Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Ilya Mechnikoff

อิลย่า เมชนิคอฟ (Илья ильич Мечников)

นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลจากการศึกษาระบบภูมิคุ้มกัน , ผู้ริเริ่มโบรไบโอติค (Probiotic)
 เมชนิคอฟ เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 1845 ในหมู่บ้านอิวานอฟก้า คาร์คอฟฟ์ (Ivanovka village,Khakoff ปัจจุบันอยู่ในยูเครน) จักรวรรดิรัสเซีย  พ่อของเขาชื่อว่า อิลย่า (Ilya Mechnikov) เป้นนายทหาร ส่วนแม่ชื่อ อิมิเลีย (Emilia Nevakhovich) แม่ของเขามีเชื้อสายยิว ซึ่งพ่อของเธอ (ตาของเมชนิคอฟ) คือ เลฟ เนวาโควิช (Lev Nevakhovich) เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มฮาสกาล่า (Haskala movement) 
เมชนิคอฟ เริ่มเข้าเรียนที่โรงเรียนในคาร์คอฟฟ์ ซึ่งตอนเด็กเขาสนใจวิชาประวัติศาสตร์ธรรมชาติ  การศึกษาต้นไม้ และภูมิศาสตร์
เข้าเรียน
1863 แต่งงานกับลุดมิล่า ฟีโอโดโรวิตช์  (Ludmila Feodorovitch) เขาพบกับเธอตอนที่ไปอยู่ที่เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ตอนนั้นเธอมีอาการป่วยด้วยวัณโรค และต้องนั่งรถเข็นเวลาที่จะไปโบสถ์ 
1864 เรียนจบที่มหาวิทยาลัยคาร์คอฟ (University of Kharkoff) สาขาวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติวิทยา ซึ่งระหว่างที่เรียนเขาได้ออกไปทำวิจัยสิ่งมีชีวิตในทะเล บริเวณเฮลิโกแลนด์ (Heligoland) ในทะเลเหนือ  , หลังจากเรียนจบได้เดินทางไปศึกษาต่อมาเรียนที่มหาวิทยาลัยกิสเซน (University of Giessen) มหาวิทยาลัยกอตตินเจน (University of Gottingen) สถาบันมิวนิค (Munich Academy)
1867 เดินทางกลับรัสเซีย และได้รับแต่งตั้งเป็นอาจารย์ (docent) ที่มหาวิทยาลัยโนโวรอสซิย่า (Imperial Novorossiya University , ปัจจุบัน Odessa University) ซึ่งเพิ่งก่อตั้งขึ้นได้สองปี 
ไม่นานหลังจากนั้นย้ายไปสอนที่มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก
1870  เดินทางกลับมายังมหาวิทยาลัยโนโวรอสซิย่า โดยได้รับตำแหน่งศาสตร์จารย์ (Titular Professor) ภาควิชาสัตววิทยา 
ระหว่างนี้เขาเริ่มสนใจการศึกษาเกี่ยวกับจุลินทรีย์ และระบบการสร้างภูมิคุ้มกัน (immune system) ของสิ่งมีชีวิต
1873 20 เมษายน ภรรยาของเขา, ลุดมิล่า เสียชีวิต … เมชนิกอฟฟ์ เสียในมากจนพยายามฆ่าตัวตายด้วยการกินฝิ่นจำนวนมาก แต่ว่าเขาไม่ตาย
1875 แต่งงานใหม่กับโอลก้า เบโลโกปุโตว่า (Olga Belokopytova
1880 โอลก้า ป่วยหนักด้วยไทฟอยด์ , ส่วนเมชนิกอฟฟ์ ก็ล้มป่วยตาม จนเขาพยายามจะฆ่าตัวตายอีก แต่ว่าเมื่อรอดมาได้เขาจึงได้เปลี่ยนใจมาศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุของโรคและสมมุติฐานว่ามันอาจจะแพร่กระจายโดยเลือด 
