Numquam prohibere somniantes 

Never stop dreaming

Montesquieu

ชาร์ล-หลุยส์ เซอกุงดัต (Charles-Louis de Secondat, baron de La Brède et de Montesquieu)
   ผู้เขียน The Spirit of the Laws

มอนเตสคิว เกิดในวันที่ 18 มกราคม 1689 ภายในปราสาทเบอร์ไฮด์ (Château de la Brède) ในเมืองฌีรงด์ (Gironde) ทางใต้ของฝรั่งเศส ใกล้กับ เมืองบอร์โดซ์ (Bordeaux) พ่อชื่อ ฌาคส์ เซอกุงดา, บารอนแห่งมอนเตสคิว (Jacques de Secondat, Boron de Montesquieu)  เป็นนายทหารมาจากตระกูลเก่าแก่  ส่วนแม่ชื่อมาเรีย-ฟรานเซียส เพสเนล, บารอนเนสแห่งเบอร์ไฮด์ (Marie-Françoise de Pesnel, Boroness of La Brède) 
มาเรียเสียชีวิตตอนที่มอนเตสคิวอายุ 7 ปี 
เข้าเรียนที่ College of Juilly , College d’Harcourt ในปารีส ด้านกฏหมาย
1708 สำเร็จการศึกษากฏหมายจากมหาวิทยาลัยบอร์โดซ์ (University of Bordeaux) หลังจากนั้นเดินทางมาปารีสเพื่อศึกษาด้านกฏหมายต่อ
1713 พ่อของเขาเสียชีวิต ทำให้มอนเตสคิวอยู่ในการดูแลของลุง
1714 เป็นที่ปรึกษาให้กับรัฐสภาของบอร์โดซ์ (parliament of Bordeaux)
1715 30 เมษายน แต่งงานกับ เจนี่ ลาร์ติกู (Jeanne de Lartigue) เป็นมาจากครอบครัวที่ร่ำรวย แต่ว่านับถือคริสต์นิกายโปเตสแตนท์ ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามในฝรั่งเศสตามกฏหมาย Edict of Nantes ฝ่ายเจ้าสาวที่นับถือโปแตสแตนท์ต้องจ่ายค่าสินสอด , พวกเขามีลูกด้วยกันสามคนเป็นชายหนึ่งคน และผู้หญิงสองคน
1716 ลุงของมอนเตสคิว เสียชีวิต ทำให้เขาได้รับมรดกจำนวนมาก รวมถึงตำแหน่งบารอนแห่งมอนเตสคิว  ทำให้เขาลาออกจากงานและเดินออกเดินทางท่องเที่ยว
เขาเดินทางไปอังกฤษ และได้เห็นรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีกษัตริย์ของอังกฤษ ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิวัติในอังกฤษ (Glorious Revolution, 1688-1689) ทำให้เริ่มสนใจด้านระบบสังคมและการปกครอง  แต่ว่าความสนใจส่วนใหญ่ของมอนเตสคิวในช่วงยังเป็นด้านวิทยาศาสตร์ เขามีงานเขียนทางด้านวิทยาศาสตร์
1721 Persian Letters  ถูกพิมพ์ออกมาโดยใช้ชื่อปลอมระหว่างอยู่ในอัมเตอร์ดัม แต่ว่าคนที่พิมพ์หนังสือเปิดเผยความลับทำให้ผู้อ่านรู้ หนังสือ ซึ่งประสบความสำเร็จและมอนเตสคิวกลายเป็นที่รู้จัก โดยเป็นเรื่องราวของนักเดินทางชาวเปอร์เซียที่เดินทางเขามาในปารีส ซึ่งมองเตสคิวพยายามสะท้อนสายตาของชาวต่างชาติที่ได้มาเห็นปารีสเป็นครั้งแรก
1726 ขายทรัพย์สินส่วนใหญ่ไปเพื่อชำระหนี้สิน แต่ว่ายังรักษากรรมสิทธิ์ในปราสาทเบอร์ไฮด์ไว้
1728 ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของสถาบันวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส (French Academy)  หลังจากนั้นเขาใช้เวลาหลายปีในการออกเดินทางยาวนานไปหลายประเทศในยุโรป  ทั้งออสเตรีย ฮังการี อิตาลี เยอรมัน ฮอลแลนด์ และอังกฤษ
1730 12 พฤษภาคม, เข้าร่วมกับฟรีเมสันในลอนดอน (London Masonic Lodge “Horn”, Freemason)
1734 กลับมายังฝรั่งเศส และตีพิมพ์ Considerations on the Casue of the Greatness of the Romans and Their Decline หนังสือประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอาณาจักรโรมัน 
1748 The Spirit of Laws พิมพ์ออกมาโดยได้รับการฉบับสนุนจาก (Claudine Guerin de Tencin)  , หนังสือเล่มนี้มอนเตสคิวจัดประเภทการปกครองออกเป็นสามแบบ คือ 
สาธารณรัฐ(Republic) , ระบอบกษัตริย์ (Monarchical) และ เผด็จการ (Despotic)  
โดยที่เขาเห็นว่าการปกครองแบบสาธารณรัฐนั้นดีที่สุด  และยังได้เสนอการแบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ส่วน คือ
 อำนาจนิติบัญญัติ (legislativ power)  อำนาจตุลาการ (judicial power) และอำนาจบริหาร (executive power) 
1750 Defense of the Spirit of Laws  ซึ่งทำให้คริสต์จักรแคโธริกสั่งห้ามพิมพ์ผลงานของเขาทุกเรื่อง
ช่วงท้ายของชีวิตเขายังคงออกเดินทางไปทั่วยุโรป และปรากฏมีผลงานอื่นๆ เช่น ร่วมเขียนสารานุกรม Encyclopaedia or a Systematic Dictionary of the Sciences, Arts and Crafts โครงการใหญ่ในฝรั่งเศสช่วงนั้นชื่อสารานุกรมตีพิมพ์ระหว่าง 1751-1772 โดยได้รับความร่วมมือจากบุคคลมีชื่อเสียงมากมาย
1755 เสียชีวิตด้วยไข้เหลือง (yellow fever)  10 กุมภาพันธ์ ขณะที่ยังมีผลงานเรื่อง Taste เขียนค้างเอาไว้ 
11 กุมภาพันธ์ ถูกฝังที่ โบสถ์เซนต์ซัลไพส์ (Church of Saint-Sulpice) ในปารีส

• Essay on Taste ( 1757 )
• Cause of gravity of the body
• Eternal Damnation of the Gentiles (1711)
• System of Ideas (1716)
• Praise of sincerity (1717)
• Persian Letters ( 1721 )
• The Temple of Cnidus ( 1725 )
• True story of Arsaces and Isménie ( 1730 )
• Considerations on the Causes of the Greatness of the Romans and Their Decline ( 1734 )
• The spirit of the law ( 1748 )
• The defense of “The Spirit of Laws" ( 1750 )
• Thoughts followed Scrapbook
• Flux and Reflux of the Sea
• Memoirs of the intermittent fever
• Memoirs of the echo
• Diseases of the renal glands
• Gravity bodies
• Movement on
• The Scrapbook
• Thoughts
Don`t copy text!