Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

John Searle

จอห์น เซียร์เล่อ (John Rogers Searle) 
Chinese room argument
เชียร์เล่อ เกิดวันที่ 31 กรกฏาคม 1932 ในเดนเวอร์, โคโลราโด้ (Denver, Colorado) พ่อเขาชื่อ จี. เซียร์ล (G. W. Searle) เป็นวิศวกร ทำงานกับ AT&T และแม่ชื่อเฮสเตอร์ (Hester Beck Searle) 
1949 เข้าเรียนปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน (University of Wisconsin)  ทางด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และปรัชญา
1952 ได้รับทุน Rhodes จึงย้ายมาเรียนที่อ๊อกฟอร์ด (Oxford) 
1959 จบปริญญาเอกจากอ๊อกฟอร์ด และได้ตำแหน่งศาสตราจารย์ย์ที่เบิร์กเลย์ (University of California, Berkeley) 
1980 เขียนบทความ “Minds, Brains, and Programs” ลงใน Behavioral and Brain Sciences ซึ่งความของเขาอ้างว่าเราจะไม่สามารถพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้สามารถมีจิตใจ, หรือจิตสำนึกได้อย่างแท้จริง โดยเขาเปรียบเทียบกับการสอนให้คอมพิวเตอร์ใช้ภาษาจีน ซึ่งไม่ว่าจะพัฒนาให้ก้าวหน้าอย่างไร ก็ไม่แสดงว่าคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษาจีนได้เอง จึงเรียกว่า Chinese Room argument
2006 ได้รับรางวัล Mind&Brain Prize
2013 ได้ตำแหน่งศาสตร์จารย์ที่มหาวิทยาลัยโคโลนจ์ (University of Cologne) 
2017 ถูกกล่าวหาในคดีความเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศ ต่อผู้ช่วยวิจัยของเขาเองที่มีอายุ 24 ปี ซึ่งหลังจากมีคดีแรก ก็มีเรื่องอื้อฉาวในทำนองเดียวกันนี้ถูกเปิดเผยตามมาอีก 
ผลงานเขียน

  1. Seeing Things as They Are : A Theory of Perception , 2015
  2. The Construction of Social Reality, 2010
  3. Making the Sociel World: The Structure of Human Civilization
  4. Philosophy in a New Century, 2008
  5. Mind, Language and Society, 2008
  6. Freedom and Neurobiology, 2006
  7. Mind: A Brief Introduction, 2004
  8. Consciousness and Language, 2002
  9. The Rediscovery of the Mind, 1992
  10. Expression and Meaning, 1985
  11. Intentionality, 1983
  12. Speech Acts : An Essay in the Philosophy of Language, 1969
Don`t copy text!