อดัม ไวส์เฮาฟต์ (Adam Weishaupt)
ผู้ก่อตั้งกลุ่มบาวาเรีย อิลลูมิเนติ (Illuminati)
ไวส์เฮาฟต์ เกิดในเมืองอินโกลสแตดต์ (Ingolstadt) บาวาเรีย (Electorate of Bavaria) เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1748 ในครอบครัวชาวยิว ที่นับถือแคโธริก พ่อของเขาชื่อโยฮันน์ (Johann George Weishaupt) เป็นศาสตร์จารย์ด้านกฏหมายที่มหาวิทยาลัยอินโกลสแตดท์ (University of Ingolstadt)
ตอนเด็กไวส์ฮอลต์เรียนที่โรงเรียนมัธยมเยซูอิต (Jesuit High School in Ingolstadt)
1754 พ่อของเขาเสียชีวิต ไวส์เฮาฟต์ถูกเลี้ยงดูโดยพ่ออุปถัมภ์ บารอนโยฮันน์ อิคสแตทท์ (Baron, Johann Adam von Ickstatt) ซึ่งเป็นอาจารย์อยู่ที่เดียวกับพ่อของ ไวส์เฮาฟต์
เขาเข้ามหาวิทยาลัยอินโกลสแตดท์ ในวิชารัฐศาสตร์และปรัญชา พ่ออุปปถัมภ์ของเขาเป็นคนที่ทำให้เขาสนใจแนวคิดเกี่ยวกับการแสวงหาความปฏิฏานแห่งความจริง (spirit of Enlightenment) จน ไวส์เฮาฟต์เกิดความคิดขัดแย้งกับคำสอนตามนิกาแคโธริก และเปลี่ยนไปนับถือนิกายโปเตสแตนท์ รวมถึงสนใจศึกษาเรื่องความลึกลับอย่าง Eleusian, Mithrian mysteries ร่วมถึงผลงานของปิทากอรัส
1768 จบปริญญาเอกสาขาปรัชญา (PhD of Philosophy) จากมหาวิทยาลัย หลังจากนั้นทำงานสอนหนังสือและเป็น catechiist
1772 ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชากฏหมาย (associate professor of law) มหาวิทยาลัยอินโกลสแตดท์
1773 แต่งงานกับ Afra Sausenhofer of Eichstätt , ได้ตำแหน่งศาสตร์จารย์ด้านกฏหมายศาสนา (Professor of Canon Law)
1774 เข้าร่วมกับกลุ่มฟรีเมสัน (Freemason) คาดว่าเป็นฟรีเมสันในมิวนิค (Munich) หรือ แฮโนเวอร์ (Hanover)
1775 รู้จักกับโยฮันน์ เฟเดอร์ (Johann Georg Heinrich Feder) ซึ่งทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยโกตตินเจน (Göttingen University) ทั้งคู่มีความคิดปรัญชาของคานต์ (Immanuel Kant)
1776 1 พฤษภาคม, ก่อตั้ง The Order of Perfectibilists ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่ออิลูมิเนติ Order of Illuminati
ไวส์เฮาฟต์ ใช้ชื่อเรียกตัวเขาเองภายในกลุ่มภายในกลุ่มว่า สปาร์ตาคัส (Spartacus)
มีสมาชิกกลุ่มแรกๆ อย่างบารอน อดอล์ฟ (Baron Adolph Knigge) ชื่อในกลุ่มว่า Philo, นักกฏหมายชื่อ ฟรานซ์ แซว็คก์ (Franz Xaver von Zwack) วัตถุประสงค์ของกลุ่มนั้นไม่ได้เปิดเผย แต่เชื่อกันว่า ไวส์เฮาฟต์ เป็นคนที่ต่อต้านโรมันแคธอริกและต่อต้านราชวงศ์ต่างๆ ในยุโรป และมีความคิดแบบคอมมิวนิสต์ ต้องการเรียกร้องความเท่าเทียมและเสรีภาพในสังคม
Salvation does not lie where strong thrones are defended by swords, where the smoke of censers ascend to heaven or where thousands of strong men pace the rich fields of harvest. The revolution which is about to break will be sterile if it is not complete.
