Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Francis Bacon

ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon)

ปรัชญา empiricism

เบคอนเกิดเมื่อวันที่ 22 มกราคม 1561 ในลอนดอน เขาเป็นลูกชายคนที่สองของเซอร์นิโคลัส (Sir Nicholas Bacon)  กับแอนน์ คุ๊ก (Anne Cooke) ภรรยาคนที่สอง  พี่ชายของเบคอนชื่อแอมโธนี่ (Anthony) 

เซอร์นิโคลัสเป็นลอร์ดคีปเปอร์ (Lord Keeper of the Great Seal) ของพระราชินีอลิซาเบธ ที่ 1 (Alizebeth I)  และเคยเป็นอาจารย์สอนหนังสือให้กับกษัตริย์เอ็ดเวิร์ด ที่ 6 (Edward VI)

1573 เข้าเรียนที่ไตรนิตีคอลเลจ, แคมบริดจ์ (Trinity College, Cambridge) ตอนอายุ 12  ปี พร้อมกับพี่ชาย อาจารย์ที่สอนพวกเขาคือจอห์น วิตกิฟ (John Whitgift) 

1576 เบคอนเข้าเรียนกฏหมายที่เกรย์อิน (Gray’s Inn) โรงเรียนกฏหมายในลอนดอน แต่ไม่กี่เดือนต่อมาเขาติดตามทูตอังกฤษประจำฝรั่งเศสเอเมีย พัวเลต (Amias Paulet) ที่ไปทำงานที่ปารีส ซึ่งช่วงนั้นฝรั่งเศสเป็นรัชสมัยของกษัตริย์อองรี ที่ 3 (Henry III)

1579 พ่อของเขาเสียชีวิต ทำให้เบคอนเดินทางกลับอังกฤษ แต่เนื่องจากพ่อของเขาไม่ได้เหลือทรัพย์สินไว้ให้มากนัก ทำให้เบคอนมีภาระหนักทางด้านการเงิน เขากลับเข้าเรียนและทำงานด้านกฏหมายที่เกรย์อินอีกครั้ง

1582 ได้รับตำแหน่งบาร์ริสเตอร์ (Barrister) 

1584 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทน (House of Commons) ซึ่งเขาได้อยู่ในตำแหน่งกว่า 30 ปี จนปี 1614

1591 ได้เป็นที่ปรึกษาให้กับเอิร์ลแห่งเอสเซ็ก (Robert Devereux, Earl of Essex) ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระราชินีอลิซาเบธ ที่ 1,  เอิร์ลแห่งเอสเซ็กยังเป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุนทางการเงินแก่เบคอนที่สำคัญ

1593 ราชินีอลิซาเบธมีพระประสงค์ให้รัฐสภาดำเนินการสอบสวนว่าฝ่ายโรมันแคทอริกมีแผนการลับที่ไม่ประสงค์ดีต่อพระองค์ แต่ว่าเบคอนพยายามคัดค้านในสภาไม่ให้มีการดำเนินการดังกล่าว ทำให้เบคอนไม่เป็นที่ชื่นชอบของพระราชินี

1601 เอิร์ลแห่งเอสเซ็ก ถูกตัดสินประหารชีวิตในความพยายามปฏิวัติ ซึ่งในคดีนี้พระราชินีอลิซาเบธได้ตั้งเบคอนให้ทำหน้าที่สอบสวน

1603 หลังการสวรรคตของพระราชินีอลิซาเบธ , กษัตริย์เจมส์ ที่ 6 แห่งสก๊อตแลนด์ (James VI of Scotland) ได้ขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษและไอซ์แลนด์ ซึ่งเบคอนกลายเป็นคนโปรดของกษัตริย์เจมส์ พระองค์ได้พระราชทานยศอัศวินให้กับเบคอน

1605 แต่งงานกับอลิส (Alice Barnham) ลูกสาวของเศรษฐีคนหนึ่งในลอนดอน 

1608 เป็นเสมียรอยู่ที่สตาร์แชมเบอร์ (Star Chamber) ซึ่งเป็นศาลหนึ่งของอังกฤษตั้งอยู่ในพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (Westminster Palace)

1613 ได้รับตำแหน่งอัยการสูงสุด

1616 ได้เป็นองคมนตรี

1618 ได้รับตำแหน่งลอร์ดแชนเซลเลอร์ (Lord Chancellor) เป็นตำแหน่งทางการเมืองสูงสุดในอังกฤษเวลานั้น และยังได้รับแต่งตั้งเป็นบารอนแห่งเวรุลัม (Baron of Verulam) 

1620 Novum Organum (New tool of Knowledge) ผลงานเขียนชิ้นเอกของเบคอนตี่พิมพ์ออกมาในอังกฤษเป็นภาษาลาติน ซึ่งเบคอนในบุกเบิกแนวคิด Empiricism ที่เบคอนบอกว่าความรู้จะเกิดได้จากประสบการณ์หรือการทดลองเท่านั้น

ใน Novum Organum เบคอน แบ่งสาเหตุของการใช้เหตุผลที่ผิดผลาดของมนุษย์เอาไว้  4 ประเภท (Idols of the mind)

Idola tribus มนุษย์มีแนวโน้มที่จะใช้เหตุผลไปตามระบบที่เคยมีอยู่ หรือที่ตัวเองเคยยอมรับไว้แล้วตามวัฒนธรรมของชนชาติ

Idola SPECUS การสรุปเหตุผลที่ผิดผลาดเพราะความอ่อนแอในการใช้เหตุผลของตนเองไม่ว่าจะเกิดจากนิสัย การศึกษา หรือความชอบหรือไม่ชอบส่วนตัว

idola Foti ความผิดผลาดอันเกิดจากภาษาทำให้ตีความผิด

Idola Theatri การยึดติดในลัทธิปรัชญาแบบใดแบบหนึ่ง

1621 ได้รับตำแห่งเป็นวิสเคานต์แห่งเซนต์อัลแบน (Viscount St. Albans) แต่ไม่นานเบคอนถูกรัฐสภาสอบสวนในคดีรับสินบน ซี่งเบคอนยอมรับว่าได้กระทำความผิดจริง เขาถูกตัดสินให้มีการลงโทษจำคุก แต่ว่าได้รับพระเมตตาจากกษัตริย์ให้เหลือเพียงปลดออกจากตำแหน่งทในสภาและห้ามเข้ามาในรัฐสถาในรัศมี 12 ไมล์  

เบคอนใช้ชีวิตที่เหลือกลับไปอยู่บ้านที่กอร์แฮมเบอรี่ (Gorhambury, Hertfordshirte)

1626 มีนาคม, เบคอนทำการทดลองว่าเนื้อไก่จะสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานเท่าไหร่เมื่อนำไปฝังไว้ในหิมะ การทดลองนี้ทำให้เขามีติดไข้หวัด

9 เมษายน, เสียชีวิตภายในบ้านของเอิร์ลแห่งอรันเดล (Earl of Arundel) ชานกรุงลอนดอน  จากอาการปอดบวม

Don`t copy text!