นิโคไล กามาเลย่า (Николай Фёдорович Гамалея)
นักวิทยาศาสตร์ซึ่งบุกเบิกสาขาจุลชีวและวัคซีนในสหภาพโซเวียต ชื่อของเขาถูกนำมาตั้งชื่อสถาบันกามาเลย่า (The Gamaleya National Center of Epidemiology and Microbiology) สถาบันซึ่งพัฒนาวัคซีนสปุตนิก วี (Sputnik V)
กามาเลย่า เกิดวันที่ 17 (5 O.S.) กุมภาพันธ์ 1859 ในโอเดสสา (Odessa) พ่อของเขาเป็นอดีตนายทหาร ชื่อฟีโอดอร์ (Fyodor Mikhailovich Gamaleya)
กามาเลย่านั้นเป็นลูกคนสุดท้องในพี่น้องทั้งหมด 12 คน
1876 เข้าเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยโอเดสสา (Odessa University)
1880 จบการศึกษา และจากนั้นได้เข้าเรียนต่อที่สถาบันแพทย์ทหารในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (S.M. Kirov Military Medical Academy)
1883 จบจากสถาบันแพทย์ทหาร
1885 ได้มีโอกาสไปทำงานในห้องทดลองของหลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur) ในปารีส
1886 เมื่อกลับมารัสเซีย เขาก็ได้ร่วมกับอิลย่า เมชนิกอฟ (Ilya Mechnikov) นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลในเวลาต่อมา และศาสตราจารย์ยาคอฟ (Yakov Yulievich Bardakh) ในการตั้งห้องวิจัยแบคทีเรีย (The Odessa bacteriological station) ขึ้นภายในมหาวิทยาลัยโนโวรัสเซีย (Novorossiya University) เพื่อพัฒนาวัคซีนสำหรับป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (rabie)
ก่อนที่ต่อมาจะมีการขยายไปวิจัยวัคซีนสำหรับโรคอื่น ๆ อาทิ วัณโรค (tuberculosis) อหิวาห์ (cholera) และแอนแทร็กซ์ (antrhax) ซึ่งห้องวิจัยของพวกเขาถือว่าเป็นศูนย์วิจัยด้านแบคทีเรียวิทยาแห่งแรกของรัสเซีย และเป็นแห่งที่สองของโลก (หลังจากห้องวิจัยของหลุยสปาสเตอร์)
1892 ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กกามาเลย่าได้รับปริญญาเอก โดยเขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรคอหิวาห์ (The Etiology of Cholera from the point of view of experimental pathology)
1899 กามาเลย่าก็ได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบันวิจัยแบคทีเรีย
1912 ได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบันเจนเนอร์ (Jenner Vaccination Institute) ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ซึ่งมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษออกมาใช้ในปี 1918 และถูกนำไปใช้ทั่วสหภาพโวเวียต
1930 ได้ตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบันกลางระบาดวิทยาและไมโครชีวภาพ (the Central Institute for epidemiology and Microbiology ) ในมอสโคว์
1938 ได้ตำแหน่งศาสตราจารย์ในสาขาไมโครชีวภาพที่สถาบันการแพทย์มอสโคว์ (Moscow Medical Institute)
1940 ได้เป็นสมาชิกของ USSR Academy of Sciences
1949 29 มีนาคม, เสียชีวิตในมอสโคว์