Numquam prohibere somniantes 

Never stop dreaming

Deng Xiaoping

เต้ิง เสี่ยวผิง (邓小平)
เติ้ง เกิดวันที่ 22 สิงหาคม 1904 ในหมู่บ้านไผฟาง, เมืองซีซิง, จังหวัดกวงอัน, มณฑลเสฉวน (Paifang village, Xiexing, Guang’an, Sichuan)  
เติ้งมีชื่อจริงตอนแรกเกิดว่า เติ้ง เซียนเฉิง (Deng Xiansheng, 邓先圣)
พ่อของเขาชื่อเต้ิง เวนหมิง (Deng Wenming) เป็นเกษตรกรเจ้าของที่ดินที่มีฐานะปานกลาง เวนมิงจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยรัฐศาสตร์ (University of Law and Political Science) ในเฉิงตู (Chengdu) 
เวนหมิงยังทำงานเป็นตำรวจและครูในหมู่บ้านด้วย
แม่ของเติ้งแช่ ตาน (Dan) เสียชีวิตตั้งแต่เติ้งยังเด็ก
นอกจากตัวเขาเองแล้ว เติ้งมีพี่น้องอีกหกคน 
เต้ิงเข้าโรงเรียนตั้งแต่อายุ 5 ปี ในโรงเรียนที่สอนตามแนวคิดของขงจื้อ ซึ่งครูที่โรงเรียนเป็นคนที่ตั้งชื่อให้เติ้งใหม่ว่า  เติ้ง ซีเซียน (Deng Xixian, 邓希贤)
1911 เกิดการปฏิวัติซินไห่ (Xinhai Revolution) ซึ่งเป็นผลให้ราชวงศ์ชิงล่มสลาย และมีการตั้งสาธารณรัฐจีนขึ้นมา  ช่วงเวลานี้เติ้งยังเรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียน
1919 4 พฤษภาคม, (Movement of the 4th May) เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาจีนออกมาชุมนุมประท้วงสนธิสัญญาแวร์ซาย (Peace treaty of Versailles) เพื่อเรียกร้องซานตง (Shandong) คืนจากญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นยึดไปในช่วงเริ่มของสงครามโลก ครั้งที่ 1 แต่ว่าชาติมหาอำนาจอังกฤษและฝรั่งเศสกลับยอมรับกรรมสิทธิของญี่ปุ่นเหนือซานตง
ช่วงเวลานี้เติ้งยังเรียนหนังสืออยู่ในกวงอัน แต่ว่าพ่อของเติ้งได้ยินมาว่าโรงเรียนในโชงฉิง (Chongqing) มีการส่งนักเรียนไปเรียนที่ฝรั่งเศส พอถึงฤดูร้อนเติ้งและลุงของเขา(ที่อายุห่างกันไม่กี่ปี) ชื่อเติ้ง เชาเช็ง (Deng Shaosheng) ก็ถูกส่งไปเรียนที่โชงฉิง
1920 เติ้งจบมัธยมจากโรงเรียนโชงฉิง  หลังจากนั้นได้เดินทางไปฝรั่งเศสร่วมกับเพื่อนอีก 80 คนเพื่อไปเรียนหนังสือ พวกเขานั้นเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อเรียนในต่างแดนพร้อมกับการทำงานไปด้วยเพื่อจ่ายค่าเทอม (Diligent Work-Frugal Study Movement) 
ธันวาคม,  เติ้งขึ้นเรือง André Lyon ที่มุ่งสู่มาร์แซลล์ (Marseille) ฝรั่งเศส โดยเติ้งได้รับการสนับสนุนจากพ่อของเขาอย่างเต็มทีในการเดินทางไปเรียนต่างประเทศ ก่อนที่เติ้งจะออกเดินทาง พ่อของเขาได้มาส่งและกำชับกับเติ้งว่า “ให้หาความรู้และความจริงจากตะวันตกเพื่อที่จะกลับมาปกป้องประเทศจีน” 
1921 ในฝรั่งเศส งานแรกของเติ้งได้ทำงานในโรงงานเหล็กเลอ ครูซอต (Le Creusot Iron and Stell Plant) ในลา การ์เอนน์โกลองเบอร์ (La Garenne-Colombes) ทางตอนใต้ของปารีส 
