มาร์ติน ไฮเด็กเกอร์ (Marin Heidegger)
ผู้เขียน Being and Time
ไฮเด็กเกอร์ เกิดเมื่อวันที่ 26 กันยาน 1889 ในเมสเคิร์ช (Messkirch), บาเด็น จักรวรรดิเยอรมัน ครอบครัวของเขาเป็นแคโธริค พ่อชื่อไฟร์ดริช (Friedrich) ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่อยู่ในโบสถ์ และแม่ชื่อโจฮันน่า Johanna) ไฮเด็กเกอร์เป็นลูกคนโต มีน้องสาวชื่อแมรี่ (Mary, b.1892) และน้องชายไฟร์ดริช (Friedrich. b.1894) ไฮเด็กเกอร์ถูกเลี้ยงให้โตขึ้นมาโดยหวังว่าเขาจะต้องเป็นนักบวช
1903 เข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมปลายในเมืองคอนสแตนซ์ (Konstanz)
1906 ย้ายมาเรียนที่ไฟรบูร์ก (Freiburg) โดยระหว่างเรียนอยู่ที่เมืองนี้เขาได้อ่านหนังสือเรื่อง On the Manifold Meaning of Being according to Aristotle ผลงานเขียนของฟรานซ์ เบรนตาโน่ (Franz Brentano) ทำให้ไฮเด็กเกอร์หันมาสนใจเกี่ยวกับปรัชญาและการตั้งคำถามถึงความหมายของการมีชีวิต
1909 หลังเรียนจบมัธยมปลาย ได้เข้าเรียนต่อที่ มหาวิทยาลัยไฟรบูร์ก (Freiburg University) ซึ่งเขาเลือกเรียนทางด้านศาสนปรัชญา (Theology)
1911 เขาล้มเลิกความตั้งใจเดิมที่จะเป็นนักบวช แต่ได้หันมาสนใจเกี่ยวกับปรัชญา, และคณิตศาสตร์มากขึ้น ช่วงเวลานี้เขายังได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือ Logical Investigations ของเอ็ดมันด์ อัสเซิร์ล (Edmund Husserl) ด้วย
1913 ได้รับปริญญาเอก โดยทำวิทยานิพนธ์เรื่อง The Doctrine of Judgement in Psychologism ซึ่งมี เฮนริช ริคเกิร์ต (Heinrich Rickert) เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
1914 เมื่อเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 1 เขาได้ถุกเกณฑ์เป็นทหาร แต่ว่าอยู่ได้เพียงสองเดือนก็ได้รับการปลดประจำการณ์เนื่องจากปัญหาสุขภาพของเขา
1916 เข้าทำงานที่ ม.ไฟรบูร์ก ซึ่งเอ็ดมันด์ อัสเซิร์ล ก็สอนหนังสืออยู่ที่นี่
1917 21 มีนาคม, แต่งงานกับเธีย เปตริ (Thea Elfride Petri) เธอเป็นนักศึกษาที่เข้าเรียนในคลาสของไอเด็กเกอร์ ซึ่งเธอเป็นโปรเตสแตนท์ ทำให้มีการจัดงานแต่งงานกันสองครั้งห่างกันหนึ่งอาทิตย์ตามแต่นิกายของทั้งคู่ พวกเขามีลูกด้วกันสองคน คือ จอร์จ (Jörg,b.1919) และ เฮอร์มัน (Hermann, b.1920)
ชีวิตแต่งงานของไฮเด็กเกอร์กับเธียนั้นอาจจะเป็นชีวิตคู่แบบเปิด (Open marriage) ซึ่งปล่อยให้คู่ของตนไปมีความสัมพันธ์กับคนอื่นได้, เฮอร์มันนั้นเป็นลูกที่เกิดจากชู้ของเธีย แต่ไฮเด็กเกอร์เลี้ยงดูเขาเหมือนลูกแท้ๆ , ไฮเด็กเกอร์เองก็มีความสัมพันธ์ชู้สาวกับลูกศิษย์ของเขาเอง อย่างอลิซาเบธ บล๊อกมันน์ (Elisabeth Blochmann)
1918 เกิดการปฏิวัติเยอรมัน (German Revolution 1918-1919) ทำให้เขาต้องหยุดการสอนหนังสือและเข้าเป็นทหารอีกครั้ง โดยในครั้งนี้เขาเป็นทหารนานสิบเดือน โดยไปอยู่ในฝ่ายพยากรณ์อากาศของกองทัพ
หลังจากปลดประจำการณ์เขาก็ได้กลับมาสอนหนังสือ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยของ เอ็ดมันด์ อัสเซิร์ล
1923 ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่ ม.มาร์บูร์ก (Marbur University)
1927 ได้รับตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ที่ ม.มาร์บูร์ก หนังจากเอ็ดมันด์ อัสเซิร์ลได้เกษียณตำแหน่ง
Being and Time ถูกพิมพ์เผยแพร่ออกมาในเวลานี้
1929 มีผลงานเขียนเล่มที่สอง What is Metaphysics?
