Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Charles Delescluze

หลุยส์  เดเลสคลูซ (Louis Charles Delescluze)
แกนนำปารีสคอมมูน
เดเลสคลูซ เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 1871 ใน Dreux, Eure-et-Loir พ่อของเขาคือบารอนลาเวน่า (Baron Lavena)
1827 จบชั้นมัธยมปลาย หลังจากเรียนจบได้เดินทางกลับไปที่บ้านเกิด และทำงานเป็นเสมียรอยู่ในสำนักงานกฏหมาย แต่ไม่นานก็ได้งานเป็นเสมียรในกรุงปารีส
1830 การปฏิวัติกรกฏาคม (July revolution, 1830) , ก่อนการปฏิวัติกรกฏาคม เดเลสคลูซเป็นสมาชิกของกลุ่มใต้ดินหลายกลุ่ม ที่สนับสนุนระบอบสาธารณรัฐ รวมถึงเป็นสมาชิกของ Friends of the People ซึ่งสมาชิกในกลุ่มเรียกตัวเองว่าจาโคบิน (Jacobins) 
1831 ถูกให้ออกจากงาน จากการที่เขาเคลื่อนไหวกับพวกต่อต้านรัฐบาล
เขาจึงสมัครเข้าเรียนที่ซอร์บอนน์ (Sorbonne) ทางด้านกฏหมาย
1836 ลี้ภัยทางการเมืองไปอาศัยอยู่ในเบลเยียม 
1840 เดินทางกลับมายังฝรั่งเศส และไปอาศัยอยู่ที่เมืองวาเลนเซียน (Valenciennes) โดยได้เป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ Emparsyal du Nord
1848 กุมภาพันธ์, (Revolution of 1848) เกิดการปฏิวัติในโค่นกษัตริย์หลุยส์-ฟิลิป (Louis-Philippe) ทำให้ฝรั่งเศสกลายสถานะมาเป็นสาธารณรัฐอีกเป็นครั้งที่ 2 (2nd Republic)
เมษายน, เขาลงสมัครรัรบเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (Constituent Assembly) และได้ย้ายมาอาศัยในปารีส และทำหนังสือพิมพ์ The Democratic and Social Revolution แต่ว่าไม่นานเขาถูกจับ เพราะเขียนบทความโจมตีนายพลหลุยส์-ยูจีน (Louise-Eugene Cavaignac) ว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการสังหารหมู่ ในปี 1848 ( June days ) และเดเลสครูซถูกจับตัวไว้ได้ และโดนลงโทษจำคุกเป็นเวลาหนึ่งปี
1850 ถูกจับอีกครั้งหนึ่งและถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลาสามปี ทว่าเดเลสครูซได้หลบหนีมายังอังกฤษ 
1853 แอบเดินทางกลับมายังฝรั่งเศสอย่างลับๆ  แต่ว่ากลับถูกจับตัวเอาไว้ได้ เขาถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลาสิบปี และถูกนำตัวไปขังยังที่เรือนจำหลายแห่งตลอดช่วงเวลาที่อยู่ในเรือนจำ  ก่อนที่สุดท้ายได้ถูกเนรเทศไปยังเกาะเดวิล (Devil’s Island) ในเฟรนซ์กิอาน่า (French Guiana)
1859 ได้รับพระราชทานอภัยโทษ จากจักรพรรดินโปเลียน ที่ 3 (Emperor Napoleon III)
1864 ได้มาทำหนังสือพิมพ์ Reveil (The Awakening)  ของพวกหัวรุนแรงที่สนับสนุนสมาคมผู้ใช้แรงงานสากล (International Workingmens’ Association) ซึ่งกลายเป็นเหตุให้เขาถูกจับกุมอีกครั้งหนึ่ง แต่ว่าเขาได้หนีไปยังเบลเยี่ยม
1869 De Paris à Cayenne, Journal d’un transporté บันทึกความทรงจำของเขาพิมพ์ออกมา ซึ่งเป็นหนังสือที่เขาใช้เวลาช่วงที่อยู่ในคุกแต่งขึ้น
