Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

William James Sidis

วิลเลี่ยม เจมส์ ไซดิส (William James Sidis)
ชายที่มี IQ สูงที่สุดในโลก ?
วิลเลี่ยม เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน 1898 ในนิวยอร์คซิตี้  
บอริส ไซดิส (Boris Sidis) พ่อของเขาเป็นคนเชื้อสายยิวที่อพยพออกมาจากยูเครน, จักรวรรดิรัสเซีย ในปี 1887 ด้วยเหตุผลทางการเมือง   บอริสทำงานเป็นครูจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มีความรอบรู้ในหลายด้าน และมีผลงานเขียนหนังสือและบทความจำนวนมาก
ส่วนแม่ชื่อซาร่าห์ (Sarah Mandelbaum) ออกมาจากยูเครนในปี 1889 เพราะกลัวกระแสการต่อต้านยิวในขณะนั้น ซาราห์เข้าเรียนด้านแพทย์ที่มหาวิทยาลัยบอสตัน  (Boston University) และจบในปี 1897
ตั้งแต่วันแรกที่วิลเลี่ยมเกิดพ่อกับแม่เชื่อว่าพวกเขาสามารถสร้างอัจฉริยะขึ้นมาได้ พวกเขาจึงทุ่มเททุกอย่างกับวิลเลี่ยม ซาร่าห์หยุดทำงานเพื่อที่จะทำหน้าที่ดูแลลูกของตัวเธอเองอย่างเต็มที่ บอริสใช้ความรู้ด้านจิตวิทยาในการฝึกลูกของเขา
วิลเลี่ยมสามารถพูดคำแรกได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนและป้อนข้าวตัวเองด้วยช้อนตั้งแต่อายุ 8 เดือน เขาสามารถอ่านหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ได้ตั้งแต่อายุเพียง 18 เดือน พออายุ 4 ขวบก็ได้เรียนคณิตศาสตร์ขั้นสูง พอมีอายุ 8 ปี วิลเลี่ยมสามารถพูดได้ถึง 8 ภาษา ได้แก่ ฝรั่งเศส, เยอรมัน, ลาติน, ฮิบรู, กรีก, รัสเซีย, ตุรกี, อาร์เมเนีย โดยการเรียนด้วยตัวเอง นอกจากนั้นเขายังประดิษฐ์ภาษาของตัวเองขึ้นมาด้วย โดยเขาเรียกว่าภาษาเวนเดอร์กู๊ด (Vendergood) 
1909 วิลเลี่ยมเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ตั้งแต่อายุ 11 ปี เป็นผู้ที่อายุน้อยที่สุดที่เคยเข้าเรียนที่นี่  ซึ่งความเป็นจริงแล้วบอริสได้พาวิลเลี่ยมสมัครเข้าฮาร์วารด์ตังแต่ตอนอายุ 9 ปี แต่ทางมหาวิทยาลัยปฏิเสธเพราะเห็นว่าเขาเด็กเกินไป
ชีวิตในมหาวิทยาลัยของเขาเป็นที่โด่งดังและถูกจับจ้องจากสื่อ และต้องเรียนอยู่ท่ามกลางเพื่อนๆ ที่มีอายุมากกว่าเขาเกือบสองเท่า
สื่อต่างๆ พากันให้ความสนใจกับความสามารถที่สูงกว่าคนทั่วไปของวิลเลี่ยม โดยเฉพาะเมื่อวิลเลี่ยมขึ้นเลคเชอร์ต่อหน้าผู้ฟังในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมากมายที่มาฟังเขาพูดในหัวข้อ “Fourth Dimensional Bodies”  
วิลเลี่ยมกลายเป็นตัวอย่างที่มีชีวิตในทฤษฏีด้านจิตของบอริสพ่อของเขา 
แต่ชีวิตที่โด่งดังของวิลเลี่ยมในฮาร์ดวาร์ดทำให้เขากดดันและไม่มีความสุข วิลเลี่ยมเคยให้สัมภาษณ์ว่า “เขาต้องการชีวิตที่สมบูรณ์แบบ และทางเดียวของการมีชีวิตที่สมบูรณ์แบบคือการมีชีวิตที่เป็นส่วนตัว,​เขาเกลียดการอยู่ท่ามกลางผู้คน” 
1914 มิถุนายน, เขาได้รับปริญญาทางด้านศิลปะศาสตร์
1915 เขาได้ทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์ ที่สถาบันวิลเลี่ยม มาร์ช ไรซ์ (William Marsh Rice Institute for the Advancement of Letters, Science, and Art) ในเมืองฮูสตัน ,รัฐเท็กซัส ซึ่งภายหลังเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยไรซ์ 
