Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Sir Henry Hallett Dale

เฮนรี่ เดล (Henry Hallett Dale)

โนเบลทางการแพทย์ 1936

เดล เกิดวันที่ 9 มิถุนายน 1875 ในลอนดอน พ่อของเขาชื่อชาร์ล (Charles James Dale) เป็นเจ้าของโรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผา ส่วนแม่ชื่อฟรานเซส (Frances Anne Hallett)

เดลเป็นลูกคนที่สามในพี่น้องทั้งหมดเจ็ดคน

เริ่มเรียนหนังสือที่โตลลิงตัน ปาร์ค คอลเลจ (Tollington Park College) ก่อนจะมาต่อที่เลยส์ (Leys School, Cambridge)

1894 เข้าเรียนที่ไตรนิตี้ คอลเลจ (Trinity College, Cambridge)

1898 จบจากไตรนิตี้ คอลเลจ ด้วยเกียตินิยม ทางด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Sciences Tripos) ซึ่งหลังจากก็ยังคงอยู่ที่แคมบริดจ์ต่อ

1900 ได้รับทุนเข้าเรียนทางแพทย์ที่โรงพยาบาล เซนต์บาร์โธโลมิว (St. Bartholomew’s Hospital) ในลอนดอน 

ในปีนี้เขามีผลงานตีพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ลงในวารสาร Journal of Physiology

1903 จบปริญญาตรีแพทย์ (B.Ch) จากแคมบริดจ์ และได้เข้าทำงานที่มหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน (University College London) โดยได้ทำงานกับร่วมเออร์เนสต์ สตาร์ลิง (Ernest Starling) และวิลเลี่ยม เบย์ลิสส์ (William Bayliss)  ที่ UCL นี้เขายังไ้ด้รู้จักกับอ๊อตโต้ โลวี่ (Otto Loewi) ซึ่งต่อมาทั้งคู่ได้ทำวิจัยร่วมกัน และแชร์รางวัลโนเบลด้วยกัน 

เขาอยู่ที่ UCL ได้หกเดือน ก็ย้ายมาทำงานที่ห้องวิจัย Wellcome (Wellcome Physiological Research Laboratories) ซึ่งที่นี่เขาได้พบกับเฮนรี่ เวลคัม (Henry Wellocome) ซึ่งแนะนำได้เขาวิจัยเกี่ยวกับโรค Ergot of Rye ซึ่งเป็นโรคเชื้อราที่เกิดในข้าวไรซ์ มีสาเหตุจากเชื้อรา Claviceps purpurea ซึ่งหากมนุษย์บริโภคพืชหรือข้าวที่ติดโรคดังกล่าวเข้าไป อาจจะทำให้เกิดการอาการกล้ามเนื้อกระตุก มีไข้ และอาจจะเกิดการหลอนได้  ซึ่งการวิจัยของเดลเขาทำร่วมกับจอร์จ บาร์เกอร์ (George Barger) ทำให้สามารถค้นพบ Ergotoxine ซึ่งเป็นสารอ้ลคาลอยด์ (alkaloids) ที่ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง และกระตุ้นแรงดันเลือด นอกจากนั้นเดลและบาร์เกอร์ยังค้นพบกว่า ergotoxine มีผลต่อเซลล์ประสาทด้วย ทำให้พวกเขาทำการวิจัยเกี่ยวกับสารเคมีที่ส่งผลต่อการสื่อประสาทของเซลล์ประสาทต่อไป  

1904 แต่งงานกับเอลเลน (Ellen Harriet Hallett) ซึ่งเป็นญาติกัน พวกเขามีลูกสาวด้วยกันสองคนและลูกชายหนึ่งคน 

1906 ได้ตำแหน่งผู้อำนวยการของห้องวิจัย Wellcome

1909 จบแพทย์ศาสตร์ จากแคมบริดจ์ และได้รับทุนจอร์จ เฮนรี่ เลเวส (George Henry Lewes) ให้ศึกษาต่อทางด้านสรีระศาสตร์ ทำให้ได้ทำงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยลอนดอนคอลเลจ (University of College London) โดยอยู่ภายใต้การดูแลของศาสตราจารย์สตาร์ลิง (Prof. Starling) 

1913 เดลร่วมกับอาเธอร์ เจมส์ อีวินส์ (Arthur James Ewins) นักเคมีชาวอังกฤษ ประสบความสำเร็จในการแยกสาร อะซีติลคอไลน์ (acetylcholine) ซึ่งหลังการค้นพบ เขาก็เริ่มวิจัยเกี่ยวกับอิทธิพลต่อของอะซีติลคลไลน์ที่ส่งผลต่อระบบประสาท

1914 รับตำแหน่งผู้อำนวยการแผนกชีวเคมีและเภสัชศาสตร์ของสถาบันวิจัยการแพทย์แห่งชาติ (National Institute for Medical Research) ในลอนดอน 

1928 ได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทางการแพทย์แห่งชาติ (National Institute for Medical Research) 

1929 ค้นพบว่า อะซีติลคอไลน์ มีผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของวัวและม้า  ซึ่งเขาเขียนรายงานเรื่องนี้ลงในงานวิจัยชื่อว่า “an important stimulus to our renewed interest in the possibilities of [acetylcholine’s] functional significance”

1932 ได้รับยศอัศวิน

1936 ได้รับรางวัลโนเบล ร่วมกับอ๊อตดต้ โลวี่ (Otto Loewi) จากการค้นพบเกี่ยวกับกระบวนการทางเคมีในการส่งสัญญาณของเซลล์ประสาท (chemical transmission of nerve impulses) 

1940 ได้รับตำแหน่งประธานของ the Royal Society จนถึงปี 1945

1944 ได้รางวัล Order of Merit

1948 ได้ตำแหน่งประธานของ the Royal Society of Medecine จนถึง 1950 

1968 23 กรกฏาคม, เสียชีวิตในแคมบริดจ์, ลอนดอน ในวัย 93 ปี  

ผลงานเขียน

  • Adventures in Physiology, 1953
  • An Autumn Gleaning, 1954
Don`t copy text!