1777 กุมภาพันธ์ , ได้รับตำแหน่งชั้นลอร์ดจ จากฟรีเมสันในมิวนิค เขาใช้ชื่อภายในฟรีเมสันว่า Zur Behutsamkeit (The Prudence)
1780 8 กุมภาพันธ์ , เอฟรา ภรรยาของ ไวส์เฮาฟต์เสียชีวิต
เอฟรา เธอป่วยมาตั้งแต่ปี 1777 โดยน้องสาวของเอฟรา ชื่ออแอนนา (Anna Maria Sausenhofer) เป็นคนทำหน้าที่ดูแล โดยมาอาศัยร่วมบ้านเดียวกัน ก่อนที่เอฟราจะเสียชีวิต ไวส์เฮาฟต์รับปากกับเธอว่าจะแต่งงานกับแอนนา เพื่อที่แอนนนาจะได้ดูแลลูกๆ ของพวกเขา
แต่ว่าทั้งคู่ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่เขยกับน้องสะใภ้ จึงไม่สามารถแต่งงานกันได้ตามหลักศาสนา นอกเสียจากได้รับอนุญาติจากพระสันตะปาปา
1784 30 มกราคม, วิลเลี่ยม (William) ลูกชายคนแรกของ ไวส์เฮาฟต์ที่เกิดจากแอนน่า เกิดมา แต่ว่าวิลเลี่ยมต่อมาเสียชีวิตในปี 1802 ขณะอายุเพียง 18 ปี
กลุ่มอิลลูมิเนติ ถูกกล่าวหาว่าพยายามล้มล้างการปกครองของราชวงศ์ฮับสเบิร์ก (Hapsburgs) แต่ว่าแผนการถูกเปิดเผยก่อนโดยสายลับที่ถูกส่งเข้าไปในองค์กร รัฐบาลของคาร์ล ธีโอดอร์ (KarlTheoder) ผู้ปกครองบาวาเรียในขณะนั้นจึงประกาศให้อิลลูมิเนติเป็นกลุ่มผิดกฏหมาย หลังจากนั้นอิลลูมิเนติจึงต้องเคลื่อนไหวใต้ดิน ไวส์เฮาฟต์เองถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัย
1785 กุมภาพันธ์ ไวส์ฮออฟต์ออกจากบาวาเรียไปยังเรเกนสเบิร์ก (Regensburg) และไปทำงานให้กับดุ๊ก เอิร์นต ที่ 2 (Duke, Ernst II of Saxe-Gotha-Altenburg) ซึ่งดุ๊กเอิร์นตเป็นสมาชิกของอิลลูมิเนติมาตั้งแต่ปี 1783 ดุ๊กเอิร์นตให้สิทธิลี้ภัยแต่ ไวส์เฮาฟต์ในกูธ่า (Gotha) เขาพักอยู่ใกล้กับพิพิธภัณฑ์เฮอร์โซกลิเชนในปัจจุบัน (Herzoglichen Museum) เขาอาศัยอยู่ในเมืองธูรินเจียน (Thringian)
ในกูธ่านี้ ไวส์เฮาฟต์ใช้เวลาเขียนหนังสือออกมาหลายเล่ม อย่าง
- Full History of the Persecution of the Illuminati in Bavaria , 1785
- Depiction of the Illuminati , 1786
- Apology of the Illuminati , 1786
- The Improved System the Illuminati, with all its institutions and degree, 1787
/* หนังสือ Trilogy of Illuminati (1975) นิยายแต่งโดยโรเบิร์ต แอนตัน (Rebert Anton) และวิลสัน เชีย (Wilson Rober Shea) อ้างว่า หลังจาก ไวส์เฮาฟต์ออกจากบาวาเรียแล้วเขาไม่ได้ไปยังกูธ่าแต่เดินทางมายังสหรัฐอเมริกา และทำงานให้กับจอร์จ วอชิงตัน (George Washington) ซึ่งต่อมาอิลูมิเนติได้สังหารจอร์จ วอชิงตัน แล้ว ไวส์เฮาฟต์ ได้ปลอมตัวเป็นประธานาธิบดีสหรัฐแทน เพราะใบหน้าที่คล้ายกัน และรูปบนธนบัตร หนึ่งดอลลาห์สหรัฐ จริงๆ แล้วเป็นรูปของ ไวส์เฮาฟต์
1786 11 ตุลาคม, ตำรวจค้นบ้านของซาเวียร์ แซว็คก์ (Xavier Zwack) สมาชิกอิลูมิเนติคนหนึ่ง ซึ่งสามารถยึดหนังสือ และจดหมายของ ไวส์เฮาฟต์ได้ ซึ่งต่อมาถูกรัฐบาลบาวาเรียนำไปพิมพ์ในชื่อ Einige Originalschriften des Illuminaten Ordens (Some original writings of the Illuminati Order)
1808 ไวส์เฮาฟต์ได้เป็นสมาชิกในฐานะชาวต่างชาติของสถาบันวิทยาศาสตร์บาวาเรีย (Bavarian Academy of Sciences)
1830 เสียชีวิตในกูธ่า ในวันที่ 18 พฤศจิกายน เวลา 16.30 น อายุ 82 ปีร่างของเขาถูกฝังข้างกับลูกชายของเขาชื่อวิลเลี่ยม (William) ที่เสียชีวิตไปก่อนพ่อตั้งแต่ปี 1802
ป้ายหลุมศพของ ไวส์เฮาฟต์นั้นไม่หลงเหลืออยู่แล้ว แต่มีรูปถ่ายที่เป็นหลักฐานบอกว่าบนป้าน ได้เขียนเอาไว้ว่า
Hier liegt Weishaupt / Ein geehrter Mann mit einem gelehrten Geist, / der Erste in der Bürgerschaft der Freiheit!
Here lies Weishaupt , A dear man with a Scholarly mind, the first in the citizenry of freedom!
