวันที่ 9 มิถุนายน (28 พฤษภาคม) 
19 พฤศจิกายน กลุ่มนาร็อคนาย่า โวลย่า (Narodnaya Volya, People’s Will)  พยายามจะวางระเบิดสถานีรถไฟส่วนพระองค์ของอเล็กซานเดอร์ในมอสโคว์ แต่ว่าขบวนรถไฟที่พระองค์เสด็จมาถึงสถานีช้ากว่ากำหนดเพราะเครื่องยนต์ขัดข้อง แต่ว่าการระเบิดที่สถานีรุนแรงมาก แต่ว่าไม่มีผู้เสียชีิวต
1880 หลังจากซาริน่า แมรี่ สิ้นพระชนม์เพียงไม่กี่เดือน อเล็กซานเดอร์ก็เข้าพิธีอภิเษกใหม่กับเจ้าหญิงแคทเธอรีน  ทั้งคู่มีโอรสธิดาด้วยกันถึง 4 คน 
กุมภาพันธ์ ทรงประกาศว่าจะทรงมอบรัฐธรรมนูญให้กับประชาชน แต่ว่าพระองค์ทำไม่สำเร็จก่อนที่จะสิ้นพระชนม์
17 กุมภาพันธ์ , เกิดระเบิดบริเวณชั้นล่างภายในห้องเสวยในพระราชวังฤดูหนาว ทำให้มีผู้เสียชีวิต 67 คน แต่ว่าในขณะนั้นซาร์อเล็กซานเดอร์ประทับอยู่ที่ชั้นสาม ยังไม่ได้ลงมาทำให้พระองค์รอดชีวิตมาได้  โดยผู้ที่วางระเบิดคือสเตปาน คาลตุริน (Stepan Khalturin) สมาชิกของกลุ่มนาร็คนาย่า โวลย่่า
1881 13 มีนาคม  (1 มีินาคม) กลุ่มก่อการร้าย นาร็อคนายา โวลย่า พยายามจะลอบปลงพระชนม์พระองค์อีก 
โดยเวลา 2.25 PM รถพระที่นั่งของอเล็กซานเดอร์ไปตามถนนในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ผ่านสะพานโนโว-โคนูเชนนี ก็มีกลุ่มคนร้ายขว้างระเบิดเข้าใส่รถพระที่นั่ง  อเล็กซานเดอร์ไม่ได้รับบาดเจ็บจากระเบิดลูกแรก แต่ได้ทรงดำเนินออกจากรถพระที่นั่งเพื่อทอดพระเนตรทหารองค์รักษที่โดนระเบิด แต่ว่าผู้ก่อการร้ายได้ขว้างระเบิดอีกลูกมาที่พระองค์ ทำให้พระองค์ได้รับบาดเจ็บสาหัส 
3:35 PM สิ้นพระชนม์ในพระราชวังฤดูหนาว 
หนึ่งในคนร้ายที่ร่วมสังหารพระองค์ชื่ออิกนาซี กริเนียเวียตสกี (Ignacy Gryniewietsky) เสียชีวิตในวันเดียวกันเพราะถูกระเบิด สะพานบริเวณที่อเล็กซานเดอร์ถูกระเบิด ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นสะพานกริเนียเวียตสกี ในปี 1975
15 มีนาคม  มีพระราชพิธีเพลิงพระศพ ภายในวิหารเซนต์ปีเตอร์แอนด์พอล ( St.Peter and Paul Cathedral)
 
วันเดียวกันกับที่ซาร์อเล็กซานเดอร์จะสิ้นพระชนม์ พระองค์มีกำหนดที่จะลงนามในร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญ  Loris-Melikov constitution ซึ่งอาจจะกลายเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของรัสเซีย แต่ว่าหลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ , อเล็กซานเดอร์ ที่ 3 (Alexander III) ภายใต้อิทธิพลของคอนสแตนติน โปเบโดนอสต์เซฟ (Konstantin Pobedonostsev) ได้ปฏิเสธร่างกฏหมายดังกล่าว 
Don`t copy text!