Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Jonathan Swift

โจนาธาน สวิฟต์ (Jonathan Swift)

ผู้เขียน กัลลิเวอร์ ผจญภัย (Gulliver’s Travels)

สวิฟต์ เกิดวันที่ 30 พฤศจิกายน 1667 ในดับลิน, ไอร์แลนด์ (Dublin, Ireland) พ่อของเขามีชื่อเดียวกันว่าโจนาธาน (Jonathan Swift, 1640-1667) ส่วนแม่ชื่ออะบิเกล (Abigail Erick of Fresby on the Wreake)  สวิฟต์ มีพี่สาวหนึ่งคนชื่อเจน (Jane) 

พ่อของสวิฟต์นั้นเสียชีวิตด้วยโรคซิฟิลิส (syphilis)  ก่อนที่สวิฟต์จะเกิดเจ็ดเดือน

ซึ่งเมื่อสวิฟต์เกิดขึ้นมา แม่ได้มอบเขาให้กับพยาบาลคนหนึ่งซึ่งร่วมทำคลอดไป ซึ่งพยาบาลคนดังกล่าวได้พาสวิฟต์ซึ่งเป็นทารกกลับไปอยู่บ้านเกิดของเธอในคัมเบอร์แลนด์ (Cumberland) อังกฤษ  

จนเมื่อสวิฟต์อายุได้ 3 ปี พยาบาลคนนั้นก็ได้นำสวิฟต์มาคืนให้กับอะบิเกล แม่แท้ๆ ของเขาที่อยู่ในไอร์แลนด์ ซึ่งอะบิเกลก็ได้ฝากสวิฟต์ให้อยู่ในความดูแลของลุงของสวิฟต์ ชื่อกีอดวิน (Godwin Swift) ส่วนผู้เป็นแม่นั้นเดินทางไปอยู่ในอังกฤษ

1673 สวิฟต์เข้าเรียที่โรงเรียนประถมคิลเคนนี่ (Kilkenny School) 

1682 เข้าเรียนที่ไตรนิตี้ครอลเลจ (Trinity College)

1686 จบปริญญาตรี

1689 ช่วงการปฏิวัติกลอเรียส (Glorious Revolution) ในอังกฤษ ซึ่งกษัตริย์เจมส์ ที่ 2 (King Jaems II) ซึ่งเป็นแคโธลิก ถูกแทนที่ด้วยกษัตริย์วิลเลี่ยม ที่ 3 (William III) ซึ่งเป็นโปรเตสแตนท์ สวิฟต์นั้นสนับสนุนการปฏิวัตินี้ เขาได้เดินทางมายังอังกฤษ และด้วยความช่วยเหลือจากแม่ของเขา ทำให้สวิฟต์ได้งานเป็นผู้ช่วยให้กับเซอร์วิลเลี่ยม (Sir William Temple) ในมัวร์ปาร์ก (Moor Park) 

ช่วงเวลาที่ทำงานที่มัวร์ปาร์กนี้ สวิฟต์ได้รู้จักกับเอสเธอร์ จอห์นสัน (Esther Johnson) ซึ่งขณะนั้นเป็นเด็กผุ้หญิงอายุ เพียง 8 ปี สวิฟต์เรียกเธอว่า สเตลล่า (Stella) ซึ่งสวิฟต์ได้กลายเป็นครูติวเตอร์ให้กับสเตลล่า หลังจากนั้นทั้งคู่ก็มีความสัมพันธ์ที่ดูคลุมเครือมาตลอดจนกระทั้งสเตลล่าเสียชีวิตในปี 1728 บางคนเชื่อว่าสวิฟต์และสเตลล่าได้แต่งงานกันอย่างลับๆ 

1690 มีอาการป่วยด้วยโรคแมนิเออร์ (Ménière’s disease) ซึ่งเป็นอาการผิดปกติภายในหูชั้นใน ทำให้เกิดอาการวิงเวีย หูแว่ว และอาจจะสูญเสียการได้ยิน ทำให้สวิฟต์ลาออกจากงานที่ทำอยู่กับเซอร์วิลเลี่ยม และกลับไปพักรักษาตัวที่ไอร์แลนด์อยู่หนึ่งปี ก่อนที่จะกลับมาทำงานกับเซอร์วิลเลี่ยมอีกครั้งในปีต่อมา ซึ่งอาการของโรคไม่ได้หายไปอย่างเด็ดขาดตลอดชีวิตของเขา 