ซึ่งที่เมืองนี้ เติ้งได้รู้จักกับ โจว เอินไหล (Zhou Enlai) , เนียะ หรงเซน (Nei Rongzhen), คาลิ เฮเซ่น (Cali Hesen), เสา ชีหยาน (Zhao Shiyan), ลิ เว่นไห่ (Li Wenhai) 
1922 มาทำงานในโรงงานรองเท้าฮัตชินสัน (Hutchinson shoe factory) ใน (Chalette-sur-Loing) 
1923 เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนในฝรั่งเศส ซึ่งนำโดยโจว เอินไหล โดยเติ้งได้เขียนบทความลงในวารสาร Red Light 
1924 เติ้ง เปลี่ยนชื่อตัวเองจาก Xiansheng เป็น Xiaoping (ความสุขเล็กๆ)
1925 มาทำงานที่โรงงานเรโนลต์ (Renault) แต่ว่าความหวังที่จะเก็บเงินเพื่อเรียนต่อในฝรั่งเศสของเติ้งนั้นล้มเหลว เพราะว่าได้ค่าแรงน้อย 
1926 มกราคม, เติ้งเดินทางมาสหภาพโซเวียต  และเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยซุนยัตเซน (Moscow Sun Yat-sen University) ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการขององค์กรโคมินเทิร์น (Comintern) ที่ใช้อบรมนักปฏิวัติจีนให้มีแนวความคิดตามแบบสังคมนิยม ที่โรงเรียนแห่งนี้เต้ิงเป็นเพื่อนร่วมชั้นกับ เจียง ชิงกั๊ว (Chiang Ching-kuo) ลูกชายของเจียง ไคเช็ค (Chiang Kia-she) 
เต้ิงเรียนอยู่ในมอสโคว์แค่ 11 เดือนก่อนที่จะกลับประเทศจีน
1927 เดินทางกลับประเทศจีน และได้เข้าร่วมในกองกำลังทหารที่นำโดยเฟง ยูเซียง (Feng Yuxiang) ที่ซีอาน (Xi’an)  ซึ่งกองกำลังของเฟง ยูเคียงได้รับความช่วยเหลือจากโซเวียตจนควบคุมพื้นที่ตอนเหนือของจีนไว้ และเฟง ยูเคียงยังเป็นพันธมิตรกับพรรคโก๊ะมินตั๋ง (Kuomintang) ของ ดร.ซุน ยัตเซน (Sun Yat-sen)   
แต่ว่าไม่นานต่อมาเกิดความแตกแยกระหว่างนักปฏิวัติสายคอมมิวนิสต์กับพวกโก๊ะมินตั๋งที่สนับสนุนเจียง ไคเช็ก  แม่ทัพเฟง ยูเซียงก็เข้าข้างเจียง ไคเช็ก ทำให้เติ้งและฝ่ายที่เป็นคอมมิวนิสต์แยกตัวออกไป 
ปลายทางของเติ้งและพรรคพวกอยู่ที่หวู่ฮาน (Wuhan) และเติ้งได้รู้จักกับเหมา เจ๋อตุง (Mao Zedong) ครั้งแรกที่เมืองนี้ง
สิงหาคม, พรรคคอมมิวนิสต์จีนจัดการประชุมวาระพิเศษเพื่อถอด Chen Duxiu ออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค และตั้ง Qu Qiubai ขึ้นมาแทน ตามคำแนะนำของโซเวียต โดยที่เติ้งร่วมในการประชุมด้วย 
ตุลาคม, พรรคคอมมิวนิสต์ย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ที่ชางไห่ (Shanghai) ซึ่งเติ้งก็ได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองนี้ด้วย 
1928 ในชางไห่ เต้ิงได้แต่งงานครั้งแรกกับลาง ซีหยวน (Zhang Xiyuan) ผู้หญิงที่เขาเคยรู้จักตั้งแต่ตอนอยู่มอสโคว์
1929 Baise Uprising, เต้ิงเป็นผู้นำการประท้วงต่อต้านการปกครองของโก๊ะมินตั๋ง ในกวงซี (Guangxi) แต่ว่าเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต้องหนีไปเจียงซี (Jiangxi)