1870 เกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศส-ปรัสเซีย (Franco-Prussian war)
2 กันยายน, ที่สมรภูมิซีดาน (Battle of Sedan) จักรพรรดินโปเลียน ที่ 3 พ่ายแพ้ในการรบกับปรัสเซีย ของนายกรัฐมนตรีอ๊อตโต้ ฟอน บิสมาร์ค (Otto von Bismarck)
วันถัดมาปรัสเซียได้นำกำลังทหารมุ่งมายังปารีส  ผู้สำเร็จราชการแทนนโปเลียน ที่ 3 ขณะนั้นคือ จักรพรรดินีมงติโจ (Empress Eugenie de Montijo) ได้เสด็จหนีออกจากเมือง ทำให้การปกครองระบอบจักรวรรดิล้มพังลง  ฝ่ายนิยมระบอบสาธารณรัฐและกลุ่มหัวรุ่นแรงในสภาแห่งชาติ (National Assembly) ได้รวมตัวกันตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นมา โดยใช้ Hotel de Ville เป็นที่ทำการรัฐบาลใหม่ และประกาศให้ฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐ และมีรัฐบาลเฉพาะการขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่ารัฐบาลแห่งชาติเพื่อการป้องกันประเทศ (Government of National Defence) ทำหน้าที่ดูแลประเทศแทน และได้จัดให้มีการเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่น
19 กันยายน, (Siege of Paris, 19/9/1870 – 28/1/1871) กองทัพปรัสเซียเริ่มปิดล้อมกรุงปารีสเอาไว้ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกรุงปารีส ขณะนั้นคืนนายพลหลุยส์ ครอชุ (General Louise Jules Trochu)ที่มีกำลังราว 50,000 นาย กับกองกำลังอีกหน่วยหนึ่งที่เป็นอิสระจากกันคือ National Guard ที่มีกำลัง 300,000 คนที่เกิดจากการรวมตัวของพวกแรงงาน แต่ว่าส่วนใหญ่เป็นพวกที่ไม่ได้รับการฝึกในการรบ
19 กันยายน, กำลังของ National Guard ซึ่งไม่ไว้วางใจรัฐบาลแห่งชาติเพื่อการป้องกันประเทศ เดินขบวนเรียกร้องให้รัฐบาล ให้จัดการเลือกตั้งในทันทีในปารีสเพื่อที่พวกเขาจะได้ปกครองกันเอง ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของ Paris Commune  ผู้ชุมนุมใช้สโลแกนในการเดินชบวนว่า «Long Live the Commune»
28 ตุลาคม, มีข่าวเข้ามาในปารีสว่า ทหารฝรั่งเศสที่เมืองเมตซ์ (Metz) ได้ยอมวางอาวุธ ทำให้นายพลหลุยส์ ครอซุ ผู้บัญชาการทหารในปารีสมีแนวโน้มว่าจะยอมวางอาวุธ 
กลุ่มผู้หัวรุนแรงอย่างเดเลสครูซ และเฟลิก เฟียต (Felix Pyat) ที่ไม่พอใจท่าทีของรัฐบาล จึงได้เรียกร้องให้มีการชุมนุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งเพื่อต่อต้านการทำข้อตกลงในการยอมจำนน
31 ตุลาคม, การประท้วงต่อต้านรัฐบาล ผู้ชุมนุมมีความพยายามี่จะบุกยึด Hotel de Ville ที่ทำการรัฐบาล
พฤศจิกายน, เดเรสครูซ ได้ได้รับเลือกให้เป็นผู้ว่าการเขต (arrondissement) เขตหนึ่งในยี่สิบเขตของปารีส 
1871 มกราคม, เดเรสครูซลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าการเขต
กุมภาพันธ์, เดรัชครูศ ได้รับเลือกให้เป็นผู้แทนในสภาแห่งชาติ (National Assembly)