ไวส์เฮาฟต์นอนอยู่ที่แห่งนี้ ชายประเสริฐที่ดวงจิตนั้นมีปัญญา ประชาชนคนแรกของเสรีภาพ
ลูกๆ อดัม ไวส์เฮาฟต์
- William, ลูกชายคนโต เสียชีวิตตอนอายุ 18 ปี ก่อน ไวส์เฮาฟต์เสียชีวิต จนเมื่อ ไวส์เฮาฟต์ตาย ร่างของพวกเขาถูกฝังข้างกัน
- Edward, เป็นทหาร เสียชีวิต 1864 ในมิวนิค
- Ernst , เกิดปี 1790 ต่อมาได้เป็นทหารในบาวาเรีย มียศถึงพลโท เสียชีวิตในมิวนิค
- Karl, เกิด 11 สิงหาคม 1787, เป็นทหารในหน่วยปืนใหญ่ มียศชั้นพลโท , เคยเป็นรัฐมนตรี, เสียชีวิตปี 1853 ในมิวนิค
- Alfred , ลูกชายคนเล็กของ ไวส์เฮาฟต์ ทำงานด้านวิทยาศาสตร์ เสียชีวิตปี 1872
- Charlotte
- Nanette
แอนน่า ภรรยาของ ไวส์เฮาฟต์ ยังอยู่ในกูธ่า ร่วมกับชาร์ลอตต์ และนาเนตต์ ลูกสาว จนกระทั้งเสียชีวิตในเมืองนี้ พวกเขาถูกฝังไว้ข้างๆ กันและกัน
ผลงานเขียนของไวส์เฮาฟต์
- 1768, Oratio panegirica in Laudem Egolphi a Knoeringen Episcopi quondam Augustani ()
- 1755, De Lapsu Academiarum Commentatio Politica ()
- 1785, Vollständige Geschichte der Verfolgung der Illuminaten in Bayern (Complete history of the persecution of the Illuminati in Bavaria)
- 1786, Apologie der Illuminaten (Apology of the Illuminati)
- 1786, Schilderung der Illuminaten (Description of the Illuminati)
- 1786, Über Materialismus und Idealismus (Above materialism and idealism )
- 1787, Einleitung zu meiner Apologie (Introduction to My Apology)
- 1787, Kurze Rechtfertigung meiner Absichten (Short justification of my intentions)
- 1787, Nachtrag zur Rechtfertigung meiner Absichten (Addendum to justify my intentions )
- 1787, Das verbesserte System der Illuminaten (The improved system of the Illuminati )
- 1787, Apologie des Mißvergnügens und des Übels.(Apology of discontent and evil)
- Nachtrage von weitern Originalschriften, welche die Illuminatensekte überhaupt, sonderbar aber den Stifter derselben Adam Weishaupt, betreffen, und bey der auf dem Baron Bassusischen Schloß zu Sandersdorf, einem bekannten Illuminaten-Neste, vorgenommenen Visitation entdeckt, sofort auf Churfürstlich höchsten Befehl gedruckt und zum geheimen Archiv genommen worden sind … (1787)
- 1788, Über die Gründe und Gewißheit der Menschlichen Erkenntniß (The reasons for and certainty of human knowledge)
- 1788, Der ächte Illuminat, oder die wahren, unverbesserten Rituale der Illuminaten (The true Illuminate, or the real, unenhanced rituals of the Illuminati.)
- 1788, Über die Kantischen Anschauungen und Erscheinungen (About the Kantian notions and phenomena)
- 1788, Zweifel über die Kantischen Begriffe von Zeit und Raum (Doubts about the Kantian notions of time and space )
- 1790, Pythagoras, oder Betrachtungen über die geheime Welt- und Regierungskunst (Pythagoras, or reflections on the secret world government and Art)
- 1793, Über Wahrheit und sittliche Vollkommenheit (About truth and moral perfection)
- 1794, Über die Lehre von den Gründen und Ursachen aller Dinge (About the doctrine of the reasons and causes of all things)
- 1794, Über die Selbsterkenntnis, ihre Hindernisse und Vorteile (About the self-knowledge, their obstacles and benefits )
- Die neuesten Arbeiten des Spartacus (d. i. Adam Weishaupt) und Philo (d. i. Adolph Freiherr von Knigge) in dem Illuminaten-Orden (The latest works of Spartacus and Philo in the Illuminati Order)
- 1797, Philo an die versammelten Repräsentanten des Wirtembergischen Volks (Philo to the assembled representatives of the people Wirtembergischen)
- 1797, Über die Zwecke oder Finalursachen (About the purpose or final causes)
- 1802, Über die Hindernisse der baierischen Industrie und Bevölkerung (Over the obstacles of baierischen industry and population )
- 1804, Die Leuchte des Diogenes (The lamp of Diogenes )
- 1817,Über die Staats-Ausgaben und Auflagen (About the State expenditures and obligations)
- 1818, Über das Besteuerungs-System (About the taxation system )