แต่หลังจากเติ้งกลับมาชางไห่อีกครั้ง เขาพบว่าภรรยาและลูกสาวได้เสียชีวิตไปแล้ว และสหายในพรรคของเขาก็เสียชีวิตไปหลังจากโก๊ะมินตั๋งทำการกวาดล้างคอมมิวนิสต์
บริเวณภูเขาที่เจียงซี นี้ ประธานเหมาในวางแผนโครงสร้างของประเทศจีนภายใต้ระบบคอมมิวนิสต์เอาไว้ โดยรู้จักกันในชื่อไม่เป็นทางการว่าโซเวียตเจียงซี (Jiangxi Soviet)
1931 ช่วงฤดูร้อนเติ้งได้รับตำแหน่งเลขาธิการของพรรคประจำหรูจิน (Ruijin) ซึ่งเป็นดินแดนใหม่ที่โซเวียตเจียงซี สามารถยึดมาได้
1933 ได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายโฆษณาชวนเชื่อในกรรมธิการพรรคประจำเจียงซี
ไม่นานเติ้งแต่งงานกับจิน เหวยยิ่ง (Jin Weiying, Ah Jin) ผู้หญิงชาวชางไห่
แต่ว่าภายในพรรคเกิดความขัดแย้งระหว่างเติ้งกับประธานเหมา เมื่อการทดลองปกครองด้วยระบบบคอมมิวนิสต์ในเจียงซีประสบความสำเร็จทำให้มีความต้องการย้ายศูนย์กลางการบริหารของพรรคจากชางไห่ไปอยู่ที่เจียงซี ทำให้พรรคแบ่งเป็นสองฝ่าย และโซเวียตก็สนับสนุนแนวคิดของประธานเหมา ทำให้มีการลดอำนาจของเติ้งลงโดยเขาถูกปลดจากผู้อำนาจการฝ่ายโฆษณาชวนเชื่อ
จิน เหวยยิ่ง ภรรยาของเต้ิงทิ้งเขาไปหลังจากหมดอำนาจ
1934 ตุลาคม,​ (Long March) เจียงไคเช็ก ได้ส่งกองทัพของสาธารณรัฐจีน (Republic of China) เข้าโจมตีเจียงซีซึ่งเป็นศูนย์กลางของพรรคคอมมิวนิสต์ ทำให้ประธานเหมานำประชาชนกว่าแสนคนเดินทางหนีขึ้นไปทางเหนือในเหตุการณ์ลองมาร์ช  ซึ่งเติ้งก็ได้ร่วมในการเดินทางครั้งนี้ด้วย 
แต่ว่ามีเพียง 9000 คนที่เดินทางไปจนถึงชานซี (Shaanxi)
1935 มกราคม, (Zunyi Conference) มีการประชุมกันของสมาชิกพรรคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างกลุ่มผู้นำ คือ เหมา กับพวกบอลเชวิคของโซเวียต นำโดย  โบ กุ (Bo Gu) และอ๊อตโต้ เบราน์ (Otto Braun) ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้ฝ่ายบอลเชวิคถูกขับไล่ออกจากพรรคคอมมิวนิสต์จีน
1937 (Second Sino-Japanese War) ญี่ปุ่นบุกจีน ทำให้การแย่งอำนาจกันระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคโก๊ะมินตังหยุดลงชั่วคราว 
ช่วงนี้เติ้งอาศัยอยู่ในวัดพุทธในหุบเขาวูไต (Wutai mountains) เขากำลังทำหน้าที่ในการปรับปรุงโครงสร้างของกองทัพคอมมิวนิสต์ 
1938 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการด้านการเมือง (political commissar) ของหน่วยทหารที่ 129 กองพลที่ 8 (129th division of the Eighth Route Army) ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาของลุย โบเชง (Liou Bocheng) 
