your grace never been forgotten

Max Planck

แม็กซ์ แพลงค์ (Max Karl Ernst Ludwig Planck)

โนเบลฟิสิก 1918

แพลงค์เกิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน 1858 ในกรุงเคียล (Kiel) เมืองหลวงของดัชชีออฟโฮลสไตน์ (Duchy of Holstein) โฮลี่โรมัน พ่อของเขาชื่อโจฮันน์ (Johann Julius Wilhelm Planck) โจฮันน์เป็นศาสตราจารย์ทางด้านกฏหมายของมหาวิทยาลัยเคล (University of Kiel)  และแม่ชื่อเอ็มม่า แพทซิก (Emma Patzig) เธอเป็นภรรยาคนที่สองของโจฮันน์  โจฮันน์มีลูกสองคนจากการแต่งงานครั้งแรกชื่อฮูโก้ (Hugo) กับเอ็มม่า (Emma)  และลูกห้าคนที่เกิดจากการแต่งงานครั้งที่สองคือ เฮอร์มัน (Herman) , ฮิล์ดการ์ด (Hildegard), อเดิลเบิร์ต (Adalbert), แพลงค์ และอ๊อตโต้ (Otto) 

1864 เกิดสงครามชเลสวิก ครั้งที่ 2 (Second Schleswig War) ระหว่าง ปรัสเซีย-ออสเตรีย กับเดนมาร์ก เมืองเคียลที่แพลงค์อยู่เป็นทางผ่านของทหารปรัสเซีย-ออสเตรีย 

1867 ครอบครัวบ้ายไปอยู่ที่มิวนิค แพลงค์เข้าเรียนที่แม็กซิมิเลี่ยนยิมเนเซี่ยม (Maximilians gymnasium) โดยมีอาจารย์มุลเลอร์ (Hermann Müller) ที่สอนคณิตศาสตร์ของเขาเป็นแรงกระตุ้นให้เขาสนใจวิชาคณิตศาสตร์ 

1874 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยมิวนิค (University of Munich) 

1877 มาเรียนที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน (University of Berlin) 

1879 จบปริญญาเอก หลังจากนั้นทำงานสอนหนังสือที่มิวนิคโดยไม่มีเงินเดินระหว่างที่รอให้มีตำแหน่งว่าง 

1885 ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านฟิสิกทฤษฏีที่มหาวิทยาลัยเคล

1887 แต่งงานกับมาเรีย (Marie Merck) ซึ่งเป็นเพื่อนของเขามาตั้งแต่วัยเด็ก พวกเขามีลูกด้วยกันสี่คน ชื่อคาร์ล (Karl) ฝาแฝดเอ็มม่า (Emma) กับ กรีต (Grete) และเออร์วิ่น (Erwin) 

1889 เป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน (University of Berlin)

1894 ได้รับการว่าจ้างจากบริษัทผลิตหลอดไฟให้หาวิธีการพัฒนาหลอดไฟที่ให้แสงสว่างมากขึ้นแต่ว่าใช้พลังงานน้อยลง แพลงค์จึงได้ทำการศึกษาทดลองเกี่ยวกับรังสีดำ (black-body radiation) ซึ่งเป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic radiation) ชนิดหนึ่ง ที่ถูกแพร่ออกมาโดยวัตถุดำ (black body) ซึ่งขณะนั้นมีเพียงทฤษฏี Wien’s Law ของวิลเฮล์ม เวียน (Wilhelm Wien) ที่ใช้อธิบาย แต่ว่าทฤษฏีดังกล่าวอธิบายได้เฉพาะในกรณีที่คลื่นมีความถี่สูงเท่านั้น

ได้เป็นสมาชิกของสถาบันวิทยาศาสตร์ปรัสเซีย (Prussian Academy of Science)

1899 เขาเสนอแนวคิด Principle of elementary disorder เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ของรังสีดำ แต่ว่าไม่่นานก็ค้นพบปรากฏการณ์ที่บอกว่าทฤษฏีของเขาผิด

1897 พิมพ์หนังสือ Treaties on Thermodynamics

1900 เสนอแนวคิด Planck black-body radiation law ซึ่งกลายมาเป็นพื้นฐานของฟิสิกควอนตัม ซึ่งแม้แต่แพลงค์เองก็ยอมรับว่าสมการของเขาในตอนแรกเป็นเพียงสมติฐานเท่านั้น แต่การค้นพบค่าคงที่ h (Plank’s constant) กลับทำให้สามารถอธิบายปรากฏการณ์หลายอย่างทางฟิสิกส์ได้อย่างดีและนำไปสู่การศึกษาฟิสิกแบบใหม่ในยุคนั้น…ควอนตัม

1909 กรกฏาคม, ภรรยาเสียชีวิตคาดว่าสาเหตุมาจากโรควัณโรค

1911 มีนาคม, แต่งงานกับมาร์ก้า (Marga von Hösslin) มีลูกด้วยกันห้าคนแต่ว่ามีเพียง 2 คนที่มีชีวิตรอดพ้นวัยเด็กมาได้

1914 เมื่อเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 1 มาร์ก้าภรรยาของแพลงค์ถูกทหารฝรั่งเศสจับตัวไปขังคุก และคาร์ลลูกชายของเขาก็ถูกฆ่าตาย

หลังสงครามโลก ครั้งที่ 1 ได้เข้าเป็นสมาชิกพรรค Deutsche Volkspartei (German People’s Party) 

1918 ได้รับรางวัลโนเบล

1920 ร่วมก่อตั้งองค์การฉุกเฉินเพื่อวิทยาศาสตร์ (Emergency Organization of Germna Science) เพื่อหาทุนสนับสนุนการวิจัย

1926 10 มกราคม, เกษียณราชการ

1930 แพลงค์ได้เป็นประธานของสมาคมไคเซอร์ วิลเฮล์ม (Kaiser Wilhelm Society0 อยู่ในตำแห่งจนกระทั้งปี 1937 สมาคมนี้เป็นศูนย์รวมการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ ในเยอรมัน รวมถึงการออกแบบอาวุธเพื่อใช้ในสงคราม เมื่อแพลงค์เข้ารับตำแหน่งได้ไม่นาน นาซีก็เข้ามามีอำนาจในเยอรมัน แพลงค์เห็นนักวิทยาศาสตร์เชื้อสายยิวหลายคนที่ต้องอพยพออกจากเยอรมันไป แต่ว่าแพลงค์เองหลีกเลี่ยงที่จะนำ KWS ไปเผชิญหน้ากับนาซี นักวิทยาศาสตร์บางคนก็โจมตีแพลงค์ว่าเป็นเจ้าหน้าที่นาซีสายวิทยาศาสตร์ 

จนเมื่อแพลงค์ใกล้หมดวาระในตำแหน่ง นาซีได้กดดันให้เขาไม่เป็นประธานอีกในสมัยต่อไป

1944 เมื่อสงครามโลก ครั้งที่ 2 เริ่มต้นขึ้น บ้านของแพลงค์ในเบอร์ลินถูกทำลายโดยระเบิด แพลงค์จึงย้ายไปอยู่ที่ก๊อตตินเจ้น (Göttingen) ต่อมาไม่นานเออร์วิ่นลูกชายของแพลงค์ ถูกจับในข้อหาสมรู้ร่วมคิดในการลอบสังหารฮิตเลอร์ (20 July plot) 

1945 23 มกราคม, เออร์วิ่นถูกประหารชีวิต

1947 4 ตุลาคม, แพลงค์เสียชีวิตก็อตตินเจ้น

Don`t copy text!