มาลาลา (Malala, Malalai) เกิดในปี
1861
เป็นคนในหมู่บ้านคิก (Khig) หมู่บ้านเล็กๆในไมวันด์ (Maiwand) เมืองทางตอนใต้ของจังหวัดกันดาฮาร์ (Kandahar) อัฟกานิสถาน ที่บ้านของเธอมีอาชีพเลี้ยงสัตว์
1880
กรกฏาคม, (Battle of Maiwand) สมรภูมิที่ไมวันด์ เป็นส่วนหนึ่งของสงครามระหว่างอัฟกานิสถานกับอังกฤษ ครั้งที่ 2 (2nd Anglo-Afghan War, 1878-1880) ที่อังกฤษพยายามจะขยายอาณานิคมจากอินเดียเข้ามาครอบครองอัฟกานิสถานด้วย
ในสงครามนี้พ่อและคู่มั่นของมาลาล่าได้เข้าร่วมกับกองทัพของข่านอายัพ (Ayub Khan) ซึ่งโจมตีค่ายทหารอังกฤษ โดยที่มาลาลาเหมือนกับผู้หญิงอัฟกานิสถานทั่วไปที่จะอยู่ในแนวหลังของทหาร คอยจัดการเรื่องเสบียงและดูแลทหารบาดเจ็บ
แต่แม้ว่าจะมีจำนวนที่มากกว่า แต่กองทัพอัฟกานิสถานเป็นฝ่ายเสียเปรียบกองทัพอังกฤษที่มีอาวุธที่ดีกว่า จนทหารอัฟกานิสถานที่กำลังรบอยู่เสียขวัญ
มาลาลา เห็นอย่างนั้น เธอก็ถอดผ้าคลุมหน้าออก แล้วร้องตะโกนว่า
“… ถ้าท่านไม่ล้มลง ณ.ที่แห่งนี้ ที่ไมวันด์,
พระเจ้า!, ต่อไปก็จะมีคนนำเอาภาพของท่านไปเป็นสัญลักษณ์ของความอดสู
Young love! If you do not fall in the battle of Maiwand,
By God, someone is saving you as a symbol of shame! ”
เสียงของมาลาลา ทำให้ทหารกลับมาฮึดสู้อีกครั้ง และเมื่อมาลาลามองเห็นทหารที่ถือธง ถูกกระสุนของอังกฤษยิง จนกำลังจะล้มลง เธอได้วิ่งเข้าไปคว้าและประคองธงที่กำลังจะลงพื้นเอาไว้ และได้ร้องเพลงว่า
“ด้วยหยดเลือดของผู้เป็นที่รักแห่งข้า
ที่หลั่งเพื่อพิทักษ์แผ่นดินแม่
ข้านำมันมาแต้มที่หน้าผาก
จะเป็นการดูหมิ่นกุหลาบในสวนไหม
With a drop of my sweetheart’s blood,
Shed in defense of the Motherland,
Will I put a beauty spot on my forehead,
Such as would put to shame the rose in the garden!
แต่สักพักมาลาลาเองก็ถูกกระสุนยิงจนเสียชีวิต, ข่านอายุบ ได้พระราชทานเพลิงศพใหักับมาลาลา และฝังเธอเอาไว้ในหมู่บ้านของเธอเพื่อสดุดีวีรกรรมอันกล้าหาญ
อังกฤษหลังปราบปรามการลุกฮืดของข่านอายุบได้แล้วก็ถอนทหารกลับไปยังที่ตั้งในกันดาฮาร์
เรื่องราวของมาลาลาถูกบรรจุในตำราเรียนของอัฟกานิสถาน และเป้นแรงบันดาลใจให้กับผู้หญิงอัฟกานิสถาน และชื่อของเธอมักถูกนำไปตั้งชื่อให้กับเด็กผู้หญิง อาทิ ชื่มาลาลา ยูซัฟไซ (Malala Yousafzai) เจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพ 2014 และผู้เขียนหนังสือ I’m Malala (หนังสือเล่มนี้ Christina Lamb นักข่าวอังกฤษเป็นผู้ร่วมเขียน)