โดยเติ้งใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วงนี้รบกับญี่ปุ่นแถบมณฑลชานซี (Shanxi) , ฮีหนาน (Henan) และฮีเปย (Hebei) 
1939 เติ้งเดินทางมาหยานอัน (Yan’an) และได้แต่งงานกับภรรยาคนที่สามชื่อเซา หลิน (Zhou Lin) เป็นลูกสาวของนักอุตสาหกรรมในยูนาน พวกเขามีลูกด้วยกัน 5 คน ได้แก่ เติ้ง หลิน (Deng Lin), เติ้ง หนาน (Deng Nan), เติ้ง หลง (Deng Rong), เติ้ง ฟูฟ่าง (Deng Pufang), เติ้ง ฉีฟาง (Den Zhifang)
1945 หลังจากญี่ปุ่นแพ้ในสงครามโลก ครั้งที่ 2 พรรคคอมนิวนิสต์และพรรคก๊กมินตั๋งได้กลับมารบกันอีก  เจียง ไคเช็ก ได้ตั้งนานกิ่ง (Nanjing) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐจีน 
1949 1 ตุลาคม, ประธานเหมา ประกาศก่อตั้งสาธารณะรัฐประชาชนจีน (People’s Republic of China) ที่จตุรัสเทียนอันเหมินในปักกิ่ง
แต่ว่าช่วงเวลานี้ดินแดนทางใต้ของจีนยังอยู่ในอิทธิพลของโก๊ะมินตั๋ง เติ้งจึงยังรับหน้าที่ในการรวบรวมดินแดนมา
พฤศจิกายน, กองทัพคอมมิวนิสต์ยึดฉงชิง (Chongqing)  เอาไว้ได้ และเติ้งเสมือนเป็นผู้นำของจีนตอนใต้ แต่ว่าเจียง ไคเช็ค และโก๊ะมินตั๋งที่เหลือสามารถหนีไปยังไต้หวันได้ , เติ้งทำหน้าที่ผู้ปกครองจีนตะวันตกเฉียงใต้ประกอบด้วย เสฉวน, ยูนาน, ฉีชวน, และทิเบตอยู่สามปี โดยถูกขนานนามว่าเป็น Lord of the Southwest
1950 กองทัพจีนบุกทิเบต
1952 กรกฏาคม, เติ้งเดินทางมาปักกิ่งและได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรองประธานกรรมมาธิการกิจการการคลัง ซึ่งต่อมาไม่นานเติ้งก็ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง
1954 ในฐานะรัฐมนตรีคลัง เติ้งถูกโจมตีอย่างหนักจากฝ่ายขวาภายในพรรคจากปัญหาการขาดดุลงบประมาณและถูกกล่าวหาว่าโน้มเอียงไปทางทุนนิยม สุดท้ายเติ้งถูกปลดจากทุกตำแหน่ง เหลือเพียงแต่ตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
1956 กุมภาพันธ์, เติ้งเดินทางไปสหภาพโซเวียต และได้พบกับครุสเชฟ (Nikita Khrushchev) ซึ่งการพูดคุยกันอย่างลับๆ ทำให้เติ้งรู้ว่าครุสซอฟต้องการสลายลัทธิสตาลิน
1957 ประธานเหมาประกาศใช้นโยบายก้าวกระโดดครั้งใหญ่ (Great Leap Forward, 1957-1960) เต้ิงทำหน้าที่หัวหน้าเลขาของคณะกรรมธิการพรรคคอมนิวนิสต์ พร้อมๆ กับประธานาธิบดีหลู เชากี (Liu Shaoqi) และนายกรัฐมนตีโจว เอินไหล
1959 นโยบายก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของเหมาทำให้มีประชาชนล้มตายไปราว 20-40 ล้านคน จากภาวะอดอยาก การทำเกษตรที่ไม่ได้ผล จนเหมาเหมายอมทิ้งตำแหน่งผู้นำประเทศ (China’s de jure  head of state) เหลือเพียงตำแนห่งผู้นำพรรคและกองทัพ โดยมอบตำแหน่งผู้นำประเทศให้กับประธานาธิบดีหลู เชากี
1962 it doesn’t matter whether a cat is black or white, if it catches mice it a good cat. 
