Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Vilayanur Ramachandran

วิเลียอานูร์ รามาจันทรัน (Vilayanur Subramanian Ramachandran)
“The Marco Polo of Neuroscience” 
รามาจันทรัน เกิดวันที่ 10 สิงหาคม 1951 ในรัฐทมิฬนาดู, อินเดีย (Tamil Nadu, India) พ่อของเขาชื่อ V.M. Subramanian เป็นวิศวะกร ทำงานให้กับองค์การสหประชาชาติอยู่ในกรุงเทพมหานคร
รามมาจันทรัน เรียนหนังสือที่มาเชนไน (Chennai) และโรงเรียนนานาชาติในกรุงเทพ
1971 มีบทความเรื่อง “Concepts of retinal rivalry need drastic revision” พิมพ์ลงในแม็กกาซีน Nature
1974 จบการศึกษาจากวิทยาลัยแพทย์สแตนลีย์ (Stanley Medical College ) ในเชนไน ทางด้านการแพทย์
1978 จบปริญญาเอกจากไตรนิตี้คอลเลจ,​ มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ (Trinity College, University of Cambridge) หลังจากนั้นได้เป็นผู้ช่วยวิจัยของแจ็ค เพตติกริว (Jack Pettigrew) อยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (California Institute of Technology)
1983 รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, ซานดิเอโก้ (University of California, San Diego) 
1986 แต่งงานกับไดอาเน่ (Diane Rogers) พวกเขามีลูกชายด้วยกันสองคน
1990s เกี่ยวกับ Phantom limbs (อาการที่บางคนซึ่งสูญเสียอวัยวะไป แต่ว่ายังคิดว่าตัวเองมีอวัยวะนั้นอยู่, หรือบางคนมีอวัยวะครบถ้วน แต่คิดว่าอวัยวะบางส่วนนั้นไม่ใช่ของตัวเอง) รามาจันทรัน คิดสมมุติฐานว่าสมองส่วนโซมาติก (Somatosensory cortex) มีการสร้างแผนที่ร่างกาย (Body Image Map) เอาไว้ก่อน เหมือนตอนที่เราถือแผนที่เดินไปตามท้องถนน แต่ในบางกรณีแผนที่ของร่างกายไม่ตรงกับร่างกายจริงๆ  ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่อวัยวะหายไป แต่สมองไม่ได้รับการอัพเดท หรือแผนที่สร้างไว้แล้วแต่ว่าร่างกายพัฒนาขึ้นมาไม่สมบูรณ์ , หรือแผนที่สร้างไม่สมบูรณ์แต่ร่างกายสมบูรณ์ ก็อาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการ Phantom limbs … รามาจันทรัน ใช้เทคนิค MEG (Magnetoencephalography) ในการวิจัยเรื่องนี้
รามาจันทรัน ยังได้รับเครดิตว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ Mirrorbox ที่ใช้รักษาอาการป่วยของผู้ป่วยแฟนทอมลิมป์
เกี่ยวกับ Sysnesthesia (การที่บางคนสามารถมองเห็นสีในตัวหนังสือบรงตัว แม้ว่าตัวหนังสือนั้นจะเขียนด้วยดินสอดำ มองเห็นสีในเสียง รับรู้รสชาติจากเสียงหรือสี) รามาจันทรันตั้งสมมุติฐานว่าเกิดจากการทำงานที่ไคว่กันระบบประสาทรับรู้ของสมองที่มากกว่าหนึ่งชนิดที่ถูกกระตุ้น (cross activation between brain regions)  ซึ่งในปี 2003 รามาจันทรัน และเอ็ดเวิร์ด อับบาร์ด (Edward Hubbard) ได้เขียนรายงานที่สันนิษฐานว่าสมองส่วน angular gyrus มีส่วนในความผิดปกตินี้ เพราะน่าจะเป็นสมองส่วนที่ทำให้คนเราเข้าใจเมต้าฟอร์ (metaphors – การเปรียบเทียมนามธรรมให้เห็นเป็นรูปธรรม เช่น หิวจนสามารถกินช้างได้) 
1998 ได้ตำแหน่งศาสตาาจารย์ ที่ ม.แคลิฟอร์เนีย
1997 เกี่ยวกับ Capgras syndrome (อาการซึ่งผู้ป่วยคิดว่าคนรอบข้างที่รู้จัก เช่น พ่อแม่ พี่น้อง เป็นตัวปลอม ที่มีคนอื่นปลอมตัวมาหลอกเขา) 
รามาจันทรัน ร่วมกับ วิลเลี่ยม ไฮร์สไตน์ (William Hirstein) ได้ตั้งสมมุติฐานเอาไว้ว่า Capgras syndrome มีสาเหตุมาจากการทำงานของสมองส่วนความทรงจำที่บกพร่อง 
2005 ได้รับรางวัล Henry Dale Medal และได้เป็นสมาชิกของ Royal Institution of Great Britain
2007 ได้รับรางวัล Parma Bhushan 
2008 เกี่ยวกับ Apotemnophilia (Xenomelia) การที่ผู้ป่วยมีความต้องการที่จะตัดอวัยวะบางส่วนออกจากร่างกาย 
รามาจันทรัน ร่วมกับเดวิด แบรง (David Brang) และพอล แม็คเกียช (Paul D. McGeoch) ได้เสนอว่าสาเหตุของอาการดังกล่าวเกิดจากความไม่สมบูรณ์ในการสร้าง Body Image Map และความผิดปกติของสมองส่วนพาเรียลทอลซีกขวา (right Parietal lobe)
2009 เกี่ยวกับ Mirror Neurons มีการค้นพบโดยเกียโคโม่ ริซโซลัตติ (Giacomo Rizzolatti) นักวิทยาศาสตร์อิตาลีเชื้อสายยูเครนตั้งแต่ปี 1999
รามาจันทรันนั้นได้ตั้งสันนิษฐานเอาไว้ในปี 2009 ว่า mirror neurons น่าจะมีส่วนที่ทำให้มนุษย์เกิดความรู้สำนึกว่ามีตัวตน (self-awareness) นอกจากนั้นเขายังสันนิษฐานเอาไว้ว่าการมี Mirror Neurons ที่น้อยเกินไปเป็นสาเหตุให้เกิดอาการออทิซึ่ม (autism)
2011 รามาจันทรันได้รับการจัดอันดับจากนิตยสาร Time ว่าเป็น 1 ใน 100 ของบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก
ผลงานเขียน
Encyclopedia of Human Behavior 1-4, 1994
Phantoms in the Brain : Probing the Mysteries of the Human Mind, 1999
Encyclopedia of the Human Brain, 2002
Enigmatic Lives of celebrities: A Compendium of Revelations, 2006
The Tell-Tale Brain, 2012

Don`t copy text!