1882 ลาออกจากมหาวิทยาลัย เขาหันมาทำงานวิจัยของตัวเอง โดยที่เขาได้สร้างห้องทดลองขึ้นที่เมืองเมซซิน่า บนเกาะซิสิลี (Messina, Sicily island) ในอิตาลี เพื่อศึกษาการเปลี่ยแปลงของเอ็มบริโอ (embryology) ซึ่งทำให้เขาเป็นผู้ค้นพบปรากฏการณ์ฟาโกไคโตซิส (Phogocytosis กระบวนการที่เซลล์รับเอาสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกเข้าหรือออกจากเซลล์) จากการศึกษาปลาดาวที่ยังไม่โตเต็มวัย ทำให้เขาตั้งสมมุติฐานว่า เซลล์เม็ดเลือดขาวของมนุษย์ สามารถทำงานเพื่อต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่ไม่พึงประสงค์ได้เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับแบคทีเรีย ซึ่งสมมุติฐานของเขาถูกนำไปศึกษาต่อโดยนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่น อย่างหลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur)
เมชนิคอฟ มีโอกาสได้ร่วมทำงานร่วมกับ อีมิลี รอกซ์ (Emile Roux) ซึ่งทั้งคู่พบว่าโรคซิฟิลิส (Syphilis) สามารถถ่ายทอดกันได้ภายในลิง  อีมิลี รอกซ์ เป็นผู้ค้นพบคาโลเมล (Calomel~ Mercury chloride)  สารเคมีที่ใช้รักษาซิฟิลิสในตอนนั้น
1886 กลับมาที่โอเดสสา โดยทำหน้าที่ผู้อำนวยการของสถาบันซึ่งนำวัคซีนต่อต้านพิษสุนัขบ้า ซึ่งหลุยส์ ปาสเตอร์ คิดค้นขึ้นมาทดลอง แต่เขาพบว่าการทดลองค่อนข้างลำบาก เพราะเขาไม่ใช่แพทย์โดยตรง ทำให้เขาเดินทางไปหาหลุยส์ ปาสเตอร์ในเวลาต่อมาเพื่อขอคำแนะนำ 
1888 เดินทางไปปารีส และได้ทำงานกับหลุยส์ ปาสเตอร์ ที่สถาบันสถาบันหลุยส์ปาสเตอร์ (Pasteur Institue) ซึ่งเขาทำงานอยู่ที่นี้จนชั่วชีวิต และมีผลงานวิจัยที่การศึกษาเกี่ยวกับภูมิคุ้นกันพิมพ์ออกมาขณะอยู่ที่นี่ comparative pathology of inflammation (1892), L’Immunité dans les Maladies Infectieuses (Immunity in infectious diseases, 1901).
1905 ดร. สเตเมน กริโกรอฟ (Stamen Grigorov) ชาวบัลแกเรีย ค้นพบจุรินทรีย์ ซึ่งเปลี่ยนน้ำตาลแลคโตส (Lactose) ไปเป็นกรดแลคติก (Lactic acid) เขาตั้งชื่อจุรินทรีตัวนี้ว่า บาคิลลัส บัลการิคัส (Bacillus bulgaricus) ซึ่งทุกวันนี้เรารู้จักกันในชื่อแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus bulgaricus)
1908 ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ จากผลงานวิจัยเกี่ยวกับพาโกไซเตส (Phagocytes)  โดยได้รับรางวัลร่วมกับพอล เออร์ลิช (Paul Ehrlich) ซึ่งศึกษาเรื่องระบบภูมิคุ้มกันเช่นกัน
ต่อมาเมชนิกอฟ ได้สังเกตุว่าชาวบังกาเรียที่ดื่มโยเกริต์ (Kiselo Mlyako)  ทุกวันนั้นมีอายุที่ยืนยาว เขาจึงได้ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับความแก่ชรา ว่าเป็นผลมาจากแบคทีเรียที่มีพิษ (toxic bacteria) ซึ่งเปลี่ยนโปรตีนไปเป็นสารพิษอย่างแอมโมเนีย (ammonia) ฟีนอล (phenols) ทำให้เขาดื่มกรดแลคติก (lactic acid) หรือนมเปรี้ยว ทุกวันตลอดมาโดยอ้างว่าจะช่วยชะลอการแก่ชราได้  เขาเขียนงานศึกษาและทฤษฏี ของเขาลงเป็นหนังสือ Immunity in Infectious Diseases , The Nature of Man, และ The Prolongation of Life : Optimistic Studies ซึ่งนั้นทำให้กระแสการดื่มนมเปรี้ยวแพร่กระจายไปทั่วยุโรป
ซึ่งต่อมามิโนรุ ชิโรตะ (Minoru Shirota) นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ได้อ่านงานเขียของเมชนิกอฟ จึงเกิดแรงบันดาลใจในการผลิตยาคูลต์ (Yakult) ในปี 1935
1913 เริ่มป่วยด้วยโรคหัวใจ
1916 เมชนิกอฟฟ์ เสียชีวิตในวันที่ 15 กรกฏาคม ด้วยวัย 71 ในกรุงปารีส ด้วยอาการหัวใจวาย
1944 โอลก้า ภรรยาคนที่สองของเขาเสียชีวิตด้วยโรคไทฟอยด์ 
Don`t copy text!