วิกเตอร์ แฟรงเกล (Viktor Emil Frankl)
ผู้เขียน Man’s Search for Meaning , ผู้ก่อตั้ง Logotherapy
แฟรงเกล เกิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 1905 ในกรุงเวียนนา ออสเตรีย พ่อของเขาชื่อเกเบรียล (Gabriel Frankl) และแม่ชื่อเอลซ่า (Elsa Lion) ทั้งคู่มาจากสาธารณรัฐเชค
แฟรงเกลเป็นลูกคนที่สองในพี่น้องสามคน พ่อของเขาเป็นผู้อำนวยการในกระทรวงบริการสังคม
1914 ช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 1, 1914-1918 ทำให้ฐานะเศรษฐกิจของบ้านไม่ดี แฟรงเกลและพี่น้องบางครั้งต้องออกไปทำงานรับจ้างเป็นแรงงานในฟาร์มเกษตร
1915 แฟรงเกลเริ่มเข้าเรียนหนังสือในจิมเนเซียม ซึ่งระหว่างที่เรียนอยู่นี้เขาได้อ่านหนังสือ Nature Philosophers แล้วทำให้เกิดความสนใจเกี่ยวกับวิชาจิตวิเคราะห์
ระหว่างนี้เขายังได้ทำกิจกรรมกับกลุ่มยุวแรงงานสังคนิยม (Young Socialist Workers)
1923 จบจากจิมเนเซียม และเข้าเรียนต่อแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเวียนนา (University of Vienna) ระหว่างที่เรียนหนังสืออยู่เขาได้รับตำแหน่งประธานของกลุ่มนักศึกษาที่นิยมลัทธิสังคมนิยม (the Austrain Socialist High School Students Asociation)
1924 มีผลงานเขียนบทความชื่อ “On the mimic movements of affirmation and negation” พิมพ์ลงในวารสาร International Journal of Psychoanalysis
1925 มีบทความชื่อ “Psychotherapy and Wetanschauung” พิมพ์ลงในวารสาร International Journal of Individual Psychology
ในปีนี้แฟรงเกลยังได้มีโอกาสพบกับฟรอยด์ (Sigmund Freud) แต่ว่าตัวของเขาเองกลับใกล้ชิดแอดเลอร์ (Alfred Adler)
แต่ว่าแฟรงเกล มีความสนใจที่จะผสานวิชาจิตบำบัดเข้ากับปรัชญา ซึ่ง Individual psychology ของแอดเลอร์ นั้นเห็นว่าความต้องการความสำเร็จ (will to power) เป็นแรงขับเคลื่อนหลักของมนุษย์ ในขณะที่แนวคิดของฟรอย์ด นั้นมองว่า ความต้องการความสุข (will to pleasure) การหลีกเลี่ยงความทุกข์เป็นแรงขับเคลื่อนหลักของมนุษย์ แต่ว่าแฟรงเกล ซึ่งพัฒนา Logotherapy ขึ้นมาด้วยมองว่า ความต้องการหาความหมายของการมีชีวิต (Will to meaning) เป็นปัจจัยหลัก ซึ่งแนวคิดของแฟรงเกลจึงถูกจัดเป็นแนวคิดที่สามของวิชาจิตบำบัดในเวียนนาเวลานั้น
1927 ความสัมพันธ์ของแฟรงเกลและแอดเลอร์แย่ลง และแฟรงเกลไปสนิทกับอัลเลอร์ (Rudolf Allers) และชวาร์ซ (Oswalf Schwarz ผู้ก่อตั้ง psychosomatic medicine) มากกว่า
1928 แฟรงเกลเริ่มทำโครงการสร้างศูนย์ให้คำปรึกษากับเยาวชนขึ้นในกรุงเวียนนา และเมืองต่างๆ อีก 6 เมืองในยุโรป โดยที่ไม่คิดค่าใช้จ่าย
1930 ไม่นานก่อนที่จะเรียนจบ เขาก็ได้ทำงานที่แผนจิตบำบัด ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
1931 เข้าทำงานที่ Maria Theresien Scholoessl ในกรุงเวียนา
1933 ไปทำงานเป็นแพทย์ฝึกหัดอยู่ที่โรงพยาบาลจิตเวชสไตฮอฟ (Steinhof Psychiatric Hospital) โดยที่เขารับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยที่มีแนวโน้มจะฆ่าตัวตาย ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ทำงานที่นี่เขารักษาผู้ป่วยราวปีละ 3000 คน
