Life is filled with unanswered questions, but it is the courage to seek those answers that continues to give meaning to life. You can spend your life wallowing in despair, wondering why you were the one who was led towards the road strewn with pain, or you can be grateful that you are strong enough to survive it.

ชีวิตนั้นเต็มไปด้วยคำถามมากมายที่ไร้คำตอบ, มันต้องใช้ความกล้าในการค้นหาคำตอบที่ให้ความหมายของการมีชีวิต คุณอาจจะใช้ชีวิตติดกับความผิดหวัง และสงสัยว่าทำไมมีเพียงแต่คุณที่ต้องเดินไปบนถนนที่เต็มไปด้วยความเจ็บปวดเพียงลำพัง หรือคุณอาจจะรู้สึกขอบคุณตัวเองที่เข้มแขึงและยืนหยัดอยู่ได้

J.D. Stroube, Caged by Damnation

Hua Tuo

ฮัว โถ (華佗, Hua Tuo)
แพทย์จีน ในราชวงศ์ฮั่น
หยวนหัว (Yuanhua, 元化) เกิดประมาณปี ค.ศ. 110-145 ในมณฑลอันฮุ่ย (Bozhou, Anhui) ทางตอนกลางของประเทศจีน  ในช่วงราชวงศ์ฮั่น (Han dynasty) 
พ่อของเขาเสียชีวิตตอนที่เขาอายุ 7 ขวบ ครอบครัวของเขามีฐานะยากจน หลังจากพ่อเสียชีวิตแล้ว หยวนหัวจึงได้ออกเดินทางจากบ้านไปยังหูโจว (Xuzhou) เพื่อหางานทำ  ซึ่งที่นั่นหยวนหัวได้กลายเป็นศิษย์ของแพทย์จีนชื่อว่าไค (Cai) 
เขาเป็นศิษย์ของฉาง ฉงจิง (Zhang Zhongjing) แพทย์ด้านสมุนไพร  แต่เชื่อกันว่าหยวนหัวน่าจะได้เรียนตำราอายุรเวท (Ayurveda) ตำราแพทย์ของอินเดียด้วย 
หยวนหัวเป็นที่รู้จักในตะวันตก จากการที่เขาเป็นแพทย์คนแรกของที่ที่ถูกบันทึกไว้ว่าเป็นศัลยแพทย์คนแรกของจีน และเป็นแพทย์จีนคนแรกที่ทำการผ่าตัดโดยการใช้ยาสลบ โดยใช้ส่วนผสมของกัญชา (hemp) และเหล้าเป็นยาสลบ ซึ่งเขาเรียกว่าหม่าเฟยซาน (mafeisan)
เล่ากันว่าหยวนหัว เป็นผู้ที่ทำการผ่าตัดให้กับแม่ทัพกวนยู (General Kuan Yu) ซึ่งได้รับบาดเจ็บจากลูกศรปักที่แขน ซึ่งบาดแผลมีอาการอักเสบ เมื่อหยวนหัวจะทำการวางยาชาให้ แม่ทัพกวนตี้กลับหัวเราะ และขอเพียงการเล่นกระดานหมากล้อมแทน  ซึ่งแม่ทัพกวนตี้ก็ไม่ได้แสดงอาการเจ็บปวดเลยระหว่างที่ถูกผ่าตัดบาดแผล
นอกจากนั้นยังเชื่อกันว่าเขาเป็นผู้บุกเบิกการบำบัดโดยใช้น้ำ (hydrotherapy) และการกายภาพบำบัดด้วยการร่ายรำ วู จิน ซี (Wu Qin Xi, 五禽戏 ) เลียนแบบสัตว์ ทั้ง 5 ชนิด คือ เสือ, หมี, ลิง, กวางและนก  
ช่วงปั่นปลายชีวิต หยวนหัว ได้ทำงานเป็นแพทย์ในราชสำนักของกษัตริย์เกา เกา (Cao Cao, King of Wei) กษัตริย์แห่งเว่ย  โดยหยวนหัวใช้การฝังเข็มในการบำบัดอาการวิงเวียนของพระองค์เอาไว้ได้ชั่วคราว แต่ว่าเมื่อมีรับสั่งว่าอยากจะให้หายจากอาการ หยวนหัวบอกว่าจำเป็นต้องผ่าตัดเข้าไปในพระเศียร  กษัตริย์เกา เกา จึงสงสัยว่าหยวนหัวอาจจะเป็นไส้ศึกของศัตรู จึงรับสั่งให้ประหารชีวิตหยวนหัว  ซึ่งราวปี ค.ศ. 207

ตำราแพทย์ที่หยวนหัวเขียน Qingnang shu (Book of the Blue Bag) ก็ถูกสั่งให้เผาทิ้ง แต่ว่าความรู้ของเขายังหลงเหลืออยู่จากบรรดาลูกศิษย์หลายคนของเขา อาทิ วู ปู่ (Wu Pu, 吳普), ฟาน อี (Fan E, 吳普), ลี ตางจี (Li Dangzhi)
Don`t copy text!