ไม่สำคัญว่าแมวเป็นสีดำหรือสีขาว, ถ้ามันสามารถจับหนูได้ มันเป็นแมวดี
1963 เติ้งเดินทางมาสหภาพโซเวียตหลังการเสียชีวิตของสตาลิน แต่ความสัมพันธ์กับสหภาพโซเวียตเสื่อมทรามลง สมัยของนิกิต้า ครุสซอฟ (Nikita Khrushchev) ผู้นำคนใหม่ ซึ่งมีนโยบายล้างความคิดแบบสตาลินเดิม และครุสซอฟต้องการอยู่ร่วมกับทุนนิยมอย่างสันติ แต่ว่าประธานเหมานั้นนิยมอุดมการณ์แบบสตาลิน
ประธานเหมาประกาศใช้นโยบาย 4 ล้าง (Four Cleanups Movement) ประกอบด้วย ด้านการเมือง, เศรษฐกิจ, การบริหาร และอุดมการณ์ 
1966 1 ตุลาคม, ประธานเหมาใช้นโยบายปฏิวัติวัฒนธรรม (Cultural Revolution) เพราะว่ากลัวการบริหารเศรษฐกิจของเติ้งจะนำทุนนิยมกลับเข้ามาในจีน เติ้งและหลู เชากีคือเป้าหมายของนโยบายของเหมาครั้งนี้ เติ้งถูกบังคับให้ต้องพ้นจากอำนาจอีกครั้ง หลังเกิดวิกฤตการณ์ขาดแคลนอาหารครั้งใหญ่ในประเทศจีน จากนโยบายของประธานเหมา ซึ่งทำให้มีประชาชนเสียชีวิตจากภาวะอดอยากกว่า 30 ล้านคน เติ้งพยายามเสนอให้ใช้ระบบตลาดในการแก้ปัญหา แต่กลายเป็นว่าเขาถูกกักบริเวณอยู่ภายในบ้านกว่าสองปี
เติ้ง ฟูฟ่าง ลูกชายคนหนึ่งของเติ่ง ซึงถูกจับไปสอบสวน เพื่อให้สารภาพการทำผิดของเติ่ง เขาตกลงมาจากหน้าต่างชั้น 4 จนกลายเป็นคนพิการ ว่ากันว่าเอาถูกจับโยนลงมาระหว่างการสอบปากคำ หรือไม่ก็ถูกทรมานจนกระโดดออกจากหน้าต่างมาเองเพื่อฆ่าตัวตาย
ช่วงเวลานี้ภรรยาคนสุดท้ายของเหมา ชื่อ  เจียง ฉิง (Jiang Qing)  ซึ่งเป็นอดีตดาราหนัง ได้อาศัยอิทธิพลของสามีพยายามเข้ามามีอำนาจ โดยร่วมกับสมาชิกคนอื่นๆ ในพรรค โดยถูกเรียกว่าแก็งค์สี่คน (Gang of Four) ซึ่งนอกจากเจียง ฉิง แล้วยังมีชาง ชุนเกา (Zhang Chunqiao), เหยา เว่นหยวน (Yao Wenyuan), กวาง หงเหวน (Wang Hongwen) พวกเขาอาศัยนโยบายปฏิวัติวัฒนธรรมของเหมาเพื่อกำจัดศัตรูทางการเมือง
ประธานาธิบดีหลู เชากี นั้นถูกปลดจากตำแหน่ง และนายพลหลิน เบ๋า (Lin Biao) ถูกตั้งขึ้นเป็นรองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งหลิน เบ๋าเป็นตัวเก็งที่เหมาต้องการให้รับตำแหน่งผู้นำประเทศ นายพลหลิน เบ๋านั้นมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประธานาธิบดีหลู เชากี แต่ขัดความต้องการของเหมาไม่ได้
หลู เชากีนั้นถูกกักบริเวณไว้ในบ้านพักในปักกิ่ง และต่อมาถูกจับเข้าคุกและทรมานจนเสียชีวิตในปี 1969
1969 เซา หลินภรรยาของเต้ิงและลูกๆ ห้าคนถุกเนรเทศไปอยู่ที่เจียงซี เติ้งถูกให้ไปเป็นแรงงานอยู่ในโรงงานซ่อมรถแทร็กเตอร์
มีนาคม, โซเวียตและจีน มีการปะทะกันจากปัญญาพรหมแดนบริเวณแม่น้ำเอมูร์และอาร์กัน (Amur, Argun rivers)
1971 เฮนรี่ คริสซิงเจอร์ (Henry Kissinger) เดินทางเยือนปักกิ่งอย่างลับๆ 