1937 เขาเข้ารับการฝึกอบรมเป็นแพทย์ด้านระบบประสาทและจิตเวช
1938 กองทัพนาซีเยอรมันบุกออสเตรีย ซึ่งเมื่อนาซีครองอำจาจในออสเตรียได้ แฟรงค์ซึ่งมีเชื้อยิวถูกห้ามไม่ให้รักษาผู้ป่วยที่เป็น “อารยัน” (Aryan)
1939 แฟรงเกลนิยามคำว่า “Existential Analysis” ในงานเขียนเรื่อง “Philosophy and Psychotherapy : On the foundation of an existential analysis”
1940 มาทำงานที่โรงพยาบาลโรทสชิล์ด (Rothschild hospital) โดยเป็นหัวหน้าแผนกโรคทางประสาท โรงพยาบาลนี้เป็นโรงพยาบาลแห่งเดียวที่ยังรับรักษาผู้ป่วยที่เป็นยิว
1941 ธันวาคม,แต่งงานกับทิลลี กรอสเซอร์ (Tilly Grosser)
1942 กันยายน, แฟรงเกลและภรรยา พร้อมกับพ่อแม่ของเขาถูกส่งไปยังเขตกักกันยิว แตเซียนสเตท (Theresienstadt Ghetto) ทางตอนเหนือของกรุงปราก ซึ่งน้องสาวของแฟรงเกล สเตลล่า (Stella) สามารถหลบหนึไปยังออสเตรเลียได้ ในขณะที่วอลเตอร์ (Walter) พี่ชายของเขาและภรรยาก็พยายามหนีไปอิตาลี
1943 พ่อของแฟรงเกลตายด้วยโรคปอดบวมระหว่างที่ยังอยูในเขตกักกันยิว
1944 ตุลาคม, แฟรงเกลและภรรยาถูกย้ายมายังค่ายออสช์วิตซ์ (Auschwitz concentration camp) แม่ของแฟรงเกลวัย 65 ปีถูกรมแก๊สเสียชีวิตในออสช์วิตซ์นี้ไม่นานหลังจากมาถึง
ต่อมากรอสเซอร์ ภรรยาขอแฟรงเกล ถูกส่งไปที่เบอร์เก้น-เบลเซ่น (Bergen-Belsen) ซึ่งต่อมาเธอเสียชีวิตขณะมีอายุ 24
ส่วนแฟรงเกล จากออสช์วิตช์ เขาก็ถูกส่งไปบังคับใช้แรงงานที่เมืองแคเฟอริ่ง (Kuafering) และเทอร์ไคม์ (Turkheim) ซึ่งขึ้นอยู่กับค่ายกักกันดาเคา (Dachau concentration camp)
1945 27 เมษายน, ค่ายกักกัดดาเคาได้รับการปลดปล่อยโดยทหารอเมริกา และหลังสงครามโลกยุติลงแฟรงเกลได้เดินทางกลับไปอยู่ในเวียนนา
1946 เขาเขียน Man’s Search for Meaning ออกมา ซึ่งก่อนเขาจะเสียชีวิต หนังสือเล่มนี้ถูกพิมพ์กว่า 9 ล้านฉบับ
1947 แต่งงานกับอีลีนอร์ (Eleonore Katharina Schwindt) พวกเขามีลูกสาวด้วยกันชื่อเกเบรียลลี (Gabriele)
1948 เขาได้งานที่เวียนนาโพลีคลีนิคด้านประสาทวิทยา (Vienna Polyclinic of Neurology) และยังได้ทำงานสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยแพทย์เวียนนา (University of Vienna Medical School)
เขาได้รับปริญญาเอกด้านจิตวิทยา โดยได้เขียน The Unconsciouse God เป็นวิทยานิพนธ์
1950 ก่อตั้งสมาคมแพทย์เพื่อจิตบำบัดแห่งออสเตรีย (Austrian Medical Society for Psychotherapy) โดยที่เขาเป็นประธานคนแรก
1951 มีผลงานเขียนเรื่อง Logos Und Existenz ซึ่งเป็นการวางรากฐาน Logotherapy อย่างเป็นทางการ
1955 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านจิตเวชและประสาทวิทยาที่มหาวิทยาลัยเวียนา
1992 สถาบันวิกเตอร์ แรฟงเกล (Viktor Frankl Institute) ก่อตั้งขึ้นในเวียนนา
1995 เขียนชีวประวัติของตัวเองออกมาในชื่อ WAS NICHT IN MEINEN BÜCHERN STEHT What is not in my books) ซึ่งฉบับภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า Recollections : An Autobiography
1997 2 กันยายน, เสียชีวิตจากอาการหัวใจล้มเหลว