Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

John Maynard Keynes

จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes)

เคนส์ เกิดในแคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 5 มิถุนายน 1883 พ่อของเขาชื่อจอห์น เคนส์ (John Neville Keynes) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ และเป็นอาจารย์สอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์  แม่ชื่อว่าฟลอเรนซ์ เบราน์ (Florence Ada Brown) เธอเรียนจบจากแคมบริดจ์ เคยเป็นผู้ว่าเมืองแคมบริดจ์ในปี 1832 เธอทำงานการกุศลและมีแนวคิดเชิงปฏิรูปสังคม 

เคนส์ เป็นลูกชายคนโตของครอบครัว เขามีน้องอีกสองคน ชื่อมาการเร็ต (Margaret Neville Keynes) และ กอฟฟรีย์ (Geoffrey Keynes) วัยเด็กของเคนส์นั้นเขาเรียนหนังสืออยู่ที่บ้าน ตอนสี่ขวบเขาเคยถูกถามว่า รู้จักไหมว่าดอกเบี้ยคืออะไร เคนส์ตอบว่า ตอบว่า “ถ้าผมให้คุณครึ่งเพนนี แล้วคุณเก็บมันไว้เป็นเวลานาน , คุณจะต้องคืนผมครึ่งเพนนี กับอีกจำนวนหนึ่งด้วย" 
1890  เข้าเรียนที่ The Perse School Kindergarten
1892 ย้่ายมาอยู่ที่ St. Faith’s preparatory School โดยเป็นนักเรียนไปกลับ เคนส์มีผลการเรียนในวิชาคำนวณและพีชคณิตเก่งมาก เขาเรียนหนังสือเป็นที่หนึ่งของชั้นเรียน 
1897 ได้รับทุนเข้าเรียนที่อีตัน (Eton College) 
1902 ออกจากอีตัน มาเรียนที่คิงคอลเลจ มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ (King’s college, Cambridge)  ซึ่งที่นี่เขาเข้าร่วมกับสมาคม Cambridge Apostles เป็นสมาคมลับของนักศึกษาหัวกะทิ ที่ร่วมกันอภิปรายประเด็นทางการเมืองและเรื่องต่างๆ  
1904 พฤษภาคม จบปริญญาตรีทางด้านคณิตศาสตร์ โดยได้เกียรตินิยม  แต่ว่าหลังเรียนจบยังคงใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยและเข้าเรียนทางด้านปรัชญาและเศรษฐศาสตร์
1905 มิถุนายน เข้าทดสอบ Tripos ที่คิงคอลเลจ  โดยที่เขาสอบได้อันดับที่ 12 
1906 เข้าทำงานกับ Civil Service เป็นเสมียรในสำนักกิจการอินเดีย (India Office) ในลอนดอน
1908 มิถุนายน ลาออกจากราชการและกลับไปมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์เพื่อศึกษาทฤษฏีความน่าจะเป็น (probability theory) 
1909 มกราคม เขาเริ่มทำงานสอนในแคมบริดจ์ โดยสอนอาทิตย์ละสามครั้ง 
เขียนบทความลงในนิตยสาร The Economist 
พฤษภาคม ชนะรางวัล Adam Smith Prize จากผลงานเขียนเรื่อง Index Numbers
ได้รับฐานะ Fellowship ของคิงคอลเลจ
1911 เป็นบรรณาธิการของหนังสือ Economics Journal 
1913 พิมพ์หนังสือเล่มแรก เรื่อง Indian Currency and Finance
1914 เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 
1915 มกราคม เข้าทำงานในกระทรวงการคลัง เขาช่วงงานของเซอร์จอร์จ ไพรซ์ (Sir, George Paish) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของรัฐมนตรีคลัง(Chancellor the the Exchequer ) เดวิด จอร์จ (David Lloyd George)
พฤษภาคม เรกินัล แม็คเคนน่า (Reginald McKenna) เข้าแทนที่เดวิด จอร์จในตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง ทำให้เคนส์ถูกย้ายไปรับผิดชอบภาระด้านการเงินอย่างเต็มที่ 
