วล๊าด แดร็กคูล่า ที่ 3
วล๊าด เกิดในเมืองเล็กๆ ชื่อไซก์ไฮซอร่า (Sighisoara) ทรานซิลวาเนีย (Transylvania) ในราชอาณาจักรฮังการี (Kingdom of Hungary) ในปี 1431 เป็นลูกชอง วล๊าด แดร็กคูล ที่ 2 (Vlad II Dracul) กับพระมารดาที่เชื่อว่าเป็นเจ้าหญิงคนีจน่า แห่งมอนดาเวีย ( Cneajna of Moldavia ) ซึ่งเป็นภรรยาคนที่สองของวล๊าด ที่ 2
ในปีที่วล๊าดเกิดนั้น , พ่อของเขา วล๊าด ที่ 2 ได้ก่อตั้งนักรบมังกร (Order of the Dragon) ขึ้นมาร่วมกับกษัตริย์ ซิกิสมุนด์ แห่งฮังการี (Sigismund , King of Hungary) นักรบมังกรมีหน้าที่ปกป้องชาวคริสต์ ซึ่งตอนนั้นถูกรุกรานโดยพวกเติร์ก พออายุได้ 5 ปี วล๊าด ก็เข้าร่วมเป็นนักรบมังกรด้วย
1436 วล๊าด ที่ 2 ได้รับสืบทอดบัลลังค์ของวัลลาเชีย (Wallachia)
1442 วล๊าด ที่ 2 ถูกปลดจากตำแหน่งโดย Basarab II แต่ว่าต่อมาสามารถยึดอำนาจคืนมาได้ ด้วยการช่วยเหลือของสุลต่านมูราด ที่ 2 (Sultan Murad II) โดยยอมจ่ายภาษีให้กับสุลต่าน และต้องส่ง เจ้าชายวล๊าด และเจ้าชายราดู (Radu) ลูกชายสองคนไปยังอ๊อตโตมาน เพื่อเป็นตัวประกัน เจ้าชายราดู นั้นต่อมาเปลี่ยนไปนับถืออิสลาม และทำงานรับใช้เจ้าชายเมห์เมด ที่ 2 (Mehmed II) ลูกชายของสุลต่านมูราด
1447 พวกขุนนาง (Boyars) ที่สนับสนุนฝ่ายฮังการีได้ทำการก่อกบฏ ได้สังหารวล๊าด ที่ 2 , และเจ้าชายไมร์เคีย (Mircea) ลูกชายคนโตของวล๊าด ที่ 2 และทายาทก็ถูกทรมาน ก่อนจะถูกเผาทั้งเป็นบริเวณ Targoviste
ฝ่ายอ๊อตโตมานกลัวว่าวัลลาเชียจะตกอยู่ในมือฮังการี จึงได้ยกทัพมาปราบ และได้ตั้งให้วล๊าด ที่ 3 ซึ่งอายุเพียง 16 ปี ดำรงตำแหน่งแทนบิดา แต่ว่าไม่นาน จอห์น ฮันยาดิ (John Hunyadi) แม่ทัพของฝ่ายฮังการี ได้ยกกองทัพมายึดวัลลาเชียเอาไว้ได้ แต่ได้ตั้ง วลาดิสลาฟ ที่ 2 (Vladislav II) เป็นผู้ครองเมืองแทน
วล๊าด ต้องหนีไปอยู่กับลุงของเขา บ๊อกดาน ที่ 2 (ฺBogdan II) ที่มอลดาเวีย (Moldavia)
1451 บ๊อกดาน ที่ 2 ถูกลอบสังหาร วล๊าดต้องหนีอีกครั้งไปยังฮังการี ฮันยาดิแม่ทัพของฮังการีเมื่อได้พบกับวล๊าด เกิดพอใจในความรู้เกี่ยวกับอ๊อตโตมานของวล๊าด และเมื่อรู้ว่าวล๊าดเกลียดสุลต่านเมห์เมด ที่ 2 ด้วย ก็เลยตั้งให้เขาเป็นที่ปรึกษา
1453 กรุงคอนสแตนติโนเปิ้ลล่มสลาย (Fall of Constantinople) ถูกพวกเติร์กยึดไว้ได้ กลายเป็นของเมห์เมด ที่ 2 หลังจากนั้นเมห์เมดพยายามที่จะขยายอำนาจเข้ามายังแผ่นดินยุโรป
