Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Helena Blavatsky

เฮเลน่า เปตรอฟน่า บลาวัตสกี (Елена Петровна Блаватская)

ผู้ก่อตั้ง Theosophical Society 

บลาวัตสกี มีชื่อจริงว่า เอเลน่า วอน ฮาห์น (Helena von Hahn) เกิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 1831 (31 กรกฏาคม O.S. ) ในเมืองเยคาเตริโนสลาฟ, จักรวรรดิรัสเซีย (Yekaterinoslav, Russian Empire) ปัจจุบันเมืองที่เธอเกิดอยู่ในยูเครน พ่อของเธอเป็นทหาร พันเอกปีเตอร์ ฮาห์น (Colonel Peter von Hahn) และแม่ชื่อว่า เฮเลน่า ฟาเดเยว่า (Helena Andreevna Fadeyeva) เป็นนักเขียนที่มีชื่อ  บลาวัตสกีมีน้องสาวหนึ่งคนชื่อเซลิโฮฟสกี (Zhelihovsky, b.1835) และน้องชายหนึ่งคนชื่อ ลีโอนิค (Leonid, b.1840) 

ครอบครัวของเธอต้องย้ายที่อยู่บ่อยเพราะหน้าที่การงานของพ่อ

1839 ตาของเธอชื่อ แอนเดรีย  ฟาเดเยฟ (Andrei Mikhailovich Fadeyev) ได้รับตำแหน่งเป็นผู้ว่าของเมืองซาราตอฟ (Saratov) แม่ของเธอจึงพาลูกสาวสองคนย้ายมาอยู่กับตา และยายเฮเลน่า ปาฟลอฟน่า (Helena Pavlovna)

บลาวัตสกีชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่เล็ก โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องราวลึกลับไสยศาสตร์ เธอเริ่มเรียนภาษาเยอรมันตอนอายุ 10 ปี และมีพรสววรค์ในการเล่นเปียโนและการวาดรูป 

1841 ครอบครัวย้ายกลับมาที่ยูเครน

1842 6 กรกฏาคม, แม่ของบลาวัตสกีเสียชีวิตเมื่อเธออายุ 11 ปี โดยที่ก่อนตายนางได้พูดเอาไว้ว่า “อาจจะเป็นโชคดีของฉันที่ได้ตายตั้งแต่ตอนนี้ ดีกว่าที่ฉันจะต้องทุกข์ทรมานเพราะต้องเห็นความลำบากของบลาวัตสกี ฉันรู้ว่าลูกของฉันมีโชคชะตาที่เลวร้าย เธอคงจะเจ็บปวดอย่างมาก”

หลังแม่เสียชีวิต ตาและยายทำหน้าที่ดูแลหลานๆ โดยพาย้ายกลับไปอยู่ที่ซาลาตอฟ 

1847 ครอบครัวย้ายบ้านอีกครั้งหนึ่งมาอยู่ที่ทิฟลิส (Tiflis) ในจอร์เจีย เพราะตาได้ตำแหน่งเป็นสมาชิกอาวุโสสภาเขตทรานคอเคซัส

พออายุได้ 17 ปี ได้แต่งงานกับนิกิฟอร์ บลาวัตสกี (Nikifor Vasilyevich Blavatsky) ที่มีอายุมากกว่าเธอหลายปี เขาเป็นรองผู้ว่าของเมืองเยเรวาน (Erevan)  แต่ว่าหลังแต่งงานไม่นานบลาวัตสกีกลับหนีจากสามีไป โดยมุ่งหน้าไปยังโอเดสสาเพื่อขึ้นเรือโดยสารชื่อคอมโมดอร์ (Commodore) มายังเมืองเคิร์ช (Kerch) ในอังกฤษ

ต่อมาเธอเดินทางมายังกรุงคอนสแตนติโนเปิ้ล และได้พบกับเคาน์เตส คิเซเลว่า (countess Kiseleva) ซึ่งทั้งคู่กลายเป็นเพื่อนร่วมเดินทางท่องเที่ยวไปยังอีกหลายประเทศ ทั้งอียิปต์และยุโรปตะวันออก

1851 12 สิงหาคม, ในวันเกิดครบรอบ 20 ปีของเธอ บลาวัตสกีอ้างว่าเธอได้พบกับ มหาตะมะ โมเรีย (Mahatma Morya) ในลอนดอน แต่ว่าก่อนที่บลาวัตสกีจะได้พบกับโมเรียครั้งนี้  เธอเคยเห็นเขาในความฝันมาก่อน ซึ่งเมื่อพบกันบลาวัตสกีบอกว่า “ครู” ของเธอได้ แนะนำให้บลาวัตสกีเดินทางไปธิเบตเพื่อที่เตรียมตัวสำหรับภาระกิจสำคัญ 

ช่วงปลายปีเธอจึงเดินทางออกจากอังกฤษ มาสหรัฐฯ , อเมริกาใต้ และเดินทางมาจนถึงอินเดีย

1852 เมื่ออยู่ในอินเดีย เธอพยายามจะเดินทางไปทิเบต แต่ว่าล้มเหลวทางการไม่อนุญาตให้เธอเข้าไป เธอจึงเดินทางกลับอังกฤษ ในปีถัดมา โดยขึ้นเรือจากเกาะชวา 

1854 มาสหรัฐฯ อีกครั้งหนึ่ง และได้เดินทางไปกับกองคาราวานผู้อพยพที่เดินทางผ่านเทือกเขาร็อกกี้ หลังจากนั้นก็ลงเรือข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกมายังญี่ปุ่นและต่อมายังสิงคโปว์