1692 ได้รับปริญญาโทจากอ๊อกฟอร์ด ซึ่งหลังจากนั้นเขาก็ลาออกจากงานที่มัวร์ปาร์ก 

1694 ได้รับการแต่งตั้่งเป็นนักบวชในนิกายไอร์แลนด์ (Church of Ireland) และถูกส่งไปอยู่ในเขาตคิลรูท (Kilroot) ในไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งเป็นชนบทที่ห่างไกล 

1696 กลับมาทำงานกับเซอร์วิลเลี่ยม ที่มัวร์ปาร์กอีกครั้ง 

1699 หลังจากเซอร์วิลเลี่ยมเสียชีวิต สวิฟต์ก็ได้ไปทำงานให้กับลอร์ดเบิร์กเลย์ (Lord Berkely)

1700 ได้รับตำแหน่งไวคาร์แห่งลาเรคอร์ (Vicar of Laracor)  ในไอร์แลนด์ 

1702 จบปริญญาเอกด้านศาสนา (D.D., Doctor of Divinity) จากไตรนิตี้คอลเลจ, มหาวิทยาลัยดับลิน (Trinity College, Dublin University)

1704 ตีพิมพ์ผลงานเขียนเรื่อง A Tale of a Tub และ The Battle of the Books ซึ่งผลงานได้สร้างชื่อเสียงทำให้เขากลายเป็นที่รู้จัก

1707 ได้รับตำแหน่งทูตทางศาสนาของนิกายไอร์แลนด์

1708 ได้รู้จักกับเอสเธอร์ แวนฮอมไรห์ (Esther Vanhomrigh) ซึ่งเป็นหญิงชาวไอร์แลนด์เชื้อสายดัตช์  สวิฟต์นั้นเรียกเธอว่า วาเนสซ่า (Vanessa) ซึ่งมาจาก “essa” ซึ่งเป็นชื่อเล่นของ “esther” และ “van” จากนามสกุล “Vanhomrigh” … สวิฟต์จึงเป็นคนแรก ที่สร้างชื่อคำว่า “วาเนสซ่า” ขึ้นมา

1713 ได้รับตำแหน่งอธิการของมหาวิหารเซนต์แพตทริก (St.Patrick’s Cathedral) ในดับลิน

1714 วาเนสซ่ากับสวิฟต์เดินทางกลับไปอยู่ในไอร์แลนด์ โดยไปอยู่พักที่บ้านเคลบริดจ์ แอ๊บบี้ (Celbridge Abber) ซึ่งเป็นของครอบครัววาเนสซ่า 

1723 วาเนสซ่าเสียชีวิต ขณะอายุเพียง 35 ปี

1726 Gulliver’s Travels ถูกพิมพ์ออกมา ระหว่างที่สวิฟต์เดินทางมายังลอนดอน  ซึ่งผลงานได้รับความนิยมทันทีหลังตีพิมพ์

1728 28 มกราคม, เอสเธอร์ จอห์นสันเสียชีวิต 

1742 สวิฟต์ถูกประกาศว่าสูญเสียความสามารถทางจิต หลังจากป่วยด้วยโรคเส้นเลือดอุดตันในสมองและสูญเสียความสามารถในการพูด ต่อมาก็เกิดอาการทางจิตประสาท

1745 19 ตุลาคม, เสียชีวิต

ผลงานเขียน

  • Tale of a Tub, 1704
  • Battle of the Books, 1704
  • The Mechanical Operation of the Spirit, 1704
  • Argument Against Abolishing Christianity
  • The Journal To Stella, 1710
  • The Windsor Prophecy
  • A Modest Proposal, 1729
  • The Drapier’s Letters, 1724
  • Gulliver’s Travels, 1726

Don`t copy text!