1930 พรรคนาซี (NSDAP) ของฮิตเลอร์ เริ่มมีอิทธิพลในเยอรมัน
1933 ฮิตเลอร์ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเยอรมัน
ไฮเด็กเกอร์ได้รับเลือกให้เป็นอธิการบดีของ ม.ไฟร์บูร์ก
3 พฤษภาคม, ไฮเด็กเกอร์เข้าเป็นสมาชิกพรรคนาซี
27 พฤษภาคม, ไฮเด็กเกอร์ อ่านสุนทรพจน์ใในพิธีเข้ารับตำแหน่งอธิการบดีของเขา สุนทรพจน์มีช่อว่า “The Self-Assertion of the German University” ซึ่งเมื่อเนื้อหาถูกมองว่ายกย่องการปกครองของฮิตเลอรื
1934 23 เมษายน, ลาออกจากตำแหน่งในมหาวิทยาลัย แต่ว่ายังคงเป็นสมาชิกพรรคนาซีอยู่จนกระทั้งสิ้นสงครามโลก
หลังลาออก ไฮเด็กเกอร์หันมาโจมตีแนวคิดของนาซี จนถูกทางการส่งเจ้าหน้าที่คอยประกบ และในที่สุดเขาถูกจับตัว และลงโทษด้วยการส่งไปขุดสนามเพาะในไรน์ (Rhine)
1946 ถูกไล่ออกจากตำแหน่งต่างๆ
1949 หลังสงครามโลก การลงโทษที่มีต่อเขาถูกยกเลิก
ช่วง 30 ปีสุดท้ายของชีวิต เขาใช้เวลากับการเขียนหนังสือ และมีผลงานพิมพ์ออกมาหลายเล่ม
1966 ไฮเด็กเกอร์ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Der Speigel ในตอนที่ชื่อว่า “Only God Can Save Us” ซึ่งพยายามแก้ตัวเกี่ยวกับการไปเกี่ยวข้องกับนาซี
1976 26 พฤษภาคม, เสียชีวิต และถูกฝังที่โบสถ์ในเมสเคิร์ช
2014 Black Notebooks เป็นหนังสือที่รวบรวมโน็ตของไฮเด็กเกอร์ ถูกนำมาพิมพ์โดยเปเตอร์ ทราวนี (Peter Trawny) ซึ่งเนื้อหาของโน็ตนั้นโจมตีชาวยิว
ผลงานเขียนบางส่วน
- Frühe Schriften
- Aus der Erfahrung des Denkens (1910)
- Reden und andere Zeugnisse eines Lebensweges (1910)
- Wegmarken (Pathmarks , 1919)
- Sein und Zeit (Being and Time, 1927)
- Kant und das Problem der Metaphysik (Kant and the Problem of Metaphysics, 1929)
- Erläuterungen zu Hölderlins Dichtung (Elucidations of Hölderlin’s Poetry, 1936-68)
- Holzwege (1935)
- Vorträge und Aufsätze (1936)
- Was heisst Denken? (What Is Called Thinking?, 1951)
- Seminare (1951)
- Der Satz vom Grund (The Principle of Reason, 1955)
- Identität und Differenz (Identity and Difference, 1955)
- Unterwegs zur Sprache (On the Way to Language, 1950)
- Zur Sache des Denkens (On Time and Being, 1962)