1855 มาอินเดียอีกครั้งหนึ่งผ่านทางเรือจากญี่ปุ่น และครั้งนี้เธอสามารถเดินทางไปยังธิเบตได้ 

1856 ในอินเดีย เธอพิมพ์หนังสือ From the caves and jungles of Hindustan โดยใช้นามปากกา Radda-Bay ซึ่งหนังสือเกี่ยวกับชีวิตของเธอตอนที่อยู่ในอินเดีย

1857 พยายามจะเดินทางเข้าไปในทิเบต แต่ว่าเธอบอกว่าได้รับคำแนะนำจากครูของเธอให้เดินทางไปยังเกาะชวา และต่อมาเธอเดินทางกลับยุโรป

1858 กลับมาอยู๋ในรัสเซียในช่วงฤดูใบไม้ร่วง และไปอาศัยกับน้องสาวของเธอในเมืองพัสคอฟ (Pskov)

1868 เดินทางไปอินเดียและธิเบตอีกครั้ง และครั้งนี้ได้พบกับ “ครู”  อีกคนคือ คุต ฮูมิ (Koot Hoomi) ที่เมืองใกล้เขาเทือกเขาคาราโครัม (Karakoram)

1870 หลังจากอยู่ในธิเบตเกือบสามปี เธอด้เดินทางกลับออกมา และเดินทางท่องไปยังไซปรัส กรีซ และอียิปต์  

1871 4 กรกฏาคม, ประสบอุบัติเหตุเรืออีฟโนเมีย (Evnomia) ที่เธอโดยสารล่มใกลักับเกาะสเปตไซ (Spetsai island) บราวัตสกีเกือบจะจมน้ำเสียชีวิต แต่ได้รับการช่วยเหลือมาได้ หลังจากการพักรักษาตัวเธอเดินทางไปยังไคโร พยายามก่อตั้ง Society of Spirite เป็นสมาคมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการของจิต  แต่ว่าไม่นานสมาคมก็ล้มเลิกไปเพราะขาดเงินทุน 

1872 หลังกลับมาอยู่ในรัสเซียช่วงเวลาสั้นๆ แล้วบราวัตสกีก็ออกเดินทางอีกครั้งไปยังปารีส ตามคำแนะนำจากอาจารย์ในนิมิตที่เธอเห็น

1873 7 กรกฏาคม, มายังนิวยอร์ค

1874 ได้พบกับ พันเอกเฮนรี่ โอลคอตต์ (Colonel Henry Steel Olcott)  และวิลเลี่ยม จูดจ์ (William Quan Judge)

1875 3 เมษายน, เธอแต่งงานกับไมเคิ้ล เบตาเนลลี (Michael Betanelly) ชาวจอร์เจียที่อาศัยในสหรัฐฯ แต่ไม่กี่เดือนทั้งคู่ก็แยกทางกัน

7 กันยายน, บราวัตสกี, โอลคอตต์, และจูดจ์ ร่วมกันก่อตั้งสมาคมธีโอโซฟี่ (The Theosophical Society)

1877 Isis Unveiled 

1878 8 กรกฏาคม, ได้รับสัญชาติอเมริกัน 

1879 บราวัตสกีเดินทางมายังอินเดียนพร้อมกันพันเอกโอลคอตต์ และก่อตั้งสาขาของสมาคมธีโอโซฟีในบอมเบย์ (Bombay)

ตุลาคม, มีวารสาร The Theosophist ฉบับแรกถูกตีพิมพ์ออกมา และยังพิมพ์ต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน

1882 ย้ายสำนักงานของสมาคมธีโอโซฟีมาอยู่ในเมืองอัดยาน (Adyan)

1884 (Coulomb Affair) , ระหว่างที่บราวัตสกีเดินทางไปยุโรป ในอินเดียเธอถูกโจมตีจากลูกศิษย์ของเธอเองสองคน คืออเล็กซิส (Alexis Coulomb) และเอ็มม่า (Emma Coulomb)  โดยอเล็กซิสและเอ็มม่าถูกปลดจากงานในสมาคมธีโอโซฟี พวกเขาจึงไปพึ่งสมาคมของชาวคริสต์ และมอบจดหมายที่อ้างว่าเป็นจดหมายที่บราวัตสกีเขียนถึงเอ็มม่า โดยในจดหมายแสดงให้เห็นว่าอำนาจเหนือธรรมชาติของบราวัตสกีเป็นเรื่องที่เธอหลอกหลวงขึ้นมา ตอนแรกบราวัตสกีตั้งใจกลับมาฟ้องร้องในอินเดีย และสุดท้ายเธฮตัดสินใจทิ้งสมาคมในอินเดียไป

1885 31 มีนาคม, ออกจากอินเดียและไม่เคยเดินทางกลับมาอีกเลย

1888 เขียน The Secret Doctrine ซึ่งถูกยกย่องว่าเป็นผลงานเอกของเธอ

ตุลาคม, เธอก่อตั้งโรงเรียน Esoteric Section 

1889 The Key to Theosophy และ The Voice of the Silence

1890 กรกฏาคม, ก่อตั้งสำนักงานใหญ่ของสมาคมธีโอโซฟีในยุโรป ที่ลอนดอน 

1891 8 พฤษภาคม, เสียชีวิต โดยทีเถ้ากระดูกของเธอถูกแบ่งไปไว้ที่สาขาของสมาคมธีโอโซฟิคอล ในลอนดอน, นิวยอร์คและอินเดีย โดยทุกปียังคงมีการจัดงานระลึกถึงเธอในวันเสียชีวิตของเธอ โดยเรียกว่าเป็นวัน White Lotus Day

 

Don`t copy text!