1456 เมห์เมด ที่ 2 บุกเบลเกรด , ฮันยาดิต้องถอยไปตั้งรับอยู่ในเซอร์เบีย ส่วนวล๊าด นั้นได้นำทัพกลับมายึดวัลลาเชียคืนมาได้ วล๊าดทำการฟื้นฟูบ้านเมืองขึ้นมาใหม่ ปรับปรุงการเกษตร เศรษฐกิจ และการทหาร มีการสร้างโบสถ์ที่ Târgsor เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงพ่อและพี่ชายที่ถูกสังหารบริเวณดังกล่าว
1459 ในที่ประชุมแห่งแมนตัว (Congress of Mantua) พระสันตะปาปาปิอุส ที่ 2 (Pope Pius II) เรียกร้องให้มีการทำสงครามศาสนาต่อต้านอ๊อตโตมานอีกครั้ง โดยลูกชายของฮันยาดิ ชื่อแมตเธียส คอร์วินัส (Matthias Corvinus) เป็นผู้มีบทบาทนำในสงครามครั้งใหม่นี้ ส่วนวล๊าดนั้นมีฐานะเป็นฝ่ายสนับสนุนแมตเธียส
ช่วงปลายปี สุลต่านเมห์เมด ที่ 2 ส่งทูตมายังวัลลาเชีย เพื่อทวงเงินภาษีประจำปี ซึ่งตอนนั้นอ๊อตโตมานยังมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร แต่ว่าวล๊าดปฏิเสธ และได้สังหารทูตเสีย โดยใช้ตะปูตอกผ้าโผกหัว (turban) ของคณะฑูตเข้ากับศรีษะของแต่ละคน
ต่อมาเมื่ออาณาจักรของวล๊าด ขยายไปยังบริเวณลุ่มน้ำดานูบ (Danube) ฝ่ายอ๊อตโตมาได้ส่ง ฮัมซา ปาชา (Hamza Pasha) มาเป็นฑูตในการเจรจาสันติภาพด้วย ซึ่งคณะฑูตมีประมาณหนึ่งพันคนที่เดินทางมา แต่ว่าวล๊าดได้ส่งทหารเข้าโจมตีคณะฑูตระหว่างเดินทางมาถึงตอนเหนือของไกเออร์จู (Giurgiu) ซึ่งเกือบทั้งหมดถูกสังหาร และนำไปเสียบประจาน รวมทั้งฮัมซา ปาซา ด้วย
1462 วัลลาเชีย ขยายดินแดนมาถึงบริเวณแม่น้ำดานูบตอนล่าง ที่เรียกว่า โอบลูคิตซ่า (Oblucitza) และธิกเฮน (Ghighen) ใกล้กับปากแม่น้ำดานูบที่ไหลลงทะเลดำ ที่นี่ทหารของวล๊าดสังหารพลเมืองและทหารของอ๊อตโตมานปีอีกหลายหมื่นคน
มิถุนายน, ช่วงฤดูใบไม้ผลิ สุลต่านเมห์เมด ที่ 2 ยกทัพกลับมาตอบโต้ ทหารเกือบแสนนายมุ่งหน้าสู่วัลลาเชีย
17 กรกฏาคม , The Night Attack of Târgoviste ทหารของวล๊าด ซุ่มโจมตีกองทัพของเมห์เมด ที่ 2 บริเวณตาร์โกวิสต์ (ในโรมันเนีย ปัจจุบัน) ซึ่งวล๊าดประสบความสำเร็จได้รับชัยชนะ สังหารพวกเติร์กไปอีกกว่าหมื่นห้าพันคน แต่ว่าเขายังไม่สามารถฆ่าเมห์เมด ที่ 2 ได้
เมห์เมดถอยทัพกลับไปยังแอนเดรียนโปลิส (Andrianpolis) หลังจากนั้นได้สั่งให้ราดู น้องชายของวล๊าดที่ภักดีกับอ๊อตโตมาน รับผิดชอบในการบุกวัลลาเซีย
