Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Lev Landau

เลฟ ดาวีโดวิช แลนดัว (Лев Давидович Ландау)
โนเบลฟิสิก 1962
แลนดัว เกิดเมื่อวันที่ 22 มกราคม 1908 ในบากู (Baku, Azerbaijan, Russia Empire) พ่อของเขาชื่อเดวิด (David) เป็นวิศวกรที่มีชื่อเสียงทำงานให้กับบริษัทน้ำมัน ส่วนแม่เป็นแพทย์ ชื่อลูโบว่า (Lybova)  
แลนดัวเรียนจบมัธยมปลายตอนอายุ 13  ปี แต่ว่าพ่อเขาเห็นว่ายังเด็กเกินไปที่จะเรียนมหาวิทยาลัยจึงส่งเข้าเรียนที่วิทยาลัยเศรษศาสตร์อยู่หนึ่งปี 
1920 เข้าเรียนที่วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์บากู (Baku Economical College)
1922 ตอนอายุ 14 ปี เข้าเรียนมหาวิทยาลัยบากู (Baku State University) โดยเรียนทั้งสาขาฟิสิกและเคมี แ
1924 ย้ายมาเรียนที่มหาวิทยาลัยเลนินกราด (Leningrad State University)
1928 ตอนอายุ 18 มีผลงานเขียนทางวิทยาศาสตร์เรื่องแรก  On the theory of atomic spectra of the two molecules (К теории спектров двух атомных молекул)
1927 เรียนจบจากมหาวิทยาลัยเลนินกราด ในสาขาฟิสิก และเข้าทำงานที่สถาบันฟิสิกและเทคนิค (Leningran Physico-Techincal Institute) โดยทำงานศึกษาเกี่ยวกับทฤษฏีอิเล็กตอนและควอนตัมของแม่เหล็กไฟฟ้า
1929 ถูกส่งไปดูงานในต่างประเทศ ทั้งเยอรมัน, เดนเมาร์ค, อังกฤษ ซึ่งได้มีโอกาสพบและทำงานกับนิล บอห์ร (Niels Bohr) หลายเดือนระหว่างอยู่ในโคเปนเฮเก้น  ซึ่งกลายมาเป็นเพื่อนชาวต่างชาติที่สนิทกันคนหนึ่ง
1931 กลับมารัสเซียและย้ายไปอยู่ที่คาร์คอฟ (Kharkov) ขณะนั้นเป็นเมืองหลวงของยูเครน
1932  จนถึงปี 1937 เขาเป็นเป็นหัวหน้าสถาบันฟิสิกและเทคนิค (Ukrainian Physico-Technical Institute) ที่คาร์คอฟ  และเป็นหัวหน้าภาควิชาฟิสิกทฤษฏี สถาบันวิศวกรรมและเครื่องกล มหาวิทยาลัยคาร์คอฟ ( Engineer-Mechanical Institute, Kharkov University)
1934 ได้รับปริญญาเอกด้านฟิสิกและคณิตศาสตร์ (Doctor of Physical and Mathematical Sciences) เป็นกรณีพิเศษจาก Academy of Sciences  โดยที่แลนดัวไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์
1935 ร่วมกับเยฟกินี ลิฟชิตซ์ (Evgeny Lifshits) เขียนตำราฟิสิกทฤษฏีออกมาจำนวนมาก 
1937 ออกจากมหาวิทยาลัยคาร์คอฟเพราะเหตุประท้วงวุ่นวายในมหาวิทยาลัย นักวิทยาศาสตร์หลายคนถูกทางการจับ
แลนดัวย้ายมาอยู่ในมอสโคว์ โดยคำชักชวนของ ศจ. ปีเตอร์ คาปิตซ่า (Pyotr Kapitsa)  แลนดัวจึงได้มาเป็นหัวหน้าแผนทฤษฏีฟิสิกของสถาบันคาปิตซ่า (Kapitza Institute for Physical Problems of the Academy of Sciences of U.S.S.R.) 
1938 แลนดัวถูกจับในข้อหาเป็นสายลับ และต่อต้านสตาลิน  เขาถูกจับขังคุกนานหลายเดือน แต่ว่า ศจ.คาปิตซ่าได้พยายามวิ่งเต้นช่วยเหลือเขา โดยเขียนจดหมายไปยังเจ้าหน้าที่ระดับสูงเครมลิน  จนแลนดัวได้รับการปล่อยตัว  
ทำงานสอนที่มหาวิทยาลัยคาร์คอฟและมหาวิทยาลัยมอสโคว์
1943 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยมอสโคว์
1946  ได้เป็นสมาชิกเต็มตัวของ Academy of Scienses 
แต่งงานกับคอนคอร์เดีย (Concordia Drobantseva) ทั้งคู่มีลูกชายชื่ออิกอร์ (Igor) 
1961 ได้รับรางวัล Max Planck Medal และ Fritz London Prize
1962 7 มกราคม, ประสบอุบัติเหตุรถชน จนได้รับบาดเจ็บสาหัส
แลนดัวได้รับรางวัลโนเบลในปีนี้ แต่ว่าอาการบาดเจ็บทำให้ไม่สามารถไปร่วมพิธีรับมอบรางวัลได้ โดยแลนดัวเป็นนักฟิสิกคนหนึ่งที่มีผลงานครอบคลุมทุกสาขาของฟิสิก แต่เขาได้รับรางวัลโนเบลจากการศึกษาควอนตัมฟิสิกของของเหลวที่อุณหภูมิต่ำ
  • general thermodynamical theory of the phase transitions of the second order 
  • superfluidity of liquid helium / ซุปเปอร์ฟลูอิดของฮีเลียมเหลว
  • theory of quantum liquids at low temperatures / ควอนตัมของของเหลวที่อุณหภูมิต่ำ
  • theory of the quantum liquids of the “Bose type”
  • quantum liquids of the “Fermi type”
1968 1 เมษายน เสียชีวิต
  • Hero of Socialist Labor (1954)
  • Lenin Prize (1962)
  • State Prize of U.S.S.R. (1946,1949,1953)
ระหว่างที่แลนดัวมีชีวิตอยู่ เขาสร้างข้อสอบที่ชื่อ Theoretical Minimum (Теоретический минимум , http://chair.itp.ac.ru/index.php?sub=minimum)ไว้ทดสอบนักเรียน ซึ่งรวบรวบทฤษฏีที่จำเป็น แต่ว่าระหว่างที่แลนดัวมีชีวิต มีนักเรียนที่สอบผ่านข้อสอบนี้ของเขา 43 คน 
Don`t copy text!