1972 ริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixxon) เดินทางเยือนประเทศจีนอย่างเป็นทางการ
1974 โจว เอินไหล สามารถโน้มน้าวประธานเหมาให้ยอมให้เติ้งกลับมาสู่การเมือง โดยเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีของโจว เอินไหล 
1976 8 มกราคม, โจว เอินไหล เสียชีวิต
หลังจากโจว เอินไหล เสียชีวิต สมาชิกของแก๊งออฟโฟว์ ก็ได้เริ่มโจมตีเติ่ง และสนับสนุนเหา กัวเฟง (Hua Guofeng) เป็นผู้สืบทอดอำนาจแทน ในขณะที่เติ้งถูกกังบริเวณอยู่ในบ้านพักเพื่อรอการตัดสินชะตากรรม
5 เมษายน, (Tiannanmen Incident) เกิดการชุมนุมประท้วงที่จตุรัสเทียนอันเหมิน ซึ่งสงสัยกันว่าเติ้งอาจจะอยู่เบื้องหลังการประท้วงครั้งนี้  
9 กันยายน, ประธานเหมาเสียชีวิต หลังเหมาเสียชีวิต เติ้งได้รับการคืนตำแหน่งภายในพรรค
ตุลาคม, กำจัดแก๊งออฟไฟว์ 
1977 เติ้งใช้นโยบายปักกิ่งสปริง (Beijing Spring) ที่ยอมให้ประชาชนออกมาโจมจีนนโนบายของรัฐบาลได้อย่างอิสระเสรี ซึ่งฟุ่งเป้าไปที่นโยบายปฏิวัติวัฒนธรรมของเหมาเป็นหลัก 
หลังกลับมามีอำนาจเติ้งควบคุมการบริหารประเทศอยู่เบื้องหลังโดยไม่ได้รับตำแหน่งสำคัญของประเทศ
1978 พฤศจิกายน, เติ้งเดินทางเยือนประเทศไทย, มาเลเซียและสิงคโปว์ 
ปลายปีเติ้งได้รับเลือกจากนิตยสาร Time ให้เป็นบุคคลแห่งปี
ธันวาคม, เติ้งประกาศนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ (Chinese economic reform and opening-up)
1979 เต้ิงเริ่มนโยบายเศรษฐกิจแบบเปิดกว้าง
เติ้งเดินทางเยือนสหรัฐฯ​ และได้พบกับประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ (Jimmy Carter) 
1980 พฤษภาคม, เขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้น (Shenzhen Special Economic Zone) ถูกตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกในจีน
ในที่ประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ เติ้งออกคำสั่งล้มล้างความผิดของอดีตประะธานาธบิดีหลู เชากี
1980s ช่วงต้นปี 80s เต้ิงเจรจาเรื่องการคืนเกาะฮ่องกงจากอังกฤษ โดยเขาริเริ่มนโยบายหนึ่งประเทศสองระบบ (One country, Two Systems) 
1985 ได้รับเลือกจากนิตยสาร Time ให้เป็นบุคคลแห่งปี เป็นครั้งที่ 2 
1989 15 เมษายน-4 มิถุนายน, (Tiananmen Square protest of 1989) เกิดการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยที่จตุรัสเทียนอันเหมิน ซึ่งจบด้วยการใช้กำลังทหารเข้ามายุติการชุมนุม มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน
หลังปี 1994 ช่วงท้ายของชีวิต เติ้งมี่อาการของโรคพาร์คินสัน (Parkinson’s disease)  ไม่สามารถพูดหรือเคลื่อนไหวได้มากถ้าไม่มีคนคอยช่วยเหลือ 

1997 19 กุมภาพันธ์, เสียชีวิตในวัย 92 ปี
Don`t copy text!