1919 เขาเลื่อนตำแหน่งจนกลายเป็นเจ้านห้าที่อาวุโสในกระทรวงการคลัง และเป็นตัวแทนของอังกฤษในการเข้าประชุม Versailles Peace Conference , เคนส์พยายามปกป้องเยอรมันซึ่งแพ้สงคราม ไม่ให้ถูกเรียกเก็บค่าปฏิกรรมสงครามในอัตราที่สูงมากเกินไป ซึ่งหากเยอรมันย่ำแย่ ก็เท่ากับผลักประชาชนให้เลือกใช้วิธีรุนแรง และสุดท้ายจะสงผลเสียต่อยุโรปโดยรวม  แต่แนวคิดของเคนส์ไม่ได้รับการสนับสนุนจาก เคลเมโซ (George Clemenceau) ผู้แทนของฝรั่งเศส  และ เดวิด จอร์จ ก็ไม่สนับสนุน  มีเพียง ปธน.วิลสัน (Thomas Wilson) ของสหรัฐเท่านั้นที่เห็นด้วยกับเคนส์ แต่สุดท้ายก ปธน.วิลสัน ก็ถูกโน้มนาวโดยตัวแทนของอังกฤษและฝรั่งเศส 
หลังจากกลับมาเขาลาออกจและใช้เวลาเขียนหนังสือ The Economic Consequences of the Peace หนังสือถูกวิจารณ์ในเชิงไม่เห็นด้วยอย่างมาก แต่ก็ประสบความสำเร็จที่ทำให้เคนส์ได้รับความสนใจ หนังสือเล่มนี้เคนส์เห็นว่าเยอรมันซึ่งเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ถูกเรียกร้องค่าปฏิกรรมสงครามมากเกินไป (เป็นมูลค่าเทียบเท่าทองคำหนักกว่า 1 แสนตัน หรือเกือบครึ่งของทองคำที่ถูกขุดแล้วทั่วโลก) 
1920 พฤศจิกายน ได้รับแต่งตั้งเป็น 2nd Bursar (ตำแหน่งทางด้านการเงิน bursar เป็นภาษาลาตินแปลว่า กระเป๋าตัง)ของคิงคอลเลจ ได้รับค่าตอบแทนปีละ 100 ปอนด์ 
1921 พิมพ์  Treaties on Probability เป็นผลงานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เรื่องสุดท้ายของเคนส์ 
1922 A Revision of the Treaty 
1923 เป็นประธานของ Liberal journal , The Nation  เขาเขียนบทความลงในนิตยสารหลายฉบับโจมตีนโยบายของนายกสแตนเลย์ บาลด์วิน (Stanley Baldwin) รวมถึงโจมตีเชอร์ชิลล์ ในฐานะ รัฐมนตรีคลังเพราะสองคนนี้ต้องการให้อังกฤษกับไปใช้ระบบเงินมาตรฐานทองคำ (Gold Standard) 
พฤศจิกายน  , พิมพ์หนังสือ A Tract on Monetary Reform ในหนังสือเขาเรียนร้องให้ยกเลิกระบบมาตรฐานทองคำ เขาเห็นว่าในตอนนี้การรักษาเสถียรภาพของระดับราคา มีความสำคัญมากกว่าการรักษาเสถียรภาพของค่าเงิน ดังนั้นจึงควรปล่อยค่าเงินให้ลดลง เพื่อให้สินค้าของอังกฤษสามารถขายได้ในตลาดโลก จะได้ช่วยให้เกิดการจ้างงาน … เคนส์ เปรียบมาตราฐานทองคำว่าเป็นวัตถุโบราณสมัยบาร์บาริค (In truth, the gold standard is already a barbarous relic)
 ช่วงเวลานี้ธนาคารกลางอังกฤษได้เพิ่มเงินสำรองตามกฏหมาย (Base rate) จาก 3 เป็น 4 เปอร์เซ็นต์ และต้องการกลับไปใช้อัตราส่วนทองคำในช่วงเดียวกับก่อนสงคราม
1924 เขาเลคเชอร์ในหัวข้อเรื่อง The End of Laisez-Faire ใหักับมูลนิธิซิดนิีย์ บอล์ล (Sidney Ball Foundation)
1925 แต่งงานกับลิเดีย โลโปโกว่า (Lydia Lopokova) เธอเป็นนักบัลเลย์ชาวรัสเซีย สามีคนเก่าของเธอเป็นชาวอเมริกัน,   หลังแต่งงานพวกเขาบ้ายไปอยู่ที่ไร่ในติลตัน ซัสเซกตะวันออก(Tilton, East Sussex) ทั้งสองคนไม่มีลูกด้วยกัน 
เคนส์เข้าเป็นสมาชิกของ Bloomsbury Groups
1924 ได้รับตำแหน่ง 1st Bursar ที่คิงคอลเลจ ทำให้เขาเป็นหัวหอกของด้านเศรษฐกิจของสถาบัน 
