Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Marie Tussauds

แอนน์ มาเรีย ทุสโซ (Anne Marie Tussauds)
มาเรีย กรอโชลต์ซ (Marie Grosholtz) เกิดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 1761 ในสตรัสบูร์ก, ฝรั่งเศส (Strasbourg, France) พ่อของเธอชื่อโจเซฟ (Joseph Grosholtz) เป็นทหาร เขาเสียชีวิตสองเดือนก่อนที่มาเรียจะเกิด ระหว่างที่ออกไปรบในช่วงสงครามเจ็ดปี (Seven Years’ War)
แม่ของเธอชื่อแอน-มาเรีย วัลเดอร์ (Anne-Marie Walder)  
หลังจากมาเรียเกิดแม่ได้พาครอบครัวย้ายมาอยู่ที่กรุงเบิร์น, สวิสต์เซอร์แลนด์ โดยไปอาศัยอยู่ในบ้านของหมอฟิลิปเป้ (Philippe Curtius) ซึ่งแอน-มาเรีย มาทำงานเป็นคนรับใช้อยู่ที่บ้านหลังนี้
หมอฟิลิปเป้ นอกจากเป็นแพทย์แล้ว เขายังมีฝีมือในการทำหุ่นขี้ผึ้ง  มาเรียเรียกหมอฟิลิปเป้ว่าลุง แล้วเขาเป็นคนที่สอนมาเรียในการทำหุ่นขี้ผึ้ง
1765 หมอฟิลิปเป้ย้ายมาอยู่ในปารีส และได้ก่อตั้ง Cabinet of Portraits En Cire กลุ่มของช่างปั่นหุ่นขึ้ผึ้ง  เขายังได้ทำงานให้กับมาดามดูแบร์รี่ (Madame du Barry) ซึ่งเป็นสนมคนหนึ่งของกษัตริย์หลุยส์ ที่ 15 (Louis XV)
1766 มาเรีย และแม่ได้ย้ายตามหมอฟิลิปเป้มาอยู่ในปารีส 
1770 หมอฟิลิปเป้เปิดนิทรรศการแสดงผลงานหุ่นขึ้ผึ้งของตัวเองเป็นครั้งแรก ซึ่งงานได้รับความสนใจและมีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก
1776 หมอฟิลิปเป้ย้ายสถานที่จัดแสดงมาอยู่ที่พาเลส-โรยัล  (Palais-Royal)
1777 มาเรียปั้นหุ่นขึ้ผึ้งชิ้นแรกของตัวเองเป็นรูปของโวลแตร์ (Voltaire)
1782 หมอฟิลิปเป้เปิดสถานที่แสดงผลงานแห่งที่สองขึ้นที่วิหารบูเลอวาร์ด (Boulevard du Temple)
1789 เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution) ซึ่งในวันที่ 12 กรกฏาคม ก่อนการบุกคุกบัสติลสองวัน ผู้ประท้วงในปารีสได้ใช้ขึ้ผึ้งรูปศรีษะของเนคเกอร์ (Necker) และหลุยส์ ฟิลิปเป้ ที่ 2 (Louis Philippe II, Duke of Orleans) ซึ่งหมอฟิลิปเป้เป็นคนทำขึ้นในการแห่ขบวนไปรอบเมือง
หลังการปฏิวัติ ฝรั่งเศสตกอยู่ในยุคแห่งความหวาดกลัว (Reign of Terror) มาเรียถูกมองว่าเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่สนับสนุนระบอบกษัตริย์ เธอจึงถูกทางการจับตัวเป็นนักโทษและเตรียมที่จะประหารชีวิตเธอด้วยกิโยติน  แต่ว่าได้รับการช่วยเหลือวิ่งเต้นจากแจ็ค-หลุยส์ เดวิด (Jacques-Louis David) จิตรกรซึ่งเป็นเพื่อนกับโรเบสปิแอร์ (Maximilian of Robespierre) แกนนำปฏิวัติ ทำให้มาเรียถูกส่งไปทำงานเป็นช่างหล่อหน้ากากคนตาย (death masks) ให้กับเหยื่อที่ถูกพวกปฏิวัติลงโทษ  มาเรียจึงได้ทำหน้าที่ในการหล่อหน้ากากของหลุยส์ ที่ 16 (Louis XVI) , มาเรีย อ๊องตัวเน็ตต์ (Marie Antoinnette) ด้วย ซึ่งหน้ากากที่เธอทำขึ้นถูกใช้ในการแห่เดินขบวนของพวกปฏิวัติไปทั่วกรุงปารีส
1794 เมื่อหมอฟิลิปเป้เสียชีวิต เขาให้มอบคอลเลคชั่นหุ่นขี้ผึ้งที่ทำขึ้นให้กับมาเรีย
1795 28 ตุลาคม, มาเรียแต่งงานกับฟรานซิส ทุสโซ (Francios Tussaud) ซึ่งเป็นวิศวกร พวกเขามีลูกด้วยกันสามคน แต่ว่ามีคนหนึ่งเสียชีวิตเมื่อแรกเกิด ส่วนคนที่เหลือชื่อโจเซฟ (Joseph) และฟรานซิส (Francois)
1802 มาเรียพร้อมโจเซฟบุตรชาย เดินทางมายังกรุงลอนดอน เพื่อนำผลงานของเธอมาแสดงที่โรงละคนไลเซียม (Lyceum Theatre, London) ตามคำเชิญของนักมายากลชื่อพอล ฟิลิดอร์ (Paul Philidor) แต่ว่ามาเรียและลูกดำรงชีวิตอย่างลำบากเพราะว่าต้องแบ่งกำไรครึ่งหนึ่งให้กับพอล 
ระหว่างที่อยู่ในอังกฤษ นโปเลียนก็ได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ (War of Third Coalition) ทำให้มาเรียไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้
1822 ฟรานซิสลูกชายของมาเรียได้เดินทางมาสบทบกับเธอที่อังกฤษ แต่ว่ามาเรียไม่มีโอกาสได้พบกับสามีของเธออีกเลยตลอดชีวิต
1835 เธอก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สำหรับจัดแสดงผลงานของตัวเองอย่างถาวรขึ้นที่ถนนเบเกอร์ (Baker Street) ซึ่งกลายมาเป็นพิพิธภัณธ์มาดามทุสโซที่รู้จักัน (Madame Tussauds Museum)
1838 เธอเขียนหนังสือบันทึกความทรงจำ Madame Tussaud’s Memoirs and Reminiscences of France แต่ว่าประวัติของเธอในหนังสือถูกมองว่าเธอแต่งขึ้นจนเกินจริงหลายเรื่อง
1842 เธอสร้างหุ่นขึ้ผึ้งของตัวเองขึ้นมา

1850 15 เมษายน, มาเรีย ทุสโซ เสียชีวิตขณะมีอายุ 88 ปีในลอนดอนระหว่างที่เธอนอนหลับ

Don`t copy text!