ภรรยาคนแรกของวล๊าด นั้นไม่ทราบชื่อ ตำนานเล่าว่าเธอเสียชีวิตช่วงที่มีการบุกปราสาทโปนาริ (Poenari Castle) โดยทหารของราดู พลธนูคนหนึ่งในกองทัพของราดูซึ่งยังมีความจงรักภักดีกับวัลลาเชีย ได้ใช้ธนูติดจดหมายยิงเข้าไปที่หน้าต่างเพื่อส่งสานห์ให้วล๊าดรู้ว่ากองทัพอ๊อตโตมานกำลังจะบุกมา ภรรยาของวล๊าดเมื่อได้อ่านข้อความ ก็ตัดสินในฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดลงไปในแม่น้ำอาร์เกส (Arges river) โดยให้เหตุผลว่าดีกว่าที่จะต้องกลายเป็นเชลยของพวกเติร์ก กับภรรยาคนแรกของวล๊าด นั้นเธอให้กำเนิดลูกชายสองคน คือ ไมห์เนีย ที่ 1 (Mihnea I the Bad) และ มิเฮล (Mihail)
เมื่อราดูสามารถยึดปราสาทโปนาริได้ เขาได้รับยศ (Bey of Wallachia) จากเมห์เมด ที่ 2
วล๊าด นั้นนำทหารหนีไปยังฮังการี ระหว่างทางเขารบชนะทหารเติร์กหลายครั้ง แต่ว่าเงินก็หมดจนไม่สามารถจ่ายค่าจ้างนักรบได้ เมื่อไปถึงฮังการีได้ขอความช่วยเหลือจากแมตเธียส แต่ปรากฏว่าแมตเธียสกลับจับวล๊าดขังไว้ในคุก หลังจากนั้นบังคับให้วล๊าดเขียนจดหมายไปยังอ๊อตโตมานเพื่อให้ยุติการรบระหว่างกัน แมตเธียสนั้นไม่มีความต้องการจะทำสงครามและเขาใช้เงินที่ได้รับจากพระสันตะปาปาไปจนหมด วล๊าดถูกขังอยู่นับสิบปี ก่อนถูกปล่อยตัวในปี 1474
ปี 1462 วล๊าดแต่งงานอีกครั้งระหว่างถูกจำคุกกับ อิโลน่า สซิลากู (Ilona Szilágyi) พวกเขามีลูกด้วยกันสองคน คือ วล๊าด ที่ 4 (Vlad IV Dracula) และลูกชายอีกคนไม่ทราบชื่อ แต่ต่อมาไปอาศัยอยู่กับบิชอฟแห่งโอราเดีย (Bishop of Oradea) ในทรานซิลวาเนีย
1475 ราดู เสียชีวิตอย่างกระทันหัน
1476 26 พฤศจิกายน , วล๊าด ประกาศว่าเขาเป็นผู้ปกครองวัลลาเซียอีกครั้ง แต่ัยังไม่ได้ดินแดนมาครอบครอง และเขากำลังรวบรวมทหารเพื่อจะบุกยึดวัลลาเชีย โดยคราวนี้ได้รับการสนับสนุนจากฮังการี
1477 วันที่เสียชีวิตของวล๊าดนั้นไม่แน่ชัดแต่เป็นช่วงเดือนธันวาคมปี 1466 หรือบางที่ระบุว่าเป็น 10 มกราคม 1477 , วล๊าด เสียชีวิตโดยการถูกลอบสังหาร ระหว่างการเดินทางจากบุชาเรสต์ (Bucharest) ไปยังไกเออร์จู โดยไม่ทราบสถานที่เสียชีวิตแน่ชัด แต่ว่าศรีษะของเขาถูกตัดส่งกลับไปยังคอนสแตนติโนเปิ้ล ศพของวล๊าดถูกนำไปฝังโดยไม่ประกอบพิธีโดยบาซาราบ เลาต้า (Basarab Laiota) ซึ่งเป็นผู้ปกครองวัลลาเชียคนใหม่
สถานที่ฝังศพของวล๊าดนั้นไม่ทราบแน่ชัด คาดว่าเป็นที่วิหารในโคมาน่า (Comana monastery) ซึ่งวล๊าดเป็นผู้สร้างในปี 1461 แต่วิหารถูกรื้อทิ้งในปี 1589