1925 ปอนสเตอร์ลิงอังกฤษในสมัยของวิลตัน เชอร์ชิล(Winston Churchill) ซึ่งขณะนั้นเป็นรัฐมนตรีคลัง  กลับไปใช้มาตรฐานทองคำ ในอัตราเดียวกับช่วงก่อนสงครามโลก ที่  4.86 ปอนด์สเตอร์ลิง เท่ากับ 1 ดอลล่าห์สหรัฐ  (1 US$ = 1.5 กรัม ทองคำ) , เคนส์พยายามเตือนว่าเงินปอนด์มีค่ามากกว่าความเป็นจริง  , ผลของการตรึงเงินปอนด์กับทองคำ ทำให้อุตสาหกรรมถ่านหินของอังกฤษย่ำแย่  เจ้าของเหมืองต้องการลดค่าจ้างแรงงานลง ในขณะที่แรงงานกว่าล้านคนพากันหยุดงานเพื่อประท้วง (General Strike 1926) 
1926 เดินทางไปโซเวียตเป็นครั้งแรก เพื่อสังเกตุสภาพเศรษฐกิจของโซเวียต และหลังจากกลับมาเขาได้เขียน The End of Laissez-Faire
1929 24 , 29 ตุลาคม (Black Tuesday) ตลาดดาวโจนส์สหรัฐร่วงอย่างหนักวันละสิบกว่าเปอร์เซนต์ เป็นสัญญาณวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำนานกว่าทศวรรษ (The Great Depression) เริ่มจะสหรัฐแต่ลามออกไปทั่วโลก 
1930 เคนส์เข้าเป็นทีมสภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ(Economic Advisory Council) ให้กับรัฐบาลอังกฤษ เคนส์เสนอแนวทางการต่อสู้กับภาวะการว่างงาน โดยเขียนบทความ The Means to Prosperity ลงใน The Times เขาเรียกร้องให้รัฐบาลใช้จ่ายครั้งใหญ่ และลดอัตราดอกเบี้ย 
เคนส์เข้าเป็นสมาชิกพรรค Liberal Party และทำงานใกล้ชิดกับเดวิด จอร์จ (David Lloyd George) พวกเขาพยายามเสนอให้รัฐบาลกระตุ้นการจ้างงานด้วยการกู้เงินมาเพื่อสร้างถนน สร้างบ้าน ปรับปรุงสาธารณูปโภค เพื่อแก้ปัญหาการว่างงาน ซึ่งในตอนนั้นอังกฤษมีคนตกงานกว่า 1.4 ล้านคน และเพิ่มเป็น 2.7 ล้านคนเมื่อถึงปลายปีถัดมา  แต่ว่ารัฐบาลของแรมเซย์ แม็คโดนัล  (Ramsay MacDonal ) ตอนแรกไม่เชื่อแนวคิดนี้ 
ธันวาคม A Treatise on Money เคนส์เขียนอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการออม (Saving) และการลงทุน (Investment) เขาสรุปว่า ถ้าการออกมากกว่าการลงทุนจะเป็นสาเหตุของการทดถอย (Recession) และกลับกันเพื่อการลงทุนมากกว่าการออม ก็จะเกิดเงินเฟ้อ (Inflation) เขาให้เหตุผลนี้กระตุ้นให้รัฐบาลมีความกล้าในการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เคนส์บอกว่า "เครื่องยนต์ที่ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจไม่ใช่การปล้น แต่เป็นกำไร (For the engine which drives Enterprise is not Thrift, but Profit) แต่แนวคิดของเคนส์ถูกปฏิเสธตลอดในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ
1931 มีนาคม รัฐบาลของแม็คโดนัล ตั้ง เซอร์ จอร์จ เมย์ (Sir, George May) ให้ตั้งคณะกรรมการมาดูปัญหาเศรษฐกิจของอังกฤษ ซึ่ง พอพฤษภาคม คณะกรรมการชุดของจอร์จ เมย์ ทำรายงานเรียกร้องให้รัฐบาลลดการใช้จ่ายลง 97 ล้านปอนด์ โดยตัดเงินช่วยเหลือคนว่างงาน 67 ล้านปอนด์ออกในจำนวนนี้ด้วย
เคนส์ ในเวลานี้เป็นประฐานของ Economic Advisory Council  เขายังคงเขียนบทความแนะนำให้รัฐบาลเพิ่มการใช้จ่าย แต่ว่าคำแนะนำของเคนส์มักจะถูกปฏิเสธ เพราะความคิดเศรษฐศาสตร์หลักในช่วงนั้น
พฤษภาคม เดินทางไปสหรัฐ เพื่อบรรยายที่มหาวิทยาลัยชิคาโก้ ตัวเขาเองมมีความต้องการในการศึกษาเศรษฐกิจของอเมริกา เคนส์ได้พบกับ ปธน.ฮูเวอร์ (Hoover) และเจ้าหน้าที่ของเฟด (Federal Reserve) เคนส์พบว่าสหรัฐมีแนวคิดที่เป็นบวกต่อเขามากกว่าในอังกฤษ 
