Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

George A. Miller

จอร์จ เอ. มิลเลอร์ (George Armitage Miller)
หนึ่งในผู้บุกเบิก Cognitive Psychology, Cognitive Science เป็นที่รู้จัก Miller’s Law, TOTE
มิลเลอร์ เกิดวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 1920 ในชาร์เลสตัน, เวสต์ เวอร์จิเนีย (Charleston, West Virginia)   พ่อของเขาชื่อจอร์แดน อี. มิลเลอร์ (George E. Miller) เป็นผู้บริหารของบริษัท ส่วนแม่ชื่อฟลอเรนซ์ (Florence Armitage) เขาเป็นลูกเพียงคนเดียวของครอบครัว พ่อกับแม่ของมิลเลอร์แยกทางกันตั้งแต่เขายังเล็ก มิลเลอร์จึงถูกเลี้ยงดูขึ้นมาโดยแม่
1937 จบจากโรงเรียนมัธยมชาร์เลสตัน (Charleston HIgh School) 
เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน (George Washington University) ในวอชิงตัน ดี.ซี.
ต่อมาได้ย้ายมาเรียนที่มหาวิทยาลัยอะลาบาม่า (University of Alabama) 
1939 29 พฤศจิกายน, แต่งงานกับแคทเธอรีน (Katherine James) ซึ่งเป็นเพื่อนเรียนที่มหาวิทยาลัยเดียวกันมา
1940 จบปริญญาตรีด้านประวัติศาสตร์และการพูด จาก ม.อลาบาม่า 
1941 จบปริญญาโทด้านการพูด จาก ม.อะลาบาม่า
1943 เข้าเรียนปริญญาเอกด้านจิตวิทยาที่ฮาร์วาร์ด (Harvard University)
1944 ช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 เข้าทำงานกับกองทัพเรือในหน่วยสื่อสาร (Army Signal Corps) ซึ่งเขาดูงานด้านการสื่อสารทางทหาร จึงถูกส่งไปทำงานในห้องวิจัยเกี่ยวกับเสียงของฮาร์วาร์ด (Psycho-Acoustic Laboratory)
1946 เขาจบปริญญาเอก โดยทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการออกแบบการสื่อสารด้วยเสียงเรื่อง The Optimal Design of Jamming Signals ซึ่งวิทยานิพนธ์ของเขาถูกจัดไว้เป็นความลับโดยกองทัพสหรัฐฯ 
หลังจากเรียนจบแล้วเข้ายังทำงานวิจัยอยู่ที่ฮาร์วาร์ด
1948 ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่ฮาร์วาร์ด
1950 พักงานที่ฮาวาร์ดหนึ่งปี แล้วมาเป็นนักวิจัยพิเศษที่สถาบันการศึกษาขั้นสูง, ม.พริ้นตัน (Institute for Advanced Study, Princeton) 
1951 มาเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่ด้านจิตวิทยาที่เอ็มไอที (MIT) ซึ่งเขาได้เป็นหัวหน้าทีมในการวิจัยเกี่ยวกับการสร้างระบบวิเคราะห์เสียงที่ลินคอล์นแล๊ป (MIT Lincoln Lab) 
เขียนหนังสือเล่มแรก Language and Communication หนังสือเล่มนี้บางครั้งถูกยกย่องว่าเป็นพื้นฐานของวิชา psycholinguistic ซึ่งศึกษาว่ามนุษย์เรียนรู้, และสร้างภาษาได้อย่างไร 
1955 กลับมาสอนหนังสือที่ฮาร์วาร์ดในคณะจิตวิทยา
5 เมษายน, ในที่ประชุมสมาคมจิตวิทยาตะวันออก (Eastern Psychological Association) มิลเลอร์นำเสนอ “The magical number seven, plus or minus two” ซึ่งเขาทดลองให้เห็นว่าความจำระยะสั้นของมนุษย์ (short-term memory) สามารถที่จะจำตัวอักษรได้ประมาณ 7± 2 ตัวอักษร ซึ่งรู้จักกันว่ากฏของมิลเลอร์ ( Miller’s law)
1958 ได้ตำแหน่งศาสตราจารย์ที่ฮาร์วาร์ด แต่ว่าไม่นานก็ลาออกเพื่อไปทำงานที่สถาบันศึกษาขึ้นสูงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์พฤติกรรมศาสตร์ (Center for Advanced Study in the Behavioral Sciences) ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University)
1960 ร่วมกับเจโรม บรูเนอร์ (Jerome S. Bruner) ก่อตั้งศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับจิตสำนึก (Center for Cognitive Studies) ขึ้นที่ฮาร์วาร์ด
1962 ได้เป็นสมาชิกของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Academy of Sciences)
1967 มาสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยร็อคกี้เฟลเลอร์ (Rockerfeller University) ในนิวยอร์ค
1979 มารับตำแหน่งศาสตร์จารย์แม็คดอนเนล์ล (James S. McDonnell Distinguished Professor) ด้านจิตวิทยาที่ ม.พริ้นตั้น ซึ่งที่นี่เขาได้สร้างห้องทดลองเพื่อศึกษาเกี่ยวกับจิตสำนึกขึ้น (Cognitive Science Laboratory) 
1986 สร้าง WordNet ซึ่งเป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับคำศัพท์ออนไลน์ ในยุคแรกๆ ของคอมพิวเตอร์ซึ่งมีเป้าหมายที่จะทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษาของมนุษย์ 
1990 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณจากพริ้นตั้น
1991 ได้รับรางวัล National Medal of Science ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดด้านวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯ 
1996 ภรรยาของเขาเสียชีวิต
2008 แต่งงานกับมาร์กาเร็ต (Margaret Ferguson Skutch Page)

2012 22 กรกฏาคม, เสียชีวิตภายในบ้านของตัวเองที่เพนส์โบโร่, นิว เจอร์ซีย์ (Plainboro, New Jersey) ในวัย 92 ปี
Don`t copy text!