17 กุมภาพันธ์,​ สภาแห่งชาติได้เลือกให้ อโดลฟี แธร์ (Adolphe Theirs) เป็นผู้หัวหน้ารัฐบาลเฉพาะการ (ตำแหน่งเป็น Chief Executive of the government) ซึ่งหลังจากรับตำแหน่งไม่นานเขาได้ยอมทำข้อตกลงกับปรัสเซียในการยอมวางอาวุธ แต่ว่ากองกำลัง National Guard ของปารีสคอมมุน ปฏิเสธข้อตกลงนี้
18 มีนาคม, ทหารฝรั่งเศสกำลังเคลื่อนย้ายปืนใหญ่ที่เก็บเอาไว้ในที่เนินมงมาร์ท (Montmartre) เนินสูงในกรุงปารีส   แต่ว่าถูกกำลังของฝ่าย  National Guard  บุกยึดปืนใหญ่เอาไว้ พร้อมกับฆ่านายพลครูด เลอกอม (Claude Lecomte) และฌาค ลีอง เคลมง-โทมา (Jacques Leon Clemnet-Thomas)
26 มีนาคม, เดเรสครูซได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาของปารีสคอมมุน  (Commune Concil) จากนั้นเขาได้เขียนประกาศ Declaration to the French People เพื่อเรียกร้องให้ประชาชนในปารีสร่วมกันต่อสู้
จากนั้น Paris National Guard ได้ตั้ง Committee of Public Safety ขึ้นมาเพื่อยึดอำนาจและออกคำสั่งปราบปรามฝ่ายตรงข้าม 
5 เมษายน, CPS ได้สั่งให้กับตัวอาร์ชบิชอฟ แห่ง ปารีส (Archbishop of Paris) และพระนักบวชอีกสองร้อยรูป เพื่อใช้เป็นตัวประกันและเปลี่ยนกับการขอปล่อยตัวออกัสเต้ (Auguste Blanqui) ผู้นำหัวรุนแรงคนหนึ่งที่ถูกรัฐบาลจับเอาไว้
16 พฤษภาคม, มีการทำลายเสาหิน Vendome Column  และบ้านของอโดลฟี แธร์
22 พฤษภาคม, เดลาครูซออกประกาศ เรียกร้องให้ประชาชนในปารีสเข้าร่วมกับกองทัพของคอมมูนเพื่อต่อสู้กับกองทหารฝ่ายรัฐาบาล 
Blood Week (21-28 พฤษภาคม)
กองทัพฝรั่งเศสยึดบริเวณมงมาร์ต  และพื้นที่ส่วนใหญ่ของปารีสเอาไว้ได้
22 พฤษภาคม, เดลัสครูซ ได้สั่งให้มีการเผาสถานที่สำคัญหลายแห่ง อาทิ พระราชวังทูไลร์ (Tuileries Palace) , วังจัสติก (Palais de Justice) , ศาล (Cour des Comtes) เพื่อเป็นเชิงสัญลักษณ์ว่ารัฐบาลหมดอำนาจการปกครอง
24 พฤษภาคม, กองทัพฝรั่เศสบุกมาถึง Hotel de Ville สถานที่บัญชาการของ CPS เดลัสครูซและสหายจึงได้พากันหลบหนีไปยังสถานที่ใหม่ แต่ว่าก่อนจะหลบหนีได้สั่งใหม่มีการสังหารอาร์ชบิชอฟ แห่ง ปารีส และตัวประกันอีกหลายสิบคนที่ถูกจับไว้
เดลัสครูซและพวกมาใช้อาคารศาลากลางของปารีส บนถนนที่ 13  เป็นที่บัญชาการแห่งใหม่ แต่ว่าไม่นานกองทัพก็ตามเข้ามาประชิด 
25 พฤษภาคม, ตอนห้าโมงเย็น เดลัสครูซได้เดินออกมาที่บริเวณแนวป้องกัน ติดกับ Place Chateau-d-Eau แล้วก็ปีนขึ้นไปบนแนวป้องกันโดยปราศจากอาวุธ และเขาก็ถูกยิงจนเสียชีวิตในทัน
หลังเดลัสครูซเสียชีวิตแล้วการรบระหว่างฝ่ายคอมมูนกับกองทัพฝรั่งเศสดำเนินต่อไปจนกระทั้งวันที่ 28 พฤษภาคม ฝ่ายคอมมูนจึงได้ยอมวางอาวุธและมอบตัว
ร่างของเขาถูกฝังที่สุสานมงมาร์ต (Montmartre cemetery)

1883 ย้ายร่างของเขามาไว้ที่สุสานแพรีลาเชส์  (Pere Lachaise)

Don`t copy text!