19 กันยายน , อังกฤษประกาศยกเลิกการใชมารตฐานทองคำ  และปล่อยให้ค่าเงินปอนด์ร่วงลงกว่า 20 เปอร์เซนต์ ในที่สุดอังกฤษก็ต้องยอมรับแนวคิดของเคนส์  , เชอร์ชิล เองยอมรับว่าการกลับไปใช้ระบบมาตรฐานทองคำ เป็นความผิดผลาดที่สุดในชีวิตของเขา 
1932 เคนส์พยายามกระตุ้นให้รัฐบาลกู้เงินเพื่อมาใช้จ้างคนที่ตกงานจำนวนมาก มาทำงานสร้างสาธารณูปโภค แต่ว่าแรมเซยื แม็คโดนอล กลับเห
1936 A General Theory of Employment, Interest and Money ผลงานชิ้นสำคัญของเคนส์ที่สนับสนุนการแทรกแซงของรัฐบาลในกลไลเศรษฐกิจ และเปลี่ยนความคิดเศษฐศาสตร์แบบนิโอคลาสสิค เดิมที่มองแต่เรื่องของอุปสงค์อุปทาน เคนส์มองเห็นว่าปัญหาการว่างงาน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะค่าแรงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามกลไกตลาด แรงงานไม่ได้ต้องการจะลดค่าจ้างของตัวเอง ในขณะที่ผู้จ้างก็ไม่ต้องการจะเพิ่มค่าจ้าง รัฐจึงควรเข้าไปกระตุ้นอุปสงค์ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนหรือกระตุ้นการบริโภค เพื่อให้นายจ้างมีเงินจ้างแรงงานในขณะที่ไม่จำเป็นต้องลดค่าแรง 
1937 ล้มป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับหัวใจ ทำให้ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล ที่ปราสาทรูธิน (Ruthin Castle) ในแควนเวลส์
1939 กันยายน เยอรมันบุกโปแลนด์ สาเหตุเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 , เคนส์แม้ว่าจะยังป่วยอยู่ แต่ก็กลับมาทำงานที่แคมบริดจ์เหมือนเดิม และช่วงสงครามทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับรัฐบาล  เขาเขียน How to Pay for the War (1940) แนะนำว่าควรจะเพิ่มภาษีกับเงินฝาก แต่คงอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อหลีกเลี่ยงเงินเฟ้อ และรัฐจะได้ไม่ต้องขาดดุลงบประมาณจำนวนมาก แต่ผู้ฝากเงินจะถอนเงินไปช่วยประตุ้นเศรษฐกิจแทน 
1941 ตุลาคม ,ได้รับเลือกให้เป็นคณะกรรมการธนาคารกลางอังกฤษ (Cour of Bank of England) 
1942 เคนส์สนับสนุนแนวคิดประกันสังคมของเซอร์ วิลเลี่ยม เบเวอร์ริดจ์ (Sir William Beveridge) ที่ต้องการให้มีสวัสดิการณ์สังคมอย่างทั่วถึง แรงงานจ่ายเงินให้กับรัฐจากค่าจ้าง แต่พวกเขาจะได้ค่าชดเชย การตกงาน หรือป่วย หรือชรา ซึ่งเซอร์วิลเลี่ยมบอกว่าเป็นการจ้างงานอย่างเต็มที่ของสังคมเสรี (Full Employment of Free State) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นรํฐสวัสดิการในอังกฤษ 
พฤษภาคม, ได้รับปริญญาเอกดุษฏีด้านกฏหมายจาก มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์
1942 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกของสภาสูงอังกฤษ  ( The House of Lords)  ซึ่งเคนส์มีตำแหน่ง เป็นบารอน เคนส์ แห่งติลตัน (Baron Keynes of Tilton)
1943 กันยายน, เดินทางไปสหรํฐ เพื่อพยายามขอความช่วยเหลือเงินกู้ให้กับอังกฤษ 
1944 มิถุนายน,เป็นตัวแทนของอังกฤษ เข้าร่วมประชุมเบรตตันวู๊ด (Bretton Woods conferences) ในสหรัฐ  ซึ่งมี 44 ชาติส่งตัวแทนเข้าร่วม การประชุมนี้ทำให้เกิดธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ (International Monetary Fund)
1946 เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ซึ่งเขาป่วยมาหลายปี ในวันที่ 21 เมษายน  บนเดียงภายใต้บ้านของเขา
Don`t copy text!