1916 วิลเลี่ยมลาอออกจากสถาบันวิลเลี่ยม เพราะทดแรงกดดันจากการปฏิบัติต่อเขาที่ไม่ดีจากนักเรียนที่มีอายุมากกว่าเขาไม่ได้ 
กันยายน,​วิลเลี่ยมสมัครเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนกฏหมายฮาร์วาร์ด (Harvard Law School) แต่ว่าไม่นานก็ยุติการเรียน
1919 พฤษภาคม, วิลเลี่ยมถูกจับเพราะเข้าร่วมการเดินชบวนในวันแรงงานของกลุ่มนิยมซ้ายในบอสตัน แต่ว่าการเดินขบวนนี้กลายเป็นการจราจล วิลเลี่ยมจึงติดร่างแหไปด้วย 
ระหว่างที่เขาถูกนำตัวขึ้นศาล เขาได้ประกาศว่าตัวเขาเองไม่เชื่อในพระเจ้า, และเขาอยากจะเห็นรัฐบาลแบบสังคมนิยม  ซึ่งศาลได้ตัดสินจำคุกวิลเลี่ยมเป็นเวลา 18 เดือน
ซึ่งระหว่างที่ถูกคุกขังเขาได้พบรักครั้งแรกและรักเดียวของเขา กับนักสังคมนิยมเชื้อสายไอริช มาร์ธ่า โฟเลย์ (Martha Foley)
1921 หลังจากออกจากเรือนจำ วิลเลี่ยมพยายามหลบออกจากสังคม และมีชีวิตสันโดษอย่างที่เขาต้องการ เขาเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนงานและย้ายที่อยู่ไปเรื่อยๆ  วิลเลี่ยมแทบจะไม่ได้ติดต่อกับใครที่เขารู้จักแม้กระทั้งพ่อแม่ของเขา เชื่อกันว่าเขาเขียนหนังสือเอาไว้หลายเล่มโดยใช้นามแฝง อาทิ หนังสือชื่อ Notes on the Colletion of Streetcar Transfers ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเขาเขียนหนังสือเอาไว้ทั้งหมดกี่เล่ม แต่ว่าผลงานเขียของเขาหลากหลายกว้างขวาง มีทั้งวิทยาศาสตร์ และประวัติศาสตร์
1923 พ่อของวิลเลี่ยมเสียชีวิต 
1925 The Animate and the Inanimate
1933 เขาสอบผ่านการทดสอบเป็นราชการในนิวยอร์ค แต่ว่าได้คะแนนเป็นอันดับ 254 วิลเลี่ยมเขียนไว้ในจดหมายภายหลังว่าเป็นเพราะข้อสอบไม่น่าสนใจ
1937 หนังสือแม็กกาซีน The New Yorker ส่งนักข่าวสาวไปแกล้งทำตัวเป็นเพื่อนกับวิลเลี่ยมเพื่อมาเขียนคอลัมน์เกี่ยวกับตัวเขา หลังจากคอลัมน์นั้นถูกตีพิมพ์ออกมา วิลเลี่ยมมองว่าบทความมองเขาเป็นตัวตลกและคนบ้า วิลเลี่ยมจึงได้ยื่นฟ้องต้องนิวยอร์คเกอร์แม็กกาซีน และศาลตัดสินให้เขาชนะคดีในปี 1944
1944 17 กรกฏาคม, วิลเลี่ยมถูกพบนอนหมดสติอยู่ในอพาร์ตเม้นต์เล็กๆ ในบอสตัน โดยเขามีอาการของเลือดออกในสมอง และมีอาการสมองตายวิลเลี่ยมถูกประกาศว่าเสียชีวิต
วิลเลี่ยม ไม่ใช่เด็กอัจฉริยะคนเดียวในยุคนั้น แต่ดูเหมือนเขาจะเป็นคนเดียวที่เป็นเหยื่อของความคาดหวังของผู้เป็นพ่อและแม่  อดอร์ฟ เบอร์เล (Adolf A. Berle) เด็กอัจฉริยะที่กลายมาเป็นนักทฤษฏีทางธุรกิจและมีส่วนในการออกแบบนโยบายใหม่ (New Deal) , นอร์เบิร์ต ไวเนอร์ (Norbert Weiner) กลายมาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์
ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการทดสอบ IQ  ของวิลเลี่ยม ยืนยัน แต่มักมีการอ้างอิงกันต่อๆ มาว่าเขามีไอคิว 250-300
ชีวิตของวิลเลี่ยมเป็นแรงบันดาลใจของหนังเรื่อง กู๊ด วิลล์ ฮันติ้ง (Good Will Hunting)
ผลงานเขียน

  • The Animate and the Inanimate
  • The Tribes and the States
  • Notes on the collection of streetcar transfers
  • Passaconaway in the white Mountains
Don`t copy text!