ไมเคิ้ล เลวิน (Michael Levin)
ผู้สร้าง Xenobot
เลวินทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์อิสระ ก่อนที่จะเข้าเรียนระดับอุดมศึกษา
1988 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยตูฟต์ (Tufts University) ทางด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และชีววิทยา
1992 จบปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และชีวฯ
1996 จบปริญญาเอกสาขาพันธุวิศวกรรม จากฮาร์วาร์ด (Harvard Medical School)
หลังจากเรียนจบได้ศึกษาต่อระดับหลังปริญญาอยู่ที่ฮาร์วาร์ด ทางด้านโมลิกุลเอ็มบริโอ (Molecular embryology) จนถึงปี 2000
2000 ทำงานวิจัยอิสระอยู่ที่สถาบันฟอร์ไซธ์ (Forsyth Institute, Harvard)
2008 ได้รับตำแหน่งศาสตร์จารย์ (Vennevar Bush Chair Professor) ประจำคณะชีววิทยา ที่ ม.ตูฟต์ และเป็นผู้อำนวยการของศูนย์วิจัยชีววิทยาการพัฒนาและกำเนิดใหม่ (Turfs Center of Regenerative and Development Biology)
Allen Discovery Center
เลวินมีความสนใจศึกษากระบวนการสร้างอวัยวะใหม่ในสัตว์ (molecular-genetic mechanisms) ซึ่งเป็นไปอย่างสมมาตรกันทั้งด้านซ้าย-ด้านขวาของร่างกาย ซึ่งงานวิจัยของเขาได้รับการจัดอันดับโดยนิตยสาร Nature ให้เป็น 1 ใน 100 ของการค้นพบทางชีววิทยาในศตวรรษ
ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ ในคณะชีววิทยาที่ ม.ตูฟต์
2010 เป็นศาสตราจารย์พิเศษของสถาบันวิสส์ (Wyss Institute , Harvard)
2016 ได้ตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบันอัลเลน (Allen Dicscovery Institute, Tufts University)
2020 นิตยสาร PNAS (Proceedings of the National Academy of Sciences) ตีพิมพ์ผลงานวิจัยของเลวิน ในการสร้าง Xenobot (Xeno มาจากชื่อสปีชีย์ของกบ Xenopus laevis ซึ่งเป็นกบสายพันธ์อัฟริกัน) ที่ใช้ในการวิจัย โดยเลวินและทีมของเขาได้ใช้สเตมเซลล์ (stem cells) จากเอ็มบริโอของกบ และกระตุ้นให้สเตมเซลล์มีพัฒนาการกลายเป็นเซลล์ หัวใจ (heart cells) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น active cells กับเซลล์ ผิวหนัง (skin cells) ซึ่งเป็น passive cell ซึ่งนักวิจัยพบว่าเซลล์สองชนิดสามารถนำมารวมกันเป็นก้อนเดียวกันได้ โดยได้ก้อนเซลล์ที่มีชนาดประมาณเม็ดทราย ซึ่งเลวินมันบอกว่าก้อนเซลล์นี้เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ซึ่งอยู่ระหว่างชีวภาพและจักรกล ซึ่งก้อนเซลล์มีชีวิตและสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ถ้าถูกทำให้เสียหาย (เซลล์นี้มีอายุอยู่ได้ราว 10 วัน)
เมื่อได้ก้อนของเซลล์ที่ผสมกันแล้ว นักวิจัยได้ทำเครื่องหมายรูปสี่เหลี่ยมที่เซลล์ด้านบนของก้อนซึ่งเป็น passive cells ของเซลล์ผิวหนัง ในขณะที่ส่วนล่างของก้อนเป็น active cells ของเซลล์หัวใจ หลังจากนั้นนักวิจัยได้ทำการบันทึกการเคลื่อนไหวของก้อนเซลล์ และสัญญาณไฟฟ้าที่มันส่งออกมา ก่อนทีจะส่งให้นักโปรแกรมเมอร์และนักพัฒนาหุ่นยนต์ แซม เครียกแมน (Sam Kriegman) และจอช บอนการ์ด (Josh Bongard) จากมหาวิทยาลัยเวอร์มอน (University of Vermont) ทำการสร้างแบบจำลองการเคลื่อนไหวของก้อนเซลล์นี้เป็นรูปทรงต่างๆ ขึ้นมาในคอมพิวเตอร์
อาศัย evolutionary algorithms เลวินสามารถสั่งให้ xenobot เปลี่ยนรูปร่างเป็นทรงต่างๆ ตามแบบจำลองตามที่เขาต้องการได้ แต่ว่าเขาสามารถสื่อสารกับเซลล์นี้ได้อย่างไรยังไม่เปิดเผย